- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Thursday, 05 January 2017 17:28
- Hits: 2603
บล.บัวหลวง : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
รอบด้านตลาดหุ้น
หุ้นขึ้นเดือน ม.ค.
จากโมเมนตั้มเศรษฐกิจโลกที่รายงานในช่วงวันหยุดที่ผ่านมา...ดีเกินคาด บวกกับข่าวร่างงบประมาณเกินดุลครั้งแรกของสหรัฐฯ หนุนหุ้น Cyclical stocks (น้ำมัน ปิโตรฯ เกษตรฯ อาหาร เหล็ก) เช่น IVL (IVL ลิงก์ตรงกับเศรษฐกิจสหรัฐ) PTTEP PTT หุ้นปาล์ม, น้ำตาล ฯลฯ บวกกับได้แรงซื้อหุ้นฝรั่ง…แบงก์ มือถือ ด้วยโมเมนตั้มแบบนี้คาด SET จะทำจุดสูงสุดใหม่ผ่าน 1,560 จุด ต้านถัดไป 1,575 และบริเวณยอดสูงเดิมของปี 2015 แถว 1,620 จุด
ระยะสั้น 1-2 วันนี้ คาดหุ้นจะหมุนวนมาเล่นหุ้นกลุ่มที่เชื่อมโยงกับหุ้นวัฏจักรในกลุ่มรอง เช่น โรงไฟฟ้า, งานก่อสร้าง EPC (TTCL TRC BJCHI SRICHA), ยานยนต์, อาหาร ส่วนหุ้นบูลชิพใหญ่ แบงก์ ปิโตรฯ น้ำมัน ฯลฯ ที่ขึ้นแรงเมื่อวาน 1-2 วันนี้ แนะย่อมาเป็นโอกาสในการซื้อ คาดกรอบดัชนีฯ 1,557-1,575 จุด
ระยะเดือน มค. คาดมีโอกาสที่จะเกิด January effect เหมือนกับปี 2012-13 และ 2015 ที่ดัชนีหุ้นขึ้นในช่วงเดือน มค.อิง (1) แรงซื้อคืนจาก นลท.ต่างชาติ...โดยแรงขายคาดว่าจะจำกัดอิงสัดส่วนถือครองหุ้นไทยที่ 29% ต่ำสุดในรอบ 5 ปี และต่ำกว่าค่าเฉลี่ยที่ 32% (2) ตัวเลขเศรษฐกิจภูมิภาคช่วงต้นปี คาดโมเมนตั้มยังดีต่อเนื่องจากปลายปี (ดัชนีภาคการผลิตโลก)
ส่วนข่าวลบ วิตกเม็ดเงินไถ่ถอนหน่วยลงทุน LTF ที่คาดว่าจะกดันหุ้นไทยเดือน มค. คาดว่าจะกระทบหุ้นไทยจำกัดเพราะ (1) เม็ดเงินซื้อ LTF สุทธิปี 2013 คิดเป็นประมาณ 8% ของ NAV (หรือคิดเป็นเพียง 2 หมื่นกว่าลบ.เท่านั้น จากที่ BLS รวบรวม) และ อิงข้อมูลการไถ่ถอนหน่วยฯ ย้อนหลัง 3 ปี พบว่าการขายหน่วยจะกระจายหลายเดือน ไม่ได้กระจุกตัวในเดือน มค.เพียงเดือนเดียว (2) ระดับผลตอบแทนหุ้นไทยปี 2013 เทียบ ณ.ปัจจุบันเฉลี่ยเพียง 8% ซึ่งไม่ได้ให้ผลตอบแทนสูงเหมือนรอบ ปี 2012 และครบกำหนดปี 2016 ที่ให้ผลตอบแทนถึง 22%
หุ้นแนะนำวันนี้ SCB แนวรับ 154.5 แนวต้าน 159/160 บ. Stop loss 152 บ. Catalyst ดีกว่าแบงก์อื่นตรงที่มีประเด็นการขายธุรกิจประกันชีวิตรับรู้กำไรพิเศษหนุนการตั้งสำรองลดลงอย่างมีนัยยะ / BCPG (แนวรับ 14.1 ต้าน 14.5/15 บ. Stop loss 13.7) กลุ่มโรงไฟฟ้าได้ประโยชน์จากวัฏจักรเศรษฐกิจฟื้นตัว / IVL เมื่อวานขึ้นแรง วันนี้ย่อมาซื้อ แนวรับ 35.75 บ. ต้าน 38 บ. Stop loss 35 บ. IVL-W1 ใช้สิทธิ์สุดท้ายปีนี้ (24 สค.17) ส่วนการใช้สิทธิครั้งที่ 10 กำหนดวันที่ 31 มค.นี้ ราคาแปลงสภาพ 36 บ. (ส่วน IVL-W2 หมดปีหน้าราคาแปลงฯ 43 บ.) คาดได้เงินมาไถ่ถอนหุ้นกู้ ช่วยปรับต้นทุนการเงินลง หนุนโอกาสปรับกำไรขึ้น ขณะที่ส่วนต่างผลิตภัณฑ์ (MEG) ขึ้นแรง 6.5% w-w เด่นสุดในกลุ่ม Spread ปิโตรฯรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา
หุ้นรองแนะ SAT แนวรับ 14.8 บ. ต้าน 15.5 บ. Stop loss 14.3 บ.(ผลิตชิ้นส่วนรถกะบะ รถไถคูโบต้า ได้อานิสงส์ ราคาสินค้าเกษตรขาขึ้น) / TFG แนวรับ 7.05 บ. ต้าน 7.40/7.5 บ. Stop loss 7 บ. (Laggard กลุ่มอาหาร) / SIRI แนวรับ 1.69 บ. ต้าน 1.75/1.8 บ. Stop loss 1.65 บ. (ราคาเหมาะสมพื้นฐาน 2 บ.) เป็นหุ้นอสังหาฯ ที่จะมีการโอนรายได้เข้ามาใน 4Q16 สูงถึง 1 หมื่นล้านบาท +6% y-y, +82% q-q ส่วนงานที่อยู่อาศัย ทั้งแนวราบ และ คอนโดฯ ในปีนี้ เกาะไปตามแนวรถไฟฟ้าชานเมืองที่ BTS ได้งาน หนุน Backlog SIRI เราคาดกำไร 2H16 ที่โตสูงจะมีปันผลระหว่างกาลสูงกว่าครึ่งแรก คาดปันผลที่ 0.08 บ. ส่วนปี 2017 คาดปันผล 0.1 บ. คิดเป็นผลตอบแทน 5.88%
รายงานวันนี้
(+) กลุ่มโรงพยาบาล หลังจากการปรับตัวขึ้นมาของกลุ่มตลอดระยะเวลา 7 ปี 2009-2015 ปีที่แล้ว ดัชนี MSCI Healthcare ปรับตัวลดลง 8% อย่างไรก็ตามเรามองว่า ณ จุดนี้เป็นจุดที่น่าสนใจ และยังมีความเสี่ยงด้านล่างที่จำกัดหลังจากปีที่แล้วมีการปรับตัวลงมา มุมมองการปรับตัวขึ้นของเงินเฟ้อในปี 2017 (คาดปรับตัวเพิ่มขึ้นจาก 0.2% ในปี 2016 เป็น 1.7% ในปี 2017) ยิ่งเป็นอีกปัจจัยที่ทำให้กลับมามองหุ้นกลุ่มนี้ เนื่องจากอุปสงค์ของการใช้บริการรักษาพยาบาลไม่ได้เป็นกลุ่มที่มีความอ่อนไหวต่อราคา ทำให้โรงพยาบาลมีอำนาจในการกำหนดราคาที่ค่อนข้างสูง ข้อมูลในอดีตบ่งชี้ว่า (2006-2015) การเติบโตของกำไรกลุ่มโรงพยาบาลมีความสัมพันธ์สอดคล้องไปกับอัตราเงินเฟ้อของโลกถึง 76% และอัตราเงินเฟ้อไทย 55% เราชื่นชอบ CHG และ RJH ที่สุดในกลุ่มจากการเติบโตของกำไรที่โดดเด่นที่สุดในปี 2017 ในขณะที่ BH ก็เป็นกลุ่มโรงพยาบาลขนาดใหญ่ที่ถือว่าน่าสนใจในเชิงราคาที่ยังถูกที่สุดในกลุ่ม เรามีการปรับคำแนะนำ BDMS ลงจาก ซื้อ เป็น ถือ จาก 1) ราคาแพงสุดในกลุ่ม PEG 3.2 เท่า, 2) โอกาสที่ตลาดจะปรับประมาณการลง และ 3) อัพไซด์จากประมาณการเราจำกัด
(+) TISCO เราเชื่อว่ากำไร 4Q16 จะออกมาดี โดยคาดกำไรที่ 1.39 พันล้านบาท +12% YoY และ 11% QoQ จาก NIM ที่ปรับตัวดีขึ้น หนุนโดยการเพิ่มสัดส่วนกลุ่มสินเชื่อที่เป็น high-yield เช่น สมหวังเงินสั่งได้ เรามีการปรับประมาณการกำไรปี 2016 ขึ้น 3% มาที่ 5.1 พันล้านบาท และปี 2017 ขึ้น 3% มาที่ 5.7 พันล้านบาท สะท้อน NIM ที่ดีกว่าคาด ซึ่งสามารถหักกลบการปรับอัตราการเติบโตของสินเชื่อลง เราปรับราคาเป่าหมายขึ้น 7% มาที่ 74 บาท (+1.0SD) และยังคงคำแนะนำ ซื้อ ประมาณการของเรายังคงมีโอกาสที่จะปรับขึ้นอีกจากการตั้งสำรองที่ลดลงและการกลับรายการหนี้เสียของ SSI UK
