WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ASPบล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน



กลยุทธ์การลงทุน
ดัชนีอาจติดแนวต้าน 1,575-1,580 จุด ระยะสั้นมีแรงหนุนจากราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ฟื้นตัว ทั้งน้ำมัน ถ่านหิน และเหล็กน่าจะหนุนเรือเทกอง (PTT, PTTGC, TTA) หุ้นรายตัว Real sector ที่มีกำไรเด่นงวด 4Q59 (WHA, AOT) ตามด้วยหุ้นปันผล (ASK, SCCC, TCAP, LH, PTTGC) Top picks ยังเลือก SYNTEC([email protected]) ตามด้วย TTA([email protected])

 

(-) ทรัมป์ ยกเลิกสนธิสัญญา TTP อาเซียนกระทบระยะกลาง-ยาว
หลังจากนายโดนัลด์ ทรัมป์ ขึ้นรับตำแหน่งประธานาธิบดีไปเมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา นอกจากได้ประกาศยกเลิกกฎหมายประกันสุขภาพ(Obamacare) ตามที่เคยหาเสียงไว้ ล่าสุดยังเดินหน้าให้สหรัฐถอนตัวออกจากข้อตกลงการค้าเสรี(TPP) อย่างเป็นทางการ (TPP ประกอบด้วยประเทศที่เข้าร่วม 12 ประเทศ คือ สหรัฐ เม็กซิโก ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ ชิลี แคนาดา ออสเตรเลีย เปรู มาเลเซีย เวียดนาม บรูไน สิงคโปร์) ทั้งนี้เพื่อต้องการมุ่งเน้นการจ้างงานในประเทศ โดยไม่ต้องการส่งเสริมการลงทุนในประเทศอื่น ๆ แม้จะมีความได้เปรียบด้านต้นทุนก็ตาม
นอกจากนี้ต้องการเจรจาสนธิสัญญา NAFTA ซึ่งเป็นเขตการค้าเสรีอเมริกาเหนือ (ไม่มีภาษีนำเข้าระหว่างประเทศ) อันประกอบด้วย สหรัฐ แคนาดา และ แม็กซิโก ขณะที่ทางฝั่งเอเชียเชื่อว่าอีกไม่นานน่าจะมีตามมา โดยเชื่อว่าจะมุ่งไปที่ประเทศที่ได้ดุลการค้ากับสหรัฐ โดยเฉพาะจีน อันดับ 1 คือ (สหรัฐขาดดุลกับจีนราว 40% ของการขาดดุลทั้งหมด รองจากเยอรมนี 9.3% ญี่ปุ่นอันดับ 3 สหรัฐขาดดุลราว 9% ของการขาดดุลทั้งหมด แม็กซิโกอันดับ 4 ราว 7.6% และเวียดนามอันดับ 5 ราว 4%) ขณะที่ผลกระทบต่อไทย น่าจะมีทั้งทางตรง (สหรัฐนำเข้าไทยราว 10% ของมูลค่าส่งออกรวมของไทย สินค้านำเข้าหลักคือ แผงวงจรชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้สำนักงาน ยางแผ่นและยางแท่ง และอาหารทะเล เป็นต้น) โดยไทยได้ดุลการค้ากับสหรัฐราว 2% ของการขาดดุลของสหรัฐทั้งหมด) และไทยน่าจะได้รับผลทางอ้อม หากจีนถูกสหรัฐกีดกันทางการค้า จะกระทบต่อการส่งออกไทย (ไทยส่งออกไปจีนราว 11.05% ของยอดส่งออกรวมทั้งหมด)

 

