WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

บล.เคที ซีมิโก้ : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน

ขึ้น สลับ ย่อ
Highlight
      ตลาดหุ้นเอเชียเช้านี้ เปิดคละ โมเมนตัมบวก มาจาก การฟื้นตัวของตลาดหุ้นสหรัฐฯ หลังบจ.รายงานกำไรดีกว่าคาด และลุ้นตลาดหุ้นยุโรปฟื้นตัวหลัง ธ.กลางโปรตุเกส แก้วิกฤติการเงิน ผ่านการอุ้ม ธ.ใหญ่ที่สุดของโปรตุเกส Banco Espirito Santo
ตัวเลขเศรษฐกิจวันนี & 63243; USA ISM ภาคบริการ ก.ค. คาด 56.3 (Vs 56) คำสั่งซื้อโรงงาน มิ.ย. คาด +0.6%m-m (Vs -0.5%) ผลประชุมธนาคารกลางอินโดนีเซีย ออสเตรเลีย คาดคงดอกเบี้ยที่ 8% และ 2.5% ตามลำดับ Indonesia: 2Q57F GDP คาด 5.2%y-y เท่าเดิม
- วันทำการก่อนหน้า ต่างชาติกลับมาซื้อสุทธิ +1.06 พันลบ. (จากขายสะสม 4 วันรวม -5.02 พันลบ.) และนักลงทุนสถาบันในประเทศกลับมาซื้อสุทธิ +970 ลบ. (จากขายสะสม 6 วันรวม -8.80 พันลบ.)
      + การเมือง คาดประชุมสภาครั้งแรก 8ส.ค. เลือกประธานสภา และรองประธานสภา ก่อนประชุมสัปดาห์ต่อๆ ไป เลือกนายกฯและพิจารณา งบปี 58
       คาดดัชนีฯ วันนี้ ขึ้น สลับย่อ โดยมีแนวต้านที่ 1525/1530 จุด แนวรับ 1512/1500 จุด โดยแรงซื้อกลับของนักลงทุนต่างชาติและสถาบันในประเทศหนุนหุ้นขนาดใหญ่ ขณะปลายสัปดาห์ มีปัจจัยบวกด้านการเมืองเรื่องการประชุมสภานัดแรก
    กลยุทธ์: เราแนะนำ ขึ้นทยอยขาย เพื่อรอซื้อคืนที่แนวรับ หุ้นเด่นแนะนำ KBANK SCB INTUCH SIRI QH AP CPALL SCC AAV CENTEL และกลุ่ม Cyclical Play หุ้นเด่นแนะนำ PTT IVL IRPC PSL

หุ้นในกระแส:
     หุ้นโมเมนตัมบวก (ขึ้นเกิน 6.0%) ได้แก่ ADAM VIH VNG CSS SYNTEC SF EARTH KTC SAWAD ANAN หุ้นที่ลงกว่า 3.0% ได้แก่ SNC RPC JAS SGP MACO SLC EFORL PDG
      NVDR (หน่วย: ลบ.) สูงสุดด้านซื้อ ได้แก่ BBL+440 KBANK+206 PTTEP+201 BANPU+162 สูงสุดด้านขาย ได้แก่ JAS-294 INTUCH-260 SCC-75
      หลักทรัพย์ที่มี Short Sell สูงสุด (หน่วย:ล้านบาท) ได้แก่ TRUE 98 PTT 83 KBANK 62

