WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ASPบล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน



กลยุทธ์การลงทุน
  SET ยังเดินหน้าต่อด้วยแรงหนุนของกองทุนไทยและต่างชาติ ทำให้มีโอกาสแตะ 1,600 จุด เร็วกว่าที่คิด แต่น่าเริ่มมีแรงขายเกิดขึ้น กลยุทธ์สะสมหุ้นปันผลสูง (ASK, RATCH) และหุ้นน้ำมัน และยังเลือก PTTEP(FV@B102) และ PTT(FV@B400) เป็น Top picks

 

(+) ค่าเงินเอเชียกลับมาแข็งค่า หลัง Flow ไหลกลับ
  เข้าสู่ปี 2560 ค่าเงินภูมิภาคเอเชียกลับมาแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ โดยเงินรูเปียห์อินโดนีเซียแข็งค่ามากสุดในภูมิภาคอาเซียน คือ 1.02% ตามด้วยริงกิตมาเลเซีย 0.67% เปโซฟิลิปปินส์ แข็งค่า 0.42% ส่วนเงินบาทแข็งค่า 0.37% ขณะที่ค่าเงินในเอเซียตะวันออก แข็งค่ามากกว่าภูมิภาคอื่น กล่าวคือ เงินวอนเกาหลีใต้ แข็งค่าถึง 2.03% ตามด้วยเยน แข็งค่า 1.39% และเงินหยวน แข็งค่า 1.11% ในส่วนของเงินในภูมิภาคยุโรปก็แข็งค่าเช่นกันคือ ยูโร แข็งค่า 0.86% และ ปอนด์ แข็งค่า 0.64%
  การแข็งค่าของเงินเอเซีย สวนทางกับการอ่อนค่าของเงินดอลลาร์ (หลังจาก Dollar Index ทำสถิติแข็งค่าสุดในรอบกว่า 14 ปี ที่ระดับ 103.82) สอดคล้องกับกระแส Fund Flow ที่ไหลกลับเข้าสู่ภูมิภาคต่อเนื่อง 3 วันทำการ รวมกว่า 687 ล้านเหรียญ
  อย่างไรก็ตามการเคลื่อนไหวดังกล่าวยังไม่ถือเป็นแนวโน้มหลักที่บ่งชี้ว่า Fund Flow จะไหลเข้ามาต่อเนื่อง โดยเชื่อว่ายังจะเห็นความผันผวนของค่าเงินและ Fund Flow ได้อีกมากในช่วงเวลาที่เหลือของปี 2560 ส่วนสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันน่าจะเป็นเพียงการขายทำกำไรเงินดอลลาร์ หลังจากปีที่แล้วปรับขึ้นมาถึง 3.63% รวมทั้งขายทำกำไรตลาดหุ้นสหรัฐที่ขึ้นมามากกว่า 7% นับตั้งแต่การเลือกตั้งประธานาธิบดีเมื่อ 8 พ.ย. 2559 โดยตอบรับประเด็นนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศของโดนัลด์ ทรัมป์ และสลับมาตลาดหุ้นภูมิภาคเอเซียที่ยัง laggard กว่า ลำดับต่อไปที่ต้องติดตามก็คือการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจหลังการเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีอย่างเป็นทางการ รวมทั้งรัฐบาลใหม่สหรัฐที่ชัดเจนขึ้นภายหลังวันที่ 20 ม.ค. ซึ่งอาจมีผลให้ค่าเงินโลกมีความผันผวนอีกครั้ง แต่ในช่วงสั้นเชื่อว่าเงินดอลลาร์ยังมีแนวโน้มอ่อนค่า ซึ่งจะดีต่อราคาสินค้าโภคภัณฑ์ โดยเฉพาะราคาน้ำมันโลกให้ยังทรงตัวระดับสูงต่อไป

 

