- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Friday, 02 December 2016 18:33
- Hits: 13109
บล.ไอร่า : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
ทิศทางตลาด
ผันผวน? แม้ได้รับปัจจัยบวกจากราคาน้ำมันที่ปรับขึ้นต่อเนื่อง ล่าสุดสูงกว่า 50USD ทั้ง WTI, Brent และ Dubai ซึ่งคาดยังส่งผลดีต่อหุ้นในกลุ่มพลังงาน เช่น PTTEP ที่คาดได้รับประโยชน์โดยตรงจากราคาน้ำมันที่ปรับเพิ่มขึ้น หลังที่ประชุมโอเปกสามารถบรรลุข้อตกลงลดการผลิตลง 1.2 ล้านบาร์เรล/วัน เป็น 32.5 ล้านบาร์เรล/วัน และล่าสุดมีการคาดหมายว่าราคาน้ำมันมีโอกาสปรับขึ้นไปที่ 60USD ภายในสิ้นปีนี้
แต่คาดภาพรวมตลาดฯ ยังมีความผันผวน ภายใต้ (1) ผลการลงประชามติของอิตาลี ในวันที่ 4/12/59 ที่อาจส่งผลต่อเสถียรภาพของรัฐบาลชุดปัจจุบัน และอาจนำไปสู่การแยกตัวออกจากยูโรโซน เช่นเดียวกับอังกฤษ หากผลการลงประชามติ ไม่เห็นด้วยกับการปฏิรูปรัฐธรรมนูญ และ (2) การประชุมของเฟด ในเดือน ธ.ค. (13 – 14/12/59) ที่คาดจะมีการพิจารณาขึ้นอัตราดอกเบี้ยในครั้งนี้ ซึ่งส่งผลต่อ Fund Flow ไหลออกจากภูมิภาคต่อเนื่อง รวมถึงไทย ซึ่งในเดือน พ.ย. ต่างชาติขายสุทธิรวมแล้วเกือบ 37,000 ล้านบาท และทำให้ YTD ยอดซื้อสุทธิสะสม ลดลงต่อเนื่องเหลือ ประมาณ 78,000 ล้านบาท อย่างไรก็ตามคาดอาจได้รับการชดเชยเข้ามาบ้างจากแรงซื้อสุทธิของสถาบันในประเทศ (LTF / RMF) ในช่วงปลายปี
ทางด้านเงินสหรัฐฯ คาดยังอยู่ในทิศทางแข็งค่า ภายใต้ประเด็นการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯ ข้างต้น และความคาดหมายนโยบายของทรัมป์ (หลังเข้ารับตำแหน่ง 20/1/60) จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ขณะที่เงินบาทที่อ่อนค่าลง คาดยังเป็น Sentiment ที่ดีต่อกลุ่มส่งออก
ส่วนประเด็นในประเทศ คาดภาพรวมยังเป็น Sentiment บวกต่อมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ ล่าสุด ครม. เห็นชอบมาตรการภาษีเพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยวในประเทศในเดือนธ.ค. โดยเพิ่มค่าใช้จ่ายด้านการท่องเที่ยวที่เกิดขึ้นในเดือนธ.ค. จำนวน 15,000 บาท สามารถนำมาหักลดหย่อนภาษี จากก่อนหน้าที่ 15,000 บาท รวมเป็น 30,000 บาท ส่วนทางด้านมาตรการภาษีหนุนการบริโภคปลายปี (คาดวงเงินไม่ต่ำกว่า 15,000 บาท) คาดนำเข้า ครม. สัปดาห์หน้า
รวมถึงกลุ่มรับเหมาก่อสร้าง ที่คาดได้รับประโยชน์จากความชัดเจนในการเปิดประมูลโครงการต่างๆ ทั้งรถไฟฟ้า (สีเหลือง และชมพู) และรถไฟทางคู่ ในเส้นทางต่างๆ ที่คาดทยอยเปิดประมูลต่อเนื่องในปี’60
SET SET50 SET100
1,512.38 +2.14 947.32 +4.14 2,135.62 +6.39
ปัจจัยที่มีผลต่อตลาด
ปัจจัยที่มีผลต่อตลาดวันนี้
(+/-) ตลาดต่างประเทศ DJIA +68.35, NASDAQ -72.58, S&P -7.73,FTSE -30.86, CAC -17.73 และ DAX -106.25
โดย DJIA ทำสถิติปิดที่ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ภายใต้ปัจจัยหนุนจาก
หุ้นกลุ่มพลังงาน หลังราคาน้ำมันดิบปรับขึ้นต่อเนื่อง ตอบรับมติของที่ประชุม โอเปก ในการปรับลดกำลังการผลิต อย่างไรก็ตาม NASDAQ และ S&P500 ได้รับแรงกดดันจากหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี ทั้ง เฟซบุ๊ก อะนาล็อก ดีไวซ์ และ ไมโครซอฟท์ ที่ปรับลง
ขณะที่ข้อมูลเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ล่าสุดยังสดใส โดยการใช้จ่ายด้านก่อสร้าง - ต.ค. เพิ่มขึ้น 0.5% และดัชนีภาคการผลิต – พ.ย. อยู่ที่ 53.2 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 5 เดือน และเพิ่มขึ้นจาก 51.9 เมื่อต.ค.
