- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Monday, 26 December 2016 16:48
- Hits: 1211
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
SET ยังซึมๆ เมื่อใกล้หยุดเทศกาลปีใหม่ 2560 นักลงทุนบางส่วนเริ่มหายจากตลาด ขณะที่ยังมีแรงขายต่างชาติ ซึ่งมีน้ำหนัก หักล้างแรงซื้อจากสถาบันในประเทศ (LTF+Window Dressing) แนะนำให้สะสมหุ้นข้ามปี คือ ได้ประโยชน์เงินบาทอ่อนค่า (GFPT, TU) หุ้นรับเหมาฯ (CK) และ ปันผล (ASK, RATCH) เลือก ASK(FV@B27) เป็น Top Pick
(0) ตลาดหุ้นสหรัฐยังปรับฐาน หลังตอบรับดอกเบี้ยขาขึ้นปี 2560
การรายงานดัชนีชี้นำเศรษฐกิจสหรัฐ ยังมีพัฒนาการเชิงบวกต่อเนื่อง คือ ยอดขายบ้านใหม่(New home sales) เดือน พ.ย. เพิ่มขึ้น 5.2%mom มากกว่าที่ตลาดคาด (อยู่ที่ 5.92 แสนหลัง ทำสถิติสูงสุดของปีนี้) เพราะประชาชนแห่ซื้อบ้าน ด้วยความกังวลต่อวัฏจักรดอกเบี้ยขาขึ้น และแรงหนุนจาก นโยบายกระตุ้นกำลังซื้อของนายทรัมป์ฯ ที่จะมารับตำแหน่งประธานาธิบดีคนใหม่ใน 20 ม.ค. 2560 ที่จะลดภาษีทุกกลุ่ม (นิติบุคคล บุคคลธรรมดา และยกเลิกภาษีมรดก) ขณะที่ เงินเฟ้อสหรัฐกำลังทยานขึ้นสู่ 1.7% เทียบกับดอกเบี้ยนโยบาย 0.5-0.75% ทำให้ช่องว่าง ระหว่างดอกเบี้ยนโยบายและเงินเฟ้อ ติดลบ และหนุนให้ Fed ขึ้นดอกเบี้ยตลอดปี 2560 ได้มากถึง 1%
แต่อย่างไรก็ตามถือว่าตลาดน่าจะสะท้อนเรื่องดอกเบี้ยไประดับหากพิจารณาค่าเงิน Dollar ที่มีแนวโน้มชะลอการแข็งค่า เช่นเดียวกับตลาดหุ้นสหรัฐ (Dow Jones สหรัฐ) น่าจะเริ่มแกว่งตัว โดยเชื่อว่าจะยังไม่ผ่านแนวต้านสำคัญทางจิตวิทยาที่ระดับ 20,000 จุดได้ หลังจากตลาดหุ้นสหรัฐได้ได้ปรับขึ้นต่อเนื่องกว่า 600 จุด หรือเกือบ 9% นับจากวันเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐเมื่อ 8 พ.ย. ที่ผ่านมา และน่าจะเพราะอยู่ในช่วงสัปดาห์สุดท้ายของปี นักลงทุนจึงมีการปรับพอร์ตเพื่อลดความเสี่ยงช่วงวันหยุดยาว เช่นเดียวกับตลาดหุ้นยุโรป น่าจะอยู่ในภาวะปรับฐาน เริ่มจากตลาดหุ้น FTSE100 ของอังกฤษ น่าจะผ่านแนวต้านบริเวณ 7,120 จุด ยาก และ DAX เยอรมัน และ CAC40 ของฝรั่งเศส แนวต้านที่ 11,500 จุด และ 5,000 จุด หลังจากให้ผลตอบแทนเฉลี่ยราว 3.2%, 9.5% และ 8.48% หลังการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ เทียบกับก่อนหน้าที่ตลาดหุ้นลงตลอด จากผลกระทบของ Brexit
ขณะที่ตลาดหุ้นเอเชีย หลายตลาดยังปรับฐาน ต่อเนื่อง ได้แก่ ตลาดหุ้นฮ่องกง ไต้หวัน ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย แม้มีการปรับฐานไประดับหนึ่งแล้วหลังการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ เพราะมีความกังวลต่อการกีดกันทางการค้า ยกเว้นตลาดหุ้น Nikkei ที่ปรับตัวขึ้นกว่า 13% แต่ขณะนี้กำลังเผชิญกับแนวต้าน 20,000 จุด เป็นต้น
