- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Tuesday, 29 November 2016 18:43
- Hits: 20087
บล.ดีบีเอสวิคเคอร์ส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
หุ้นที่เปลี่ยนคำแนะนำทางปัจจัยพื้นฐานวันนี้ : ไม่มี
ปัจจัย&กลยุทธ์ทางปัจจัยพื้นฐาน : SET Index เมื่อวานนี้ปิดทรงตัวที่ 1500.78 กลุ่มที่โดดเด่นคือ ค้าปลีก อาหาร และไฟแนนซ์ แต่เนื่องจาก Market Cap ไม่ใหญ่จึงได้แค่พยุงตลาด พอร์ตบล.นำซื้อสุทธิ ขณะที่รายย่อยนำขายสุทธิ ส่วนสถาบันในประเทศ & ต่างชาติซื้อขายใกล้เคียงกัน สำหรับปัจจัยสำคัญ/จับตาในระยะสั้นมาก ได้แก่
• แรงขายของนักลงทุนต่างชาติในตลาดหุ้นไทยชะลอลง หลังจากขายสุทธิปรับพอร์ตมาเดือนกว่า
•/- จับตาผลประชุมกลุ่มประเทศผู้ผลิตน้ำมัน 30 พ.ย.นี้ ถ้าคว้าน้ำแหลวเรื่องการจำกัดการผลิต ราคาน้ำมันอาจร่วงแรง
• ดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐพยายามเกาะเหนือระดับ 101
- มูลค่าส่งออกต.ค.59 ของไทยกลับมา -4.2%YoY จากที่ตลาดคาดว่าจะ +1.1% ถึง +1.4%
+ มาตรการกระตุ้นการบริโภค&ท่องเที่ยวช่วยพยุงเศรษฐกิจช่วงที่โครงการลงทุนรัฐล่าช้า (คาดจะเห็นความคืบหน้าโครงการใหญ่ในปี 60 เป็นต้นไป)
+ มีความหวังว่าแรงซื้อ LTF จะช่วยหนุน แม้อาจจะอ่อนลง เพราะตั้งแต่ปีนี้ LTF ต้องถือครอง 7 ปีปฎิทิน (เดิม 5 ปีปฎิทิน)
กลยุทธ์ : การซื้อเล่นรอบยังเน้นตามด้วยค่าบวกของราคาหุ้นและดัชนี, ถือหุ้นดีที่จ่ายปันผลสม่ำเสมอ และทยอยสะสมหุ้นเติบโตแกร่งช่วงราคาปรับฐาน/อ่อนตัว หุ้นแนะนำเชิงกลยุทธ์วันนี้เป็น STPI
การวิเคราะห์ทางเทคนิค : ระยะสั้นสัญญาณเป็นบวกเล็กๆ (ปิดเหนือ SMA10) ซื้อใหม่เน้นตามด้วยค่าบวก ต่ำกว่า 1485 ลดพอร์ตตาม/ตัดขายขาดทุน แนวต้านระยะสั้น 1510-1520 จุด
ส่วนการ SCAN หุ้น พบว่าหุ้นที่เข้ามาใหม่ คือ ABICO, PAP, PSL, GLOBAL, STPI หุ้นที่ยังอยู่ใน List ได้แก่ SMT, TPOLY, UV, BRR, RS หุ้นที่แนะนำไปแล้วและให้หาจังหวะขายทำกำไร คือ RJH, TMT, CPN, PJW หุ้นที่หลุด List คือ SPRC, BR
ปัจจัยต่างประเทศ
- ญี่ปุ่น : BOJ ขาดทุนสุทธิครั้งแรกในรอบ 4 ปีเพราะขาดทุนจาก FX หลังเยนแข็งค่าขึ้นมาก
แหล่งข่าวกล่าวว่าธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ขาดทุนสุทธิเป็นครั้งแรกในรอบ 4 ปีในช่วงเดือนเม.ย.-ก.ย.59 เนื่องจากมูลค่าของทรัพย์สินที่เป็นสกุลเงินต่างประเทศปรับตัวลดลง อันเป็นผลจากการแข็งค่าของเงินเยนทำให้มูลค่าสินทรัพย์รูปเงินเยนลดลงไปหลายแสนล้านเยน แต่คาดว่าจะกลับมาเป็นกำไรได้ในช่วงต.ค.59-มี.ค.60 เพราะเงินเยนอ่อนลงเมื่อเทียบ US$ ซึ่งมาจากนโยบายของทรัมป์และโอกาสการปรับขึ้นดอกเบี้ยของเฟดที่สูงมาก
• สหรัฐ : จับตาตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนพ.ย.ศุกร์นี้
