WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

GBX copyบล.โกลเบล็ก : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน

 

          Market View        :  Selective Buy

          Stock of the town  :  JMART  VNT

          หุ้นแนะนำ            :  PTT

          หุ้นมีข่าว             :  CPN

          ตลาดหุ้นไทยวานนี้ปรับตัวขึ้นตอบรับมติกลุ่มโอเปกลดกำลังการผลิตลง 1.2 ล้านบาร์เรล/วัน ส่งผลให้มีแรงซื้อในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี หนุนให้ SET ปิดที่ 1,512.38 จุด (+2.14 จุด) Vol. 6.2 หมื่นลบ.โดย Foreign Net +834 ลบ.  TFEX Net  +7,222 สัญญา

แนวโน้มตลาดหุ้นไทย

          + ราคาน้ำมันปรับตัวขึ้นล่าสุด 51 US/Barrel ตอบรับผลการประชุมโอเปกลดกำลังการผลิตลง 1.2 ล้านบาร์เรล/วัน  สู่ 32.5 ล้านบาร์เรล/วัน

          + ตลาดหุ้น DJ ปรับตัวขึ้นจากแรงหนุนราคาน้ำมันจะดีดตัวขึ้นแรง รวมถึงการใช้จ่ายด้านการก่อสร้างเดือนต.ค. +0.5% และดัชนีภาคการผลิตเดือนพ.ย. ปรับตัวขึ้นสู่ 53.2 สูงสุดในรอบ 5 เดือน

          + PMI ภาคผลิตยูโรโซนเดือนพ.ย.ปรับตัวขึ้นสู่ 53.7 สูงสุดในรอบ 3 ปี และอัตราว่างงานยูโรโซนเดือนต.ค.ลดลงสู่ 9.8% ต่ำสุดในรอบกว่า 7 ปี

          + แรงซื้อกองทุน LTF RMF ในช่วงปลายปี

          +/- Foreign พลิกเป็น Net Buy 834 ลบ. แต่ยอดรวมตั้งแต่เดือนพ.ย.ยังเป็น Net Sell ราว 3.6 หมื่นลบ.

          - คาด FED ปรับขึ้นดอกเบี้ยในการประชุม 13 - 14 ธ.ค. ซึ่งอาจกระทบต่อกระแส Fund Flow

          ** 4 ธ.ค. ติดตามการลงประชามติแก้ไขรัฐธรรมนูญของอิตาลี หากผลประชามติไม่เห็นด้วย จะส่งผลให้นายกฯเรนซีต้องลาออกและพลิกขั้วอำนาจไปสู่พรรคฝ่ายค้านที่สนับสนุนการแยกตัวออกจากยูโรโซน

          ** 8 ธ.ค. การประชุม ECB คาดจะยืดเวลาการใช้ QE ออกไปอีก 3-6 เดือน

          ** Opp 2/12/16  PJW  THRE  JUBILE  EA  TM  6/12/16  MEGA  SEAFCO  ORI  DEMCO  PYLON  7/12/16  TVD  GTB  TPCH TKS

          ตลาดหุ้นไทยยังคงได้แรงหนุนจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวขึ้นตามมติโอเปกลดกำลังการผลิตลง อย่างไรก็ตามความกังวลผลประชามติแก้ไขรธน.ของอิตาลีในวันที่ 4 ธ.ค. จะเป็นแรงถ่วงต่อทิศทางดัชนี  ดังนั้นประเมินว่า SET จะแกว่งตัวในกรอบ 1,505 - 1,520 จุด

กลยุทธ์การลงทุน  Selective Buy  หุ้นที่มีปัจจัยบวก

          - กลุ่มพลังงาน อานิสงส์ราคาน้ำมันดีดตัวขึ้นแรง

          - กลุ่มท่องเที่ยวและโรงแรม อานิสงส์ครม.อนุมัติลดหย่อนภาษีได้อีก 15,000 บ.ในการท่องเที่ยวเดือน ธ.ค.

