WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ASPบล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน



กลยุทธ์การลงทุน
  SET ไม่ลงอย่างที่คาด เพราะมีกองทุน LTF ที่ซื้อในปี 2553 มีต้นทุนสูงกว่าราคาตลาด แต่คาดว่าเมื่อดัชนีใกล้ 1600 จุดน่าจะมีแรงขายอีกครั้ง กลยุทธ์สะสมหุ้นปันผลสูง (ASK, RATCH) และหุ้นน้ำมัน และยังเลือก PTTEP(FV@B102), PTT(FV@B400) เป็น Top picks

 

(+) ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจโลกฟื้นตัว หนุนตลาดหุ้นทั่วโลก
  ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจโลกฟื้นตัว หนุนตลาดหุ้นทั่วโลก เริ่มจาก สหรัฐ รายงานดัชนี PMI ภาคการผลิต เดือน ธ.ค. (จัดทำโดย Markit) กระเตื้องขึ้นมาที่ 54.3 จาก 54.2 เดือนก่อนหน้า ถือเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือน ต.ค. 2558 (และสอดคล้องกับ ดัชนี PMI ภาคการผลิต ที่จัดทำโดย ISM อยู่ที่ 54.7 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ 53.2) และยอดค่าใช้จ่ายภาคการก่อสร้าง (Construction Spending) เดือน พ.ย. เพิ่มขึ้นถึง 0.9% จากเดือนก่อนหน้าที่ 0.5% ขณะที่การบริโภคภาคครัวเรือน ยังอยู่ในทิศทางที่ดีขึ้น สะท้อนจากนยอดขายรถยนต์ในสหรัฐ เดือน ธ.ค. อยู่ที่ 18.43 ล้านคัน ดีกว่าคาดที่ 17.69 ล้านคัน และเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ 17.87 ล้านคัน
  เช่นเดียวกับทางด้านยุโรป มีสัญญาณที่ดีขึ้นในภาคการผลิตเช่นกัน โดยดัชนี PMI รวมภาคการผลิต และการบริการ จัดทำโดย Markit เดือน ธ.ค. อยู่ที่ 54.4 เพิ่มขึ้นจากเดือน พ.ย. ที่ 53.9 และพบว่า เงินเฟ้อ (Flash Euro zone Inflation) เดือน ธ.ค. เพิ่มขึ้น 1.1%yoy ดีกว่าตลาดคาด 1%yoy (สูงสุดนับตั้งแต่เดือน ก.ย. 2556) และเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ 0.6%yoy ซึ่งหลักเป็นผลมาจากราคาพลังงานที่ขยับสูงขึ้น ส่งผลให้เงิน
  ส่วนอังกฤษ พบว่าดัชนี PMI ภาคการผลิต เดือน ธ.ค. จัดทำโดย Markit อยู่ที่ 56.1 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ 53.4 และสูงสุดนับตั้งแต่เดือน มิ.ย. 2557
  ส่วนฝั่งเอเชีย พบว่า ดัชนี PMI ภาคการผลิตของญี่ปุ่น เดือน ธ.ค. อยู่ที่ 52.4 ดีกว่าที่คาด และดีกว่าเดือนก่อนหน้าที่ 51.9 และทำระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือน ก.พ. 2559 และเช่นเดียวกับ จีน พบว่า ดัชนี PMI ภาคการผลิต เดือน ธ.ค. จัดทำโดย Markit และ Caixin อยู่ที่ 51.9 จากเดือนก่อนที่ 50.9 เป็นระดับสูงสุดในรอบ 34 เดือน
  แต่อย่างไรก็ตามประเด็นความเสี่ยงทั้ง BREXIT และ ITALEXIT รวมถึงการกีดทางการค้าของสหรัฐที่จะเกิดขึ้นในปี 2560 ยังเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อเศรษฐกิจโลก จึงควรให้น้ำหนักต่อประเด็นนี้ด้วย

 

