- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Friday, 28 October 2016 16:18
- Hits: 1321
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
แม้ปัจจัยแวดล้อมไม่เอื้อ แต่การรายงานงบงวด 3Q59 ของ non-bank ทำให้เห็นพัฒนาการเชิงบวกบางกลุ่ม เช่น ค้าส่ง-ปลีก (HMPRO, BJC) จึงแนะสะสมหุ้นที่กำไรมีพัฒนาเชิงบวกต่อใน 4Q59 โดยยังชื่นชอบ ASK, WHA, SAWAD และ Top picks ยังเลือก HMPRO (FV@B54) และ BJC(FV@64) ปรับเพิ่ม Fair Value ขึ้นราว 18.5% สะท้อนผลบวกจากการปรับกลยุทธ์ใหม่ หนุนกำไรนับจาก 3Q59
(0)ตลาดน่าจะรับรู้ Fed ขึ้นดอกเบี้ย 1 ครั้ง
ขณะนี้ใกล้ถึงวันเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ 8 พ.ย. ที่จะถึงนี้ล่าสุดพบว่าคะแนนนิยมฯ ยังตกเป็นของนางฮิลลารี คลินตัน (จากสำรวจของ Bloomberg ล่าสุดอยู่ที่ 48.6% ขณะที่โดนัลด์ ทรัมป์ 43.1% ) ซึ่งคาดว่าผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกและเอเชียไม่น่าจะแตกต่างจากที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน แต่สิ่งที่เกิดขึ้นขณะนี้คือ การรายงานดัชนีชี้นำเศรษฐกิจสหรัฐ ยังมีพัฒนาการเชิงบวก แม้จะยังเห็นความขัดแย้งกันอยู่ก็ตาม แต่มีน้ำหนักพอที่จะหนุนให้ Fed ขึ้นดอกเบี้ย 1 ครั้งภายในสิ้นปีนี้ กล่าวคือ
ภาคการบริโภค พบว่า ยอดขายบ้านที่รอปิดการขาย(Pending Home Sales) เดือน ก.ย. เพิ่มขึ้นและมากกว่าที่ตลาดคาด (1.5%mom จาก -2.5% ในเดือน ส.ค.) แม้จะสวนทางกับยอดสั่งสร้างบ้าน ลดลง 9%mom และลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 ขณะที่ภาคการผลิต ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการ (โดยสถาบันมาร์กิต) เดือน ต.ค. เพิ่มขึ้น 4.7%mom (ที่ 54.8 จุด เพิ่มขึ้นติดต่อกัน 5 เดือน) สอดคล้องกับ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิต (PMI) เดือน ต.ค. เพิ่มขึ้นมากกว่าตลาดคาดและทำสถิติสูงสุดในรอบ 1 ปี แม้สวนทางกับ ดัชนีภาคการผลิต ทำจุดต่ำสุดตั้งแต่ มิ.ย. 2559
อย่างไรก็ตามเงินเฟ้อที่สหรัฐ ล่าสุด พุ่งเป็น 1.5% จาก 1.1%ใน ส.ค. สามารถหักล้างดัชนีชี้นำที่ขัดแย้งกันหมด หนุนให้ Fed เดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยในเดือน ธ.ค. นี้ ตามผลสำรวจล่าสุดพบว่า โอกาสการขึ้นดอกเบี้ย (สำรวจโดย Bloomberg) อยู่ที่ระดับ 72.5% จาก 67.6% ในปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา แต่เชื่อว่าประเด็นนี้ตลาดน่าจะรับรู้ไปแล้ว และน่าจะขึ้นดอกเบี้ยแบบค่อยเป็นค่อยไป
(-) ในเดือน ต.ค. นี้ ต่างชาติขายหุ้นไทยมากที่สุดในภูมิภาค