(+) ราคาน้ำมันยังมีแนวโน้มกระเตื้อง สวนทาง Dollar ที่อ่อนค่า
การประชุมสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาคือ กลุ่ม OPEC และ Non-OPEC เพื่อติดตามการลดกำลังผลิตว่าเป็นไปตามที่ตกลงกันหรือไม่ ล่าสุดกลุ่ม OPEC (เดือน ม.ค.) ได้ลดการผลิตลงรวมแล้ว 1.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน หรือราว 83% ของที่ได้ตกลงลดกำลังผลิต (มติ OPEC ลด 1.8 ล้านบาร์เรล) และคาดว่าจะลดเพิ่มเป็น 1.7 ล้านบาร์เรลต่อวันได้ ในเดือน ก.พ. ซึ่งการลดลงส่วนใหญ่นั้นเกิดจากผู้ผลิตรายใหญ่อย่าง ซาอุดิอาระเบีย(ลดกำลังผลิตลดแล้วกว่า 1.2 ล้านบาร์เรลต่อวัน หรือ 4% ของกำลังผลิตทั้งหมด ทำให้ปริมาณการผลิตรวมลดต่ำกว่า 10 ล้านบาร์เรล)
ทางตรงกันข้าม ปริมาณการผลิตน้ำมันของสหรัฐฯ (Shale oil and Shale gas) กลับมาผลิตเพิ่มขึ้น หลังจากที่ราคาน้ำมันขยับขึ้น จากการรายงานหลุมขุดเจาะน้ำมันดิบสหรัฐฯล่าสุดพบว่า เพิ่มขึ้น 29 หลุมสู่ระดับ 551 หลุมสูงสุดในรอบ 4 ปี ซึ่งเป็นไปตามนโยบายของ นายทรัมป์ ประธานาธบดีสหรัฐฯคนใหม่ ที่ต้องการลดการพึ่งพาน้ำมันเข้าจากต่างประเทศ (ปกตินำสหรัฐฯนำเข้าน้ำมันดิบราว 8.33 ล้านบาร์เรลต่อวัน) แต่ สนับสนุนการผลิตน้ำมันในประเทศ อาทิ การให้สิทธิบัตรขุดน้ำมัน และการเปิดพื้นที่ของรัฐให้ใช้ในการขุดเจาะน้ำมัน และการลดการนำเข้าน้ำมันดิบ
แต่อย่างไรก็ตาม โดยรวมเชื่อว่า Supply น้ำมันของโลกยังลดลง หากพิจารณา การตัดลด กลุ่ม OPEC และ Non-OPEC ซึ่งยังมีประมาณที่มากกว่าส่วนที่เพิ่มขึ้นของสหรัฐ ประกอบกับ ค่าเงิน Dollar ที่อ่อนค่าราว 3% นับจากที่แข็งค่าสุดในปลายเดือน ธ.ค. 2559 เนื่องจากตลาดเริ่มไม่มั่นใจต่อนโยบายเศรษฐกิจของทรัมป์ จึงยังหนุนให้ราคาน้ำมันดิบดูไบยังยืนใกล้เคียง 54-55 เหรียญฯ ตามประมาณการขอ
ASPS

หลังจากนี้ติดตามผลการประชุมอย่างไม่เป็นทางการของ กลุ่ม OPEC อีก 2 ครั้ง (ทุกวันที่ 17 ของเดือนเริ่มเดือน มี.ค.) โดยครั้งแรกจะจัดขึ้นที่ประเทศคูเวต ก่อนการประชุมอย่างเป็นทางการของกลุ่ม OPEC ในวันที่ 25 พ.ค.

 

(+) เข้าสู่ช่วงทำ Earnings Preview ของ Real Sector
หลังจากเสร็จสิ้นการรายงบงวด 4Q59 ของธนาคาร นับจากนี้ติดตามการรายงานผลประกอบการของกลุ่ม Real Sector ซึ่งในช่วงเที่ยงวันที่ 25 ม.ค. นี้ SCC (FV@B610) น่าจะประกาศเป็นรายแรก ซึ่งได้นำเสนอไปแล้ววานนี้ว่า นักวิเคราะห์ ASPS ประเมินกำไรสุทธิไว้ 10,798 ล้านบาท ลดลง 6%YoY เพราะบริษัท ระยองโอเลฟินส์ ซึ่งเป็นโรงงานปิโตรเคมีต้นน้ำ ได้หยุดซ่อมบำรุง 40 วัน ในเดือน พ.ย.-ธ.ค.59 แต่อย่างรก็ตามถือเป็นฐานกำไรที่ยังสูงมาก จาก Spread ผลิตภัณฑ์หลักทั้ง HDPE,PP ที่ดีขึ้น เทียบกับ Naphtha (ต้นทุน) ขณะที่อุปทานใหม่จะปี 2560-2564 เข้ามาใกล้เคียงกับความต้องการ ทำให้อัตราการใช้กำลังการผลิตของโรงงานโอเลฟินส์ทั่วโลกยังอยู่ในระดับระดับสูงกว่า 90% จึงเชื่อว่าวัฏจักรขาขึ้นของธุรกิจปิโตรเคมีรอบนี้ น่าจะกินเวลายาวนานไปถึงปี 2564 และจะเป็นตัวสร้างกระแสเงินสดที่สำคัญให้กับ SCC ที่พร้อมจะต่อยอดในการขยายธุรกิจต่อไป โดย EBITDA ที่ทำได้มากกว่า 1 แสนล้านบาท/ปี พร้อมลงทุนเฉลี่ย 50,000 ล้านบาท/ปี โดยมีแผนซื้อกิจการโรงปูนในเวียดนาม และการลงทุน Greenfields ปิโตรเคมีคอมเพล็กซ์ในเวียดนาม ซึ่งถือเป็น Potential Growth ที่อยู่นอกเหนือประมาณการ ภายใต้มูลค่าหุ้น (DCF) เดิม 610 บาท เทียบ มี Upside อีก 23% “ซื้อ”

