WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ASP copyบล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน



กลยุทธ์การลงทุน
  การปรับตัวของตลาดฯ ยังมี ตราบที่การใช้นโยบายกีดกันทางการค้าสหรัฐ ยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจน และหนุน fund flow ไหลออก ขณะที่แรงขายรับงบ 3Q59 ยังคงกดดันเช่นกัน กลยุทธ์เน้นหุ้น Domestic Play (ASK, WHA, BJC, FSMART, CK, UNIQ) Top picks คือ BJC(FV@B64) จากธุรกิจที่มีแนวโน้มเติมโตต่อเนื่องในงวด 4Q59 และในปี 2560 และ CK([email protected]) วันนี้จะมีการเปิดซองประมูล ชมพูและเหลืองน่าจะเป็น Sentiment เชิงบวก

(-) ตลาดหุ้นโลกยังแกว่งตัวลง ตอบรับผลกระทบการค้าของสหรัฐ
  คาดว่าตลาดหุ้นทั่วโลกยังอยู่ในภาวะผันผวน โดยเฉพาะตลาดหุ้นในแถบเอเชีย จะเห็นว่าตลาดเอเซียปรับตัวลดลงทุกแห่ง ซึ่งคาดว่าตลาดน่าจะย่อยข่าวผลกระทบที่จะได้รับผลกระทบจากนโยบายของโดนัลด์ ทรัมป์ ที่มุ่งกีดกันทางการค้าประเทศที่ได้เปรียบและเกินดุลการค้ากับสหรัฐ เช่นเดียวกับค่าเงินในภูมิภาคเอเซียที่ผันผวนเช่นกัน โดยค่าเงินบาทอ่อนค่าไปราว 1% ขณะที่ค่าเงินในภูมิภาคก็อ่อนค่าลงเช่นกัน
  ทั้งนี้ยกเว้นตลาดหุ้นสหรัฐที่ตลาดหุ้นปรับตัวขึ้นสวนทาง ซึ่งคาดว่าน่าจะเป็นผลจากการลดภาษีนิติบุคคล เหลือ 15% (เดิมอยู่ที่ภาษีนิติบุคคล 15-39% เทียบกับประเทศไทยอยู่ที่ 20%) เท่ากับเป็นการเอื้อประโยชน์ต่อภาคธุรกิจและบริษัทจดทะเบียนฯ เพราะหมายถึงกำไรของผู้ประกอบการจะเพิ่มขึ้นทันทีเท่ากับอัตราภาษีที่ลดลง และยังเสนอลดภาษีบุคคลธรรมดาเหลือ 4 ช่วง (ฐานการเก็บภาษีลดลงจากเดิม 6 ช่วง) เท่ากับเป็นการเพิ่มรายได้และกำลังซื้อให้ประชาชนสหรัฐ ซึ่งล้วนหนุนความเชื่อมั่นต่อตลาดหุ้นสหรัฐ
  และตลาดหุ้นญี่ปุ่น สามารถปรับขึ้นได้สวนทิศทางตลาดหุ้นโลก โดยตลาดหุ้นนิกเกอิปรับขึ้นเกือบ 10% นับจากวันที่ 9 ต.ค. ถึงวานนี้ แม้ค่าเงิน เยนเทียบกับดอลลาร์อ่อนค่าลงกว่า 3% ในช่วงเวลาเดียวกัน ก็ตาม น่าจะเป็นผลเพราะ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล (government Bond Yield) อายุ 10 ปี ที่สามารถขยับขึ้นมา อยู่ที่ 0.007% พ้นจากแดนลบเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่การประชุมธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) เมื่อ 21 ก.ย. ที่ผ่านมา ที่ปรับเปลี่ยนมาตรการ QQE จากการขยายฐานเงิน (Monetary Base) ไปเป็น Yield Curve Control พันธบัตรฯ 10 ปี ให้ใกล้เคียง 0% แทน ซึ่งน่าจะส่งผลต่อเนื่องถึงอัตราเงินเฟ้อญี่ปุ่นให้ขยายตัวในระยะถัดไป จึงเป็น Sentiment เชิงบวกต่อตลาดหุ้นญี่ปุ่น
  ในส่วนของผลประกอบการบริษัทจดทะเบียน เชื่อว่านักลงทุนน่าจะเริ่มมองไปที่ผลประกอบการ 4Q59 ที่น่าจะมีทิศทางที่เติบโตขึ้น อย่างไรก็ตาม อาจเผชิญกับแรงขายรับงบ 3Q59 ในช่วงสั้น ซึ่งจากจากสถิติในอดีตย้อนหลัง 10 ปี (2549 – 2558) ปรากฏว่ามีอยู่ 7 ปีที่ตลาดหุ้นไทยปรับลดลงในช่วง 1 สัปดาห์หลังประกาศงบฯ เฉลี่ย -1.8% ซึ่งจากสถิติจะเป็นกลุ่ม Market Cap ใหญ่ที่ถูกขาย อาทิ พลังงาน (ลดลง 9 ใน 10 ปี เฉลี่ย -2.5%) ปิโตรฯ (ลดลง 8 ใน 10 ปี เฉลี่ย -2.7%) และชิ้นส่วนฯ (ลดลง 8 ใน 10 ปี เฉลี่ย -1.2%)
  ในส่วนของ Valuation นั้น หากเปรียบเทียบในเชิง P/E พบว่า SET Index ยังอยู่ในระดับที่ค่อนข้างสูง คือ 16.4 เท่า ใกล้เคียงกับตลาดหุ้นอินโดนีเซียที่ 16.9 เท่า และฟิลลิปปินส์ที่ 17.9 เท่า จึงทำให้ยังไม่มีแรงดึงดูดมากนัก อย่างไรก็ตาม หาก Expected P/E ลดลงอยู่ที่ราว 16 เท่า หรือบริเวณ 1445-1450 จุด เชื่อว่าน่าจะเป็นจุดที่น่าสนใจเข้าลงทุน