          - กลุ่มส่งออก (อาหาร อิเล็กทรอนิกส์) อานิสงส์เงินบาทอ่อนค่าลงล่าสุด 35.6 Bath/USD.

          - หุ้นที่คาดว่าจะเข้าคำนวณ SET50 รอบใหม่  GL  THAI  BJC  และ SET100 SUPER  SPRC  TKN  BIG  THANI VIBHA

หุ้นแนะนำ

PTT (ราคาปิด 364 แนะนำ "ซื้อ" ราคาเหมาะสม 371)

          - ผลบวกจาก PTTEP หลังโอเปคลดกำลังการผลิตลง 1.2 ล้านบาร์เรล/วันสู่ระดับ 32.5 ล้านบาร์เรล/วัน ส่งผลให้ราคาน้ำมันปรับตัวขึ้นสร้างจุดสูงสุดใหม่ในรอบ 6 เดือนที่ 51 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล

          - ปรับโครงสร้างภายใน โดยโอนย้ายบริษัทที่เกี่ยวกับการจำหน่ายน้ำมันและท่อขนส่งน้ำมันไปยังบริษัท PTTOR (PTT Oil and Retail) ก่อนที่จะนำบริษัท PTTOR เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในปี 60

          - คาดกำไรปี 59 และ 60 อยู่ที่ 95,093 และ 103,119 ล้านบาทเติบโตจากปีก่อน 377% และ 8% ตามลำดับ เพราะไม่มีแผนหยุดซ่อมบำรุงโรงแยกก๊าซฯ และคาดว่าจะมีความต้องการใช้ก๊าซฯ เพิ่มขึ้นในช่วงปลายปี

หุ้นมีข่าว 

          - ประเด็นลบกลุ่มธนาคาร : ฟิทช์ เรทติ้งส์ ระบุว่า ธนาคารของไทยจะยังคงเผชิญกับสถานการณ์ที่ยากลำบากในปีหน้า อันเนื่องมาจากแรงกดดันต่อเนื่องในเรื่องคุณภาพสินทรัพย์และความสามารถในการทำกำไร โดยธนาคารต่างๆจะได้รับผลกระทบจากสภาพแวดล้อมที่อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับค่ำ อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจที่ซบเซา และการผิดนัดชำระหนี้ที่สูงขึ้น (ที่มาอินโฟเควสท์)

          ความเห็น : ผลกระทบจากเศรษฐกิจชะลอตัวตั้งแต่ต้นปีส่งผลให้ NPL เพิ่มขึ้นทั้งในกลุ่มลูกค้ารายย่อยและลูกค้า SME โดย NPL ในช่วงปลายปีน่าจะยังทรงตัวในระดับสูงต่อจากปลาย Q3 ขณะที่ฝ่ายวิจัยให้น้ำหนักการลงทุนหุ้นกลุ่มธนาคารเป็น NEUTRAL แนะนำ SCB ที่มีความโดดเด่นในแง่ของอัพไซต์จากการกลับรายการสำรองหนี้สูญลูกหนี้กลุ่ม SSI

          - CPN (ราคาปิด 55.25 บาท ซื้อ ราคาเหมาะสม 75 บาท) กัดฟันทุ่มงบ 300 ล้านบาท หวังกระตุ้นความคึกคักและเร่งฟื้นกำลังซื้อช่วงปลายปี คาดจะเพิ่มทราฟฟิกภายในศูนย์การค้าฯ ทั่วประเทศ ขึ้นประมาณ 30% (ที่มาผู้จัดการรายวัน 360 องศา)

          ความเห็น : คาดงบการตลาดดังกล่าวจะช่วยเพิ่มจำนวนคนเข้าศูนย์ในการช่วงปลายปีและหนุนรายได้ให้เป็นไปตามคาด ทั้งนี้ในเดือนธ.ค.สาขาปิ่นเกล้าและสาขาพัทยาที่ปรับปรุงแล้วเสร็จจะเปิดดำเนินการในรูปโฉมใหม่ ฝ่ายวิจัยคาดแนวโน้มกำไร Q4 ราว 2,143 ล้านบาท ลดลง 9%QoQ แต่เพิ่มขึ้น 13%YoY ซึ่งหากแคมเปญดังกล่าวได้ผลดีอาจทำให้กำไร Q4 ดีกว่าคาด