Market Outlook
      คาดดัชนีฯ วันนี้ ขึ้น สลับ ย่อ แนวต้าน 1525-1530 จุด หลังวานนี้ปรับขึ้นแรงจากแรงซื้อกลับหุ้นขนาดใหญ่ปัจจัยในประเทศอาจมีข่าวดีจากรายชื่อคณะรัฐมนตรีใหม่ แนะนำ ขึ้นทยอยขาย เพื่อรอซื้อคืนที่แนวรับ เน้นหุ้นปันผล กำไรดี หุ้นเด่น KKP SIRI BANPU / SCC (อาจได้ประโยชน์จากระเบิดในไต้หวัน) MODERN (ปันผลสูง)
       คาดดัชนีฯ วันนี้ ขึ้น สลับ ย่อ โดยมีแนวต้านที่ 1525/1530 จุด แนวรับ 1512/1500 จุด หลังวานนี้รีบาวด์ได้แรงกว่าคาด ตามแรงซื้อกลับหุ้นขนาดใหญ่ นำโดย PTT SCB ของนักลงทุนต่างชาติและสถาบันในประเทศ โดยปัจจัยภายนอกเริ่มคลี่คลาย หลังตลาดหุ้นสหรัฐฯ ดีดขึ้น ตามรายงานผลประกอบการบจ.ออกมาดี และนักลงทุนคลายกังวลปัญหาหนี้ธนาคารในโปรตุเกส หลังธนาคารกลางให้เงินช่วยเหลือ ส่วนกลางสัปดาห์นี้ อาจมีสัญญาณเชิงบวกต่อการออกมาตรการการเงินเพิ่มของอีซีบี โดยเฉพาะ QE ส่วน
ปัจจัยในประเทศ การประชุมสภาสนช.นัดแรก เพื่อเร่งงบใช้จ่ายปี 58 และประเด็นบุคคลมารับตำแหน่งนายกฯและคณะรัฐบาล จะเป็นปัจจัยบวกระยะสั้นต่อตลาดหุ้นไทย ส่วนความเสี่ยงคือ แนวโน้มเศรษฐกิจไทย 2Q57F GDP คาดเติบโตอ่อนแอ และแนวโน้มค่าเงินบาทที่ยังผันผวนต่อเนื่อง ตามทิศทางค่าเงินดอลลาร์ เราแนะนำ นักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้ ใช้กลยุทธ์ ขึ้นทยอยขาย เพื่อรอซื้อคืนที่แนวรับ หุ้นพื้นฐานดี หุ้นปันผล (ดูชื่อหุ้น ข้างล่าง)
        ปัจจัยในประเทศ – เริ่มมีแรงซื้อกลับหุ้นขนาดใหญ่ หลังปรับตัวลงแรง โดยเฉพาะในกลุ่มพลังงาน และธนาคารที่วานนี้ปรับขึ้นได้ดี โดยเรายังคงมุมมองบวกต่อทิศทางเงินทุนจากต่างประเทศในระยะกลาง ที่จะหนุนดัชนีฯ ในระยะต่อไป แม้ระยะสั้นยังมีความผันผวนอยู่บ้างตามทิศทางค่าเงินดอลลาร์ จึงแนะนำนักลงทุนใช้กลยุทธ์ ขึ้นขาย-ลง รอซื้อ (หุ้นพื้นฐานดี เน้นกลุ่มธนาคาร อสังหาฯ ท่องเที่ยว) ขณะที่ปัจจัยระยะสั้น สัปดาห์นี้
วันพุธที่ 6 ส.ค. คาดผลประชุมกนง. จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายฯ RP 1 วันไว้ที่ระดับ เดิม 2% (คาดดอกเบี้ยทรงตัวในระดับต่ำตลอดปีนี้ +หุ้นปันผลดี)
วันที่ 8 ส.ค. คาดประชุมสภาสนช.200 คน นัดแรกเพื่อเลือกประธานและรองประธานสภาเพื่อนำทูลเกล้าถวายฯ ก่อนที่สัปดาห์ต่อๆ ไป จะเริ่มประชุม วาระสำคัญ คือ พิจารณาบุคคลดำรงตำแหน่งนายกฯ และพ.ร.บ. ร่างงบประมาณปี 58 (รายชื่อบุคคลดำรงตำแหน่งคณะรัฐบาลและนายกฯ จะไม่ส่งผลกระทบต่อตลาด หากเป็นไปตามคาดการณ์ล่วงหน้าของสื่อหลายแห่ง แต่จะเป็นผลบวกต่อ การใช้จ่ายงบฯ ปี 58 ที่สามารถเบิกจ่ายใช้เงินได้ทันที +กลุ่มอิงนโยบายรัฐ เช่น รับเหมาก่อสร้าง ฯลฯ)
ปัจจัยต่างประเทศ – เริ่มกลับมาเป็นบวก หลังหลายประเด็นเริ่มคลี่คลาย โดย
1. การฟื้นตัวของตลาดหุ้นสหรัฐฯ จากรายงานกำไรบจ.ส่วนใหญ่ปรับตัวดีขึ้นกว่าคาด ส่วนค่าเงินดอลล์สหรัฐฯที่พุ่งขึ้นแรงเทียบตะกร้าสกุลหลัก เริ่มอ่อนตัวลง ดอลลาร์อ่อนค่าลงเล็กน้อย 0.07% สู่ 102.54 เยน หลังปรับตัวขึ้นสูงสุดในรอบ 4 เดือน เมื่อเทียบกับเยนในสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยสกุลเงินต่างๆปรับตัวในช่วงแคบๆเมื่อเทียบกับดอลลาร์ในวันจันทร์ ขณะที่ความสนใจของตลาดเปลี่ยนไปอยู่ที่การประชุมของธนาคารกลางต่างๆ ใน สัปดาห์นี้ ธ.กลางออสเตรเลียจะประชุมวันอังคาร ,ธ.กลางยุโรป ธ.กลางอังกฤษ จะประชุมในวันพฤหัสบดี และธนาคารกลางญี่ปุ่น จะประชุมในวันศุกร์นี้
2. ปัญหาแบงก์ใหญ่สุดของโปรตุเกส Banco Espirito Santo ได้รับการกอบกู้จากธนาคารกลางโปรตุเกสผ่านการ ให้ความช่วยเหลือทางการเงิน 6.6 พันล้านดอลล์สหรัฐฯ โดยจะมีการโอนเงินฝาก สินทรัพย์ไปยังบริษัทที่จัดตั้งขึ้นใหม่