AMATA ([email protected]) คาดกำไรสุทธิ 4Q59 อยู่ที่ 469 ล้านบาท เติบโต 1.6 เท่าตัว ทั้ง QoQ และ YoY จากฐานที่ต่ำ เพราะขายที่ดินได้ดีเกินคาด หนุน Gross Margin อยู่ที่ 58% แม้รายได้ สาธารณูปโภค (Recurring Income) เช่น ค่าเช่าโรงงาน และส่วนแบ่งกำไรโรงไฟฟ้า คาดทรงตัว QoQ โดยรวมประเมินกำไรสุทธิปี 2559 ที่ 924 ล้านบาท ชะลอตัว 24% YoY ดีกว่าที่ คาดไว้มากจึงปรับประมาณการกำไรปี 2560 ขึ้น 50% เป็น 1.3 พันล้านบาท เติบโต 45% YoY เกิดจากการปรับรายได้ขายที่นิคมฯปี 2560 ขึ้น 30% เป็น 3.37 พันล้านบาท (จาก Backlog 76% และที่เหลือจะมาจากการโอนฯของ Presales ปี 2560 ราว 30% ของสมมติฐานฝ่ายวิจัยที่ 800 ไร่) และ ยังเห็นสัญญาณของธุรกิจนิคมฯ ดีขึ้น ตามแผนลงทุนระเบียงเขตเศรษฐกิจตะวันออก (EEC) ในช่วง 5 ปีข้างหน้า โดยเริ่มเห็นลูกค้าจากจีนมีการย้ายฐานการผลิตเข้ามา หลังปรับประมาณการ มูลค่าพื้นฐานปี 2560 อิง PER 14 เท่า (ค่าเฉลี่ย 5 ปี) ที่ 17.50 บาท มี Upside 13.6% ปรับคำแนะนำแป็น “ซื้อ”

  STA (FV@B32) คาดกำไร 4Q59 อยู่ที่ 546 ล้านบาท บาท พลิกจากที่ขาดทุนจากการดำเนินงาน 187 ล้านบาท ในงวด 3Q59 (เติบโตกว่า 11.4 เท่าตัวจากงวด 4Q58) จากราคายางแท่งเฉลี่ยงวด 4Q59 ปรับเพิ่มสูงขึ้น หนุน gross margin เพิ่มขึ้นสู่ 8.5% โดยรวมประเมินกำไรสุทธิปี 2559 ที่ 1061 ล้านบาท ลดลง 5.1% อย่างไรก็ตาม ฝ่ายวิจัยปรับเพิ่มประมาณการกำไรสุทธิปี 2560-61 ขึ้น 14.0% และ 14.6% จากเดิม ซึ่งทำให้กำไรสุทธิปี 2560 จะเพิ่มขึ้นถึง 65.1% yoy (คาดการณ์ปริมาณขายยางพารายังเติบโตต่อเนื่องอีก 17.2% yoy เป็น 1.70 ล้านตัน ตามความต้องการใช้ยางพาราทั่วโลกแข็งแกร่ง) และ ราคายางแท่งเฉลี่ยปี 2560 ปรับเพิ่มขึ้น 62.5% yoy สู่ระดับ 2.2 พันดอลลาร์สหรัฐฯ/ตัน แม้คาด gross margin จะอ่อนตัวลงเล็กน้อยเหลือ 6.5%

  TU (FV@B25) คาดกำไรสุทธิงวด 4Q59 เท่ากับ 1 พันล้านบาท ลดลง 34.9% qoq (แต่เพิ่มขึ้น 53.8% yoy) จากค่าใช้จ่ายพิเศษในการซื้อกิจการ Red Lobster และขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน ขณะที่คาดกำไรจากการดำเนินงาน เท่ากับ 1.2 พันล้านบาท ลดลง 16.0%qoq และ 18.6%yoy จากค่าใช้จ่าย SG&A/Sales เพิ่มขึ้นสู่ระดับปกติ ขณะที่แนวโน้มรายได้รวมทรงตัวต่อเนื่องจาก 3Q59 ทั้งที่เป็น low season แต่เนื่องจากคาดว่า gross margin งวด 4Q59 จะปรับเพิ่มขึ้นเป็น 14.3% โดยรวมแนวโน้มกำไรสุทธิปี 2559 จะอยู่ที่ 5.4 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.7% yoy ส่วนกำไรสุทธิปี 2560 จะเติบโต 19.6% yoy จากการเติบโตภายในกิจการ โดย TU เน้น การปรับโครงสร้างธุรกิจและเพิ่มประสิทธิภาพการทำกำไรของกิจการที่ซื้อมาในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา นอกจากนี้ ยังประเมินธุรกิจแซลมอนจะพลิกกลับมาเป็นกำไรสุทธิได้ในปี 2560 รวมไปถึงผลบวกจากการรวมส่วนแบ่งกำไรจากการเข้าซื้อหุ้นกิจการ Red Lobster เข้ามาเต็มปี 2560

