- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Tuesday, 25 October 2016 16:08
- Hits: 2644
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
คาด SET ยังมีอุปสรรค 1,500 จุด จึงให้สะสมหุ้น global + domestic (ASK, HANA, WHA) และเลือก Top pick คือ WHA([email protected]) คาดว่ากำไรงวด 4Q59 โดดเด่นและเพื่อได้สิทธิจองซื้อหุ้น WHAUP ซึ่งผลิตไฟฟ้าที่กำลังจะเข้าตลาด 1Q60
ภาคการผลิตดีขึ้น หนุน Fed ขึ้นดอกเบี้ย และดอลลาร์แข็งค่าต่อเนื่อง
แม้การรายงานดัชนีชี้นำเศรษฐกิจสหรัฐ ล่าสุด ยังขัดแย้งกัน แต่มีน้ำหนักมากพอที่จะหนุนให้ Fed เดินหน้าขึ้นดอกเบี้ย 1 ครั้งภายในสิ้นปีนี้ กล่าวคือฝั่งภาคผลิต พบว่าดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิต (PMI) โดย Markit เดือน ต.ค. เพิ่มขึ้นมากกว่าตลาดคาด และทำสถิติสูงสุดในรอบ 1 ปี สวนทางกับ ดัชนีภาคการผลิต เดือนเดียวกันที่ยังติดลบ และทำจุดต่ำสุดตั้งแต่ มิ.ย. 2559 และภาคการบริโภค ยอดขายบ้านมือสอง เดือน ก.ย. เพิ่มขึ้นมากกว่าตลาดคาด (3.2%mom VS -1.5% ในเดือน ส.ค.) สวนทางกับยอดสั่งสร้างบ้าน ลดลง 9%mom แต่เงินเฟ้อที่พุ่งเป็น 1.5% จาก 1.1%ใน ส.ค. หักล้างดัชนีชี้นำที่ขัดแย้งกันหมด
ทำให้ผลสำรวจของ Bloomberg คาดรอบ 13-14 ธ.ค.มีโอกาสขึ้นดอกเบี้ยมากสุดราว 71% จาก 67.6% ในปลายสัปดาห์ที่แล้ว และรอบ1-2 พ.ย. ราว 17.1% ตามเดิม ) หนุนต่อ Dollar index แกว่งตัวทิศทางแข็งค่า ล่าสุด 98.81 จุด ซึ่ง กดดันราคาน้ำมันให้ย่อตัวลงหลังจากปรับตัวเหนือ 50 เหรียญฯในช่วงที่ผ่านมา นอกจากนี้ประเทศอิรัก ซึ่งเป็นผู้ผลิตน้ำมันอันดับ 5 ของโลก (อันดับ 2 ของกลุ่ม OPEC) กลับมีท่าทีไม่ลดกำลังการผลิตตามความเห็นของประเทศสมาชิก OPEC (ต้องการได้รับการยกเว้นจากข้อตกลงการคงหรือลดกำลังการผลิต) และจะมีการสรุปรายละเอียด การตัดลดกำลังการผลิต 30 พ.ย. นี้ ซึ่งถือว่าอาจจะกลับมาเป็นปัจจัยกดดันราคาน้ำมันดิบโลกอีกครั้ง
(-) Fund Flow กลับเข้ามาในภูมิภาคมากขึ้น ส่งผลให้ค่าเงินเริ่มชะลอการอ่อนค่าลง