Investment Theme สำหรับการลงทุนระยะ 1-2 สัปดาห์ แนะนำ
    1) หุ้นปันผลสูงมากกว่า 5% ปีนี้ แนะนำ SAMTEL MODERN TISCO BCP และสะสมเมื่ออ่อนตัว ADVANC DTAC BTS TTW LPN SPALI (ความเสี่ยงขาลงมีจำกัด)
     2) หุ้น High Growth ปีนี้ ที่ยังคงมี % Upside สูงกว่า 20% แนะนำ JAS PSL BCP THCOM TTCL KBANK SCB SINGER BECL
      3) หุ้นเก็งกำไร Earnings Play: เก็งกำไรหลักทรัพย์ที่คาดว่าจะรายงานกำไร 2Q57F เติบโตสูง อาทิ CSS IVL GOLD ANAN JUBILE MINT SVI

ประเด็นจับตา
1. ประเด็นการเมือง: ศุกร์นี้ ประชุมสภานัดแรก
ประเด็นการเมือง (Update):
สนช.ภาคเอกชนหนุน'ประยุทธ์'นั่งนายกฯ
       ให้สัมภาษณ์ถึงแนวทางการทำงานในฐานะตัวแทนภาคเอกชนว่า วันนี้จะมีการประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) จะมีการหารือร่วมกันเพื่อให้ได้ข้อมูลจากทุกภาคส่วนมาเสนอต่อสนช. ว่าจะสามารถปรับปรุงแก้ไขอะไรได้บ้าง ขณะที่ในส่วนของประธานสนช.คงจะมีการพูดคุยในกกร. เช่นเดียวกัน ว่าส่วนใหญ่คิดว่าบุคคลใดมีความเหมาะสม ซึ่งจะเป็นการมองในภาพรวม ส่วนกระแสที่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) จะมาเป็นนายกรัฐมนตรีในส่วนของภาคเอกชนมองว่าเป็นเรื่องที่ดี
ภารกิจเร่งด่วน สนช. ตั้งนายกฯ - ถก พ.ร.บ. งบ 58 - คลอดก.ม.
        รัฐพิธีเปิดประชุมสนช.จะมีขึ้นในวันที่ 7 ส.ค.นี้ ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม พระราชวังดุสิต ถัดจากนั้นสนช.จะประชุมนัดแรกวันที่ 8 ส.ค.นี้ เพื่อเลือกประธานและรองประธานสนช. โดยภารกิจเร่งด่วนและสำคัญของ สนช.อันดับแรกเลยคือ การดำเนินการสรรหานายกรัฐมนตรี เพื่อให้ไปจัดตั้งคณะรัฐมนตรี ตามด้วยการพิจารณาร่างพ.ร.บ. งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2558 วงเงิน 2.5 ล้านล้านบาท ที่ต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จ เพื่อให้ทันต่อการเริ่มใช้งบประมาณในวันที่ 1 ต.ค.นี้

