- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Wednesday, 04 January 2017 20:44
- Hits: 1587
บล.เอเชีย เวลท์ : Daily Market Outlook
มุมมองเชิงบวกอย่างระมัดระวัง
คาดหุ้นไทยวันนี้ปรับตัวสูงขึ้นในวันแรกของการซื้อขายปีนี้ หนุนจากตัวเลข PMI ภาคการผลิตที่ประกาศออกมาแข็งแกร่งทั้งในสหรัฐฯ ยูโรโซน จีน และญี่ปุ่น การแข็งค่าของเงินดอลลาร์ฯ สูงสุดในรอบ 14 เดือนน่าจะเป็นบวกต่อหุ้นกลุ่มส่งออก อย่างไรก็ตามนักลงทุนยังคงรอคอยความชัดเจนของนโยบายการคลังและการลงทุนของ Donald Trump ที่จะเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ อย่างเป็นทางการในวันที่ 20 ม.ค. นี้ ปัจจัยในประเทศค่อนข้างเป็นบวกในเชิงระมัดระวังเช่นกัน โดยทั้งธปท. และสภาพัฒน์ต่างมองเศรษฐกิจปีหน้าเติบโตต่อเนื่องด้วยปัจจัยในประเทศ นำโดยการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ ภายใต้เสถียรภาพทางเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตามยังคงกังวลถึงปัจจัยภายนอก ได้แก่ เศรษฐกิจคู่ค้าของไทย เศรษฐกิจจีนและยูโรโซนที่ยังไม่ฟื้นตัว รวมไปถึงความแน่นอนในนโยบายของ Trump
หุ้นเด่นวันนี้ : TRC (ราคาปิด 1.43 บาท; ซื้อ; ราคาเป้าหมายปี 60 ของ AWS 2.20 บาท)
เลือก TRC เป็น pick of the day เนื่องจากเป็นหุ้นที่จะ turnaround ครั้งใหญ่ ตั้งแต่ปี 2560 เป็นต้นไป โดย TRC เป็นผู้รับเหมาก่อสร้างครบวงจรที่เชี่ยวชาญในงานวางท่อปิโตรเลียมและปิโตรเคมี ซึ่งแตกไลน์ธุรกิจไปสู่การลงทุนในเหมืองแร่โปแตช จ.ชัยภูมิ จากความน่าสนใจที่ฐานรายได้ของ TRC จะยกขึ้นจากระดับต่ำกว่า 4,000 ล้านบาท ในช่วงปี 2557-2559 เป็น 8,000-11,000 ล้านบาท ในช่วงปี 2560-2562 เนื่องจากมีงานก่อสร้างส่วนบนดิน และงานแต่งแร่ของโครงการเหมืองแร่โปแตชชัยภูมิ (APOT) เข้ามามากถึง 33,400 ล้านบาท ซึ่งรอการเซ็นต์สัญญาการก่อสร้างอย่างเป็นทางการในไตรมาส 1/60 นี้ โดย TRC เป็นผู้ถือหุ้น 26.22% ใน APOT งานก่อสร้างเหมืองดังกล่าวใช้เวลา 3 ปี คือ 2560-2562 ดังนั้น TRC จึงมี Backlog จำนวนมากพอที่จะรองรับรายได้ในช่วงนี้เป็นอย่างดี แม้เราคาดการณ์กำไรสุทธิในปี 2559 ลดลง 21% YoY แต่คาดว่าเพิ่มขึ้น 41% YoY
นอกจากนี้ TRC ยังมีลูกค้ารายหลักที่สำคัญคือ PTT ซึ่งเตรียมการเปิดประมูลงานวางท่อก๊าซเส้นที่ 5 มูลค่า 35,000 ล้านบาท และงานวางท่อก๊าซ RA#6 จากนนทบุรีไปยังราชบุรี มูลค่า 8,200 ล้านบาท ซึ่ง TRC มีความเชี่ยวชาญในเรื่องการวางท่อและมักได้งานจากกลุ่มบริษัทในเครือ PTT แต่ปัจจุบันการแข่งขันค่อนข้างสูง เนื่องจาก 2-3 ปีที่ผ่านมาราคาน้ำมันตกต่ำหนักทำให้ผู้ประกอบการทางด้านธุรกิจปิโตรเลียมและปิโตรเคมีลดการขยายงานลง แต่เราเชื่อว่าในปี 2560 จะเห็นการกลับมาขยายงานของกลุ่มธุรกิจดังกล่าวอีกครั้ง เราคาดว่างานวางท่อของ PTT จะประกาศผลการประมูลประมาณกลางปี 2560 เราแนะนำซื้อ TRC โดยให้ราคาเป้าหมายไว้ที่ 2.20 บาท ตามวิธี sum-of-the-parts จากสองส่วนคือ 1.ธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง อิงค่า 15 เท่า EV/EBlTDA ที่ราคา 1.69 บาท