  AOT (FV@B448) เปิดเผยสถิติการใช้บริการ งวด ธ.ค. 59 กลับมาเติบโต 8.8%yoy เทียบกับงวด ต.ค. และ พ.ย. 59 ที่เติบโตเพียง 6.1%yoy และ 3.1%yoy (อยู่ในช่วงของการไว้อาลัยและจัดระเบียบทัวร์ศูนย์เหรียญฯ) เป็นการฟื้นตัว ทั้งจำนวนผู้ใช้บริการเส้นทางบินในและต่างประเทศ และปริมาณเที่ยวบินเพิ่มขึ้น 7.6%yoy (ดีขึ้นจากเดือน ต.ค. และ พ.ย. 59 ที่เติบโตเพียง 6.1%yoy และ 7.1%yoy ตามลำดับ) ผลจากการที่ภาครัฐออกมาตรการกระตุ้นนักท่องเที่ยวปลายปี เช่น การยกเว้นค่าวีซ่านักท่องเที่ยว 19 ประเทศ นอกจากนี้ยังมีรายได้เชิงพาณิชย์เสริมจากการให้เช่าพื้นที่ดอนเมือง อาคาร 2 ที่เริ่มทยอยรับรู้ตั้งแต่ 2Q59 โดยรวมส่งผลให้รายได้งวดบัญชี 1Q60 (สิ้นสุด ธ.ค. 60) เพิ่มขึ้น 6.1%yoy และ 6.9%yoy ตามลำดับ
  และ ปี 2560 คาดว่ากำไรสุทธิจะเติบโตได้มากกว่าที่ทำไว้เพียง 6% เพราะบรรยากาศท่องเที่ยวคนไทยที่ฟื้นตัว และ ภาครัฐยังมีแนวโน้มใช้มาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวต่อเนื่อง เช่น การต่ออายุมาตรการยกเว้นค่าธรรมเนียมวีซ่าออกไปอีก (หลังจากจะสิ้นสุด ก.พ. 60 นี้) (ตั้งสมมติฐานผู้ใช้บริการเติบโตอย่างอนุรักษ์นิยมที่เพียง 7%yoy) นอกจากนี้ยังมีรายได้เสริมจากการจากการทยอยเปิดพื้นที่เชิงพาณิชย์สนามบินภูเก็ต เฟส ใหม่ ที่จะทยอยบันทึกเข้ามาตั้งแต่ 3Q60 โดยมูลค่าพื้นฐานอยู่ที่ 448 บาท ยังมี Upside ราว 14.3% อีกทั้งยังมีประเด็นเก็งกำไรได้ระยะสั้นจากการแตกพาร์จาก 10 เห ลือ 1 บาท (คาดมีผลหลังประชุมผู้ถือหุ้น 27 ม.ค.) จึงยังคงยืนยันให้ “ซื้อ”

(0) แม้ภาพรวมต่างชาติยังซื้อหุ้นในภูมิภาค แต่ขายกลุ่ม TIP เล็กน้อย
แม้วานนี้ต่างชาติยังคงซื้อสุทธิหุ้นภูมิภาคต่อเนื่องเป็นวันที่ 3 ด้วยมูลค่าสูงถึง 407 ล้านเหรียญ แต่แรงซื้อหลักๆ ยังอยู่ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ คือ ไต้หวัน ซื้อสุทธิสูงถึง 328 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2) และเกาหลีใต้ 95 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิเพียงวันเดียว) ส่วนตลาดหุ้นในกลุ่ม TIP ล้วนสลับขายสุทธิทุกประเทศ แต่เพียงเล็กน้อย คือ อินโดนีเซียขายสุทธิราว 6 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 2) ตามมาด้วยฟิลิปปินส์ 3 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิเพียงวันเดียว) และไทยที่ต่างชาติสลับมาขายสุทธิ 7 ล้านเหรียญ หรือ 263 ล้านบาท (หลังจากซื้อสุทธิกว่า 3.7 พันล้านบาทในวันก่อนหน้า) ต่างกับสถาบันในประเทศที่ซื้อสุทธิราว 529 ล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2)
  ส่วนทางด้านตราสารหนี้ไทย นักลงทุนสถาบันฯยังคงซื้อสุทธิราว 4.78 พันล้านบาท ต่างกับนักลงทุนต่างชาติที่ขายสุทธิราว 3.05 พันล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 3)

ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
พาสุ ชัยหลีเจริญ ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!