- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Friday, 21 October 2016 16:02
- Hits: 1849
บล.ฟินันเซีย ไซรัส : บทวิเคราะห์ภาวะตลาดหุ้นรายวัน
SET บวกมาพอควรและมีหลายเรื่องยังกดดัน ดังนั้นน่ารอซื้อช่วงลบ!!ตลาดหุ้นวานนี้ : SET รีบาวด์บวกต่อตั้งแต่เปิดช่วงเช้า ตามภาวะตลาดหุ้นต่างประเทศ หลังราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกฟื้นตัว จากความหวังที่ว่าการประชุมโอเปก 30 พ.ย.จะได้รับความร่วมมือในการปรับลดกำลังการผลิต แต่ยังไม่มีความชัดเจน และราคาน้ำมันดิบเริ่มอ่อนตัวในระหว่างวัน ส่วนค่าเงินบาทกลับมาอ่อนค่าอีก ขณะที่ตลาดหุ้นเอเชียเริ่มลดช่วงบวก และมีปรับตัวลบด้วยทำให้ SET มีแรงขายช่วงบวกกดดันให้ดัชนีแกว่งตัวผันผวนในกรอบจำกัด
แนวโน้มตลาดวันนี้ : ตลาดหุ้นต่างประเทศอ่อนตัวลงอีกครั้ง หลังราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกกลับมาร่วงลงกว่า 2% ขณะที่มติที่ประชุม ECB ยังคงมาตรการเดิม และผลประกอบการหุ้นเวอไรซอน คอมมิวนิเคชั่นในสหรัฐออกมาน่าผิดหวัง ส่งผลให้มีแรงขายในหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี ส่วนค่าเงินบาทก็เริ่มอ่อนแอลงต่อเนื่องอีกครั้ง ทำให้ FSS คาดว่า SET ยังมีแนวโน้มที่จะปรับพักตัวลงก่อนในเร็วๆ นี้ หลัง SET ดีดกลับขึ้นมาพอควรในรอบที่ผ่านมา
รวมทั้งความกังวลเกี่ยวกับการขึ้นดอกเบี้ยของสหรัฐยังกดดันตลาด อย่างไรก็ตามเราคาดว่ากรอบลบของตลาดน่าจะไม่ลึกมากนัก เพราะถ้อยแถลงของประธาน ECB ที่ยังส่งสัญญาณว่าอาจมีการผ่อนคลายนโยบายการเงินเพิ่มเติมในการประชุมเดือน ธ.ค. น่าจะช่วยหนุนแรงซื้อกลับในช่วงถัดไปได้
กลยุทธ์ : สำหรับส่วนลงทุนยังแนะนำถือต่อเนื่อง แต่ส่วนที่จะซื้อใหม่ให้รอช่วงตลาดปรับพัก แล้วเลือกหุ้นค่อยๆ ทยอยซื้อช่วงลบ
แนวรับ 1490-1482 , 1478-1470 จุด
แนวต้าน 1495-1498 , 1501-1507 จุด
หุ้นเด่นทางเทคนิค : SAMART , ASEFA , CPN(buy back)
Fund Flow วานนี้กระแสเงินทุนไหลเข้าภูมิภาค US$194 นำโดยไต้หวัน
US$84ล้าน เกาหลีใต้ US$50ล้าน และกลับมาไหลเข้าไทยเป็นวันแรกในรอบ
8 วันทำการ ขณะที่ไหลออกเวียดนามประเทศเดียว US$1.3ล้าน แนวโน้ม
กระแสเงินทุนมีทิศทางไหลเข้าโดยการประชุม ECB เมื่อคืนนี้ ประธาน ECB
ส่งสัญญาณว่า ECB อาจจะขยายเวลา QE ออกไปอีก
ข่าว/หุ้นเด่นมีประเด็น
• (0) การประชุม ECB ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายการเงิน โดยคงวงเงิน QE ที่ 8
หมื่นล้านยูโรไปถึง มี.ค. ปีหน้า ผลกระทบต่อค่าเงินสกุลสำคัญจึงจำกัด อาจต้องรอดูผลประชุม
FOMC 1-2 พ.ย. นี้ ซึ่งน่าจะทำให้การเคลื่อนไหวของ Dollar Index และกระแสเงินชัดเจนขึ้น
• (0) TMB การประชุมนักวิเคราะห์วานนี้ที่ประชุมให้ความสนใจต่อประเด็นคุณภาพสินทรัพย์ โดย
TMB มีการ Write-off NPL จำนวน 6 พันลบ.ใน 3Q16 เนื่องจากเห็นถึงความเสี่ยงของการด้อย
คุณภาพของสินเชื่อที่มีการปรับโครงสร้างหนี้ ซึ่งเรามองบวกเพราะทำให้มีภาระสำรองฯน้อยลง
ในอนาคต ล่าสุด NPL Ratio ของ TMB เกือบจะต่ำสุดในกลุ่มที่ 2.5% และหากไม่นับส่วนที่