วานนี้ตลาดหุ้นไทยหยุดทำการ เนื่องจากเป็นวันหยุดชดเชยวันปิยมหาราช แต่ตลาดหุ้นภูมิภาคยังทำการเป็นปกติ โดยภาพรวมแล้วพบว่าต่างชาติสลับมาซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคราว 125 ล้านเหรียญ และหากพิจารณาเป็นรายประเทศพบว่า อินโดนีเซียยังซื้อสุทธิสูงสุดในภูมิภาคราว 85 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 3) โดยสาเหตุหลักๆน่าจะเกิดจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็นครั้งที่ 6 ของปี โดยปรับลดลง 25 จุด มาอยู่ที่ 4.75% ตามมาด้วยเกาหลีใต้ 72 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 8) ส่วนไต้หวันและฟิลิปปินส์สลับมาขายสุทธิราว 30 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 2) และ 2 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิมา 3 วัน) ตามลำดับ
ส่วนวันศุกร์ที่ผ่านมา ต่างชาติสลับมาขายสุทธิหุ้นในภูมิภาคเล็กน้อยราว 12 ล้านเหรียญ อย่างไรก็ตามยังคงเป็นการซื้อสุทธิถึง 3 ประเทศ คือ เกาหลีใต้ 34 ล้านเหรียญ, ฟิลิปปินส์ 5 ล้านเหรียญ และอินโดนีเซีย 1 ล้านเหรียญ ส่วนไต้หวันและไทยสลับมาขายสุทธิราว 37 ล้านเหรียญ และ 16 ล้านเหรียญ (547 ล้านบาท) ตามลำดับ ขณะที่นักลงทุนสถาบันฯยังคงซื้อสุทธิราว 1.3 พันล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 3)
สรุป Fund Flow ในช่วง 1 สัปดาห์ที่ผ่านมา พบว่า เงินทุนต่างชาติเริ่มไหลกลับเข้ามาในตลาดหุ้นภูมิภาคอีกครั้ง โดยมียอดซื้อรวม 785 ล้านเหรียญ ซึ่งเป็นการกลับมาซื้อสุทธิสะสมเกือบทุกประเทศ ยกเว้นตลาดหุ้นไทยเพียงแห่งเดียวที่ถูกขายสุทธิราว 121 ล้านเหรียญ หรือ 4.2 พันล้านบาท ส่งผลให้ค่าเงินในแต่ละประเทศในภูมิภาคเริ่มชะลอการอ่อนค่าลง และมีค่าเงินของอินโดนีเซียที่ยังแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากการพยายามกระตุ้นเศรษฐกิจของทางภาครัฐ
(+) หุ้นกำไรเด่นงวด 4Q59 แต่ราคายัง laggard : ERW, CENTEL
โดยสรุปผลประกอบการงวด 3Q59 ของกลุ่ม ธ.พ. ไม่ค่อยสดใสนัก โดยเฉพาะ ธ.พ. ขนาดใหญ่ ที่รายได้ดอกเบี้ยสุทธิอ่อนตัวลงตามสินเชื่อที่ชะลอตัว (ยกเว้น ธ.พ. ขนาดกลาง-เล็ก ที่รายได้มิใช่ดอกเบี้ยฯ ยังเติบโต) และการตั้งสำรองหนี้ฯ ที่เพิ่มเพื่อรองรับความไม่แน่นอนในอนาคต ทำให้ ASPS มีการปรับลดประมาณการฯ ปี 2560 เช่น KBANK ปรับลดลง 4% และ TMB ปรับลด 14.6%
และหลังจากนี้คาดว่าหุ้น Real sector จะทยอยประกาศจนถึงสิ้นเดือน ซึ่งคาดว่าส่วนใหญ่กำไรจะหดตัวจากงวดก่อนหน้าโดยเฉพาะหุ้นที่มี market cap ขนาดใหญ่เริ่มจาก กลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี แต่ก็เป็นไปตามฤดูกาล (ราคาปิโตรเลียมอ่อนตัวและยอดขายลด) และฟื้นตัวได้ใน 4Q59 ตามสู่ฤดูกาล หุ้นในกลุ่มฯ ที่ฝ่ายวิจัยแนะนำ คือ คือ IRPC รวมทั้ง PTTEP และ PTT
