- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Thursday, 19 January 2017 18:42
- Hits: 1258
บล.ดีบีเอสวิคเคอร์ส : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน
'ค่าลบจะดูไม่ค่อยดี'
หุ้นที่เปลี่ยนคำแนะนำทางปัจจัยพื้นฐานวันนี้ : ไม่มี
ปัจจัย&กลยุทธ์ทางปัจจัยพื้นฐาน : SET Index เมื่อวานนี้ปิด -6.01 จุดปิดที่ 1560.83 โดยต่างชาติขายสุทธิเพิ่มเป็น 3.2 พันล้านบาท ขณะที่สถาบันในประเทศและรายย่อยซื้อสุทธิ สำหรับปัจจัยสำคัญช่วงนี้ ได้แก่
- การปรับพอร์ตของต่างชาติกดดัน Sentiment การลงทุน
เฟดระบุตัวเลขภาคแรงงานและเงินเฟ้อถึงเป้าหมายทางการแล้ว การผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนธ.ค.เพิ่มแข็งแกร่ง...การขึ้นดอกเบี้ยจะค่อยเป็นค่อยไปจนแตะ 3% ภายในปี 62 โดยปัจจุบัน Fed Fund Rate อยู่ที่ 0.75% ถ้าหากปรับขึ้นปีละ 3 ครั้งๆละ 0.25% ก็จะเป็น 3.0% ในสิ้นปี 62 พอดี (สำหรับเงินเฟ้อธ.ค.59 ออกมาที่ 2.1% สูงกว่าเป้าหมายที่ 2.0% แล้ว)
- ราคาน้ำมันดิบร่วงราว 2.7-2.8% เพราะกังวลสหรัฐผลิตน้ำมันเพิ่ม ซึ่งกดดันข้อตกลงลดการผลิตของโอเปก & นอกโอเปก
ติดตามกำไร 4Q59 ของกลุ่มธนาคารพาณิชย์และ Real Sectors ที่ทยอยออกมากันต่อ
จัดพอร์ตบนความสมดุลของ Risk & Return (แบ่งเป็น 3 หมวด : หุ้นปันผล, หุ้นมั่นคง และหุ้นเติบโต) และทำ Re-balancing ต่อเนื่อง ทั้งนี้ตลาดหุ้นปีนี้มีแนวโน้มผันผวน ความเสี่ยง FX มากขึ้น และเริ่มต้นปีบน Index ที่สูง หุ้นพื้นฐานแนะนำวันนี้เป็น TMT
การวิเคราะห์ทางเทคนิค : ระยะสั้นสัญญาณเป็นลบ ซื้อใหม่เน้นตามด้วยค่าบวก/ซื้ออ่อนตัวที่แนวรับ แนวต้านระยะสั้น 1570- 1580 แนวรับ 1540, 1530-1520 จุด
สำหรับหุ้น SCAN ทางเทคนิคที่เข้ามาใหม่เป็น ORI, GUNKUL, BCH ส่วนหุ้นที่ยังอยู่ใน List คือ LHBANK, FORTH, MDX, HMPRO หุ้นแนะนำที่หาจังหวะ Take Profit เป็น APCS หุ้นที่หลุด List คือ PACE, EKH, BR
นักวิเคราะห์ : อาภาภรณ์ แสวงพรรค - [email protected]
Need to know TODAY
ปัจจัยต่างประเทศ & ในประเทศสำคัญ
ปัจจัยต่างประเทศ :
สหรัฐ : ประธานเฟดระบุตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญเข้าใกล้เป้าหมายแล้ว...จะขึ้นดอกเบี้ยค่อยเป็นค่อยไป
นางเจเน็ต เยลเลน กล่าวสุนทรพจน์ในช่วงบ่ายวันพุธตามเวลาสหรัฐ โดยระบุว่าเศรษฐกิจสหรัฐเข้าใกล้เป้าหมายของธนาคารกลางทั้งในเรื่องการจ้างงานและราคาเงินเฟ้อ พร้อมแสดงความเชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจจะยังคงปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่องต่อไป ซึ่งจะเปิดทางให้เฟดสามารถเริ่มลดระดับการให้การสนับสนุนที่ดำเนินการตลอดช่วง 10 ปีที่ผ่านมาลงได้ และประธานเฟดยังระบุด้วยว่าดอกเบี้ยจะปรับขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไปจนถึงเป้าหมาย 3% ภายในปี 2562 (ปัจจุบัน 0.75%) แต่ระบุไม่ได้ว่าการปรับขึ้นจะเกิดเมื่อใด และจะขึ้นแต่ละครั้งเท่าไร ขึ้นกับสถานการณ์เศรษฐกิจ
สหรัฐ : เงินเฟ้อเดือนธ.ค.59 ทะลุเป้าหมายของเฟดแล้ว
ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) +0.3%MoM (+2.1%YoY) ในเดือนธ.ค.59 หลัง +0.2%MoM ในเดือนพ.ย. โดยได้แรงหนุนจากราคาน้ำมันและค่าเช่าบ้านที่เพิ่มขึ้น ซึ่งการเพิ่มขึ้นของเงินเฟ้อเดือนธ.ค.เกินเป้าหมายของเฟดที่ 2.0% แล้ว และเป็นครั้งแรกที่ดัชนี CPI พุ่งทะลุ 2% นับตั้งแต่ปี 57 หลังจากเพิ่มขึ้น 1.7%YoY ในเดือนพ.ย.59
+ สหรัฐ : การผลิตภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นดีกว่าคาดในเดือนธ.ค.
ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เปิดเผยว่าการผลิตภาคอุตสาหกรรม +0.8%MoM ในเดือนธ.ค. โดยเพิ่มขึ้นมากกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์หลัง -0.7%MoM ในเดือนพ.ย. ปัจจัยหนุนคือ การเพิ่มขึ้นของภาคสาธารณูปโภคที่มากสุดนับตั้งแต่ปี 1989 และธนาคารกลางสหรัฐได้เปิดเผยรายงานสรุปภาวะเศรษฐกิจทั้ง 12 เขต หรือ Beige Book ว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจของสหรัฐยังคงมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องในอัตราปานกลางเกือบทั่วทุกภูมิภาค ตั้งแต่ช่วงปลายเดือนพ.ย.จนถึงสิ้นธ.ค.59
/+ สหรัฐ : ภาคที่อยู่อาศัยยังแข็งแกร่งแม้ดัชนีชะลอลงบ้างในเดือนม.ค.60
สมาคมผู้สร้างบ้านแห่งชาติ (NAHB) ของสหรัฐเปิดเผยว่าดัชนีความเชื่อมั่นผู้สร้างบ้านลดลง 2 จุด แตะระดับ 67 ในเดือนม.ค.60 หลังจากพุ่งขึ้นอย่างมากในเดือนธ.ค.59 ทั้งนี้แม้ว่าดัชนีความเชื่อมั่นจะลดลงแต่ผู้สร้างบ้านบางส่วนยังเชื่อมั่นว่านายโดนัลด์ ทรัมป์ จะใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและลดกฎระเบียบในภาคอุตสาหกรรมตามที่เขาได้หาเสียงไว้
ตลาดหุ้นสหรัฐ : แกว่งแคบ
ดัชนี DJIA ปิด -22.05 จุด ปิดที่ 19,804.72 จุด ดัชนี S&P500 +4.00 จุด ปิดที่ 2,271.89 จุด ดัชนี NASDAQ +16.93 จุด ปิดที่ 5,555.65 จุด นักลงทุนรอดูการกล่าวสุนทรพจน์ของประธานเฟด และอัตราเงินเฟ้อที่ปรับขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 ทำให้กังวลว่าเฟดจะขึ้นดอกเบี้ยหลายครั้งในปีนี้ ขณะเดียวกันผลประกอบการที่ออกมาก็มีทั้งบวกและลบ รวมถึงจับตาการสาบานตนรับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐของนายโดนัลด์ ทรัมป์ ในวันศุกร์นี้
- ราคาน้ำมันดิบ : ลดลงเพราะกังวลสหรัฐเพิ่มการผลิต
สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนก.พ. ลดลง 1.40 ดอลลาร์ หรือ -2.7% ปิดที่ 51.08 ดอลลาร์/บาร์เรล ส่วน BRENT ส่งมอบเดือนมี.ค. ลดลง 1.55 ดอลลาร์ หรือ -2.8% ปิดที่ 53.92 ดอลลาร์/บาร์เรล เพราะกังวลสหรัฐเพิ่มการผลิต หลังแท่นขุดเจาะที่ปิดไปกลับมาเปิดดำเนินงานเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
ราคาทองคำ : ทรงตัว
สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนก.พ. ลดลง 80 เซนต์ หรือ 0.07% ปิดที่ 1,212.10 ดอลลาร์/ออนซ์ หลังจากที่พุ่งขึ้นถึง 1.4% ในวันอังคารที่ผ่านมา และดัชนีค่าเงินดอลลาร์เพิ่มขึ้น 0.49% สู่ระดับ 100.79 โดยปกติแล้วทองและดอลลาร์จะเคลื่อนตัวในทิศทางตรงข้ามกัน
ปัจจัยในประเทศ :
กลุ่มยานยนต์ & ชิ้นส่วน : ยอดผลิตรถยนต์ปี 59 เติบโต 1.6%YoY ส่วนปี 60 ก็ขยายไม่มาก
สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่ายอดผลิตรถยนต์เดือนธ.ค.59 มีทั้งสิ้น 135,792 คัน ต่ำสุดในรอบ 19 เดือน และ -11.07%YoY, -1.07%MoM เนื่องจากมีวันหยุดเพิ่มเติมจากปกติและมีการลดการผลิตในบางรุ่นเพื่อลดสต็อกรองรับการผลิตรุ่นใหม่ที่จะออกมาในต้นปี โดยต้นปี 60 จะมีรถยนต์ออกมา 5 รุ่น เริ่มจากฮอนด้า ซิตี้ ตามด้วยอีโคคาร์รุ่นใหม่ของนิสสัน คือ โน๊ต ที่เปิดตัวไปแล้ว และรถที่รอเปิดตัว คือ มาสด้า 3, โตโยต้า วีออส และเมอร์เซเดส-เบนซ์ อี-คลาส รุ่นประกอบในประเทศ นอกจากนั้นตลาดส่งออกก็ชะลอตัวด้วย ยอดส่งออกรถกระบะ -24%YoY สำหรับยอดผลิตรถยนต์ทั้งปี 59 อยู่ที่ 1,944,417 คัน +1.64%YoY ยอดผลิตรถจักรยานยนต์ 2,446,249 คัน +2.04% ตั้งเป้าหมายยอดผลิตรถยนต์ในปี 60 ไว้ที่ 2.0 ล้านคัน
ด้านยอดขายรถยนต์ในประเทศเดือนธ.ค.59 ก็ -14.4%YoY เพราะฐานธ.ค.58 สูง และผู้บริโภครอการเปิดตัวรถยนต์รุ่นใหม่ ยอดขายรถจักรยานยนต์เดือนธ.ค. 124,667 คัน +1.6%YoY แต่ -9.2%MoM รวมทั้งปี 59 มียอดขายรถยนต์ในประเทศ 768,788 คัน -3.9%YoY ส่วนยอดขายรถจักรยานยนต์ 1,738,231 คัน +6%YoY การส่งออกรถยนต์สำเร็จรูปปี 59 เท่ากับ 1,188,515 คัน -1.36% มูลค่าส่งออกรถยนต์และชิ้นส่วน 891,859.58 ล้านบาท +5.99%YoY ส่วนมูลค่าส่งอกรถจักรยานยนต์และชิ้นส่วน 52,574.55 ล้านบาท +2.7%YoY เมื่อรวมการส่งออกสินค้ารถยนต์ รถจักรยานยนต์และชิ้นส่วนทั้งปี 2559 มีมูลค่ารวมกันทั้งสิ้น 944,434.14 ล้านบาท +5.8%YoY
KBANK (ราคาปิด 185 บาท/ราคาพื้นฐาน 195 บาท) : กำไรสุทธิปี 59 เพิ่มขึ้น 1.8%YoY
# ธนาคารรายงานกำไรสุทธิปี 59 เติบโตเล็กน้อย 1.8%YoY เป็น 40.2 พันล้านบาท โดย NII +5.5%YoY เป็น 4.7 พันล้านบาท NIM แข็งแกร่งที่ 3.52% ในปี 59 ด้าน Non-NII +2%YoY เป็น 1.2 พันล้านบาท ด้าน Cost to income ratio) อยู่ที่ 41.6% นับว่าควบคุมค่าใช้จ่ายดำเนินงานได้ดี แต่ธนาคารตั้งสำรองค่าเผื่อฯสูงขึ้นในช่วงเศรษฐกิจไม่แน่นอน
# สำหรับ 4Q59 มีกำไรสุทธิ 10.2 พันล้านบาท (-5.6%QoQ แต่ +87.1%YoY) ซึ่งการเพิ่มขึ้นมากเมื่อเทียบ YoY เป็นผลจากการตั้งสำรองค่าเผื่อฯที่น้อยลง ส่วนการอ่อนตัว QoQ มาจากค่าใช้จ่ายดำเนินงานที่เพิ่มขึ้นตามปัจจัยฤดูกาลและ NIM อ่อนลงเป็น 3.47% ในไตรมาสนี้
# ด้าน NPL Ratio สิ้นธ.ค.59 อยู่ที่ 3.32% เพิ่มจากสิ้นปี 58 ที่ 2.7% ส่วน Coverage Ratio แข็งแกร่งที่ 130.92% ในสิ้นปี 59 (สิ้นปี 58 อยู่ที่ 130%) ด้าน CAR ตามหลัก Basel III สิ้นธ.ค.59 เท่ากับ 18.84% เป็นขั้นที่ 1 เท่ากับ 15.16%
นักวิเคราะห์ : อาภาภรณ์ แสวงพรรค - [email protected]