กระทรวงแรงงานสหรัฐจะรายงานตัวเลขจ้างงานนอกภาคการเกษตรประจำเดือนพ.ย.ในวันศุกร์นี้ เวลา 20.30 น. ตามเวลาไทย
- ตลาดหุ้นสหรัฐ ; ปิดลดลงจากแรงขายทำกำไร
ดัชนี DJIA ปิดที่ 19,097.90 จุด ลดลง 54.24 จุด หรือ -0.28% ดัชนี NASDAQ ปิดที่ 5,368.81 จุด ลดลง 30.11 จุด หรือ -0.56% ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,201.72 จุด ลดลง 11.63 จุด หรือ -0.53% เนื่องจากการขายทำกำไรหลังทั้ง 3 ดัชนีพุ่งขึ้นสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในวันก่อนหน้านี้ ซึ่งปัจจัยหนุน คือ ความคาดหวังว่านโยบายของทรัมป์จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐให้เติบโตได้ต่อในปีหน้า
+ ราคาน้ำมันดิบ : ราคาพุ่งขึ้นกว่า 2% หลังอิรักยืนยันร่วมมือลดการผลิตกับกลุ่มโอเปก
สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนม.ค.พุ่งขึ้น 1.02 ดอลลาร์ หรือ 2.2% ปิดที่ 47.08 ดอลลาร์/บาร์เรล ด้าน BRENT เพิ่มขึ้น 1 ดอลลาร์ หรือ 2.1% ปิดที่ 48.24 ดอลลาร์/บาร์เรล ก่อนหน้าราคาน้ำมันดิบร่วงเพราะซาอุฯจะไม่เข้าร่วมประชุมวันที่ 30 พ.ย.นี้ แต่ก็ดีดขึ้นตามมาเมื่ออิรักยืนยันให้ความร่วมมือกับกลุ่มโอเปกในการลดการผลิต ด้านอิหร่านคาดว่ากลุ่มโอเปกจะตกลงกันได้
ด้านนักวิเคราะห์จากมอร์แกน สแตนลีย์ และแมคควารีคาดการณ์ว่าราคาน้ำมันดิบจะดิ่งลงแตะ 35 ดอลลาร์/บาร์เรล หากกลุ่มโอเปกไม่สามารถบรรลุข้อตกลงในวันพุธที่ 30 พ.ย.59 นี้
+ ราคาทองคำ : รีบาวด์
สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนธ.ค.พุ่งขึ้น 12.40 ดอลลาร์ หรือ 1.1% ปิดที่ระดับ 1,190.80 ดอลลาร์/ออนซ์ ซึ่งเป็นผลจากการอ่อนลงของตลาดหุ้นและดัชนีค่าเงิน US$
ปัจจัยในประเทศ & หุ้นเด่น
- ส่งออกไทย : เดือนต.ค.กลับมา -4.2%YoY…แย่กว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้
# กระทรวงพาณิชย์แถลงว่ามูลค่าการส่งออกเดือนต.ค.59 มีมูลค่าลดลงเป็น 17,786 ล้านUS$ -4.2%YoY จากที่ตลาดคาดว่าจะ +1.1% ถึง +1.4% ส่วนการนำเข้ามีมูลค่า 17,535 ล้านUS$ +6.5%YoY ส่งผลให้เกินดุลการค้า 248 ล้านUS$
# สำหรับ 10M59 มูลค่าส่งออกเท่ากับ 178,251 ล้านUS$ -1.0%YoY (น้อยกว่าทั่วโลกที่ -4.1%YoY) นำเข้ามีมูลค่า 160,073 ล้านUS$ -5.9%YoY ส่งผลให้เกินดุลการค้า 18,178 ล้านUS$
# ปัจจัยกดดันการส่งออกเดือนต.ค.59 คือ กำลังซื้อจากประเทศคู่ค้าที่ยังซบเซาและฟื้นตัวช้า โดยเฉพาะจากญี่ปุ่น สหภาพยุโรป ตะวันออกกลาง ละตินอเมริกา โดยการหดตัวมาจากปริมาณส่งออกกลุ่มสินค้าเกษตรเป็นสำคัญ (น้ำตาลทราย ข้าว ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ยางพารา) ส่วนสินค้าอุตสาหกรรมที่ลดลง คือ ยานยนต์และชิ้นส่วนเพราะส่งออกไปออสเตรเลียและตะวันออกกลางได้น้อยลง
# อย่างไรก็ตาม ตลาดส่งออกที่ยังขยายตัวดี