(0) ภาคการผลิตดีขึ้น หนุน Fed ขึ้นดอกเบี้ย และดอลลาร์แข็งค่าต่อเนื่อง
แม้การรายงานดัชนีชี้นำเศรษฐกิจสหรัฐ ล่าสุด ยังขัดแย้งกัน แต่มีน้ำหนักมากพอที่จะหนุนให้ Fed เดินหน้าขึ้นดอกเบี้ย 1 ครั้งภายในสิ้นปีนี้ กล่าวคือฝั่งภาคผลิต พบว่าดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิต (PMI) โดย Markit เดือน ต.ค. เพิ่มขึ้นมากกว่าตลาดคาด และทำสถิติสูงสุดในรอบ 1 ปี สวนทางกับ ดัชนีภาคการผลิต เดือนเดียวกันที่ยังติดลบ และทำจุดต่ำสุดตั้งแต่ มิ.ย. 2559 และภาคการบริโภค ยอดขายบ้านมือสอง เดือน ก.ย. เพิ่มขึ้นมากกว่าตลาดคาด (3.2%mom VS -1.5% ในเดือน ส.ค.) สวนทางกับยอดสั่งสร้างบ้าน ลดลง 9%mom แต่เงินเฟ้อที่พุ่งเป็น 1.5% จาก 1.1%ใน ส.ค. หักล้างดัชนีชี้นำที่ขัดแย้งกันหมด
ทำให้ผลสำรวจของ Bloomberg คาดรอบ 13-14 ธ.ค.มีโอกาสขึ้นดอกเบี้ยมากสุดราว 71% จาก 67.6% ในปลายสัปดาห์ที่แล้ว และรอบ1-2 พ.ย. ราว 17.1% ตามเดิม ) หนุนต่อ Dollar index แกว่งตัวทิศทางแข็งค่า ล่าสุด 98.81 จุด ซึ่ง กดดันราคาน้ำมันให้ย่อตัวลงหลังจากปรับตัวเหนือ 50 เหรียญฯในช่วงที่ผ่านมา นอกจากนี้ประเทศอิรัก ซึ่งเป็นผู้ผลิตน้ำมันอันดับ 5 ของโลก (อันดับ 2 ของกลุ่ม OPEC) กลับมีท่าทีไม่ลดกำลังการผลิตตามความเห็นของประเทศสมาชิก OPEC (ต้องการได้รับการยกเว้นจากข้อตกลงการคงหรือลดกำลังการผลิต) และจะมีการสรุปรายละเอียด การตัดลดกำลังการผลิต 30 พ.ย. นี้ ซึ่งถือว่าอาจจะกลับมาเป็นปัจจัยกดดันราคาน้ำมันดิบโลกอีกครั้ง
(-) Fund Flow กลับเข้ามาในภูมิภาคมากขึ้น ส่งผลให้ค่าเงินเริ่มชะลอการอ่อนค่าลง
วานนี้ตลาดหุ้นไทยหยุดทำการ เนื่องจากเป็นวันหยุดชดเชยวันปิยมหาราช แต่ตลาดหุ้นภูมิภาคยังทำการเป็นปกติ โดยภาพรวมแล้วพบว่าต่างชาติสลับมาซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคราว 125 ล้านเหรียญ และหากพิจารณาเป็นรายประเทศพบว่า อินโดนีเซียยังซื้อสุทธิสูงสุดในภูมิภาคราว 85 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 3) โดยสาเหตุหลักๆน่าจะเกิดจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็นครั้งที่ 6 ของปี โดยปรับลดลง 25 จุด มาอยู่ที่ 4.75% ตามมาด้วยเกาหลีใต้ 72 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 8) ส่วนไต้หวันและฟิลิปปินส์สลับมาขายสุทธิราว 30 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 2) และ 2 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิมา 3 วัน) ตามลำดับ
