- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Tuesday, 20 December 2016 16:49
- Hits: 3889
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
ดัชนียังผันผวน ตราบที่แรงขายต่างชาติยังมี ซึ่งไหลออกตามดอกเบี้ยสหรัฐที่อยู่ในช่วงขาขึ้น กลยุทธ์การลงทุนเน้นรายหุ้น (BJC(FV@B64), SCC(FV@B610), UNIQ(FV@B25)) และ Top pick คือ GFPT(FV@B19) ได้ประโยชน์เงินบาทอ่อน และ ยอดส่งออกไก่สดใส หลังเกิดไข้หวัดนกในญี่ปุ่น & เกาหลีใต้
(0) ตลาดหุ้นสหรัฐตอบรับการขึ้นดอกเบี้ย สะท้อน DJIA ขึ้นมากกว่าค่าเงิน
ผลการคัดเลือกประธานาธิบดีรอบ 2 วานนี้ โดยคณะผู้แทนเลือกตั้ง (รูปแบบ Electoral College casts votes หลังเสร็จสิ้นการเลือกตั้งโดยประชาชนรอบแรก 9 พ.ย.) โดยใช้คะแนนเสียงของสภาคองเกรส (สส. และ สว.) ซึ่งยังยืนว่า นายโดนัลด์ ทรัมป์ เป็นผู้ชนะ (ได้คะแนนเกินครึ่ง คือ 270 จาก 538 เสียง) และจะเข้ารับรับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐ 20 ม.ค. 2560 และน่าจะเดินหน้าการลดภาษีตามที่หาเสียง ทั้งนิติบุคคลและบุคคลธรรมดา ซึ่งหนุนเงินเฟ้อ และดอกเบี้ยขาขึ้นอีก 1% ใน 2560
ประเด็นข้างต้นถือว่าหนุนตลาดหุ้นสหรัฐ สะท้อนจากผลตอบแทนตลาดหุ้น DJIA นับจากวันเลือกตั้งประธานาธิบดี จนถึงวานนี้กว่า 8% สอดคล้องกับค่าเงินดอลลาร์ที่แข็งค่ากว่า 5% (สถานการณ์นี้สอดคล้องกับการขึ้นดอกเบี้ยในปี 2527 Fec ขึ้นดอกเบี้ยจาก 9.5% เป็น 11.75% ขณะที่ DXY ขึ้นจาก 131.79 เป็น 163.18 หรือขึ้นไป 23.8% และในปี 2543 Fed ขึ้นดอกเบี้ยจาก 5.% เป็น 6.5% ขณะที่ DXY ขึ้นจาก 98.82 เป็น 118.5 หรือขึ้นไป 70%
ตรงกันข้ามกับสกุลเงินอื่น ๆ ของโลกกลับอ่อนค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์ เช่น เงินยูโร อ่อนค่า 5.3% เมื่อเทียบกับดอลลาร์ และเงินเยนอ่อนค่า 11.6% เมื่อเทียบกับดอลลาร์ ขณะตลาดหุ้นทั้ง 2 กลับให้ผลตอบแทนเป็นบวก กล่าวคือ STOXX600 เพิ่มขึ้น 7.6% และ Nikkei ขยับขึ้น 13% ตามลำดับ น่าจะเป็นผลบวกจากเงินที่อ่อนค่า ช่วยหนุนภาคส่งออก
เช่นเดียวกับฝั่งเอเชีย ค่าเงินส่วนใหญ่อ่อนค่า ได้แก่ ริงกิต อ่อนค่ามากสุด 6.5% ตามด้วยเปโซ อ่อนค่า 3.2% บาท บาท อ่อนค่า 2.7% รูเปียห์ อ่อนค่า 2.3% และรูปี อ่อนค่า 2.3% เช่นกัน แต่ตลาดหุ้นก็ปรับลดลงเช่นกัน กล่าวคือ ตลาดหุ้นมาเลเซีย ลดลง 1.8%, ฟิลิปปินส์ ลดลง 6.3%, SET Index ทรงตัว, อินโดนีเซีย ลดลง 5.1% และอินเดีย ลดลง 4.4% ทั้งนี้น่าจะเป็นผลจากแรงขายต่างชาติที่ปรับลดการลงทุนหลังจากที่สหรัฐส่งสัญญาณขึ้นดอกเบี้ยชัดเจน สวนทางกับประเทศอื่นๆ ที่ยังจำเป็นต้องใช้ดอกเบี้ยระดับต่ำต่อไป จึงทำให้กระแสเงินยังมีแนวโน้มที่จะไหลออกจากภูมิภาคต่อไปในระยะนี้