(0) เงินเฟ้อเดือน ธ.ค. เพิ่มตามราคาน้ำมัน แต่ในปี 2560 ยังเป็นไปตามเป้าหมาย
  เงินเฟ้อ เดือน ธ.ค. ของไทย 1.13% yoy เพิ่มขึ้นก้าวกระโดดจาก พ.ย. ที่เพิ่มขึ้นเพียง 0.6% และถือเป็นค่าสูงสุดในรอบ 25 เดือน ซึ่งหลักๆ มาจากจากสินค้าหมวดเชื้อเพลิง (เพิ่มขึ้น 12.21% yoy) ตามราคาน้ำมันขายปลีกน้ำมันที่เพิ่มขึ้นถึง 3 ครั้ง ในช่วงปลายปี 2559 เช่นเดียวกับหมวดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และบุหรี่เพิ่มขึ้น 12.98% yoy ทิศทางเดียวกับสินค้าในหมวดผักและผลไม้ เครื่องประกอบอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์
  ส่วนปี 25960 ASPS คาดการณ์เงินเฟ้อจะอยู่ที่ 1.47% ภายใต้สมมติฐานราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยที่ 55 เหรียญฯต่อบาร์เรล ซึ่งทำให้ส่วนต่างดอกเบี้ยนโยบายสุทธิ (ดอกเบี้ยนโยบาย- เงินเฟ้อ) แคบลง แต่ยังเชื่อว่าในช่วง 1H60 กนง. ยังคงต้องยืนดอกเบี้ยนโยบายที่ 1.5% แต่หลังจากนี้คงต้องติดตามทิศทางเศรษฐกิจในประเทศ กับผลกระทบจากภายนอก

 

(0) หุ้นน้ำมันย่อตัวเป็นโอกาสสะสม PTT และ PTTEP
  ราคาน้ำมันดิบโลก ยังมีความผันผวนในช่วงต้นปี 2560 โดยมีการย่อตัวเล็กน้อยในวันเปิดทำการแรกของปี 2560 หลังจากที่ทำสถิติสูงสุfในช่วงปลายปี 2559 กล่าวคือ ราคาน้ำมันดูไบอ่อนตัวลงมาที่ 52.79 เหรียญฯต่อบาร์เรล หลังทำสถิติสูงสุดที่ 54.8 เหรียญฯต่อบาร์เรล ในวันที่ 29 ธ.ค. 2559 แต่วันนี้กลับมายืนแถว 54.45 เหรียญฯ อีกรอบ ส่วนหนึ่งน่าจะเกิดจาก Dollar Index ที่เริ่มย่อตัว หลังจากทำสถิติสูงสุดวันแรกของปี 2560 ที่ 103.26 จุด เนื่องจากดัชนีชี้นำเศรษฐกิจสหรัฐยังคงส่งสัญญาณแข็งแกร่งดังกล่าวข้างต้น
  และความคืบหน้าในการตัดลดกำลังผลิตของผู้ผลิตในกลุ่ม Opec และนอก Opec ที่จะเริ่มเกิดขึ้นในต้นปี 2560 จากข้อตกลงในการประชุมรอบล่าสุด (คูเวต และรัสเซีย ลดลง 1.3 และ 6 แสนบาร์เรลต่อวัน) และจะมีการประชุมเพื่อประเมินสถานการณ์ครั้งแรกวันที่ 13 ม.ค. ที่กรุงอาบูดาบี และ 21-22 ม.ค. ที่กรุงเวียนนา จึงน่าจะช่วยหนุนราคาน้ำมันดิบให้ยืนเหนือ 50-55 เหรียญฯต่อบาร์เรล ซึ่งใกล้เคียงกับสมมติฐานราคาน้ำมันปี 2560 ของ ASPS ที่ 55 เหรียญฯต่อบาร์เรล จึงยังแนะนำสะสม หุ้นในกลุ่มพลังงานอย่าง PTT(FV@B400) และ PTTEP(FV@B102)

 