ส่วนวันศุกร์ที่ผ่านมา ต่างชาติสลับมาขายสุทธิหุ้นในภูมิภาคเล็กน้อยราว 12 ล้านเหรียญ อย่างไรก็ตามยังคงเป็นการซื้อสุทธิถึง 3 ประเทศ คือ เกาหลีใต้ 34 ล้านเหรียญ, ฟิลิปปินส์ 5 ล้านเหรียญ และอินโดนีเซีย 1 ล้านเหรียญ ส่วนไต้หวันและไทยสลับมาขายสุทธิราว 37 ล้านเหรียญ และ 16 ล้านเหรียญ (547 ล้านบาท) ตามลำดับ ขณะที่นักลงทุนสถาบันฯยังคงซื้อสุทธิราว 1.3 พันล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 3)
สรุป Fund Flow ในช่วง 1 สัปดาห์ที่ผ่านมา พบว่า เงินทุนต่างชาติเริ่มไหลกลับเข้ามาในตลาดหุ้นภูมิภาคอีกครั้ง โดยมียอดซื้อรวม 785 ล้านเหรียญ ซึ่งเป็นการกลับมาซื้อสุทธิสะสมเกือบทุกประเทศ ยกเว้นตลาดหุ้นไทยเพียงแห่งเดียวที่ถูกขายสุทธิราว 121 ล้านเหรียญ หรือ 4.2 พันล้านบาท ส่งผลให้ค่าเงินในแต่ละประเทศในภูมิภาคเริ่มชะลอการอ่อนค่าลง และมีค่าเงินของอินโดนีเซียที่ยังแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากการพยายามกระตุ้นเศรษฐกิจของทางภาครัฐ
(+) หุ้นกำไรเด่นงวด 4Q59 แต่ราคายัง laggard : ERW, CENTEL
โดยสรุปผลประกอบการงวด 3Q59 ของกลุ่ม ธ.พ. ไม่ค่อยสดใสนัก โดยเฉพาะ ธ.พ. ขนาดใหญ่ ที่รายได้ดอกเบี้ยสุทธิอ่อนตัวลงตามสินเชื่อที่ชะลอตัว (ยกเว้น ธ.พ. ขนาดกลาง-เล็ก ที่รายได้มิใช่ดอกเบี้ยฯ ยังเติบโต) และการตั้งสำรองหนี้ฯ ที่เพิ่มเพื่อรองรับความไม่แน่นอนในอนาคต ทำให้ ASPS มีการปรับลดประมาณการฯ ปี 2560 เช่น KBANK ปรับลดลง 4% และ TMB ปรับลด 14.6%
และหลังจากนี้คาดว่าหุ้น Real sector จะทยอยประกาศจนถึงสิ้นเดือน ซึ่งคาดว่าส่วนใหญ่กำไรจะหดตัวจากงวดก่อนหน้าโดยเฉพาะหุ้นที่มี market cap ขนาดใหญ่เริ่มจาก กลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี แต่ก็เป็นไปตามฤดูกาล (ราคาปิโตรเลียมอ่อนตัวและยอดขายลด) และฟื้นตัวได้ใน 4Q59 ตามสู่ฤดูกาล หุ้นในกลุ่มฯ ที่ฝ่ายวิจัยแนะนำ คือ คือ IRPC รวมทั้ง PTTEP และ PTT
ตามด้วยกลุ่ม ICT คาดกำไรชะลอตัวจากต้นทุนใบอนุญาต 4G ของ ADVANC และ TRUE ส่วน DTAC รายงานกำไรลดลงถึง 46%yoy จากค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่ายเงินลงทุนขยายโครงข่าย แต่รายได้ทรงตัว