วานนี้ต่างชาติขายสุทธิหุ้นในภูมิภาคเป็นวันที่ 2 ด้วยมูลค่าราว 294 ล้านเหรียญ และเป็นการขายสุทธิเกือบทุกประเทศ ยกเว้นเกาหลีใต้เพียงแห่งเดียวที่สลับมาซื้อสุทธิราว 78 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิ 2 วัน) ตลาดหุ้นที่ขายทั้ง 4 ประเทศ คือ ไต้หวันถูกขายสุทธิสูงสุดในภูมิภาคราว 269 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 2) ตามมาด้วยอินโดนีเซีย 52 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 2), ฟิลิปปินส์ 12 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 4) และไทยขายสุทธิราว 40 ล้านเหรียญ หรือ 1.4 พันล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 4) สวนกับนักลงทุนสถาบันฯที่ซื้อสุทธิราว 2.1 พันล้านบาท (หลังจากขายสุทธิ 2 วัน)
หากพิจารณาตั้งแต่ต้นเดือน ต.ค. เป็นต้นมา แม้ตลาดหุ้นไทยปรับตัวเพิ่มขึ้นมา 15 จุด หรือราว 1% แต่กระแสเงินทุนต่างชาติกลับไหลออกจากตลาดหุ้นไทยมากที่สุด เมื่อเทียบกับตลาดหุ้นอื่นๆในภูมิภาค โดยมียอดขายรวมกว่า 1.46 หมื่นล้านบาท อีกทั้งยังเป็นเดือนที่มียอดขายสุทธิมากที่สุดในปีนี้ ซึ่งหากแรงขายยังมีมาอย่างต่อเนื่อง อาจกดดันให้ SET ปรับตัวลดลงได้
ส่วนทางด้านตราสารหนี้ไทย นักลงทุนสถาบันฯสลับมาซื้อสุทธิราว 2.8 หมื่นล้านบาท สวนทางกับนักลงทุนต่างชาติที่สลับมาขายสุทธิราว 1.9 พันล้านบาท (หลังจากซื้อสุทธิติดต่อกัน 6 วัน)
(+)เน้นหุ้นพัฒนาการเชิงบวกต่อใน 4Q59 : SAWAD, WHA, BJC
ยังคงอยู่ในช่วงของการรายงานประกอบการงวด 3Q59 โดยในส่วนของตลาดหุ้นสหรัฐ S&P500 คาดว่ากำไรสุทธิจะเติบโตได้ราว 2.2%yoy นำโดยกลุ่มธุรกิจการการเงิน เติบโต 8%yoy กลุ่มเทคโนโลยี 7.7%yoy กลุ่มสาธารณูปโภค 7.1% สวนทางกับกลุ่มพลังงานที่คาดจะหดตัวหนักถึง 71%yoy โดย Exxon Mobil และ Chevron 2 บริษัทปิโตรเลียมยักษ์ใหญ่ (ประกาศงบฯ วันนี้) คาดว่าผลกำไรลดลงถึง -41.6%yoy และ -68.8%yoy ตามลำดับ ซึ่งเป็นการลดลงต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 7
ขณะที่ตลาดหุ้นยุโรป STOXX600 คาดผลประกอบการ 3Q59 จะลดลงถึง 12.9%yoy โดยเฉพาะกลุ่มพลังงาน คาดว่าจะลดลงถึง 10.6%yoy ทำให้เกิดความกังวลต่อผู้ประกอบการที่มีธุรกิจเกี่ยวข้องกับน้ำมัน เช่น Royal Dutch Shell ที่ตัดลดพนักงานทั่วโลกกว่า 10,000 ตำแหน่งเมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมา รวมถึงความกังวลต่อเศรษฐกิจเพิ่มมากขึ้นหลังจากที่อังกฤษเตรียมเดินหน้าออกจากสหภาพยุโรปอย่างเป็นทางการในต้นปี 2560