คือ ตลาดเอเชียโดยเฉพาะ CLMV และเอเชียใต้ สำหรับตลาดหลักที่ไทยมีส่วนแบ่งการตลาดเพิ่มขึ้นคือ จีนและญี่ปุ่น
# แนวโน้ม 4Q59 คาดว่าการส่งออกมีโอกาสกระเตื้องขึ้นแต่ไม่มาก เพราะเศรษฐกิจประเทศคู่ค้ายังฟื้นตัวช้า และการอ่อนค่าของเงินยูโรและหยวนเมื่อเทียบUS$ ทำให้กำลังซื้อของประเทศเหล่านี้ชะลอตัวลงด้วย โดยรวมมองว่ามูลค่าส่งออกรูป US$ ของปี 59 จะขยายตัว 0%
• ไทย : ธปท.แนะให้ทำมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพียงระยะสั้น
นายวิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธปท.แนะให้รัฐบาลออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงสั้นระหว่างที่รอการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ที่จะเกิดในปี 60 เป็นต้นไป ทั้งนี้เพื่อช่วยให้บรรยากาศการใช้จ่ายดีขึ้น ลดผลกระทบจากภาคส่งออกที่ซบเซาและการปราบปรามทัวร์ศูนย์เหรียญ โดยไม่ควรทำต่อเนื่องหรือระยะยาวเกิน 6 เดือน เพราะอาจทำให้ประชาชนต้องก่อหนี้เพิ่ม ดึงกำลังซื้อในอนาคตมาใช้ ทำให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจจะยากลำบากขึ้นในระยะยาว สำหรับค่าเงินบาท ทางธปท.มองว่ามีโอกาสอ่อนค่าลงได้อีกจากนโยบายของทรัมป์ ซึ่งภาคธุรกิจนำเข้าส่งออกต้องเตรียมรับมือความผันผวนของค่าเงิน
บล.ดีบีเอสวิคเคอร์ส : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน
'เลือกซื้อค่าบวก/ถือเมื่อ SET ไม่หลุด 1485'
หุ้นที่เปลี่ยนคำแนะนำทางปัจจัยพื้นฐานวันนี้ : ไม่มี
ปัจจัย&กลยุทธ์ทางปัจจัยพื้นฐาน : SET Index เมื่อวานนี้ปิดทรงตัวที่ 1500.78 กลุ่มที่โดดเด่นคือ ค้าปลีก อาหาร และไฟแนนซ์ แต่เนื่องจาก Market Cap ไม่ใหญ่จึงได้แค่พยุงตลาด พอร์ตบล.นำซื้อสุทธิ ขณะที่รายย่อยนำขายสุทธิ ส่วนสถาบันในประเทศ & ต่างชาติซื้อขายใกล้เคียงกัน สำหรับปัจจัยสำคัญ/จับตาในระยะสั้นมาก ได้แก่
แรงขายของนักลงทุนต่างชาติในตลาดหุ้นไทยชะลอลง หลังจากขายสุทธิปรับพอร์ตมาเดือนกว่า
/- จับตาผลประชุมกลุ่มประเทศผู้ผลิตน้ำมัน 30 พ.ย.นี้ ถ้าคว้าน้ำแหลวเรื่องการจำกัดการผลิต ราคาน้ำมันอาจร่วงแรง
ดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐพยายามเกาะเหนือระดับ 101
- มูลค่าส่งออกต.ค.59 ของไทยกลับมา -4.2%YoY จากที่ตลาดคาดว่าจะ +1.1% ถึง +1.4%
+ มาตรการกระตุ้นการบริโภค&ท่องเที่ยวช่วยพยุงเศรษฐกิจช่วงที่โครงการลงทุนรัฐล่าช้า (คาดจะเห็นความคืบหน้าโครงการใหญ่ในปี 60 เป็นต้นไป)
+ มีความหวังว่าแรงซื้อ LTF จะช่วยหนุน แม้อาจจะอ่อนลง เพราะตั้งแต่ปีนี้ LTF ต้องถือครอง 7 ปีปฎิทิน (เดิม 5 ปีปฎิทิน)
กลยุทธ์ : การซื้อเล่นรอบยังเน้นตามด้วยค่าบวกของราคาหุ้นและดัชนี, ถือหุ้นดีที่จ่ายปันผลสม่ำเสมอ และทยอยสะสมหุ้นเติบโตแกร่งช่วงราคาปรับฐาน/อ่อนตัว หุ้นแนะนำเชิงกลยุทธ์วันนี้เป็น STPI