แต่อย่างไรก็ตามนับจากนี้ น่าจะให้น้ำหนักต่อผลประกอบการงวด 4Q59 ซึ่งในเบื้องต้นคาดว่าจะมีเพียง 2 กลุ่มที่เติบโตโดดเด่นคือ ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับภาคท่องเที่ยวและโรงแรม และ ธุรกิจค้าปลีกซึ่งส่วนใหญ่มียอดขายโดดเด่นในช่วงปลายปี เนื่องจากใกล้เทศกาลปีใหม่ (หลังจาก งวด3Q59 ชะลอตัวจาก low season ช่วงฤดูฝน) แต่เนื่องจากหุ้นค้าปลีกส่วนใหญ่ได้ปรับขึ้นมาเต็มมูลค่า เช่น COM7 และ BJC แต่ราคานี้ค่อนข้างสูง แนะนำให้ซื้อเมื่อราคาอ่อนตัว
ส่วนกลุ่มท่องเที่ยวราคาหุ้นยังขยับขึ้นน้อยกว่าตลาด ขณะที่ยังมีประเด็นบวกเรื่องปริมาณนักท่องเที่ยวที่ยังมีแนวโน้มที่ดี ทั้งจากจีน และรัสเซีย หลังราคาน้ำมันฟื้นหนุนเศรษฐกิจดีขึ้น ประกอบกับการจัดกิจกรรมของภาครัฐและเอกชน หนุนให้นักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยตลอดปี 2559 ไม่ต่ำกว่า 33 ล้านคน เติบโต 10% yoy ซึ่งทำให้กำไรปกติของกลุ่มโรงแรมจะเติบโตถึง 21.5% yoy และ ปีเติบต่อเนื่อง 12% ในปี 2560 โดยงวด 1Q60 จะกำไรจุดสูงสุดใหม่ของปีนี้ 2560 เลือก ERW และ CENTEL เป็น Top picks (รายละเอียดดังที่เขียนไปเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา)
(+) ซื้อหุ้น WHA เพื่อสิทธิจองซื้อบริษัทย่อยผลิตไฟฟ้า ซึ่งจะเข้าตลาด 1Q60
เชื่อว่าการลงทุนภาครัฐยังคงเป็นปัจจัยหนุนเศรษฐกิจ โดยเฉพาะแผนการพัฒนาระเบียงเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ซึ่งกระตุ้นการลงทุนใน 3 พื้นที่ภาคตะวันออก คือ ชลบุรี ระยอง และ ฉะเชิงเทรา ซึ่งถือเป็นพื้นที่มีความพร้อมทั้งสาธารณูปโภคครบ ทั้งระบบขนส่ง ทั้งสนามบิน ท่าเรือแหลงฉบัง รวมถึงแผนพัฒนา Infrastructure ต่างๆของรัฐที่กำลังจะเกิดขึ้น ทั้งถนนมอเตอร์เวย์ รถไฟรางคู่ รถไฟความเร็วสูง และแหลมฉบังเฟส 3 ซึ่งล้วนหนุนให้ดินที่พัฒนา และกำลังพัฒนารองรับอุตสาหกรรมในอนาคต เป็นที่ต้องการของภาคธุรกิจ ซึ่งประเมินว่า จะมีเม็ดเงินลงทุนทั้งจากภาครัฐและเอกชนรวมกันที่คาดว่าจะสูงถึง 1.5 ล้านล้านบาท ภายในระยะเวลา 5 ปีข้างหน้า ซึ่งเท่ากับเอื้อประโยชน์ต่อบริษัทที่การพัฒนาพื้นที่นิคมฯอย่างกรณี WHA ซึ่งปัจจุบันมีที่พร้อมขายราว 1 หมื่นไร่ ส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในจังหวัดชลบุรี และระยอง และ จะ หนุน Presales ระยะยาว
ส่วนแนวโน้มผลประกอบการงวด 4Q59 คาดว่าจะทำจุดสูงสุดเป็นประวัติการณ์ เนื่องจากยอดขายจะเพิ่มขึ้นจากการนำสินทรัพย์เข้า REIT 2 กอง มูลค่ารวม 1.2 หมื่นล้านบาท คือ :
