WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ASP copyบล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน



กลยุทธ์การลงทุน
  GDP งวด 3Q59 ที่โตน้อยกว่าคาด น่าจะนำไปสู่การปรับลด GDP Growth ลงมาอยู่ในช่วง 3.2–3.3% แต่ก็สร้างความคาดหวังเรื่องมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ส่วน Fund Flow ต่างชาติยังไหลออกต่อเนื่อง แต่ไม่น่าจะทำให้ SET Index ลงมาต่ำกว่า 1,450 จุด Top Pick ยังคงเลือก GFPT(FV@B19) และยังชอบ BLA(FV@B62) ได้ประโยชน์จาก Bond Yield ที่ปรับตัวขึ้น

(-) GDP Growth 3Q59 ต่ำกว่าคาด มีแนวโน้มปรับประมาณการปีนี้ลงเหลือ 3.2-3.3%
  วานนี้สภาพัฒน์ฯรายงาน GDP Growth งวด3Q59 ขยายตัว 3.2%yoyต่ำกว่าที่ ASPS คาดที่ 3.6%yoy ทำให้ช่วง 9M59 ขยายตัว 3.3% โดยการบริโภคภาคครัวเรือน(C) ขยายตัว 3.5%yoy จาก 3.8% ในงวด 2Q59 ทั้งนี้เป็นผลจากอยู่ในช่วงฤดูฝนทำให้การจับจ่ายใช้สอยชะลอลงเล็กน้อย การลงทุนรวม(I) ขยายตัว 1.4%yoy (มาจากการลงทุนภาครัฐ ขยายตัว 6.3%yoy ผลจากโครงการก่อสร้างสาธารณูปโภคของภาครัฐที่ยังเดินหน้าต่อเนื่อง สวนทางกับการลงทุนภาคเอกชนที่ หดตัวเล็กน้อย 0.5% ผลจากเอกชนยังชะลอการลงทุน) ขณะที่การใช้จ่ายของภาครัฐ(G)หดตัว 5.8%yoy ชะลอลงจาก 1.5%ในงวด 2Q59 ผลของค่าตอบแทนแรงงานและรายจ่ายค่าซื้อสินค้าและบริการหดตัว 2.3%yoy และ 28.5 % ขณะที่การค้าระหว่างประเทศส่งออก ขยายตัว 1.1% จากหดตัว -4% (ส่งออกพลิกกลับมาเป็นบวก 2 เดือนติด)
  ทั้งนี้ GDP Growth ในงวด 3Q59 ที่เพิ่มขึ้นน้อยกว่าที่ ASPS คาดประกอบกับมุมมองเศรษฐกิจงวด 4Q59 ซึ่งคาดว่าจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อยราวอยู่ที่ระดับ 3.1-3.2% เนื่องด้วยผลกระทบจากการปราบปรามทัวศูนย์เหรียญของภาครัฐกระทบต่อภาคการท่องเที่ยว และการบริโภคครัวเรือนที่จะชะลอลงเมื่อเทียบกับ 4Q58 แม้ภาครัฐจะออกมาตการด้านภาษีเพื่อหนุนการบริโภคช่วงปลายปี โดยที่ ASPS อาจต้องทำการปรับลดประมาณการสมมติฐานเศรษฐกิจรายภาคลง ทั้งนี้หากปรับลด การลงทุนรวม(I) ลงเหลือ 3%จาก 3.6% (มาจากปรับลดลงทุนเอกชนเป็น 0.6% จาก 1.5% และการลงทุนรัฐ คงเดิม 10% และการใช้จ่ายของภาครัฐ (G) ลงเหลือ 2.2% จาก 3.8% แต่ปรับเพิ่มการค้าระหว่างประเทศในรูปดอลลาร์ขึ้นคือ ส่งออกเป็น 0% จากคาดว่าจะหดตัว -1.5% ขณะที่การบริโภคครัวเรือนยังคงยังคงที่ 3.0% ตามเดิม
  น่าจะจะทำให้ประมาณการ GDP Growth ทั้งปี 2559 ลดลงมาอยู่ในช่วง 3.2-3.3% จากเดิมที่คาด 3.5% ระดับใกล้เคียงกับ Consensus แต่ยังขยายตัวขึ้นจาก 2.8% ในปี 2558