(+) สต็อกน้ำมันดิบสหรัฐลดลงมากกว่าคาด หนุนราคาน้ำมันโลกทรงตัวสูง
  วานนี้ สำนักสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐ (EIA) รายงานสต็อกน้ำมันดิบรายสัปดาห์ สิ้นสุด 30 ธ.ค. 2559 โดยสต็อกน้ำมันดิบลดลง 7.1 ล้านบาร์เรล ลดลงมากกว่าคาดจากการนำเข้าน้ำมับดิบลดลง สวนทางกับสต็อกน้ำมันสำเร็จรูปทั้งเบนซินและดีเซล เพิ่มขึ้น 8.3 และ 10.1 ล้านบาร์เรล จากความต้องการน้ำมันเพื่อการขับขี่ลดลง นอกจากนี้ กลุ่ม OPEC ออกรายงานเดือน ธ.ค. ปรากฏว่า กำลังการผลิตลดลงอยู่ที่ 34.18 ล้านบาร์เรลต่อวัน หลักๆ มาจากซาอุดิอาระเบีย คูเวต และ เวเนซุเอล่า และอิรัก ทั้งนี้ กลุ่ม OPEC และ Non-OPEC จะจัดการประชุมเพื่อประเมินสถานการณ์ในวันที่ 13 ม.ค. ที่กรุงอาบูดาบี และ 21-22 ม.ค. ที่กรุงเวียนนา จึงเป็นปัจจัยที่มีผลต่อราคาน้ำมัน ประกอบกับการอ่อนค่าของเงินดอลลาร์ ยังหนุนราคาน้ำมันรักษาระดับเหนือ 50 เหรียญฯต่อบาร์เรลอย่างต่อเนื่อง และทำให้สมมุติฐานราคาน้ำมันดิบดูไบในปี 2560 ของ ASPS ที่ 55 เหรียญฯต่อบาร์เรลมีความเป็นไปได้สูงจึงยังคงแนะนำสะสม PTT(FV@B400) และ PTTEP(FV@B102)

 

(+) เงินทุนต่างชาติยังไหลเข้าตลาดหุ้นไทย พร้อมแรงหนุนจากสถาบันฯ
  วานนี้ต่างชาติยังคงซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคต่อเนื่องเป็นวันที่ 3 ด้วยมูลค่าราว 278 ล้านเหรียญ โดยเป็นการซื้อสุทธิทุกประเทศ ยกเว้นตลาดหุ้นอินโดนีเซียเพียงแห่งเดียวเท่านั้นที่ถูกขายสุทธิราว 6 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 3) ส่วนตลาดหุ้นที่เหลืออีก 4 แห่ง ต่างชาติยังคงซื้อสุทธิ คือ เกาหลีใต้ซื้อสุทธิราว 89 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 4) ตามมาด้วยไต้หวัน 89 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2), ฟิลิปปินส์ 15 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 5) และไทยที่ต่างชาติยังคงซื้อสุทธิสูงถึง 82 ล้านเหรียญ หรือ 2.9 พันล้านบาท (ซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 4 โดยมียอดรวมสูงถึง 1.35 หมื่นล้านบาท) พร้อมกับแรงหนุนจากสถาบันฯที่ซื้อสุทธิสูงถึง 1.08 พันล้านบาท (ซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 8 โดยมียอดรวมสูงถึง 1.40 หมื่นล้านบาท)
  ส่วนทางด้านตราสารหนี้ไทย นักลงทุนสถาบันฯซื้อสุทธิราว 2.07 หมื่นล้านบาท ต่างกับนักลงทุนต่างชาติที่ขายสุทธิราว 408 ล้านบาท (หลังจากซื้อสุทธิมา 2 วัน)

 