ได้รับการค้ำประกันจากบสย.ราว 4.3 พันลบ. NPL Ratio จะต่ำกว่า 2% กลยุทธ์ดังกล่าวส่งผลดี
ต่องบดุลแต่อาจกระทบผลการดำเนินงานระยะสั้น เราจึงปรับลดประมาณการกำไรสุทธิปี 2016-
2017 ลงเป็น -14.5% Y-Y และ +5% Y-Y ตามลำดับ โดยคาดว่า PPOP ยังแข็งแกร่ง เราปรับ
ลดราคาพื้นฐานลงเหลือ 2.50 บาท (จากเดิม 2.70 บาท) แต่ยังแนะนำ ซื้อ
• (0) BBL ประกาศกำไรสุทธิ 3Q16 ดีกว่าคาดที่ 8 พันลบ. +12.4% Q-Q, -11%Y-Y จาก
ค่าใช้จ่ายทั้งดอกเบี้ยและไม่ใช่ดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าคาด ส่วนด้าน NPL พุ่งขึ้นตามคาด +7.6% QQ
ทำให้ NPL Ratio เพิ่มเป็น 3.4% เรายังคงประมาณการกำไรสุทธิปี 2016 หดตัว 7.5%Y-Y
(แนวโน้ม 4Q16 คาดว่าจะเป็นไตรมาสที่ดีสุดของปีจากการตั้งสำรองฯที่น่าจะผ่อนคลายลง)
ส่วนปี 2017 คาดเติบโต 4.6%Y-Y คงราคาพื้นฐานปี 2017 ที่ 200 บาท ยังแนะนำ ซื้อ
• (-) KTB ประกาศกำไรสุทธิ 3Q16 ดีกว่าคาดที่ 8.6 พันลบ. ทรงตัว Q-Q แต่ +61% Y-Y จาก
รายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น ต้นทุนทางการเงินลดลงและการตั้งสำรองฯที่ต่ำกว่าคาด ซึ่งไม่
สอดคล้องกับ NPL ที่เพิ่มขึ้นในอัตราเร่งเป็น 4.24% ในไตรมาสนี้ ทำให้อาจต้องตั้งสำรอง
สูงขึ้นใน 4Q16 แม้กำไร 9M16 จะใกล้ประมาณการทั้งปี แต่เรายังคงประมาณการปี 2016 หด
ตัว 1% Y-Y ส่วนปี 2017 +9.2% Y-Y และคงราคาพื้นฐานที่ 21 บาท ยังแนะนำ ซื้อ จากกำไร
ปี 2017 ที่น่าจะกลับมาเป็นปกติ
• (-) DTAC ประกาศกำไรปกติ 3Q16 ตามคาดที่ 652 ลบ. +21% Q-Q, -45.8% Y-Y โดย
รายได้จากการให้บริการยังหดตัว Y-Y ต้นทุนโครงข่ายเร่งตัวขึ้น แต่ชดเชยได้จากค่าใช้จ่าย
SG&A และขาดทุนจาก Handset ที่ลดลง เราเห็น Upside จากประมาณการกำไรปกติปี 2016
ที่คาดหดตัว 48.7% Y-Y จากค่าการตลาดใน 4Q16 ที่อาจต่ำกว่าคาด แต่เรายังมีมุมมองเป็นลบ
ต่อกำไรในปี 2017 ที่คาดหดตัว 29.9% Y-Y คงราคาพื้นฐานที่ 30 บาทและคงคำแนะนำ ขาย
• (+) GFPT เราคาดกำไรสุทธิ 3Q16 +24% Q-Q, +45% Y-Y ทำจุดสูงสุดของปีเพราะเป็น
High Season ของการส่งออกและได้รับผลดีจากราคาวัตถุดิบลดลง แนวโน้มกำไร 4Q16 จะ
อ่อนตัวลงเพราะเป็น Low Season และน่าจะได้รับผลลบจากราคาไก่ที่อ่อนตัวลงล่าสุดอยู่ที่ 33
บาท/กก. ลดจากช่วงเดือน ส.ค.ที่ 44 บาท/กก. เรายังคาดกำไรปี 2016-2017 โต 11.6% Y-Y
และ 10.8% Y-Y ตามลำดับ คงราคาพื้นฐานที่ 17.70 บาท แต่ปรับคำแนะนำเป็น ซื้อเก็งกำไร
จากเดิม ซื้อ เพราะกังวลปัญหา Oversupply ในปีหน้า
• (+) ORI เราเริ่มต้น Coverage ด้วยคำแนะนำซื้อ ราคาพื้นฐานปีหน้า 16.40 บาท (อิง PE 10
เท่า) จุดเด่นของ ORI คือ backlog ที่สูงถึง 1.02 หมื่นลบ.ซึ่งเพียงพอที่จะรับรู้รายได้จนถึงปี
2018 ขณะที่ยอดขายสะสมปัจจุบันสูงถึง 8.5 พันลบ.ซึ่งเกินเป้าหมายแรกของบริษัทที่ 7.5 พัน
ลบ.ไปแล้ว ขณะที่การเติบโตของรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายและทำให้เกิด Interchange แห่งใหม่
เป็นโอกาสสำหรับ ORI ในการเติบโตในระยะยาว เราคาดกำไรสุทธิปี 2016 และ 2017 เติบโต
โดดเด่น 88.3% Y-Y และ 49% Y-Y ตามลำดับ