โดยอยู่ระหว่างรอตัวเลขจ้างงานนอกภาคการเกษตรของสหรัฐฯ วันพรุ่งนี้ (2/12/59) คาดเพิ่มขึ้น 173,000 ตำแหน่งในเดือนพ.ย. และคาดอัตราการว่างงานทรงตัวที่ระดับ 4.9% ซึ่งตัวเลขดังกล่าว คาดจะบ่งชี้แนวโน้มการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟด ในเดือนธ.ค.
ส่วนทางด้านตลาดหุ้นยุโรป อยู่ระหว่างรอผลการลงประชามติเกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญของอิตาลี ในวันที่ 4/12/59 ขณะที่ผลสำรวล่าสุดคาดประชาชนไม่เห็นด้วยกับการปฏิรูปรัฐธรรมนูญในครั้งนี้ ซึ่งส่งผลให้นายเรนซีต้องลาออกจากตำแหน่ง และเกิดการเปลี่ยนแปลงขั้วอำนาจทางการเมืองไปสู่พรรคฝ่ายค้านที่สนับสนุนการแยกตัวออกจากยูโรโซน
P/E (เท่า) P/BV (เท่า) Dividend Yield (%)
18.18 1.92 3.1
ที่มา: www.set.or.th
มูลค่าการซื้อขาย หน่วย(ลบ.)
มูลค่าการซื้อขาย 62,216.27
สถาบัน 2,406.26
บัญชีหลักทรัพย์ 284.33
ต่างประเทศ 833.97
ในประเทศ -3,524.55
ราคาน้ำมันดิบ (NYMEX) ส่งมอบเดือน ม.ค. +US$1.62 อยู่ที่ US$51.06 ต่อบาร์เรล ยังตอบรับในเชิงบวกต่อผลการประชุมของกลุ่มโอเปก (14 ประเทศ) ที่สามารถบรรลุข้อตกลงลดกำลังการผลิต 1.2 ล้านบาร์เรล/วัน สู่ระดับ 32.5 ล้านบาร์เรล/วัน จากเดิมที่ระดับ 33.8 ล้านบาร์เรล/วัน ซึ่งเป็นไปตามกรอบข้อตกลงในการประชุมที่ประเทศแอลจีเรีย เมื่อเดือนก.ย. และเป็นการปรับลดกำลังการผลิตของโอเปกเป็นครั้งแรกนับแต่ปี’51 และจะเริ่มมีผลบังคับใช้ในเดือนม.ค.’60
พร้อมระบุว่า ประเทศผู้ผลิตน้ำมันนอกกลุ่มโอเปก จะให้ความร่วมมือกับโอเปกในการปรับลดกำลังการผลิต โดยรัสเซียเตรียมลดการผลิตลง 300,000 บาร์เรล/วัน จากกำลังการผลิตมากกว่า 10 ล้านบาร์เรล/วัน และเห็นพ้องให้อิหร่าน ลิเบีย และไนจีเรีย ได้รับการยกเว้นจากการปรับลดกำลังการผลิต เนื่องจากการผลิตน้ำมันของประเทศเหล่านี้ได้รับผลกระทบจากมาตรการคว่ำบาตร และความไม่สงบภายในประเทศ
ราคาทองคำ (COMEX) ส่งมอบเดือน ก.พ. -US$4.5 อยู่ที่ US$1,169.4ต่อออนซ์ จากการขายทองคำซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่ปลอดภัย และหันไปลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า ซึ่งรวมถึงตลาดหุ้น และตลาดน้ำมัน ขณะที่อยู่ระหว่างรอตัวเลขจ้างงานนอกภาคการเกษตร - พ.ย. ของสหรัฐฯ ในวันนี้