(0) BOJ & กนง. จำเป็นต้องใช้นโยบายการเงินผ่อนคลายต่อ
วันนี้เป็นวันสุดท้ายที่การธนาคารกลางญี่ปุ่น(BOJ) (ประชุม 2 วัน คือ 19-20 ธ.ค. 2559) จะทราบผล 10.00 น. ตามเวลาประเทศ ซึ่งตลาดยังคาดทุกอย่างเหมือนเดิม คือ คงดอกเบี้ยนโยบายฯ ติดลบ -0.1% และคงฐานเงิน (Money Base ) ผ่านการซื้อคืนพันธบัตรรัฐบาล (ปีละ 80 ล้านล้านเยน) ควบคู่กับการรักษาเส้นผลตอบแทน (Yield curve) ทุกช่วงอายุ เพื่อทำให้ BOJ มีความคล่องตัวในการแทรกแซงปริมาณเงินในระบบ และจากการรายงานยอดส่งออกล่าสุด เดือน พ.ย. พบว่าหดตัวลดลงเหลือเพียง 0.4%yoy จากที่ติดลบ 10.3%yoy ในเดือน ต.ค.(ยอดส่งออกที่สูงสุดปีนี้) ซึ่งเป็นผลจากเงินเยนที่อ่อนค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์ โดยเงินเยนอ่อนค่าสูงถึง 14% นับจากต้น พ.ย. จนถึงปัจจุบัน นับว่าอ่อนค่ามากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก โดยเฉพาะในแถบเอเชียด้วยกัน ดังกล่าวข้างต้น (เงินยูโรอ่อนไฟค่าเพียง 6.3% ในช่วงเดียวกัน)
และวันพรุ่งนี้ 21 ธ.ค. คาดที่ประชุม กนง. จะคงดอกเบี้ยที่ 1.5% ตามเดิม (ติดต่อกันตั้งแต่ เม.ย.58) เนื่องจากเศรษฐกิจไทยยังฟื้นตัวอย่างล่าช้า และอัตราเงินเฟ้อยังอยู่ในระดับต่ำ ล่าสุดเดือน พ.ย. 0.6%yoy ทำให้ยังมีช่องว่างระหว่างอัตราดอกเบี้ยและอัตราเงินเฟ้อ หนุน กนง. น่าจะยืนดอกเบี้ยนโยบายถึงกลางปี 2560
(-) ต่างชาติสลับมาซื้อหุ้นไทยเบาบางมาก และภาพรวมยังคงขายหุ้นในเอเชีย
วานนี้ต่างชาติยังคงขายสุทธิหุ้นในภูมิภาคต่อเนื่องเป็นวันที่ 3 ด้วยมูลค่าราว 110 ล้านเหรียญ และเป็นการขายสุทธิอยู่ 3 ประเทศ คือ ไต้หวันถูกขายสุทธิราว 73 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 2) ตามมาด้วยอินโดนีเซีย 32 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิติดต่อกันนานถึง 28 วัน) และฟิลิปปินส์ 18 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 7) ยกเว้น 2 ตลาดที่ยังซื้อสุทธิ แต่เล็กน้อย คือ เกาหลีใต้เพียง 9 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 10) และไทย สลับมาซื้อสุทธิเบาบางเพียง 2 ล้านเหรียญ หรือ 88 ล้านบาท (หลังจากขายสุทธิ 4 วัน โดยมียอดขายรวมราว 5.2 พันล้านบาท) เช่นเดียวกับนักลงทุนสถาบันฯที่ซื้อสุทธิราว 221 ล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2)