และ 2.มูลค่าในธุรกิจเหมืองแร่โปแตช ที่ TRC ถือหุ้น 26.22% ประเมินมูลค่าด้วย DCF ตามอายุสัมปทาน 25 ปี WACC 9.45% ได้มูลค่าตามส่วนการถือหุ้น 0.51 บาท Price Pattern ของ TRC ยังคงมีแนวโน้มหลักอยู่ในแนวโน้มขาลง (Downtrend) จากการเกิดทั้ง Daily, Weekly, & Monthly Sell Signal โดย Price Pattern ของ TRC จะเริ่มกลับมาดูดีในระยะสั้นอีกครั้งเมื่อสามารถปิดตลาดเหนือ 1.49 บาท ซึ่งจะทำให้กลับมาเกิด Daily Buy Signal ครั้งใหม่ โดยคาดว่าจะยืนยันในความแข็งแกร่งระยะสั้นเมื่อสามารถ Break ด้วยการปิดตลาดเหนือเป้าหมายเบื้องต้นที่ 1.51 บาทเป็นอย่างน้อย ซึ่งจะทำให้ TRC มีเป้าหมายถัดไปอยู่ที่ 1.65 บาท และมีเป้าหมายสำคัญอยู่ที่ 1.78 บาท ตามลำดับ (Resistance: 1.44, 1.45, 1.47; Support: 1.42, 1.40, 1.39)
ปัจจัยสำคัญ
ประเด็นในประเทศ :
สภาพัฒน์คาดโตต่อเนื่องในปี 60 แต่ระวังเรื่องปัจจัยภายนอกมากขึ้นสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) คาดการส่งออกที่ฟื้นตัว โครงสร้างพื้นฐานที่เร่งพัฒนาขึ้น การท่องเที่ยวที่แข็งแกร่งและภาคการเกษตรที่ดีขึ้นจะช่วยหนุนเศรษฐกิจให้เติบโตได้ 3-4% ในปี 60 อย่างไรก็ดี สศช. ระมัดระวังมากขึ้นและเห็นว่ามีความท้าทายมากมายต่อเศรษฐกิจในปีไก่นี้ ได้แก่ เศรษฐกิจยุโรปและจีนที่ชะงัก และนโยบายกีดกันทางการค้าของ Donald Trump น่าจะทำให้เศรษฐกิจโลกไม่แน่นอน (Bangkok Post)
คาด GDP ปีไก่จะเติบโตใกล้เคียงปี 59 คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) คงประมาณการการเติบโตของเศรษฐกิจในปี 59 และปี 60 ไว้ที่ 3.2% เนื่องจากยังมีความเสี่ยงจากปัจจัยภายนอก ปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้รวมถึงการเติบโตที่ช้ากว่าคาดของประเทศคู่ค้า เช่น จีน ความไม่แน่นอนของนโยบายทางเศรษฐกิจจากประธานาธิบดีคนใหม่ของสหรัฐ และการเลือกตั้งของหลายๆ ประเทศในยุโรป (Bangkok Post)
ธปท. เชื่อเงินทุนไหลออกไม่กระทบไทย ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เผยเม็ดเงินลงทุนของนักลงทุนต่างขาติไหลออกจากประเทศไทยในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2559 ที่ 1.96 หมื่นล้านดอลลาร์ฯ (7.0 แสนลบ) มากกว่าตัวเลขทั้งปี 2558 ที่มีการไหลออก 1.71 หมื่นล้านดอลลาร์ฯ (6.16 แสนลบ.) อย่างไรก็ตามเชื่อกระแสดังกล่าวจะไม่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยเนื่องจากมีเงินทุนสำรองระหว่างประเทศที่มากเพียงพอ ดุลบัญชีเดินสะพัดที่เกินดุล รวมถึงแนวโน้มการลงทุนโดยตรงของนักลงทุนต่างชาติ (FDl) ที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง (Bangkok Post)