          - CPF จะใช้เงิน 753 ลบ.เข้าซื้อหุ้น 16.54% ใน Ningxia Xiao Ming ทำธุรกิจผลิต-จำหน่ายลูกไก่ไข่ในจีน

          - ประเด็นบวก TSR ส่ง "เธียรสุรัตน์ ลีสซิ่ง"บุกตลาดสินเชื่อส่วนบุคคล-รับจำนำเล่มรถเริ่มต้นปี 60

          - J เปิดตัว"แจส เออเบิร์น ศรีนครินทร์"คอมมูนิตี้มอลล์แนวคิดใหม่ ตั้งเป้าสร้างรายได้ 150 ลบ./ปี

สรุปภาวะตลาดต่างประเทศ

ตลาดหุ้นดาวโจนส์ +68.35 จุด

          - ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 19,191.93 จุด เพิ่มขึ้น 68.35 จุด หรือ +0.36% ดัชนี NASDAQ ปิดที่ 5,251.11 จุด ลดลง 72.57 จุด หรือ -1.36% ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,191.08 จุด ลดลง 7.73 จุด หรือ -0.35% โดยดาวโจนส์ทำสถิติปิดที่ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ เพราะได้แรงหนุนจากการพุ่งขึ้นของหุ้นกลุ่มพลังงาน หลังจากราคาน้ำมันดิบปรับตัวขึ้นขานรับมติของที่ประชุมกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) ในการปรับลดกำลังการผลิต อย่างไรก็ตาม ดัชนี NASDAQ และดัชนี S&P500 ปิดลบ เพราะได้รับแรงกดดันจากการร่วงลงของหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี

ตลาดน้ำมัน NYMEX  +1.62 USD/Barrel

          - สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนม.ค.พุ่งขึ้น 1.62 ดอลลาร์ หรือ 3.3% ปิดที่ 51.06 ดอลลาร์/บาร์เรล โดยสัญญาน้ำมันปรับตัวขึ้นติดต่อกัน 2 วันทำการ เนื่องจากนักลงทุนยังคงขานรับกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) ที่สามารถบรรลุข้อตกลงปรับลดกำลังการผลิตน้ำมัน ในการประชุมเมื่อวันพุธที่ผ่านมา

ปัจจัยบวก

          (+) สหรัฐ ระบุว่า ดัชนีภาคการผลิตของ ISM ปรับตัวขึ้นแตะระดับ 53.2 ในเดือนพ.ย. ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 5 เดือน โดยเพิ่มขึ้นจากระดับ 51.9 ในเดือนต.ค. และสูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ 52.5

          (+) สหรัฐ เปิดเผยว่า ยอดการใช้จ่ายด้านการก่อสร้างของสหรัฐในเดือนต.ค.ปรับตัวสูงขึ้น 0.5% แตะ 1.173 ล้านล้านดอลลาร์

          (+) สหรัฐ ยอดจำหน่ายรถในเดือนพ.ย. โดยยอดขายรถของบริษัท เจนเนอรัล มอเตอร์ส ยังคงนำโด่ง เพิ่มขึ้น 10.2% ส่วนยอดขายรถของฟอร์ด มอเตอร์ เพิ่ม 5.1% ส่วนยอดขายรถของโตโยต้า มอเตอร์ เพิ่มขึ้น 4.3%

          (+) ยูโรโซนเผย ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตในเดือนพ.ย. อยู่ที่ระดับ 53.7 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนม.ค. 2557 โดยเพิ่มขึ้นจากระดับ 53.5 ในเดือนต.ค.

          (+) ยูโรสแตท เปิดเผยว่า อัตราว่างงานของยูโรโซนซึ่งมีสมาชิก 19 ประเทศ ลดลงแตะ 9.8% ในเดือนต.ค. จากระดับ 9.9% ในเดือนก.ย.