(+) SET ได้รับแรงหนุน ทั้งแรงซื้อของต่างชาติและสถาบันฯ
  วานนี้ต่างชาติยังคงซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคต่อเนื่องเป็นวันที่ 2 ด้วยมูลค่าราว 255 ล้านเหรียญ โดยเป็นการซื้อสุทธิเกือบทุกประเทศ ยกเว้นตลาดหุ้นอินโดนีเซียเพียงแห่งเดียวเท่านั้นที่ถูกขายสุทธิราว 25 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 2) ส่วนที่เหลืออีก 4 ประเทศต่างชาติซื้อสุทธิ คือ เกาหลีใต้ซื้อสุทธิสูงสุดฯ กว่า 212 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2) ตามมาด้วยฟิลิปปินส์ 4 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2), ไต้หวัน 2 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันแรก) และไทยที่ต่างชาติยังคงซื้อสุทธิสูงถึง 62 ล้านเหรียญ หรือ 2.2 พันล้านบาท
  ทั้งนี้ตลาดหุ้นไทยยังคงได้รับแรงหนุนจากเงินทุนต่างชาติที่เริ่มสลับมาซื้อหุ้นไทยอีกครั้ง โดยในช่วง 3 วันทำการที่ผ่านมา เงินทุนต่างชาติไหลเข้ามาในตลาดหุ้นไทยแล้วกว่า 1.05 หมื่นล้านบาท หลังจากที่ขายสุทธิอย่างต่อเนื่องถึง 6.3 หมื่นล้านบาท (ตั้งแต่ต้นเดือน ต.ค. 59 จนถึง 29 ธ.ค. 59)
  นอกจากนี้ยังมีแรงเสริมจากนักลงทุนสถาบันฯ ที่ซื้อสุทธิสูงถึง 3.28 พันล้านบาท ในวันแรกของปี 2560 ทั้งนี้แม้จากสถิติย้อนหลัง 10 ปี พบว่า ในเดือน ม.ค. มักมีแรงขาย LTF จากนักลงทุนมากที่สุดเมื่อเทียบกับเดือนอื่นๆ ในปีเดียวกันเสมอ โดยมียอดขาย LTF เฉลี่ยอยู่ที่ 4.09 พันล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนสูงถึง 23.7% ของทั้งปี อย่างไรก็ตามในปีนี้น่าจะไม่มีแรงขายมากเหมือนปีก่อนๆ (นักลงทุนที่ซื้อ LTF ในปี 2556 ครบกำหนดและสามาขายคืนได้ในปี 2560) เนื่องจาก SET Index ในปี 2556 แกว่งตัวอยู่ในกรอบ 1260 – 1650 จุด หรือ ผู้ซื้อกอง LTF ปี 2556 มีต้นทุนเฉลี่ยอยู่ที่ 1501 จุด (ค่าเฉลี่ยคำนวณโดยการปรับน้ำหนักตามแรงขาย LTF รายเดือนในปี 2556) โดยผลตอบแทนที่ได้ยังถือว่าน้อยอยู่ หรือบางส่วนยังมีต้นทุนที่สูงกว่าดัชนี ณ ปัจจุบัน อย่างไรก็ตามหาก SET Index ปรับตัวสูงขึ้นเรื่อยๆ จนสูงกว่าที่ฝ่ายวิจัยฯ ประมาณไว้ คือ 1600 จุด ก็น่าจะมีแรงขาย LTF กลับมาอีกครั้ง

 