เม็ดเงินลงทุน 9.0 แสนลบ. สำหรับภาคการขนส่งที่จะเกิดขึ้นปีนี้ รัฐบาลเตรียมพร้อมตั้งงบลงทุน 8.957 แสนลบ. สำหรับการลงทุนในภาคการขนส่งในปี 2560 ประกอบด้วย 36 โครงการ ครอบคลุมการขนส่งทางอากาศ ทางน้ำ และทางบก โดยเฉพาะโครงการรถไฟรางคู่ 3 โครงการที่พร้อมจะเริ่มการก่อสร้างได้แล้ว ได้แก่ โครงการรถไฟรางคู่ช่วง ลพบุรี-ปากน้ำโพ นครปฐม-หัวหิน และ หัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์ (Bangkok Post)
ต่างประเทศ :
ผู้นำธนาคารกลางทั่วโลกเลื่อนการอนุมัติกฎเกี่ยวกับเงินทุนซึ่งออกแบบมาเพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดวิกฤตการเงินซ้ำรอย ผู้ว่าธนาคารกลางต่าง ๆ และตัวแทนเกือบ 30 ประเทศมีกำหนดจะพบปะกันในวันที่ 8 ม.ค. เพื่ออนุมัติกฎระเบียบใหม่ซึ่งจะกำหนดว่าผู้ปล่อยกู้เงินทุนในศูนย์กลางทางการเงินของโลกนั้นต้องมีเงินทุนต่อหนี้สินและทรัพย์สินเป็นจำนวนเท่าใด อย่างไรก็ตาม ข้อเสนอดังกล่าวมีความเห็นที่แตกแยก โดยฝั่งยุโรปกังวลว่าพวกเขาจะสามารถยับยั้งการปล่อยกู้ได้หรือไม่ หลังจากที่ตกลงไม่สำเร็จในปีก่อน ขณะกรรมาธิการ Basel ได้กล่าวเมื่อวันอังคารว่าจะต้องมีงานมากขึ้นก่อนกฎระเบียบใหม่จะส่งให้พิจารณาอนุมัติโดยกลุ่ม GHOS (Reuters)
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรปรับตัวขึ้นเมื่อวันอังคาร หลังจากปรับตัวลง 3 วัน โดยมีแรงหนุนจากข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐที่แข็งแกร่งและรายงานข้อมูลเศรษฐกิจจากจีนและยุโรปที่สดใส ราคาพันธบัตรอายุ 10 ปีลดลง 4/32 อัตราผลตอบแทนอยู่ที่ระดับ 2.446% เพิ่มขึ้นจากที่ระดับ 2.432% เมื่อวันศุกร์ ราคาพันธบัตรอายุ 30 ปี เพิ่มขึ้น 4/32 อัตราผลตอบแทนอยู่ที่ระดับ 3.044% ลดลงจากที่ระดับ 3.051% (Reuters)
ดอลลาร์สหรัฐปรับตัวขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบ 14 ปีเทียบกับเงินยูโรและสกุลเงินหลักเมื่อวันอังคาร หลังการประกาศข้อมูลของภาคการผลิตสหรัฐ เงินยูโรร่วงลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 14 ปีเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ลดลงสู่ระดับ 1.0342 ดอลลาร์สหรัฐ ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเทียบกับเงินเยนด้วยเช่นกัน โดยขึ้นถึงระดับ 118.60 เยน ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับแต่วันที่ 15 ธ.ค. และอยู่ต่ำกว่าระดับสูงสุดนับแต่เดือนก.พ. เนื่องงจากเป็นช่วงวันหยุดของญี่ปุ่นทำให้มีการซื้อขายเบาบาง (Reuters)
สหรัฐ :
ดัชนีตลาดหุ้นสหรัฐปิดพุ่งขึ้นเมื่อวันอังคาร จากดัชนียังทะยานขึ้นต่อจนถึงช่วงปีใหม่ในขณะที่นักลงทุนกำลังรอว่าคำสัญญาของทรัมป์ที่ให้ไว้ในช่วงที่หาเสียงจะได้รับการพิจารณาอนุมัติจากสมาชิกพรรครีพับลิกันซึ่งเป็นกังวลเกี่ยวกับการเพิ่มการขาดดุลของงบประมาณของรัฐหรือไม่ สภาคองเกรสซึ่งมีพรรครีพับลิกันเป็นแกนนำได้เริ่มต้นยุคของทรัมป์ในวันอังคารนี้ และทรัมป์จะเข้าพิธีสาบานตนรับตำแหน่งประธานาธิบดีในวันที่ 20 ม.ค. นี้ (Reuters)
ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของสหรัฐแตะระดับสูงสุดในรอบ 21 เดือนในเดือนธ.ค. ดัชนี PMl ของมาร์กิตอยู่ที่ระดับ 54.3 ในเดือนธ.ค. เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากที่ระดับ 54.1 ในเดือนพ.ย. การเพิ่มขึ้นครั้งล่าสุดของดัชนีดังกล่าวได้รับแรงผลักดันจากอัตราการเติบโตของการจ้างงานที่แข็งแกร่งมากขึ้นและสินค้าคงคลังในเดือนธ.ค. ซึ่งชดเชยผลผลิตที่ลดลงและคำสั่งซื้อใหม่ที่อ่อนตัวลงเล็กน้อย ภาคการผลิตขยายตัวอย่างแข็งแกร่งในเดือนธ.ค. และฟื้นตัวอย่างมีเสถียรภาพมา 7 เดือนแล้ว (lHS Makit)
ภาคการผลิตสหรัฐปรับตัวขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบ 2 ปี โดยคำสั่งซื้อใหม่และการจ้างงานเพิ่มขึ้น บ่งชี้ว่าปัจจัยกดดันภาคตลาดผลิตที่เกี่ยวกับน้ำมันบางส่วนกำลังจางหายไป ดัชนีภาคการผลิตของ lSM เพิ่มขึ้น 1.5 pps อยู่ที่ระดับ 54.7 ในเดือนก่อน ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับแต่เดือนธ.ค. 2014 ดัชนีอยู่เหนือระดับ 50 ซึ่งบ่งชี้ภาวะขยายตัว ซึ่งภาคการผลิตคิดเป็น 12% ของเศรษฐกิจสหรัฐ ทั้งนี้ คำสั่งซื้อใหม่พุ่งขึ้น 7.2% ในเดือนธ.ค. ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนพ.ย.2014 ขณะที่การจ้างงานเพิ่มขึ้น 0.8% ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนมิ.ย.2015 (Reuters)
การใช้จ่ายด้านการก่อสร้างของสหรัฐเพิ่มขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 10 ปีครึ่งในเดือนพ.ย. การใช้จ่ายด้านการก่อสร้างเพิ่มขึ้น 0.9% ที่ 1.18 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐในเดือนพ.ย. ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนเม.ย.2006 โดยได้แรงหนุนจากการลงทุนที่เพิ่มขึ้นทั้งในภาครัฐและเอกชน ทั้งนี้การใช้จ่ายด้านการก่อสร้างในเดือนต.ค. มีการปรับตัวเลขเป็นเพิ่มขึ้น 0.6% แทนตัวเลขก่อนหน้านี้ที่เพิ่มขึ้น 0.5% การใช้จ่ายด้านการก่อสร้างในเดือนพ.ย. เพิ่มขึ้น 4.1% YoY (Reuters)
เฟดสาขาแอตแลนต้าประมาณการ GDP จะขยายตัวในอัตรา 2.5% ต่อปีในไตรมาส 4/59 เศรษฐกิจสหรัฐขยายตัวในอัตรา 3.4% ในไตรมาส 3/59 การเพิ่มขึ้นของค่าใช้จ่ายด้านการก่อสร้างที่แข็งแกร่งในเดือนพ.ย. และการปรับแก้ตัวเลขค่าใช้จ่ายด้านการก่อสร้างที่เพิ่มขึ้นอาจทำให้นักวิเคราะห์ปรับเพิ่มประมาณการ GDP ในไตรมาส 4/59 (Reuters)
ยุโรป :
ตลาดหุ้นยุโรปเมื่อวันอังคารปรับตัวสูงขึ้น โดยยังคงได้แรงหนุนจากหุ้นกลุ่มการเงินและกลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์ หุ้นกลุ่ม Blue chip เริ่มต้นปีใหม่ด้วยการปรับตัวสูงขึ้นทำระดับสูงสุดใหม่ เช่นเดียวกับดัชนีตลาดหุ้นหลักอื่นๆ โดยรวมได้แรงหนุนจากข้อมูลตัวเลขการผลิตที่ประกาศออกมาดี (Reuters)
Markit รายงานดัชนี PMI ภาคการผลิตยูโรโซนเดือนธ.ค. สูงขึ้นสู่ระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือน เม.ย. 2554 อยู่ที่ระดับ 54.9 เท่ากับตัวเลขที่ประเมินเบื้องต้นก่อนหน้านี้ และสูงขึ้นจากระดับ 53.7 เมื่อเดือนพ.ย. ก่อนหน้า หากพิจารณาแต่ละประเทศพบว่าดัชนีสูงขึ้นทั้งหมดใน 7 ประเทศที่มีการสำรวจ ซึ่งเนเธอร์แลนด์และออสเตรียมีการขยายตัวมากที่สุด (Reuters)