(-) Fund Flow ยังไหลออก แต่ยังมีแรงซื้อจากสถาบันฯ ในสัปดาห์สุดท้ายของปี วันศุกร์ที่ผ่านมาต่างชาติยังคงขายสุทธิหุ้นในภูมิภาคต่อเนื่องเป็นวันที่ 7 ด้วยมูลค่าราว 254 ล้านเหรียญ และเป็นการขายสุทธิทุกประเทศ ยกเว้นตลาดหุ้นอินโดนีเซียเพียงแห่งเดียวที่ถูกซื้อสุทธิราว 34 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 4) ส่วนที่เหลืออีก 4 ประเทศต่างชาติยังคงขายสุทธิ คือ ตลาดหุ้นไต้หวันถูกขายสุทธิราว 209 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 6) ตามมาด้วยเกาหลีใต้ 47 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 2), ฟิลิปปินส์ 13 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 11) และไทยที่ต่างชาติยังคงขายสุทธิราว 18 ล้านเหรียญ หรือ 646 ล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 4) ต่างกับนักลงทุนสถาบันฯซื้อสุทธิราว 252 ล้านบาท (หลังจากขายสุทธิเพียงวันเดียว)
ในช่วงโค้งสุดท้ายของปี แรงซื้อจากสถาบันในประเทศ ทั้ง LTF และ Window Dressing น่าจะเข้ามาช่วยประคองตลาดฯได้ อีกทั้งยังสอดคล้องกับสถิติย้อนหลัง 10 ปี พบว่า SET Index ในสัปดาห์สุดท้ายมักจะปรับขึ้น โดยมีผลตอบแทนเฉลี่ยราว 0.87%
ส่วนทางด้านตราสารหนี้ไทย นักลงทุนสถาบันฯซื้อสุทธิราว 1.62 หมื่นล้านบาท สวนทางนักลงทุนต่างชาติที่ขายสุทธิราว 322 ล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 4)
(+) ต่างชาติเริ่มซื้อสลับขายตลาดตราสารหนี้เอเชีย หลังขายมานาน หลังจากที่เม็ดเงินไหลออกจากตลาดตราสารหนี้ในภูมิภาคเอเซียระยะหนึ่ง เริ่มเห็นแรงซื้อ สลับขาย ทำให้ อัตราผลตอบแทน พันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปี (Bond Yield Curve) ของประเทศในกลุ่ม TIP+ Malaysia เริ่มกลับมาฟื้นตัวบ้าง หลังจากที่อ่อนตัวมาระยะหนึ่ง กล่าวคือ Yield ของฟิลิปปินส์ ได้ปรับตัวลดลงตั้งแต่วันอังคารที่ผ่านมา ล่าสุดอยู่ที่ 4.56% หลังจากที่ปรับตัวขึ้นไปแตะระดับสูงสุดในรอบปี ที่ 4.82% เช่นเดียวกับ มาเลเซียที่ล่าสุด Yield อยู่ที่ 4.25% หลังจากทำระดับสูงสุดในรอบ 6 เดือน ที่ 4.46%
ยกเว้น ตลาดตราสารหนี้ไทย พบว่า Yield ยังคงทรงตัว หลังจากที่แตะระดับสูงสุดของปีที่ 2.87% และอินโดนีเซียที่ Yield ยังคงขยับขึ้น โดยล่าสุดอยู่ที่ 7.84% เพราะยังมีเงินไหลออกอยู่
และ ตรงข้ามฝั่งสหรัฐฯ แม้ว่า Yield ยังเพิ่มขึ้น แต่ก็เป็นการเพิ่มในอัตราที่ลดลง ล่าสุดอยู่ที่ 2.55%
โดยภาพรวมเป็นการสะท้อนภาพ Fund Flow ที่ไหลออกของภูมิภาคเอเชีย เริ่มชะลอตัวและกลับมาซื้อสลับขายในบางประเทศ ซึ่งน่าจะสรุปได้ว่าตลาดเงินโลกน่าจะตอบรับการขึ้นดอกเบี้ยของสหรัฐไประดับหนึ่ง
(0) กลยุทธ์การลงทุน ให้ถือหุ้นข้ามปี ASK, GFPT, CK, UNIQ, BJC, RATCH สถานการณ์ SET Index แกว่งผันผวนบริเวณ 1500 จุด กลยุทธ์การลงทุน เลือกหุ้นเป้นรายตัว ที่ได้ประโยชน์จาก theme การลงทุนต่างๆ ดังนี้