(+) มาตรการภาครัฐช่วงปลายปี กระตุ้นการจับจ่ายใช้สอย
  จากแนวโน้มที่เศรษฐกิจไทยใน 4Q59 ทรงตัวหรือแผ่วจาก 3Q59 ทำให้ภาครัฐเตรียมออกมาตรการลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เพื่อกระตุ้นการจับจ่ายใช้สอยในช่วงปลายปี คาดว่าจะนำเสนอ 3 มาตรการ ให้ ครม. เห็นชอบภายในเร็วๆ นี้ ประกอบด้วย (1) มาตรการลดหย่อนภาษีฯ จากการท่องเที่ยว ที่พัก และรับประทานอาหารในประเทศ ในช่วง 1 สัปดาห์สุดท้ายของปี ไม่เกิน 1.5 หมื่นบาท (เพิ่มเติมจากมาตรการท่องเที่ยวเดิม ในช่วง 1 ม.ค. – 31 ธ.ค. 2559 อีก 1.5 หมื่นบาท) (2) มาตรการลดหย่อนภาษีฯ จากการซื้อสินค้าและบริการ ช่วง 1 สัปดาห์สุดท้ายของปี ไม่เกิน 1.5 หมื่นบาท (3) มาตรการยกเว้นภาษีนำเข้าสินค้าเครื่องสำอางและน้ำหอม เป็นเวลา 2 เดือน
ทั้งนี้ หากพิจารณาถึงมาตรการต่างๆ น่าจะช่วยกระตุ้นการจับจ่ายใช้สอยของประชาชนได้ส่วนหนึ่ง อย่างไรก็ตาม ในส่วนของการท่องเที่ยวนั้น อาจได้รับผลกระทบจากการปราบปรามทัวร์ศูนย์เหรียญอย่างจริงจังของภาครัฐ จึงอาจจะทำให้การท่องเที่ยวงวด 4Q59 ซบเซากว่าช่วงฤดูกาลในปีปกติ ขณะที่ที่พัก-โรงแรม แม้จะได้ปัจจัยหนุนจากการเข้าสู่ช่วงฤดูกาล แต่งานเทศกาลหรือกิจกรรมรื่นเริงบางประเภทมีการเลื่อนหรือยกเลิกจากช่วงไว้อาลัย จึงทำให้มาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวในปีนี้มีแนวโน้มลดลงเมื่อเทียบกับปลายปีที่แล้ว
  อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าประเด็นดังกล่าวน่าจะสร้าง sentiment เชิงบวกให้กับกลุ่ม domestic ที่เกี่ยวข้องได้ในช่วงสั้น ฝ่ายวิจัยยังคงให้น้ำหนักไปที่หุ้นที่แนวโน้มผลประกอบการ 4Q59 ออกมาเติบโตโดดเด่น คือ BJC (FV@B64) คาดกำไรสร้างสถิติสูงสุดจากฤดูกาลและดอกเบี้ยจ่ายลดลง รวมทั้งเป็นช่วงฤดูกาลที่ BIGC มักมียอดขายดีสุด จึงได้ประโยชน์จากการควบรวมอย่างชัดเจน อีกทั้งยังได้ปัจจัยหนุนจากโอกาสเข้าคำนวณดัชนี SET50-SET100

(0) หาจังหวะสะสมหุ้นพื้นฐานดี เมื่อราคาย่อตัว
  เชื่อว่าตลาดหุ้นโลกในช่วงสัปดาห์นี้น่าจะเคลื่อนไหวในกรอบแคบ เนื่องจากประเด็นต่างๆ ตลาดค่อนข้างซึมซับไปมากแล้ว แม้ว่า Fed มีกำหนดออกรายงานการประชุมรอบ 1-2 พ.ย. ที่ผ่านมา แต่ตลาดฯ ก็ไม่ได้ให้น้ำหนักมากนัก เนื่องจากโอกาสการขึ้นดอกเบี้ยของ Fed ในเดือน ธ.ค. ที่เพิ่มขึ้นสูงถึง 98% แต่ตลาดฯ ให้ความสนใจไปที่ปีหน้า ที่อาจจะมีโอกาสปรับขึ้นดอกเบี้ยเร็วกว่าที่คาด คือ 2 ครั้ง นอกจากนี้ ตลาดยังให้น้ำหนักไปที่การประชุม OPEC ในวันที่ 30 พ.ย. นี้ ซึ่งล่าสุด ได้มีความเห็นมาจากรัสเซีย ผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่นอกกลุ่ม OPEC ว่าน่าจะมีโอกาสที่กลุ่ม OPEC จะร่วมมือกันควบคุม/ตัดลดกำลังการผลิต ซึ่งน่าจะเป็นปัจจัยบวกต่อหุ้นในกลุ่มน้ำมันในช่วงสั้น
  ในส่วนของตลาดหุ้นไทย แม้นักลงทุนต่างชาติจะยังคงขายสุทธิในหุ้นไทยต่อเนื่อง แต่เชื่อว่าแรงขายไม่น่าที่จะมากแล้ว เนื่องจากสถานะการถือครองหุ้นของนักลงทุนต่างชาติอยู่ในระดับต่ำมากกว่าปกติ อีกทั้งนักลงทุนสถาบันที่น่าจะมีแรงซื้อเข้ามาหนุนในช่วงปลายปีจาก LTF/RMF จึงไม่ควรต้องกังวลแรงขายมากนัก และใช้เป็นโอกาสในการทยอยสะสมหุ้นปัจจัยพื้นฐานดี ตามที่ฝ่ายวิจัยแนะนำ อาทิ
กลุ่มรับเหมาฯ โดยมีตัวเลือกในกลุ่มที่โดดเด่น เช่น CK([email protected]) , UNIQ (FV@B25) และ SYNTEC ([email protected])
  กลุ่มส่งออกอาหาร GFPT (FV@B19) ซึ่งได้ประโยชน์จากการที่เกาหลีใต้อนุญาตให้นำเข้าไก่จาก 12 โรงงาน ในประเทศไทยที่ได้ผ่านการตรวจอนุมัติไปแล้ว
  หุ้นเติบโตสูง/หุ้นผลประกอบการเด่น 4Q59 FSMART (FV@B21) เป็น Growth Stock ที่ได้รับประโยชน์จากการแข่งขันที่รุนแรงของธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ ปัจจุบันยังมี upside อีกกว่า 23% รวมทั้ง WHA ([email protected]) และ BJC (FV@B64) คาดผลประกอบการงวด 4Q59 จะเติบโตได้อย่างโดดเด่น
  หุ้นปันผลสูง ASK (FV@B27) ที่จ่ายปันผลปีละครั้ง Dividend Yield สูงถึง 6.8% รวมทั้ง LH ([email protected]) Dividend Yield สูงกว่า 7%
  หุ้นที่ได้ประโยชน์จาก Bond Yield ที่ปรับขึ้น ชัดเจนที่สุดคือกลุ่มธุรกิจประกันชีวิต โดย BLA (FV@B 62) โดยล่าสุดนักวิเคราะห์ปรับเพิ่ม Fair Value จาก 54 เป็น 62 บาท