ส่วนของไทย ยังเป็นช่วงรายงานงบของ Real Sector โดยวานนี้ PTTEP รายงานกำไรสุทธิ 3Q59 ดีกว่าคาด เพิ่มขึ้นถึง 104.7%qoq จากการบันทึกรายการพิเศษ แต่กำไรปกติลดลง 19.6%qoq จากปริมาณขายและราคาขายที่ปรับตัวลดลง และคาดว่างวด 4Q59 ยังทำกำไรต่ำสุดของปี จากการปรับตัวลดลงของราคาขายก๊าซฯ แต่มีโอกาสสูงที่จะบันทึกกำไรพิเศษต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ ซึ่งช่วยหนุนกำไรให้ลดลงไม่มากนักจากงวดก่อนหน้า ฝ่ายวิจัยจึงยังคงประมาณการกำไรสุทธิทั้งปี 2559 ไว้ ภายใต้สมมติฐานราคาน้ำมันดิบดูไบในปี 2560 เท่ากับ 55 เหรียญฯต่อบาร์เรล และเพิ่มขึ้นเป็น 60 เหรียญฯต่อบาร์เรล ในปี 2561 และหลังจากปี 2562 กำหนดให้เท่ากับ 65 เหรียญฯต่อบาร์เรล ในระยะยาว ขณะที่ปริมาณการผลิตและจำหน่ายคาดจะทรงตัวใกล้เคียงในปี 2559 ขณะที่การลงทุนรวมถึงการทำ M&A โครงการใหม่ๆที่จะเป็น upside จากปัจจุบัน จึงยังคงแนะนำ ซื้อ ยังให้อัตราผลตอบแทนจากปันผลในระดับที่ดีเกือบ 4% เช่นเดียวกับหุ้นในกลุ่มพลังงาน โรงกลั่น และปิโตรเคมี (IRPC และ PTT) บางแห่งคาดว่าไม่สดใส ตามการอ่อนตัวของราคาปิโตรเลียม แต่คาดว่าจะดีขึ้นไตรมาสสุดท้ายของปีนี้
และเช่นเดียวกับหุ้นใหญ่ในกลุ่ม ICT ที่คาดว่ายังชะลอตัวจากจากต้นทุนที่สูงขึ้น จากต้นทุนค่าใบอนุญาต 4G ทั้ง ADVANC และ TRUE (DTAC รายงานกำไรลดลงถึง 46%yoy จากค่าเสื่อมราคา เงินลงทุนขยายโครงข่าย แต่รายได้ทรงตัว)
และที่รายงานออกมาประทับใจมากคือ BJC (มีการทำงบการเงินรวมกับ BIGC หลังเข้าถือหุ้น 97.74%) กล่าวคืองวด 3Q59 กำไรสุทธิ 1.8 พันล้านบาท เติบโตกว่า 118%yoy และ EPS ยัง เพิ่ม 10%yoy แม้จะถูกกระทบจากผลของการเพิ่มทุน 2 รอบ (dilution effect 71%) และ ยอดขายสาขาเดิม (SSSG) ยังชะลอตัวก็ตาม แต่บริษัทฯ ได้ปรับกลยุทธ์ใหม่ ผ่านการตัดสินค้าที่มี Margin ต่ำออกไป ซึ่งแม้ยอดขายจะลดลง แต่ต้นทุนสินค้าที่ลดลงในอัตรามากกว่ายอดขาย หนุนอัตรากำไรสุทธิ (Net Profit Margin) งวดนี้ดีขึ้น กว่าเดิมเท่าตัวหรือจาก 2% สู่ 4% รวมถึงการบริหารจัดการต้นทุนทางการเงิน โดยนำเงินที่ได้จากการเพิ่มทุนไปชำระหนี้เงินกู้ และมีการ Refinance หนี้เดิม ส่งผลให้ต้นทุนดอกเบี้ยจ่ายลดลงอย่างมีนัยฯ นอกจากนี้มีกำไรพิเศษจากอัตราแลกเปลี่ยนอีกกว่า 1.3 พันล้านบาท โดยภาพรวมคาดว่า BJC น่าจะมีพัฒนาการเชิงบวกต่อเนื่องใน 4Q59 จากที่เข้าสู่ฤดูกาลขายปลายปีแล้ว และต่อเนื่องในปี 2560 จากผลบวกจากแผนพัฒนาประสิทธิภาพกำไรข้างต้นแล้ว ซึ่งทำให้นักวิเคราะห์ ASPS ปรับเพิ่มประมาณการกำไรปีนี้ขึ้น 44.6% และ 18.5% ในปี 2560 ทำให้สิ้นปี 2559 กำไรเติบโตจากปี 2558 111% และปี 2560 เติบโตจากปี 2559 82% พร้อมปรับ Fair Value ปี 2560 ขึ้นจากเดิม 18.5% เป็น 64 บาท ณ ราคาปัจจุบันเปิด upside ราว 21% แนะนำ ซื้อลงทุน