(+) เม็ดเงินลงทุนจากต่างประเทศสุทธิ +834 ล้านบาท สะสม YTD +78,309 ล้านบาท (ปี’57 และ 58 ยอดขายสุทธิสะสม 36,173 ล้านบาท และ 154,346 ล้านบาท ตามลำดับ)
(+) กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผย ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป (CPI) - พ.ย. อยู่ที่ 106.79 เพิ่มขึ้น 0.60%yoy ต่ำกว่าที่คาดเล็กน้อย แต่ยังเป็นการปรับขึ้นเป็นเดือนที่ 8 ติดต่อกัน และเป็นอัตราการเพิ่มขึ้นมากที่สุดในเกือบ 2 ปี ขณะที่ 11M/59 อัตราเงินเฟ้อทั่วไป เพิ่มขึ้น 0.10% และยังคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อทั่วไปปี’59 อยู่ที่ 0.0 - 1.0% พร้อมคาดในปี’60 เพิ่มขึ้น 1.5 – 2.0%
ประเด็นที่ต้องติดตาม 2 ธ.ค. 2559
2/12/59 สหรัฐฯ เปิดเผย
ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนพ.ย.
ดัชนีการผลิตรัฐนิวยอร์คเดือนพ.ย.
และยังแนะจับตา
(1) กลุ่มปิโตรเคมี ได้รับประโยชน์จากปริมาณการผลิตที่เพิ่มขึ้น เช่น IVL
(2) กลุ่มวัสดุก่อสร้าง ที่คาดได้รับประโยชน์ต่อเนื่องจากส่วนต่างผลิตภัณฑ์ที่สูงขึ้น เช่น EPG และ SCC
(3) กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ มีปัจจัยบวกจากยอดโอนในช่วงที่เหลือของปี 59 ยังคงอยู่ในเกณฑ์ดี เช่น ANAN, AP และ SPALI
(4) กลุ่มรับเหมาก่อสร้าง ที่ได้รับประโยชน์จากงานภาครัฐ เช่น CK, SYNTEC
(5) กลุ่มพลังงาน เช่น PTT ได้รับประโยชน์จากธุรกิจก๊าซที่แนวโน้มกำไรเติบโตดี ขณะที่ TOP และ SPRC แนวโน้มผลการดำเนินงานดี ค่าการกลั่นปรับตัวสูงขึ้น ส่วน BANPU ได้รับประโยชน์จากราคาถ่านหินที่อยู่ในระดับสูง
(6) กลุ่มค้าปลีก เช่น CPALL, HMPRO, KAMART และ ROBINS คาดได้รับประโยชน์หลังรัฐบาลอัดฉีดกำลังซื้อรากหญ้าอย่างต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา ส่วนหนึ่งจากโครงการที่เกี่ยวข้องกับการดูแลเกษตรกร 3 โครงการวงเงิน 93,000 ล้านบาท
(7) กลุ่มขนส่ง ในส่วนของธุรกิจการบินและสนามบิน เช่น AAV และ BA
ผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ 10 ปี +0.07 อยู่ที่ 2.44% (ระดับสูงสุด 3.77% เมื่อ กพ.’54)
ดัชนีความเสี่ยง (VIX) +0.74 อยู่ที่ 14.07
หุ้นแนะนำ : PTTEP
นักวิเคราะห์ : จิตรลดา เลขาพันธ์ โทร .02-684-8788