          (+) ธนาคารกลางจีนเปิดเผยว่า เมื่อเดือนพ.ย.ที่ผ่านมา ได้อัดฉีดเงิน 7.39 แสนล้านหยวน หรือ 1.07 แสนล้านดอลลาร์เข้าสู่ตลาดเงินผ่านทางผ่านทางโครงการเงินกู้ระยะกลาง (MLF)

          (+) กระทรวงการคลังตั้งงบขาดดุลปี 60 เพิ่มโดยจะออกพันธบัตรออมทรัพย์ 1 แสนล้านบาทช่วยสนับสนุนให้ GDP ปี 60 เติบโตได้สูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ที่ 3.4%

ปัจจัยลบ

          (-) สหรัฐเปิดเผยว่า จำนวนชาวอเมริกันที่ยื่นขอสวัสดิการเพิ่มขึ้น 17,000 ราย สู่ระดับ 268,000 ราย ในสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 26 พ.ย. นับเป็นสัปดาห์ที่ 91 ติดต่อกันแล้วที่ตัวเลขดังกล่าวอยู่ต่ำกว่าระดับ 300,000 ราย

          (-) อังกฤษ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตปรับตัวลงสู่ระดับ 53.4 ในเดือนพ.ย. จาก 54.2 ในเดือนต.ค.

          (-) กระทรวงพาณิชย์แถลงอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือน พ.ย.เร่งตัวขึ้นมาที่ 0.60% (YOY) จาก 0.34% (YOY) ในเดือนก่อนหน้า เนื่องจากดัชนีราคาน้ำมันเชื้อเพลิงขยายตัวสูงขึ้นสู่ 1.52% (YOY) จาก 0.34% (YOY) ในเดือนก่อน แต่ระดับเงินเฟ้อยังอยู่ในระดับต่ำเมื่อเทียบกับเป้าหมายเงินเฟ้อในปี 59 ที่ 2.5% บวกลบ 1.5% หรือ 1-4%

          (-) ธปท.รายงานดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจ เดือน พ.ย.ที่ผ่านมา ว่า ความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการในภาคบริการที่เกี่ยวเนื่องกับภาคการท่องเที่ยวปรับลดลง โดยเฉพาะในกลุ่มขนส่งผู้โดยสาร กลุ่มโรงแรม และร้านอาหาร ที่ได้รับผลกระทบจากภาคการท่องเที่ยวที่ชะลอตัว จากนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติที่

          (-) ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB EIC) ปรับลดประมาณการอัตราเงินเฟ้อทั่วไปปี 59 เหลือ 0.2%YOY จากเดิม 0.4%YOY เนื่องจากอุปสงค์ในประเทศฟื้นตัวช้ากว่าคาดและบรรยากาศการบริโภคในประเทศซบเซาลง ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานจะยังทรงตัวต่อไป คาดทั้งปี 59 จะอยู่ที่ 0.7%YOY และมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อไปในปีหน้าตามกำลังซื้อของภาคครัวเรือนที่จะกลับมา และราคาน้ำมันที่สูงขึ้นจะมีส่วนช่วยให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเร่งตัวขึ้นได้

ปัจจัยที่ต้องจับตา

ในประเทศ

          - 3 ธ.ค. ดีเดย์จ่ายเงินช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย

          - สัปดาห์ที่ 2  หอการค้าไทย ร่วมกับมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย แถลงดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค

          - 6 ธ.ค. กกร.นัดประชุมเพื่อประเมินสถานการณ์การส่งออกของไทยหลังจากตัวเลขส่งออกต.ค.พลิกติดลบ

          - 8 ธ.ค. ประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.)