การวิเคราะห์ทางเทคนิค : ระยะสั้นสัญญาณเป็นบวกเล็กๆ (ปิดเหนือ SMA10) ซื้อใหม่เน้นตามด้วยค่าบวก ต่ำกว่า 1485 ลดพอร์ตตาม/ตัดขายขาดทุน แนวต้านระยะสั้น 1510-1520 จุด
ส่วนการ SCAN หุ้น พบว่าหุ้นที่เข้ามาใหม่ คือ ABICO, PAP, PSL, GLOBAL, STPI หุ้นที่ยังอยู่ใน List ได้แก่ SMT, TPOLY, UV, BRR, RS
หุ้นที่แนะนำไปแล้วและให้หาจังหวะขายทำกำไร คือ RJH, TMT, CPN, PJW
หุ้นที่หลุด List คือ SPRC, BR
นักวิเคราะห์ : อาภาภรณ์ แสวงพรรค - [email protected]
Need to know TODAY
ปัจจัยต่างประเทศ
- ญี่ปุ่น : BOJ ขาดทุนสุทธิครั้งแรกในรอบ 4 ปีเพราะขาดทุนจาก FX หลังเยนแข็งค่าขึ้นมาก
แหล่งข่าวกล่าวว่าธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ขาดทุนสุทธิเป็นครั้งแรกในรอบ 4 ปีในช่วงเดือนเม.ย.-ก.ย.59 เนื่องจากมูลค่าของทรัพย์สินที่เป็นสกุลเงินต่างประเทศปรับตัวลดลง อันเป็นผลจากการแข็งค่าของเงินเยนทำให้มูลค่าสินทรัพย์รูปเงินเยนลดลงไปหลายแสนล้านเยน แต่คาดว่าจะกลับมาเป็นกำไรได้ในช่วงต.ค.59-มี.ค.60 เพราะเงินเยนอ่อนลงเมื่อเทียบ US$ ซึ่งมาจากนโยบายของทรัมป์และโอกาสการปรับขึ้นดอกเบี้ยของเฟดที่สูงมาก
สหรัฐ : จับตาตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนพ.ย.ศุกร์นี้
กระทรวงแรงงานสหรัฐจะรายงานตัวเลขจ้างงานนอกภาคการเกษตรประจำเดือนพ.ย.ในวันศุกร์นี้ เวลา 20.30 น.ตามเวลาไทย
- ตลาดหุ้นสหรัฐ ; ปิดลดลงจากแรงขายทำกำไร
ดัชนี DJIA ปิดที่ 19,097.90 จุด ลดลง 54.24 จุด หรือ -0.28% ดัชนี NASDAQ ปิดที่ 5,368.81 จุด ลดลง 30.11 จุด หรือ -0.56% ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,201.72 จุด ลดลง 11.63 จุด หรือ -0.53% เนื่องจากการขายทำกำไรหลังทั้ง 3 ดัชนีพุ่งขึ้นสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในวันก่อนหน้านี้ ซึ่งปัจจัยหนุน คือ ความคาดหวังว่านโยบายของทรัมป์จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐให้เติบโตได้ต่อในปีหน้า
+ ราคาน้ำมันดิบ : ราคาพุ่งขึ้นกว่า 2% หลังอิรักยืนยันร่วมมือลดการผลิตกับกลุ่มโอเปก
สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนม.ค.พุ่งขึ้น 1.02 ดอลลาร์ หรือ 2.2% ปิดที่ 47.08 ดอลลาร์/บาร์เรล ด้าน BRENT เพิ่มขึ้น 1 ดอลลาร์ หรือ 2.1% ปิดที่ 48.24 ดอลลาร์/บาร์เรล ก่อนหน้าราคาน้ำมันดิบร่วงเพราะซาอุฯจะไม่เข้าร่วมประชุมวันที่ 30 พ.ย.นี้ แต่ก็ดีดขึ้นตามมาเมื่ออิรักยืนยันให้ความร่วมมือกับกลุ่มโอเปกในการลดการผลิต ด้านอิหร่านคาดว่ากลุ่มโอเปกจะตกลงกันได้
ด้านนักวิเคราะห์จากมอร์แกน สแตนลีย์ และแมคควารีคาดการณ์ว่าราคาน้ำมันดิบจะดิ่งลงแตะ 35 ดอลลาร์/บาร์เรล หากกลุ่มโอเปกไม่สามารถบรรลุข้อตกลงในวันพุธที่ 30 พ.ย.59 นี้