(-) ตลาดหุ้นโลกชะลอความร้อนแรงลง หลังตัวเลขการจ้างงานต่ำคาด
  วานนี้ ดัชนีตลาดหุ้นโลกเริ่มชะลอความร้อนแรงลง และเริ่มมีการขายทำกำไรออกมาในบางตลาด โดยสหรัฐ ดัชนี Dow Jones ยังไม่สามารถทะลุผ่าน 20,000 จุดได้ หลังรายงานตัวเลขเศรษฐกิจชะลอตัว โดยดัชนี PMI ภาคบริการ เดือน ธ.ค. อยู่ที่ 53.99 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ 54.6 รวมทั้งรายงานการจ้างงานภาคเอกชน (ADP Nonfarm Employment) เดือน ธ.ค. เพิ่มขึ้นเพียง 1.53 แสนตำแหน่ง น้อยกว่าคาด และลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่มีการจ้างงานเพิ่มกว่า 2.15 แสนตำแหน่ง ส่วนวันนี้ จะมีรายงานการจ้างงานนอกภาคการเกษตร (Nonfarm Payrolls) เดือน ธ.ค. คาดว่าจะมีการจ้างงานเพิ่ม 1.78 แสนตำแหน่ง และอัตราว่างงาน เดือน ธ.ค. คาดว่าจะขยับขึ้นมาอยู่ที่ 4.7% จึงน่าจะเป็นอีกปัจจัยที่ยังคงกดดันตลาดหุ้นสหรัฐ รวมทั้งเงินดอลลาร์ให้มีทิศทางอ่อนค่า (ล่าสุด Dollar Index อยู่ที่ 101.55) นอกจากนี้ ตลาดเริ่มกลับมากังวลถึงนโยบายสุดขั้วของ โดนัลด์ ทรัมป์ อีกครั้ง
  ส่วนไทย ยังมีปัจจัยบวกหนุน หลังจาก ม.หอการค้าไทย รายงานดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน ธ.ค. อยู่ที่ 73.7 เป็นการเพิ่มขึ้นครั้งแรกหลังจากลดลงติดต่อกัน 2 เดือน แรงหนุนมาจากมาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายช่วงสิ้นปี รวมทั้งภาคการส่งออกของไทยเดือน พ.ย. ที่ขยายตัวสูงสุดในรอบ 9 เดือน อย่างไรก็ตาม ในส่วนของฝ่ายวิจัย ASPS ประเมินว่า การบริโภคภาคครัวเรือน (C) ในปีที่แล้วน่าจะขยายตัวราว 3%YoY ส่วนปีนี้คาดจะขยายตัวใกล้เคียงกับปีที่แล้ว ที่ 2.7%YoY โดยปัจจัยขับเคลื่อนยังคงมาจากการลงทุนภาครัฐ และการลงทุนภาคเอกชน โดยประเมินว่าเศรษฐกิจไทยปี 2560 จะขยายตัวได้ 3.5%yoy

 

(0) SET เป้าหมายปีนี้ 1,600 จุด อาจถึงเร็วกว่าคาด ยังเน้นหุ้น PTTEP, PTT
  SET Index พลิกจากความคาดหมาย โดยสามารถบวกได้ต่อเนื่องจากปลายปีด้วยแรงหนุนของกองทุนในประเทศและต่างชาติ ทำให้ดัชนีมีโอกาสแตะ 1,600 จุดเร็วกว่าที่คาด แต่เชื่อว่าเมื่อใกล้จุดนี้ การขายทำกำไรระยะสั้นน่าจะเกิดขึ้น กลยุทธ์การลงทุนยังให้เน้นรายหุ้น โดยเฉพาะหุ้นพลังงาน ปี 2560 เติบโต 9% (ไม่รวมรายการพิเศษที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต) แต่กำหนดสมมุติฐานราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยระดับ 55 เหรียญฯ/บาร์เรล เพิ่มขึ้นจาก 45 เหรียญฯ/บาร์เรลในปี 2559 แต่หากมีการตัดลดกำลังการผลิตตามข้อตกลงของ OPEC และ Non-OPEC ได้เชื่อว่า ราคาน้ำมันมีโอกาสขึ้นกว่าสมมติฐานข้างต้น ซึ่งทำให้กลุ่มนี้จะมีโอกาส outperform ตลาดในปี 2560 ได้ ยังชอบ ทั้ง PTTEP(FV@B102) และ PTT(FV@B400) โดยมี EPS growth ปี 2560 ราว 42% และ 25% แต่ upside เริ่มจำกัดราว 4% และ 3.4% ตามลำดับ แต่อย่างไรก็ตามหากราคาน้ำมันโลกสูงกว่าสมมติฐานทุกๆ 5 เหรียญฯ ต่อบาร์เรล จะหนุนกำไรและมูลค่าพื้นฐานของ PTTEP เพิ่มขึ้น 7.5% และ 9 บาทต่อหุ้น และเช่นเดียวกับ PTT จะเพิ่มขึ้น 2.8% และ 8 บาท ตามลำดับ