หุ้นปันผลสูง : โดยหลังจากการประกาศงบปี 2559 ช่วงเดือน ม.ค. – ก.พ. 2560 จะเข้าสู่ฤดูกาลประกาศจ่ายปันผล ตั้งแต่เดือน มี.ค. 2560 เป็นต้นไป หากนักลงทุนซื้อหุ้นปันผลสูงตั้งแต่ช่วงนี้ เท่ากับถือหุ้นเพียง 3 - 4 เดือน ก็จะได้เงินปันผลเทียบเท่าถือหุ้นมาครึ่งปี (สำหรับหุ้นที่จ่ายปันผล 2 ครั้งต่อปี) หรือเทียบเท่าถือหุ้น 1 ปี (สำหรับหุ้นที่จ่ายปันผลปีละครั้ง) โดยหุ้นที่ฝ่ายวิจัยคัดกรอง เลือกจาก Dividend Yield ปี 2559 และ 2560 สูงกว่า 4% ต่อปี, EPS Growth ปี 2560 เติบโต กว่า 10%, Upside สูงกว่าราคาปัจจุบันเกินกว่า 15% และฝ่ายวิจัยแนะนำ ซื้อ ได้หุ้นที่น่าสนใจ อาทิ ASK (FV@B27), THANI ([email protected]), SCCC (FV@B340) และ RATCH (FV@B65)
หุ้นที่ได้ประโยชน์จากการอ่อนค่าของเงินบาท : ได้ประโยชน์ชัดเจน มี 2 กลุ่ม คือ กลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ โดยหากพิจารณาผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการกีดกันจากสหรัฐไม่มากนัก พบว่า ผู้ที่ตลาดส่งออกไปสหรัฐในสัดส่วนที่น้อยเมื่อเทียบรายได้รวม คือ HANA 8% ตามด้วย SVI 10% และ KCE 20% จึงแนะนำ HANA (FV@B38) และ SVI ([email protected]) ส่วน กลุ่มเกษตร-อาหาร แนะนำ GFPT (FV@B19) ในฐานะที่เป็นผู้ผลิตและส่งออกผลิตภัณฑ์ไก่ ไปยังยุโรป และ เอเชีย โดยเฉพาะ ญี่ปุ่น ในสัดส่วน 50% ของปริมาณการส่งออก จึงไม่กระทบจากการกีดกันทางการค้าจากสหรัฐ ขณะที่ TU (FV@B25) และ CPF ([email protected]) ไม่น่าจะได้รับผลกระทบ เพราะส่วนใหญ่เป็นส่งออกจะเป็นผลิตภัณฑ์กุ้ง (TU 16% ของรายได้รวม, CPF 1%) นอกจากนี้ยังมีกลุ่มส่งออกเกษตรและอาหาร STA (FV@B25) และ KSL (FV@B6) ไม่น่าจะกระทบจาก การกีดกันทางค้าของสหรัฐ เพราะตลาดส่งออกหลักอยู่ในแถบเอเชีย และผลิตภัณฑ์ยางส่งออกของไทยอยู่ในขั้นกลาง มีตลาดหลักในจีน เป็นต้น และน่าจะได้ประโยชน์จากเงินบาทอ่อนค่ามากที่สุด เนื่องจากรายได้หลักราว 70% มาจากการส่งออกยางพาราและน้ำตาลสู่ต่างประเทศ (รับรู้รายได้เป็นสกุลดอลลาร์) แต่ต้นทุนการผลิตทั้งหมดเป็เงินบาท อาทิ ยางพาราและอ้อย เป็นต้น ตามลำดับ
หุ้นที่ได้ประโยชน์จากมาตรการก่อสร้างภาครัฐ : โดยเฉพาะหุ้นในกลุ่มรับเหมาก่อสร้าง ได้ประโยชน์จากความคืบหน้าการลงทุนภาครัฐ ซึ่งทำให้ Backlog ทั้งอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น น่าจะหนุนรายได้และกำไรของกลุ่มฯ โดยรวมดีขึ้นในปี 2560 โดยเฉพาะ UNIQ (FV@B25) ซึ่งคาดว่างานใหม่คิดเป็นสัดส่วนสูงถึง 57.3% ของ Backlog เดิมที่มีอยู่ ทำให้เป็นหุ้นที่มีการเติบโตสูงสุด ขณะที่มี P/E ต่ำสุดในกลุ่ม จึงชอบ UNIQ มากสุด ทั้งยังมี upside สูงถึง 29.5% ตามมาด้วย CK ที่มีฐานธุรกิจกระจายตัวที่ดี (ถือหุ้น TTW 19.40%, BEM 29.73%)
หุ้นเติบโตสูง : เลือก BJC (FV@B64) และ BLA (FV@B62)
หุ้น Energy Recovery : ตามการฟื้นตัวของราคาน้ำมันในปีหน้า เลือก PTT (FV@B400) และ PTTEP (FV@B102)
ภรณี ทองเย็น
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
พาสุ ชัยหลีเจริญ
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์
ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์