          - สัปดาห์ที่ 3 ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) แถลงข้อมูลสรุปภาวะการซื้อขายหลักทรัพย์

          - 21 ธ.ค. ธปท.ทบทวน GDP ใหม่หลังนักท่องเที่ยวจีนลดมากกว่า 2 แสนคน   /   ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ครั้งที่ 8/2559

          - สัปดาห์ที่ 4  สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) แถลงดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม   ยอดการผลิตและส่งออกรถยนต์ รถจักรยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ / กระทรวงพาณิชย์แถลงตัวเลขการส่งออก-นำเข้า

          - สัปดาห์ที่ 5 สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.)รายงานภาวะเศรษฐกิจการคลัง / สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม(สศอ.)แถลงดัชนีอุตสาหกรรม

          - 30 ธ.ค. ธปท.รายงานภาวะเศรษฐกิจไทย-รายงานนโยบายการเงิน

          - เดือนธ.ค. 59 คาดจะได้ข้อสรุปด้านเทคนิครถไฟฟ้าสายสีส้ม

          - ภายในกลางเดือนธ.ค. คาดจะสรุปผลผู้ชนะประมูลรถไฟฟ้าสายชมพู-เหลือง

          - กลางเดือนธ.ค. ประกาศหุ้นเข้าคำนวณ SET50 และ SET100 รอบใหม่ มีผล 1 ม.ค. 60

          - ม.ค. 60 เปิดซองราคารถไฟฟ้าสายสีส้ม

ต่างประเทศ

          - 2 ธ.ค. สหรัฐเปิดเผยตัวเลขจ้างงานนอกภาคการเกษตรเดือนพ.ย. ผลการสำรวจนักวิเคราะห์ระบุว่า กระทรวงแรงงานสหรัฐจะรายงานตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรเพิ่มขึ้น 173,000 ตำแหน่งในเดือนพ.ย. ขณะที่อัตราการว่างงานจะทรงตัวที่ระดับ 4.9%

          - อียูเปิดเผยดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือนต.ค.

          - 5 ธ.ค. สหรัฐเปิดเผยยอดนำเข้า,ส่งออก และดุลการค้าเดือนต.ค./ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการเดือนพ.ย./ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการเดือนพ.ย.

          - อียูเปิดเผยดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการเดือนพ.ย./ยอดค้าปลีกเดือนต.ค.

          - เยอรมนีเปิดเผยดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการเดือนพ.ย.

          - ญี่ปุ่นเปิดเผยความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนพ.ย.

          - จีนเปิดเผยดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการเดือนพ.ย.

          - 6 ธ.ค. สหรัฐเปิดเผยผลิตภาพ-ต้นทุนแรงงานต่อหน่วยไตรมาส 3/2559 /ยอดสั่งซื้อภาคโรงงานเดือนต.ค.

          - อียูเปิดเผยผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ไตรมาส 3/2559

          - เยอรมนีเปิดเผยยอดสั่งซื้อภาคโรงงานเดือนต.ค.

          - 7 ธ.ค. สหรัฐเปิดเผยสต็อกน้ำมันรายสัปดาห์

          - เยอรมนีเปิดเผยผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนต.ค.

          - จีนเปิดเผยทุนสำรองเงินตราต่างประเทศเดือนพ.ย.

          - ญี่ปุ่นเปิดเผยทุนสำรองเงินตราต่างประเทศเดือนพ.ย.

          - 8 ธ.ค. การประชุม ECB โพลล์คาดจะขยายเวลาการใช้ QE 8 หมื่นล้านยูโร/เดือนออกไปอีก 3-6 เดือน (เดิมสิ้นสุดมี.ค.2017)

          - 13 - 14 ธ.ค. กำหนดประชุมธนาคารกลางสหรัฐ

          - ต้นปี 60 ปธน.สหรัฐฯมีกำหนดประกาศนโยบายต่อสภาคองเกรส

          - มี.ค. 60 นางเทเรซา เมย์ นายกรัฐมนตรีอังกฤษจะเริ่มกระบวนการถอนตัวออกจากสหภาพยุโรป(Brexit)อย่างเป็นทางการ

         

          Analyst - วิลาสินี บุญมาสูงทรง

                    ชัยยศ จิวางกูร

                    ณัฐวุฒิ วงศ์เยาวรักษ์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!