2. Fed Tightening: อาจเป็นลบระยะสั้น แต่อาจส่งผลกระทบต่อตลาดพันธบัตร มากกว่าตลาดหุ้น
      KTZ คาดว่า ผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย จะมีผลโดยตรงต่อแนวโน้มดอกเบี้ยของไทย จะปรับขึ้นในทิศทางและปริมาณเดียวกัน โดยผลสำรวจล่าสุด ส่วนใหญ่คาดขึ้นดอกเบี้ยครั้งแรกใน 2Q/3Q58F ประมาณ 0.25-1%
มุมมองระยะยาว คาดการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟดจะไม่ส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นโลกอิงสถิติย้อนหลังของตลาดหุ้นสหรัฐฯ เราพบว่า การหันมาเริ่มคุมเข้มนโยบายการเงินของเฟด จะไม่ส่งผลกระทบเชิงลบอย่างมีนัยต่อตลาดหุ้นสหรัฐฯ (คาดมีผลกระทบโดยตรงต่อตลาดพันธบัตร และย้ายลงทุนมายังตลาดหุ้นทดแทน อิงผลกำไรบจ.มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นตามขาขึ้นของวัฎจักรเศรษฐกิจ โดยตลาดคาดว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะเติบโตเฉลี่ยสูงกว่า 3% )
      อิงสถิติการปรับขึ้นดอกเบี้ย Fed Fund Rate ของเฟดครั้งแรกและต่อเนื่องจนสูงกว่า 1 ppt ในช่วงปี 1970-2003 ที่ผ่านมา พบว่า ดัชนี S&P 500 ให้ผลตอบแทนเฉลี่ย +8.9% ในช่วง 8 เดือนก่อนการปรับขึ้นดอกเบี้ยครั้งแรก และปรับขึ้นเฉลี่ย 11% ในช่วง 21 เดือนต่อมาหลังจากปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกของเฟด (ดูตาราง 2) ยกเว้นปี 1999/2001 ที่ผลตอบแทน -15.5% เนื่องจากระดับ Valuation ในช่วง dot com bubble มีการปรับขึ้นไปสูงกว่าความเป็นจริงมาก
      ทั้งนี้ ตลาดคาดว่า เฟดจะเริ่มต้นปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate ครั้งแรกในช่วงเดือน มี.ค. 58 และขึ้นต่อเนื่องจนถึง ธ.ค. 59 ทั้งนี้ ระดับอัตราดอกเบี้ยที่เร่งตัวขึ้น คาดว่าจะกระทบในส่วนของ Risk Free Rate ระยะสั้น แต่ก็ถือว่ายังคงแตกต่างจากระดับดอกเบี้ยที่ใช้ในการประเมินมูลค่าหุ้น ที่ใช้ Long-term rate และยังคงต่ำกว่ามากเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยที่ 2% นอกจากนี้ การประเมินมูลค่าหุ้น ยังคงอิง Equity Risk Premium (ERP) ของแต่ละประเทศเป็นสำคัญ ซึ่งภายใต้เศรษฐกิจขาขึ้นของโลก คาดว่าระดับความเสี่ยงดังกล่าวจะมีจำกัด US S&P 500 เฉลี่ยปรับขึ้น 8.9% ก่อนเฟดเริ่มวัฎจักรขาขึ้นดอกเบี้ย 8 เดือน และเฉลี่ย +11.4% หลังเฟดเริ่มต้นวัฎจักรดอกเบี้ยขาขึ้น 21 เดือน