เอเชีย :
จีนเพิ่มการผลิตของจีนเร็วที่สุดในรอบเกือบสี่ปี: ดัชนี Caixin Markit ภาคการผลิต PMl ของจีนเพิ่มขึ้นถึง 51.9 ณ สิ้นปี 2559 เพิ่มขึ้นจาก 50.9 ในเดือนพฤศจิกายน ถึงแม้ว่าไม่สูงมากนักแต่อย่างน้อยก็ชี้ได้ว่าเป็นอัตราที่ฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งเร็วที่สุดนับตั้งแต่เดือนมกราคม 2556 การเพิ่มขึ้นของผลผลิตในโรงงานของจีนทำให้ค่า PMl ในเดือนธันวาคมสูงขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งอัตราการเติบโตของผลผลิตสูงสุดในรอบ 71 เดือน (lHS Markit)
ญี่ปุ่นเพิ่มการผลิตในอัตราเร่งมากที่สุดในอีก 12 เดือนในเดือน ธ.ค.: PMl แตะระดับสูงสุดในรอบ 12 เดือน โดย PMl ภาคการผลิตของญี่ปุ่นอยู่ที่ 52.4 ในเดือนธันวาคม เพิ่มขึ้นจาก 51.3 ในเดือนพฤศจิกายน ส่งสัญญาณการฟื้นตัวอย่างรวดเร็วในภาคการผลิตของญี่ปุ่น เป็นค่าสูงสุดนับตั้งแต่ธันวาคม 2558 และมีส่วนทำให้ค่าเฉลี่ยรายไตรมาสแข็งแกร่งที่สุดนับตั้งแต่ไตรมาส 4/58 ตัวเลขที่สูงขึ้นสะท้อนให้เห็นถึงการเพิ่มขึ้นของผลผลิต คำสั่งซื้อใหม่และการจ้างงาน (lHS Markit)
สินค้าโภคภัณฑ์ :
น้ำมันดิบสหรัฐร่วงกว่า 2% ในวันแรกของปี 60 เมื่อวันอังคาร ร่วงมาจากจุดสูงสุดรอบ 18 เดือนที่ไปแตะเมื่อช่วงต้นวันเพราะดอลลาร์ที่แข็งค่ามากที่สุดตั้งแต่ ปี 45 และผู้ค้าขายทำกำไร น้ำมันดิบ Brent ล่วงหน้าลบ 1.35 ดอลลาร์สหรัฐ (-2.4%) ปิด 55.47 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล น้ำมันดิบสหรัฐล่วงหน้าลบ 1.39 ดอลลาร์สหรัฐ (-2.6%) ปิด 52.33 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล จุดต่ำสุดในช่วงสองสัปดาห์ (Reuters)
ทองแดงถอยจากจุดสูงสุดรอบสองสัปดาห์ในวันอังคาร เพราะดอลลาร์ที่แข็งค่ามีผลเหนือการคาดการณ์ว่าจะมีการบริโภคที่แข็งแกร่งในสหรัฐและจีน ขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจมีสัญญาณการฟื้นตัว ทองแดงสามเดือนในตลาด London Metal Exchange ปิดลบ 0.6% เหลือ 5,500 ดอลลาร์สหรัฐต่อตันหลังจากแตะจุดสูงสุดนับแต่ 19 ธ.ค. ที่ 5,616.50 ดอลลาร์สหรัฐในช่วงต้นวัน ทองแดงที่อ่อนลงถูกมองว่าสะท้อนโลหะอื่นๆ ด้วย จึงมีผลกระทบไปยังอลูมิเนียมและนิกเกิล (Reuters)
ราคาทองคำบวก 1% สูงสุดในรอบกว่าสามสัปดาห์ในวันอังคาร เพราะหุ้นบวกได้ในช่วงต้นและสินทรัพย์เสี่ยงบวกน้อยลงและนักลงทุนมุ่งเข้าหาทองที่เป็นสินทรัพย์ปลอดภัย ราคาทองคำตลาดจรบวก 0.6% ปิดที่ 1,159.06 ดอลลาร์สหรัฐ ราคาทองคำล่วงหน้าสหรัฐเดือน ก.พ. บวก 0.9% ปิดที่ 1,162 ดอลลาร์สหรัฐ (Reuters)
Thailand Research Department
Mr. Warut Siwasariyanon (No.17923) TeI: 02 680 5041
Mr. Krit SuwanpibuI (No.17968) TeI: 02 680 5090
Mrs. VajiraIux SangIerdsiIIapachai (No. 17385) TeI: 02 680 5077
Mr. Narudon Rusme, CFA (No.29737) TeI: 02 680 5056
Mr. Napat Siworapongpun (No.49234) TeI: 02 680 5094