(-) ต่างชาติขายสุทธิหุ้นไทยติดต่อกันนาน 18 วันทำการ
  แม้วานนี้แรงขายหุ้นของต่างชาติในตลาดหุ้นภูมิภาคเริ่มอ่อนแรงลง แต่ยังคงเป็นการขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 16 ด้วยมูลค่าราว 352 ล้านเหรียญ และเป็นการขายเกือบทุกตลาดยกเว้น เพียงตลาดหุ้นเกาหลีใต้ที่สลับมาซื้อสุทธิราว 38 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิ 3 วัน) ส่วนตลาดหุ้นที่เหลืออีก 4 แห่งยังคงขายสุทธิ คือ ไต้หวันขายสุทธิราว 276 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 6) ตามมาด้วยอินโดนีเซีย 28 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 6), ฟิลิปปินส์ 28 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 6) และไทยที่ขายสุทธิราว 59 ล้านเหรียญ หรือ 2.08 พันล้านบาท (ขายสุทธิติดต่อกันเป็นวันที่ 18 โดยมียอดขายสุทธิรวมกว่า 2.94 หมื่นล้านบาท) ต่างกับนักลงทุนสถาบันฯที่สลับมาซื้อสุทธิสูงถึงราว 3.16 พันล้านบาท (หลังจากขายสุทธิ 3 วัน)
  ส่วนทางด้านตราสารหนี้ไทย นักลงทุนสถาบันฯซื้อสุทธิราว 2.8 พันล้านบาท สวนทางกับนักลงทุนต่างชาติที่ยังคงขายสุทธิ 637 ล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 5 โดยมียอดรวมสูงถึง 5.85 หมื่นล้านบาท)