ส่วนทางด้านตราสารหนี้ไทย นักลงทุนสถาบันฯสลับมาขายสุทธิราว 3.93 พันล้านบาท ต่างกับนักลงทุนต่างชาติที่ซื้อสุทธิราว 5.00 พันล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2)
(+) กลยุทธ์ลงทุนในหุ้นเข้า/ออก SET50-SET100 รอบ 1H60
หลังจากตลาดหลักทรัพย์ประกาศรายชื่อหุ้นที่ถูกเข้าคำนวณใน SET50 และ SET100 รอบ 1H60 ในเย็นวันที่ 16 ธ.ค. 59 ที่ผ่านมา ซึ่งมีหุ้นที่เข้า/ออก SET50 5 คู่ และหุ้นที่เข้า/ออก SET100 อีก 8 คู่
รายชื่อหุ้นที่ถูกคัดเลือกเข้า SET50 และ SET100 รอบ 1H60 ตามที่ตลาดหลักทรัพย์ประกาศ
ที่มา : ฝ่ายวิจัย ASPS
ผลที่ออกมาแตกต่างจากที่ ฝ่ายวิจัยฯ นำเสนอ เช่น หุ้นที่ไม่ติด SET50 ตามที่ตลาดฯประกาศ อย่าง BJC, RATCH, GL และ JAS เป็นต้น เพราะแม้ว่าหุ้นดังกล่าวจะเข้าหลักเกณฑ์ของตลาดฯทุกข้อก็ตาม คือ 1) มีลำดับ Market Cap. เฉลี่ยในเดือน ก.ย. – พ.ย.59 อยู่ใน 50 ลำดับแรกของหลักทรัพย์ทั้งตลาดฯ และ 2) มี Free Float ไม่น้อยกว่า 20% เป็นต้น (ส่วนเงื่อนไขอื่นๆที่เหลือสามารถติดตามรายละเอียดได้ที่รายงาน Quantitative Analysis ในวันที่ 19 ธ.ค. 59) แต่ตลาดฯ นำรายชื่อหุ้นที่อยู่ในลำดับสำรอง ขึ้นมา ซึ่งตรงตามที่ฝ่ายวิจัยฯเคยคาดการณ์ไว้ว่ามีโอกาสจะเข้าไปแทนหุ้น เช่น KKP, TPIPL, WHA และ BCP สรุปคือ หลักทรัพย์ที่ผ่านคุณสมบัติทั้งหมด แล้วสุดท้ายยังต้องขึ้นอยู่ ความเหมาะสม และดุลพินิจ ของตลาดฯ เป็นสำคัญ
แม้หุ้นที่ถูกคัดเลือกเข้าคำนวณดัชนี SET50 และ SET100 ราคาหุ้นมักจะปรับตัวขึ้นตอบรับในเชิงบวกล่วงหน้าก่อนวันบังคับใช้เสมอ แต่หุ้นส่วนใหญ่มีราคาเกินมูลค่าพื้นฐานแล้ว และบางบริษัทฝ่ายวิจัยฯไม่ได้ศึกษา ยกเว้นบางหุ้นแม้ไม่ติด SET 50 แต่ยังอยู่ใน SET100 คือ WHA
WHA([email protected]) ซึ่งไม่หลุด SET50 อย่างที่นักวิเคราะห์หลายแห่งคาดการณ์ อีกทั้งราคาที่ปรับฐานลงมาจนมี Upside สูงถึง 45.94% อีกทั้งคาดว่ากำไรงวด 4Q59 จะทำจุดสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ตามแผนการขายสินทรัพย์เข้ากองทรัสต์กว่า 1.2 หมื่นล้านบาท
นอกจากนี้ BJC(FV@B64) ถึงแม้จะไม่ติด SET50 แต่แนวโน้มกำไรงวด 4Q59 น่าจะสร้างสถิติสูงสุดใหม่ อีกทั้งยังได้แรงหนุนจากมาตรการช็อปช่วยชาติ ซึ่งถือหุ้น BIGC อยู่ถึง 97.74% จึงเป็นโอกาสลงทุน หากราคาปรับฐานลงมาในช่วงสั้น
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
พาสุ ชัยหลีเจริญ ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์