จะเห็นว่าการรายงานงบของ BJC สอดคล้องกับ HMPRO ([email protected]) และคาดว่างวด 4Q59 จะโดดเด่นและทำสถิติสูงสุดของปีเช่นกัน จากการปรับกลยุทธ์ใหม่ รวมถึงสามารถรับรู้กำไรจากการเปิดสาขาใหม่ 4-5 แห่ง หลายแห่ง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ (โฮมโปรในประเทศ 2 แห่ง มาเลเซีย 1 แห่ง และ Mega Home อีก 1-2 แห่ง) และธุรกิจใหม่ Mega Home และต่างประเทศ โดยรวมทำให้กำไรสุทธิจะเติบโตเฉลี่ยปีละ 19%
ขณะที่กลุ่มท่องเที่ยว ที่เคยคาดว่าจะทำสถิติสูงสุดในงวดสุดท้ายของปี อาจจะไม่เป็นไปตาม เหมือนทุกปีเนื่องจาก บรรยายโดยรวมยังคงซึมเศร้า คาดว่าการจัดงานรื่นเริง หรือ events ต่างๆ ที่กำหนดไว้ อาจจะต้องเลื่อนออกไปจาก 4Q59 ซึ่งน่าจะกระทบกับกำไรในงวด 4Q59 ทั้งธุรกิจโรงแรม อาหาร และ ที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น
ส่วนกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ หรือ สินเชื่อส่วนบุคคล ยังมีแนวโน้มที่ดีขึ้นในไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ เริ่มจากกลุ่มลิสซิ่ง คาดงวด 4Q59 จะทำกำไรสูงสุดใหม่ต่อเนื่อง โดยเฉพาะ สินเชื่อเช่าซื้อรถบรรทุก ยังเติบโตตามภาคการก่อสร้างและลงทุนภาครัฐ ตามมาด้วยสินเชื่อรถจักรยานยนต์ ที่เพิ่มขึ้น ตามฤดูกาลขายปลายปี และยังได้ประโยชน์จากการกระตุ้นภาครัฐดังกล่าวข้างต้น และสินเชื่อรายย่อย ทั้งสินเชื่อบัตรเครดิตและสินเชื่อบุคคล ผู้ประกอบการที่น่าจะมีกำไรดีมากในงวด 4Q59 คือ ASK ([email protected]), MTLS ([email protected]) และ SAWAD ([email protected]) รวมถึงหุ้นที่ได้ประโยชน์จากมาตรการกระตุ้นรากหญ้าเพิ่มเติมระยะ 2 ล่าสุด LIT(FV@B20) ที่อิงการปล่อยสินเชื่อแก่ธุรกิจที่ทำงานให้ภาครัฐ
และสุดท้ายเป็นหุ้นหุ้นที่ผลกำไรเด่นงวด 4Q59 นำโดย WHA ซึ่งได้ประโยชน์จากแผนพัฒนาระเบียงเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ซึ่งกระตุ้นการลงทุน 3 จังหวัดภาคตะวันออก คือ ชลบุรี ระยอง และ ฉะเชิงเทรา และงวด 4Q59 จะรับรู้รายได้จากการนำสินทรัพย์เข้า REIT 2 กอง มูลค่ารวม 1.2 หมื่นล้านบาท (แบ่งเป็น 1) นำโรงงาน/คลังสินค้าสำเร็จรูป เข้ากองทรัสต์ที่จัดตั้งขึ้นใหม่คือ HREIT มูลค่าขาย 8 พันล้านบาท และ 2) คลังสินค้า 2 แห่ง ที่ ชลหารพิจิตร และลาดกระบัง เข้ากองทรัสต์ WHART มูลค่าขาย 4.19 พันล้านบาท ) นอกจากนี้ยังมีแผนนำบริษัทย่อยคือ WHAUP ซึ่งประกอบธุรกิจสาธารณูปโภคและพลังงาน เข้าจดทะเบียนตลาดฯในช่วง 1Q60 โดยผู้ถือหุ้นเดิมของ WHA จะได้สิทธิในการจองซื้อหุ้น WHAUP (Preemptive Right)
นักวิเคราะห์ : ภรณี ทองเย็น, CISA เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์ : พาสุ ชัยหลีเจริญ
ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์ : ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์