  ตามด้วยหุ้นธนาคารพาณิชย์ เนื่องจากปี 2559 ดัชนีกลุ่มนี้ underperform ตลาดมาก จากผลประกอบการย่ำแย่ แต่ในปี 2560 น่าจะค่อย ๆ ดีขึ้น แต่เนื่องจากราคาหุ้นหลายแห่งขยับขึ้นเร็วในช่วงเปิดตลาด 2 วันแรกจึงแนะนำให้ซื้อเมื่อราคาหุ้นย่อตัว โดยเฉพาะหุ้น Top pick ในกลุ่มนี้คือ SCB(FV@B177) ซึ่งจุดเด่น EPS Growth ในปี 2560 สูง 13.1% และมี ค่า beta สูงสุดในกลุ่มคือ 1.36 เท่า แต่ราคาหุ้นปัจจุบันเหลือ upside เพียง 13.4% ส่วนหุ้นรองลงมาคือ KBANK([email protected]) มี EPS Growth น้อยเพียง 6.8% และมี ค่า beta 1.07 เท่า แต่มีข้อดีคือ มี upside 21.8% ขณะที่หุ้นใหญ่อื่น ๆ เช่น BBL(FV@B200) มี EPS Growth ราว 10.82% แต่ความเสี่ยงที่ยังมีอยู่คือ การออกหนังสือค้ำประกันใบอนุญาตช่องทีวีดิจิตอล จนกว่าจะสิ้นสุดระยะเวลาการครบกำหนด แต่หากพิจารณาด้าน upside ถือว่ายังสูงถึง 21.9%

  ขณะที่หุ้นธนาคารขนาดเล็ก แม้จะมี EPS Growth สูง แต่ upside จำกัด คือ TCAP(FV@B50) และ TISCO([email protected]) มี EPS Growth 13.63% และ 16.97% และ มี upside เพียง 10.5% และ 8.7% ตามลำดับ
  นอกจากนี้ระยะ 1-2 เดือนข้างหน้า เชื่อว่า theme การลงทุนที่ยังใช้ได้อยู่คือ
  Dividend Play : เพราะหลังปิดงบปี 2559 คือ ช่วงเดือน ม.ค. – ก.พ. 2560 จะเข้าสู่ฤดูกาลประกาศจ่ายปันผล โดยจะทยอยขึ้นเครื่องหมาย XD ตั้งแต่เดือน มี.ค. 2560 เป็นต้นไป กลยุทธ์การลงทุน Dividend Play ให้ซื้อก่อน XD 2-3 เดือน และ ขายวันขึ้นเครื่องใหม่ XD โดยหุ้นที่ฝ่ายวิจัยคัดกรอง เลือกจาก Dividend Yield ปี 2559 และ 2560 สูงกว่า 4% ต่อปี มี EPS Growth ปี 2560 เติบโต กว่า 10% Upside สูงกว่าราคาปัจจุบันเกินกว่า 15% และฝ่ายวิจัยแนะนำ ซื้อ หุ้นที่เข้าเงื่อนไขคือ ASK (FV@B27), THANI ([email protected]), SCCC (FV@B340), RATCH (FV@B65) และ LH ([email protected])

ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
พาสุ ชัยหลีเจริญ ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!