-3. อาร์เจนติน่า : Argentina’ Technical Default ปัญหาลบชั่วคราว
      เป็นการผิดนัดชำระหนี้ครั้งที่ 2 ในรอบ 13 ปี (ครั้งแรกปี 2001) แต่เป็นผลจากการไม่ต้องการจ่าย มากกว่าการไม่สามารถจ่ายได้ เนื่องจาก การเจรจา ระหว่าง รัฐบาลอาร์เจนฯ และเจ้าหนี้พันธบัตร (US Hedge Fund) ที่มีมุมมองต่าง ทำไห้รัฐบาลอาร์เจนติน่า ตัดสินใจไม่จ่ายดอกเบี้ย 539 ล้านดอลล์สหรัฐฯ ได้ภายในกำหนดเส้นตาย รัฐบาลอาร์เจนติน่า กล่าวหากองทุน US Hedge Funds เป็นพวก Vulture Funds และการต้องจ่ายหนี้ให้ครบทั้งจำนวนแก่ Hedge Funds ที่ซื้อมาในราคาส่วนลดสูง จะส่งผลให้รัฐบาลฯต้องจ่ายหนื้คืนให้กับ Bondholders อื่นๆ ครบทุกจำนวนเช่นกัน
      ผลจากการผิดนัดชำระหนี้ของอาร์เจนตินา ส่งผลให้สถาบันจัดอันดับเครดิต S&P ลดเครดิตสู่ระดับ ผิดนัดชำระหนี้บางส่วน Technical Default จากเดิม CCC-/Cและฉุดดัชนีหุ้นบลูชิพ Merval Index ร่วงลง -8.4% ทั้งนี้ ปัจจุบัน อาร์เจนตินา มีหนี้สกุลเงินต่างประเทศ 2 แสนล้านดอลล์สหรัฐฯ ซึ่งรวมถึงพันธบัตรที่ได้มีการปรับโครงสร้างหนี้แล้ว มูลค่า 3 หมื่นล้านดอลล์สหรัฐฯ
        แม้จะมีปัญหาการผิดนัดชำระหนี้ของอาร์เจนติน่า แต่ผลกระทบต่อตลาดการเงินโลก.ค.าดว่าจะมีจำกัด เนื่องจาก ระดับความเสี่ยงของตราสารหนี้ของอาร์เจนติน่า อยู่ในระดับ High Risk อยู่แล้ว และส่วนใหญ่เป็นผลจาก การไม่ต้องการจ่าย มากกว่า ไม่มีเงินมาจ่าย อย่างไรก็ดี อาจส่งผลกระทบต่อ Bond Funds ที่ถือตราสารหนี้ของกลุ่ม Emerging Markets Countries อื่นๆด้วย โดยเฉพาะประเทศที่มีความเสี่ยงผิดนัดชำระหนี้อาจถูกขายอย่างมีนัยเทียบกับประเทศที่มีสถานะการเงินมั่นคง

4. +/- 2Q57F Earnings Results: Consensus คาดบจ. ไทยมีกำไรเพิ่มขึ้น 18% YoY -3.9%q-q ใน 2Q14
        สัปดาห์นี้ จับตารายงานผลกำไรบจ. GOLD PTTGC AAV ADVANC CPALL MAKRO IVL SIRI
Bloomberg Consensus : 2Q14E earning estimate by sector คาดว่า กลุ่มพลังงาน จะรายงานกำไรเติบโต y-y สูงสุด +105.3% รองลงมาคือ กลุ่มอาหาร +86.5%y-y ปิโตรเคมี +70%y-y แย่สุดคือ กลุ่มเหล็ก -168.9%y-y ขนส่ง -146.7%y-y
+/- USA: ผลการดำเนินงาน 2Q57F ของบจ.สหรัฐฯ ที่น่าสนใจ : ได้แก่ AIG (4/8) Walt Disney (5/8) Time Warner (6/8)

      +/- 5. รายงานเศรษฐกิจสำคัญสัปดาห์นี้ : ไฮไลท์อยู่ที่ ECB – BOJ Meeting, รายงาน 2Q57F GDP อินโดนีเซีย อิตาลี , ผลประชุมกนง. ไทย
       วันอังคาร 5 ส.ค.: USA ISM ภาคบริการ ก.ค. คาด 56.3 (Vs 56) คำสั๋งซื้อโรงงาน มิ.ย. คาด +0.6%m-m (Vs -0.5%) ผลประชุมธนาคารกลางอินโดนีเซีย ออสเตรเลีย คาดคงดอกเบี้ยที่ 8% และ 2.5% ตามลำดับ Indonesia: 2Q57F GDP คาด 5.2%y-y เท่าเดิม
วันพุธ 6 ส.ค.: USA ดุลการค้า มิ.ย. คาด -$44.5bn. (Vs -$44.4bn.) Thai: ผลประชุมกนง.คาดคงดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 2% Italy: 2Q57F GDP คาด +0.1%q-q (Vs -0.1%) Germany:Factory orders มิย คาด +0.5%m-m(vs -1.7%)
      วันพฤหัสบดี 7 ส.ค.: ผลประชุมธนาคารกลางยุโรป อังกฤษคาดคงดอกเบี้ยที่ 0.15% 0.5% ตามลำดับ USA:Consumer credits มิ.ย. คาด $18bn. (Vs $19.6bn.) Germany:Industrial Production มิย คาด +1.3%m-m (Vs -1.8%)
       วันศุกร์ 8 ส.ค. : Japan ผลประชุมธนาคารกลางญี่ปุ่น คาดคงดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.1% China: ส่งออก ดุลการค้าเดือน ก.ค. คาด +6.5%y-y +$26bn.(Vs +7.2% +$31.56bn.) USA:Wholesale Inventories มิย คาด +0.6%m-m(Vs 0.5%) Germany ส่งออกมิย คาด +1.3%m-m(Vs -1.1%)