(+) SET เป้าหมายปีนี้ 1,600 จุด เน้นรายหุ้น PTTEP, PTT
  ด้วยฐานกำไรตลาดหุ้นไทย ปี 2560 อยู่ที่ 9.52 แสนล้านบาท หรือคิดเป็น EPS ที่ 99.78 บาทต่อหุ้น เติบโต 7.85% YoY ชะลอตัวลงจาก 34% ในปี 2559 (แต่ก็ ใกล้เคียงกับเพื่อนบ้านในแถบเอเชียบางแห่ง คือ มาเลเซีย (7.5%) และ ฟิลิปปินส์ (8%) ยกเว้นต่ำกว่า จีน (13.7%) อินโดนีเซีย (20%) และอินเดีย (24.3%) เป็นต้น โดยหากอิง P/E ตลาดปี 2560 16 เท่า จะให้ SET Index เป้าหมายปี 2560 อยู่ที่ 1596.48 จุด หรือบริเวณ 1600 จุด มี upside จำกัด แต่กลยุทธ์การลงทุนเลือกรายหุ้นยังจำเป็น โดยเฉพาะหุ้นที่ underperform ตลาดในปี 2559 แต่ปีนี้น่าจะมีสัญญาณที่ดีขึ้น ตามทิศทางดอกเบี้ยโลก โดยเฉพาะธนาคารพาณิชย์ แม้ EPS Growth ของกลุ่มธนาคาร เพียง 7% (กำหนด Loan Growth 5.88% และ NIM อยู่ที่ 3.09%) ปี 2560 หุ้นธนาคารน่าจะมีโอกาสขึ้นมาใกล้เคียงตลาดได้ แนะนำ KBANK([email protected]), BBL(FV@B200) เพราะมี Upside มากสุด 23% เท่ากัน
  และ หุ้นพลังงาน ปี 2560 เติบโต 9% (ไม่รวมรายการพิเศษ) แต่กำหนด สมมุติฐานราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยระดับ 55 เหรียญฯ/บาร์เรล เพิ่มขึ้นจาก 45 เหรียญฯ/บาร์เรลในปี 2559 แต่หากมีการตัดลดกำลังการผลิตตามข้อตกลงจริงเชื่อว่า ราคาน้ำมันมีโอกาสขึ้นกว่าสมมติฐานข้างต้น ยกเว้น ICT EPS Growth ปี 2560 คาดยังหดตัว 11% YoY ดังนั้นแม้ปี 2559 ดัชนีกลุ่ม upderperfrom ตลาด แต่เชื่อว่าปี 2560 ยังคงแก่งตัวหรือ Underperform ตลาดต่อไปอีกระยะหนึ่ง

 

กลยุทธ์การลงทุน แนะนำเลือกรายหุ้น ภายใต้ theme การลงทุนดังต่อไปนี้
  Dividend Play : หลังประกาศงบปี 2559 คือ ช่วงเดือน ม.ค. – ก.พ. 2560 จะเข้าสู่ฤดูกาลประกาศจ่ายปันผล โดยจะทยอยขึ้นเครื่องหมาย XD ตั้งแต่เดือน มี.ค. 2560 เป็นต้นไป กลยุทธ์การลงทุน Dividend Play ให้ซื้อก่อน XD 2-3 เดือน และ ขายวันขึ้นเครื่องใหม่ XD โดยหุ้นที่ฝ่ายวิจัยคัดกรอง เลือกจาก Dividend Yield ปี 2559 และ 2560 สูงกว่า 4% ต่อปี มี EPS Growth ปี 2560 เติบโต กว่า 10% Upside สูงกว่าราคาปัจจุบันเกินกว่า 15% และฝ่ายวิจัยแนะนำ ซื้อ หุ้นที่เข้าเงื่อนไขคือ ASK (FV@B27), THANI ([email protected]), SCCC (FV@B340), RATCH (FV@B65) และ LH ([email protected])
  ได้ประโยชน์จากเงินบาทอ่อนค่า โดยเฉพาะกลุ่มเกษตร-อาหาร: เนื่องจากเป็นสินค้าจำเป็นในการดำรงชีพ และเชื่อว่าได้รับผลกระทบจากการกีดกันทางการค้าจากสหรัฐ น้อย คือ
  GFPT (FV@B19) เน้นส่งออกผลิตภัณฑ์ไก่ ไปยังยุโรป และเอเชีย โดยเอเซียเน้นที่ตลาดญี่ปุ่น ในสัดส่วน 50% ของปริมาณการส่งออกรวม (รายได้อยู่ในรูปดอลลาร์ 18% รายได้ยูโร 2% ขณะที่ต้นทุนดอลล่าร์ 15%) เงินบาทที่อ่อนค่าทุก 1 บาท จะเพิ่มกำไรจากประมาณการเดิม 2.4%

  TU (FV@B25) เป็นผู้ผลิตและส่งออกผลิตภัณฑ์อาหารทะเล (ทูน่า กุ้ง แซลมอน) ไปยังยุโรป และ เอเชีย (รายได้อยู่ในรูปดอลลาร์ 69% รายได้ยูโร 24% ขณะที่ต้นทุนรูปดอลล่าร์ 60%) เงินบาทที่อ่อนค่าทุก 1 บาท จะเพิ่มกำไรจากประมาณการเดิม 5.5% แต่อย่างไรก็ตามความเสี่ยงที่ต้องคำนึงถึง คือ คดีความที่ถูกฟ้องร้องเกี่ยวกับปัญหาการฮั้วราคาขายทูน่ากระป๋องที่สหรัฐฯ ระหว่าง StarKist, Bumble Bee และ Chicken of the sea (บริษัทย่อยของ TU) ในช่วงปี 2554-2556 ซึ่งคดีอยู่ระหว่างขั้นตอนการสอบสวนจากทางกระทรวงยุติธรรมของสหรัฐฯ (DOJ) โดยผู้บริหารของ Bumble Bee ได้ออกยอมรับเกี่ยวกับข้อหาดังกล่าว (plead guilty) แต่ทาง TU ไม่ยังปฏิเสธการมีส่วนร่วม