+ ราคาทองคำ : รีบาวด์
สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนธ.ค.พุ่งขึ้น 12.40 ดอลลาร์ หรือ 1.1% ปิดที่ระดับ 1,190.80 ดอลลาร์/ออนซ์ ซึ่งเป็นผลจากการอ่อนลงของตลาดหุ้นและดัชนีค่าเงิน US$
ปัจจัยในประเทศ & หุ้นเด่น
- ส่งออกไทย : เดือนต.ค.กลับมา -4.2%YoY…แย่กว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้
# กระทรวงพาณิชย์แถลงว่ามูลค่าการส่งออกเดือนต.ค.59 มีมูลค่าลดลงเป็น 17,786 ล้านUS$ -4.2%YoY จากที่ตลาดคาดว่าจะ +1.1% ถึง +1.4% ส่วนการนำเข้ามีมูลค่า 17,535 ล้านUS$ +6.5%YoY ส่งผลให้เกินดุลการค้า 248 ล้านUS$
# สำหรับ 10M59 มูลค่าส่งออกเท่ากับ 178,251 ล้านUS$ -1.0%YoY (น้อยกว่าทั่วโลกที่ -4.1%YoY) นำเข้ามีมูลค่า 160,073 ล้านUS$ -5.9%YoY ส่งผลให้เกินดุลการค้า 18,178 ล้านUS$
# ปัจจัยกดดันการส่งออกเดือนต.ค.59 คือ กำลังซื้อจากประเทศคู่ค้าที่ยังซบเซาและฟื้นตัวช้า โดยเฉพาะจากญี่ปุ่น สหภาพยุโรป ตะวันออกกลาง ละตินอเมริกา โดยการหดตัวมาจากปริมาณส่งออกกลุ่มสินค้าเกษตรเป็นสำคัญ (น้ำตาลทราย ข้าว ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ยางพารา) ส่วนสินค้าอุตสาหกรรมที่ลดลง คือ ยานยนต์และชิ้นส่วน เพราะส่งออกไปออสเตรเลียและตะวันออกกลางได้น้อยลง
# อย่างไรก็ตาม ตลาดส่งออกที่ยังขยายตัวดี คือ ตลาดเอเชียโดยเฉพาะ CLMV และเอเชียใต้ สำหรับตลาดหลักที่ไทยมีส่วนแบ่งการตลาดเพิ่มขึ้นคือ จีนและญี่ปุ่น
# แนวโน้ม 4Q59 คาดว่าการส่งออกมีโอกาสกระเตื้องขึ้นแต่ไม่มาก เพราะเศรษฐกิจประเทศคู่ค้ายังฟื้นตัวช้า และการอ่อนค่าของเงินยูโรและหยวนเมื่อเทียบUS$ ทำให้กำลังซื้อของประเทศเหล่านี้ชะลอตัวลงด้วย โดยรวมมองว่ามูลค่าส่งออกรูป US$ ของปี 59 จะขยายตัว 0%
ไทย : ธปท.แนะให้ทำมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพียงระยะสั้น
นายวิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธปท.แนะให้รัฐบาลออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงสั้นระหว่างที่รอการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ที่จะเกิดในปี 60 เป็นต้นไป ทั้งนี้เพื่อช่วยให้บรรยากาศการใช้จ่ายดีขึ้น ลดผลกระทบจากภาคส่งออกที่ซบเซาและการปราบปรามทัวร์ศูนย์เหรียญ โดยไม่ควรทำต่อเนื่องหรือระยะยาวเกิน 6 เดือนเพราะอาจทำให้ประชาชนต้องก่อหนี้เพิ่ม ดึงกำลังซื้อในอนาคตมาใช้ ทำให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจจะยากลำบากขึ้นในระยะยาว สำหรับค่าเงินบาท ทางธปท.มองว่ามีโอกาสอ่อนค่าลงได้อีกจากนโยบายของทรัมป์ ซึ่งภาคธุรกิจนำเข้าส่งออกต้องเตรียมรับมือความผันผวนของค่าเงิน
นักวิเคราะห์ : อาภาภรณ์ แสวงพรรค - [email protected]
นักวิเคราะห์ : อาภาภรณ์ แสวงพรรค – [email protected]