รายงานตัวเลขเศรษฐกิจวันทำการผ่านมา:
     ยอดขายรถยนต์ใหม่ในเยอรมนีพุ่ง 6-7% ในเดือน ก.ค. แหล่งข่าวในอุตสาหกรรมรถยนต์ของเยอรมนี เปิดเผยว่า ยอดขายรถยนต์ใหม่ ของเยอรมนีฟื้นตัวขึ้นในเดือน ก.ค. โดยเพิ่มขึ้น 6-7% เมื่อเทียบรายปี ทั้งนี้ การจดทะเบียนรถเก๋งใหม่ในรอบ 7 เดือนแรกของปีของเยอรมนีพุ่งขึ้น เกือบ 3% ยอดขายรถยนต์ของเยอรมนีลดลง 2% ในเดือน มิ.ย. ซึ่งมีวันทำงานน้อยกว่าในช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว 1 วัน
จีน เผยดัชนี PMI ภาคบริการร่วงต่ำสุดในรอบ 6 เดือน สำนักงานสถิติแห่งชาติของจีนรายงานเมื่อวานนี้ว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการร่วงลงสู่ 54.2 ในเดือน ก.ค. จาก 55 ในเดือน มิ.ย. โดยระดับ 54.2 นี้ถือว่าเป็นจุดต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน ม.ค. เป็นต้นมา การที่ภาคบริการชะลอการเติบโตลงเล็กน้อยในระยะนี้เกิดขึ้นในช่วงที่ ภาคโรงงานของจีนเริ่มฟื้นตัวขึ้น หลังจากที่ภาคโรงงานเคยเป็นหนึ่งใน ปัจจัยที่ถ่วงการเติบโตของเศรษฐกิจจีนในช่วงต้นปีนี้ โดยได้รับแรงกดดัน จากการร่วงลงของอุปสงค์ทั้งในจีนและในต่างประเทศ

สรุปภาวะตลาดต่างประเทศ
Global Momentum
+ ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปิดบวก จากรายงานผลกำไรบจ.ที่ดีขึ้น
      วันทำการที่ผ่านมา ตลาดหุ้นสหรัฐฯ กลับมาฟื้นตัว หลังร่วง 4 วันทำการ โดยดัชนี DJIA ปิดเพิ่มขึ้น 75.91 จุด หรือ 0.46% สู่ระดับ 16,569.28 จุด ดัชนี S&P 500 ปิดสูงขึ้น 13.84 จุด หรือ 0.72% สู่ระดับ 1,938.99 จุด Nasdaq ปิดบวก 31.25จุด หรือ 0.72% สู่ระดับ 4,383.89 จุด จำนวนหุ้นบวกนำหน้าหุ้นลบในอัตราส่วนประมาณ 19 ต่อ 12 ในตลาดนิวยอร์ค และประมาณ 17 ต่อ 10 ในตลาด Nasdaq โดยได้แรงหนุนจากการเปิดเผยผลประกอบการของบริษัทเบิร์คไชร์ ฮาธาเวย์โตถึง 41%q-q ของนายวอร์เรน บัฟเฟตต์ และการปรับตัวขึ้นของกลุ่มหุ้นส่วนใหญ่ซึ่งช่วยหนุนดัชนี S&P 500 ดีดตัวขึ้นหลังจากร่วงลงหนักสุดในสัปดาห์ที่ผ่านมานับตั้งแต่ปี 2012