(-) ราคาน้ำมันโลกผันผวน สต๊อกน้ำมันเพิ่ม และดอลลาร์แข็งค่า
  ราคาน้ำมันตลาดโลกยังถูกกดัน หลังจาก Dollar Index มีแนวโน้มแข็งค่า และ ล่าสุดการรายงานสต็อกน้ำมันดิบสหรัฐที่ออกมาสูงกว่าคาด กล่าวคือ น้ำมันดิบเพิ่มขึ้น 5.3 ล้านบาร์เรล (VS คาดเพิ่ม 1.5 ล้านบาร์เรล) ติดต่อกันเป็นสัปดาห์ที่ 3 เช่นเดียวกับสต็อกน้ำมันสำเร็จรูปทั้งเบนซินและดีเซล พบว่าเพิ่มขึ้น 0.76 และ 0.31 ล้านบาร์เรล คาดเนื่องจากเป็นช่วงฤดูกาลปิดซ่อมบำรุงโรงกลั่น แต่เชื่อว่าสต็อกน้ำมันสำเร็จรูปน่าจะกลับมาลดลงหลังเข้าสู่ฤดูหนาว ทำให้มีความต้องการเชื้อเพลิงเพื่อความอบอุ่นจะมากขึ้น
  อย่างไรก็ตามมองว่าราคาน้ำมันยังคงแกว่งตัวเหนือ 40 เหรียญฯต่อบาร์เรล โดยเชื่อว่าตลาดน่าจะให้ น้ำหนักการประชุมในกลุ่ม OPEC อย่างเป็นทางการวันที่ 30 พ.ย. นี้ ซึ่งขณะนี้ มีหลายชาติที่เริ่มเจรจานอกรอบกันบ้างแล้วแล้วอาทิ รัสเซีย และซาอุดิอาระเบีย, เวเนซุเอล่า และ รัฐมนตรีกระทรวงพลังงานรัซเสีย แสด
  ท่าที สนับสนุนผลการในรอบนี้ จึงทำให้เป็นไปได้ที่ การเจรจาคงเพดานการผลิตที่ 32.5 -33 เหรียญฯต่อบาร์เรล จะเกิดขึ้น ซึ่งจะทำให้ ปัญหา Over Supply น้ำมันโลกน่าจะเข้าสู่สมดุลได้ในช่วง 2H2560 ตามที่ตลาดส่วนใหญ่คาด

(0) ดัชนียังต่ำกว่า 1,500 จุดเน้น Domestic Play : ASK, BJC, CK, FSMART
  จากปัจจัยแวดล้อมดังกล่าวทำให้เชื่อว่าตลาดหุ้นโลกยังคงเคลื่อนไหวในกรอบ 1,500-1,450 จุด จนกว่าจะประเมินผลกระทบจากนโยบายกีดกันทางการของนาย ทรัมป์ ฯ ที่ชัดเจน หลังเข้ารับตำแหน่ง และ ยังคงกดดันเงินบาทอ่อนค่าอีกระยะหนึ่ง กลยุทธ์การลงทุนเน้นเลือกุ้น Domestic Play เน้นหุ้นที่มีผลประกอบการเด่นในงวด 4Q59 อาทิ WHA ([email protected]), SYNTEC (FV@B 4.90), BJC (FV@B64) หุ้นกลุ่มรับเหมาก่อสร้างที่ได้ประโยชน์จากโครงการก่อสร้างภาครัฐ หุ้นเด่นที่เลือกคือ CK (FV@B 37.50), UNIQ (FV@B 25) รวมทั้งหุ้นที่คาดหมายอัตราการเติบโตของกำไรระดับสูง อย่างเช่น FSMART (FV@B 21) และหุ้นปันผลที่จ่ายปีละ 1 ครั้ง ซึ่งจะเริ่มประกาศจ่ายในช่วงต้นปี 2560 ในช่วงปลายปี 2559 จึงเป็นเวลาที่น่าจะทยอยสะสม อย่าง ASK(F@B27), TISCO([email protected]) คาดว่าให้ Dividend Yield เฉลี่ย 6.84% และ 4.7% ตามลำดับ

ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
พาสุ ชัยหลีเจริญ ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!