1) นำโรงงาน/คลังสินค้าสำเร็จรูปของ HEMRAJ เข้ากองทรัสต์ที่จัดตั้งขึ้นใหม่คือ HREIT มูลค่าขาย 8 พันล้านบาท (ได้ยื่นต่อ ก.ล.ต. แล้ว และจะเสนอขายหน่วยลงทุนในเดือน พ.ย. 59 )
2) การนำคลังสินค้าของ WHA 2 แห่ง ที่ ชลหารพิจิตร และลาดกระบัง ขายเข้ากองทรัสต์ WHART ด้วยมูลค่าขาย 4.19 พันล้านบาท (ถือเป็นลักษณะปกติของ WHA ที่มักขายสินทรัพย์เข้า REIT ในช่วงไตรมาสที่ 4 ของทุกปี)
นอกจากนี้ WHA ยังมีแผนนำบริษัทย่อย WHAUP ซึ่งประกอบธุรกิจสาธารณูปโภคและพลังงาน Spinoff เข้าตลาดฯในช่วง 1Q60 (ยื่น Filing ฉบับแรกไปแล้ว) ขณะนี้ได้จำหน่ายไฟเชิงพาณิชย์ (COD) ไปแล้ว 318 MW (คิดตาม Equity MW เฉพาะส่วนที่ถือหุ้น) และมีแผน COD เพิ่มในช่วง 3 ปีข้างหน้าอีก 220 MW นอกจากนี้ยังจำหน่ายน้ำในนิคมอุตสาหกรรมมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่องทุกปีตามจำนวนลูกค้าในนิคมฯที่เพิ่มขึ้น ซึ่งคาดว่าทั้งธุรกิจโรงไฟฟ้าและสาธารณูปโภคจะสร้างรายได้แลกำไรที่แน่นอน (Recurring Income) อย่างมาก ขณะที่ผู้ถือหุ้นเดิมของ WHA จะได้สิทธิในการจองซื้อหุ้น WHAUP (Preemptive Right) จะเป็นอีกหนึ่ง Catalyst ที่หนุนราคาหุ้นของ WHA นับจากนี้
(0) ดัชนียังมีแนวโน้มผันผวนและ 1,500 จุดยังผ่านยาก
ปลายสัปดาห์ที่ผ่านดัชนี SET Index พยายามยืนเหนือ 1,500 จุด (ทำให้ Expected P/E ณ สิ้นปี 2559 ขึ้นไปสูงถึง 16.6 เท่า) ซึ่งถือว่าไม่ถูกเมื่อเทียบกับตลาดหุ้นเพื่อนบ้าน ประกอบกับ Fund Flow ที่มีแนวโน้มซื้อสลับขาย หรือ ขายมากกว่าซื้อในช่วงที่เหลือในไตรมาสสุดท้ายของปี จึงกลยุทธ์ยังคงเน้นลงทุนถือหุ้น 40% ที่เหลือเป็นเงินสด หรือ ลงทุนในสินทรัพย์อื่น ๆ เช่น หุ้นต่างประเทศ ทองคำ หรือ ตราสารหนี้เป็นต้น โดยหุ้นไทย ให้ผสมระหว่างหุ้น Domestic และ Global Play เพราะหวังว่างวดผลประกอบการงวด 4Q59 มีแนวโน้มกระเตื้องจากงวด 3Q59 ชัดเจน โดยหุ้นที่แนะนำให้มีการผสมผสานดังนี้
หุ้นที่มีความผันผวนน้อยกว่าตลาดและมีเงินปันผลสูง : ASK, THANI, HANA, PS. KCAR, DRT, TTW, TCAP, SCCC, TK, TISCO RATCH
หุ้นที่มีผลประกอบการเด่นในงวด 4Q59 : WHA, ERW, CENTEL
หุ้นที่อิงตามทิศทางราคาน้ำมัน อิงการเติบโตจากภายนอก : PTT, PTTEP, IVL, IRPC
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
พาสุ ชัยหลีเจริญ ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์