(0) ต่างชาติขายหุ้นในภูมิภาคต่อเนื่องเป็นวันที่ 19 แต่ด้วยแรงที่เบาลงเรื่อยๆ
  วานนี้ต่างชาติยังคงขายสุทธิหุ้นในภูมิภาคต่อเนื่องเป็นวันที่ 19 ด้วยแรงที่ลดลงเรื่อยๆ โดยมีมูลค่าราว 128 ล้านเหรียญ และเป็นการขายสุทธิเกือบทุกประเทศยกเว้นตลาดหุ้นเกาหลีใต้ที่สลับมาซื้อสุทธิราว 48 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิเพียงวันเดียว) ส่วนที่เหลืออีก 4 ประเทศต่างชาติยังคงขายสุทธิ คือ ไต้หวันถูกขายสุทธิราว 73 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 9) ตามมาด้วยฟิลิปปินส์ 14 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 2), อินโดนีเซีย 11 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 9) และไทยที่ถูกขายสุทธิสูงสุดในภูมิภาคราว 77 ล้านเหรียญ หรือ 2.75 พันล้านบาท (ขายสุทธิติดต่อกันเป็นวันที่ 21 โดยมีมูลค่ารวมสูงถึง 3.53 หมื่นล้านบาท) ต่างกับนักลงทุนสถาบันฯที่ซื้อสุทธิราว 2.08 พันล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2)
  และหากพิจารณาแรงขายหุ้นไทยตั้งแต่ต้นเดือน ต.ค. จนถึงปัจจุบัน พบว่า เงินทุนต่างชาติไหลออกจากตลาดหุ้นไทยไปแล้วกว่า 4.64 หมื่นล้านบาท และยังมีโอกาสไหลออกต่อเนื่องในช่วงปลายปี จากการที่ Fed มีโอกาสสูงที่จะขึ้นดอกเบี้ยใน ธ.ค. นี้ แต่เชื่อว่าตลาดน่าจะรับรู้ไปมากแล้ว อีกทั้งเม็ดเงินดังกล่าวยังสูงกว่ามูลค่าขายสุทธิเฉลี่ยในไตรมาส 4 ย้อนหลัง 10 ปี ไปมากแล้ว (ยอดขายสุทธิเฉลี่ยย้อนหลัง 10 ปี อยู่ที่ 1.91 หมื่นล้านบาท) จึงทำให้เชื่อว่าแรงขายในช่วงที่เหลือของปีน่าจะเบาลงกว่าที่ผ่านๆมา
  ส่วนทางด้านตราสารหนี้ไทย นักลงทุนสถาบันฯซื้อสุทธิราว 2.33 พันล้านบาท สวนทางกับนักลงทุนต่างชาติที่ยังคงขายสุทธิราว 1.67 พันล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 8)

ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
พาสุ ชัยหลีเจริญ ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!