  และ CPF ([email protected]) สินค้าส่งออกส่วนใหญ่คือ ไก่ หมู กุ้ง อาหารสำเร็จรูปและอาหารสัตว์ (รายได้อยู่ในรูปดอลลาร์ 4% รายได้ยูโร 1% ขณะที่ต้นทุนในรูปดอลล่าร์ 3% และหนี้สินเป็นดอลลาร์ 1.2 พันล้านเหรียญฯ) เงินบาทที่อ่อนค่าทุก 1 บาท จะเพิ่มกำไรจากประมาณการเดิม 4.9%

  KSL (FV@B6) ผู้ผลิตและส่งออกน้ำตาล ส่งออกราว 60%ของรายได้รวม ส่วนใหญ่ไปตลาดเอเชีย โดยเฉพาะอินโดนีเซีย (รายได้อยู่ในรูปดอลลาร์ 60% ขณะที่ต้นทุนเป็นบาท และหนี้สินเป็นดอลลาร์20 พันล้านเหรียญฯ) โดยเงินบาทที่อ่อนค่าทุก 1 บาท จะเพิ่มกำไรจากประมาณการเดิม 6.7%

  และ STA (FV@B25) เป็นผู้ผลิตและส่งออกยางแท่งและยางแผ่นรมควัน ตลาดส่งออกหลักอยู่ในแถบเอเชีย โดยเฉพาะจีน ขณะที่ผลิตภัณฑ์ยางส่งออกจะถือว่าเป็นสินค้าขั้นกลาง จึงน่าจะได้รับผลกระทบจากการกีดทางการค้าของสหรัฐน้อย ขณะที่ รายได้หลักราว 85% มาจากการส่งออกอยู่ในรูปสกุลดอลลาร์ แต่ต้นทุนการผลิตทั้งหมดเป็นเงินบาท (หนี้สินเป็นดอลลาร์ 30 พันล้านเหรียญฯ) โดยเงินบาทที่อ่อนค่าทุก 1 บาท จะเพิ่มกำไรจากประมาณการเดิม 7.2%

  กลุ่มรับเหมาก่อสร้าง: ได้ประโยชน์จากความคืบหน้าการลงทุนภาครัฐ ซึ่งทำให้ Backlog ทั้งอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น น่าจะหนุนรายได้และกำไรของกลุ่มฯ โดยรวมดีขึ้นในปี 2560 โดยเฉพาะ UNIQ (FV@B25) ซึ่งคาดว่างานใหม่คิดเป็นสัดส่วนสูงถึง 57.3% ของ Backlog เดิมที่มีอยู่ ทำให้เป็นหุ้นที่มีการเติบโตสูงสุด ขณะที่มี P/E ต่ำสุดในกลุ่ม จึงชอบ UNIQ มากสุด ทั้งยังมี upside สูงถึง 29.5% ตามมาด้วย CK ที่มีฐานธุรกิจกระจายตัวที่ดี (ถือหุ้น TTW 19.40%, BEM 29.73%)

  กลุ่มที่มีการเติบโตสูง: เลือก BJC (FV@B64) และ BLA (FV@B62)
  กลุ่มพลังงาน : ฟื้นตัวตามราคาน้ำมันที่กำลังแตะ 55 เหรียญฯต่อบาร์เรล ซึ่งเป็นสมมติฐาตในปี 2560 ทำให้มีแนวโน้มปรับเพิ่มสมมติฐานขึ้นจากปัจจุบัน จึงยังชื่นชอบ PTT(FV@B400), PTTEP(FV@B102)

ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
พาสุ ชัยหลีเจริญ ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!