หุ้นมีข่าว/ประเด็น
(+) SST ถือหุ้น 80.3% (และ KSL ถือ 9.3%) ใน MM บ.มัดแมน ที่กำลังจะเข้าตลาด MAI โดยดำเนินธุรกิจร้านอาหารและขนมหวาน (ยี่ห้อ ดังกิ้นโดนัท, Baskin robins, Au Bon pain, Greyhound Café) โดยจะมีหุ้นเพิ่มทุนขาย IPO 210.1 ล้านหุ้น โดยจะกัน 105.5 ล้านหุ้น ไว้ให้สิทธิผ่าน Pre-emptive right (ซื้อแม่ได้ลูก) (ที่มา ตลท. กลต.) / โดยบริษัทฯได้ยื่นไฟลลิ่งไปตั้งแต่ 8 กย. ปีที่ผ่านมา คาดกระแสหุ้น AU จะหนุน Sentiment หุ้น MM และหนุนราคาหุ้น SST (เพราะได้สิทธิ์ Pre-emptive right)
(+) TFG ตั้งบริษัทฯลูกทำธุรกิจโลจิสติกส์เองลดต้นทุนขนส่ง (ที่มา ไทยโพสต์) หวังลดต้นทุน 5-10% ต่อปี
(+) BEAUTY มีสัดส่วนการผลิตเครื่องสำอางส่วนใหญ่ในประเทศเกือบทั้งหมด ดังนั้นข่าว ก.คลังยกเลิก มาตรการลดภาษีนำเข้าเครื่องสำอาง จะเป็นบวกต่ออุตสาหกรรมในประเทศโดยตรง (ที่มา ไทยรัฐ)
(+) EA พรุ่งนี้ 6 มค. ย้ายเข้า SET (ที่มา ตลท.)
ปัจจัยที่มีผล
(+/-) ประธานสภาฯ สหรัฐฯ ส่งร่างงบประมาณปี 2017 โดยเน้นที่เงินสนับสนุนนโยบาย Affordable care Act (หรือ โอบามาแคร์) และตลาดคาดว่าจะผ่านร่างงบช่วง มีค.-พค. 17 / ทั้งนี้ร่างดังกล่าวไม่ได้เขียนถึงงบประมาณที่จะใช้ในการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบใหม่ และคาดการณ์งบขาดดุล 0.17% ของ GDP ในปี 2017 ก่อนจะกลับมาเกินดุลในปี 2018 +0.12% ของ GDP และระยะยาว 10 ปี เกินดุล 0.35% ของ GDP (ที่มา Congressional Budget office)
(+) US ISM ธค. 54.7 จาก 53.2 ดีสุดในรอบ 2 ปี สูงกว่าตลาดคาดที่ 53.8 (ที่มา Bloomberg)
(0) จีนรายงาน PMI เดือน ธค. 51.4 จาก 51.7 ใกล้เคียงตลาดคาดที่ 51.5 ส่วน PMI ภาคบริการ 51.9 จาก 50.9 ทำสถิติขยายตัวเร็วสุดในรอบ 3 ปี (ที่มา Bloomberg)
(+) สิงคโปร์ GDP 4Q16 +1.8% y-y ดีกว่าตัวเลข revise ก่อนหน้าที่ 1.2% จาก 3Q16 ที่ 1.1% และดีกว่าตลาดคาดที่ 0.3% (Bloomberg)
(+) PMI ยูโรโซน ขยายตัว 54.9 ในเดือน ธค. จาก 53.7 (ที่มา Bloomberg)
(+) BOK ธนาคารกลางเกาหลีใต้ยันใช้มาตรการการเงินผ่อนคลายต่อในปีนี้ ตลาดคาดมีโอกาสที่ BOK จะลดดอกเบี้ยลงอีกเหลือ 1% ในครึ่งหลังปีนี้ จากระดับปัจจุบัน 1.25% (ที่มา Bloomberg)
วิกิจ ถิรวรรณรัตน์ Tel. (662) 618-1336
นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน/ปัจจัยทางเทคนิค