+/- ตลาดหุ้นยุโรป ปิดคละ รับข่าวบวกแบงก์โปรตุเกส
       วันทำการที่ผ่านมา ตลาดหุ้นยุโรป ยังคงปิดคละ โดย FTSE ปิดย่อลง 1.66 จุด หรือ -0.02% สู่ 6,677.52 จุด ดัชนี CAC40 ปิดสูงขึ้น 14.44 จุด หรือ 0.34% สู่ 4,217.22 จุด และ DAX ลดลงต่ออีก 55.94 จุด หรือ -0.51% สู่ 9,154.14 จุด นักลงทุนในตลาดขานรับการประกาศผลประกอบการภาคธุรกิจและการเข้าอุ้มธนาคารบังโค เอสปิริโต ซานโต ของธนาคารกลางโปรตุเกสดัชนี FTSE 100 ที่ตลาดหุ้นอังกฤษปิดทรงตัวในวันจันทร์ หลังจากร่วงลงมานานติดต่อกัน 3 วัน โดยดัชนีได้รับแรงหนุนจากการพุ่งขึ้นของหุ้นธนาคาร HSBC อิงการเป็นหุ้นที่ให้อัตราผลตอบแทนจากเงินปันผลที่ระดับสูง และงบดุลที่แข็งแกร่ง

+ราคาน้ำมันดิบ กลับมาฟื้นตัวเล็กน้อย วิตกปัญหาในลิเบีย ยูเครน
      วันทำการที่ผ่านมา Brent ส่งมอบ ก.ย. ปิดเพิ่มขึ้น 0.57 ดอลลาร์ สู่ 105.41 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ส่วน Nymex ส่งมอบ ก.ย. ฟื้นตัว 0.41 ดอลล์ต่อบาร์เรล มาปิดที่ระดับ 98.29 ดอลล์ต่อบาร์เรล นักลงทุนกลับเข้าซื้อสัญญาน้ำมัน เนื่องจากกังวลว่าอาจเกิดปัญหาขัดข้องด้านอุปทาน โดยเป็นผลจากเหตุการณ์รุนแรงในลิเบียและอิรัก และเป็นผลจากวิกฤติในภาคตะวันออกของยูเครนปริมาณการผลิตน้ำมันของลิเบียร่วงลงสู่ 450,000 บาร์เรลต่อวัน จาก 500,000 บาร์เรลต่อวันในสัปดาห์ที่แล้ว วิกฤติในยูเครนทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ในขณะที่มีรายงานข่าวว่า กองทัพยูเครนกำลังติดตั้งเครื่องยิงขีปนาวุธและระบบยิงจรวดพร้อมกันหลายลูกใกล้เมืองโดเนทส์ทางภาคตะวันออกของประเทศ

-ราคาทองคำ ร่วงลงเป็นวันที่ 5 ในรอบ 6 วันทำการ
       วันทำการที่ผ่านมา ราคาสัญญาทองเดือน สิงหาคม ปิดตลาดลดลงเป็นวันที่ 5 ในรอบ 6 วันทำการที่ผ่านมา โดยวานนี้ ปิดลดลง 5.90 ดอลล์มาปิดที่ระดับ 1,288.90 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ราคาทองสปอตที่ตลาดสหรัฐร่วง 5.56 ดอลลาร์ สู่ 1,288.04 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในช่วงท้ายตลาดวันจันทร์ ในขณะที่มีการบรรลุข้อตกลงเพื่อกอบกู้กิจการธนาคารแบงโก เอสปิริโต ซานโต (BES) ธ.จดทะเบียนใหญ่สุดของโปรตุเกส นอกจากนี้ เศรษฐกิจโลกก็มีแนวโน้มดีขึ้นด้วย

+ ดัชนีค่าระวางเรือ Baltic Dry Index กลับมาปิดบวกเป็นวันที่ 8 ในรอบ 9 วัน
      วันทำการที่ผ่านมา ดัชนี Baltic Dry Index ปิดเพิ่มขึ้น 2 จุดมาปิดที่ 753 จุด หลังจาก ปี 56 พิ่มขึ้น +28.14%y-y เป็น 2227 จุด (จาก 1738 จุด ณ สิ้นปี 55) โดยระดับสูงสุดอยู่ที่ 2337 จุด เมื่อ 12/12/56 และระดับต่ำสุดอยู่ที่ 698 จุดเมื่อ 2/1/56 ขณะที่ระดับสูงสุดตลอดกาลอยู่ที่ 11793 และระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ อยู่ที่ 554 กลุ่มเรือ (Shipping) คาดผ่านจุดต่ำสุด Bottom Out และฟื้นตัวตามเศรษฐกิจโลก

ถนอมศักดิ์ สหรัตน์ชัย, no. 14501 [email protected] 02-624-6244
ธิดารัตน์ ผโลดม, no. 16564 [email protected] 02-624-6270 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!