WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

DBS copyบล.ดีบีเอสวิคเคอร์ส : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน

 

'Wait & See…รอให้ยืนได้ก่อน'
หุ้นที่เปลี่ยนคำแนะนำทางปัจจัยพื้นฐานวันนี้ : ไม่มี
    ปัจจัย&กลยุทธ์ทางปัจจัยพื้นฐาน : ตลาดหุ้นไทยเมื่อวานนี้ร่วงลงแรง โดยในวันลดลงไปต่ำสุดที่ 1343.13 จุด (-99.08 จุด) แต่มีแรงซื้อกลับในช่วงท้ายทำให้ดัชนีลดช่วงลบเป็นระดับ -36.03 จุด และปิดที่ 1406.18 จุด ทั้งนี้นักลงทุนกังวลกับความไม่แน่นอนภายในประเทศมากขึ้น ขณะเดียวกันความเสี่ยงภายนอกก็มีหลายปัจจัย เช่น ความกังวลเรื่องการปรับขึ้นดอกเบี้ยของเฟด (จับตาการกล่าวสุนทรพจน์ของประธานเฟดในวันศุกร์ที่ 14 ต.ค.นี้ที่บอสตัน) ค่าเงินหลายสกุลอ่อนลงเพราะหันมาถือครอง US$ มากขึ้น โดยเฉพาะปอนด์เพราะวิตกผลกระทบ Brexit และราคาน้ำมันดิบที่ยังผันผวนและปรับขึ้นจำกัด เนื่องจากตลาดเห็นว่าการคุมปริมาณการผลิตเพื่อรักษาเสถียรภาพราคานั้นทำได้ยากในทางปฎิบัติ นอกจากนั้นยังมีเรื่องการขายตามโปรแกรมเทรด ขายก่อนถูก Call margin เข้ามาผสมด้วย สำหรับการซื้อขายรายกลุ่ม พบว่าพอร์ตบล.นำขายสุทธิ 3 พันล้านบาท ตามมาด้วยการขายสุทธิของสถาบันในประเทศ 1.2 พันล้านบาท ต่างชาติขายสุทธิ 411 ล้านบาท รายย่อยเป็นกลุ่มที่สวนซื้อสุทธิ 4.6 พันล้านบาท
สำหรับวันนี้ ยังมีควันหลงความกังวลกับความเสี่ยงภายนอก & ปัจจัยในประเทศที่ยังคงมีอยู่น่าจะกดดันตลาดไประยะหนึ่ง ในเชิงกลยุทธ์การลงทุน สำหรับการเล่นรอบยังคงเป็น ลงซื้อ-เด้งขาย (ถือว่าตลาดได้ทดสอบแนวรับ 1350 และรีบาวด์ขึ้นมาแล้วราว 50 จุด) การซื้อใหม่เน้นตามด้วยค่าบวกเป็นหลัก ลบดูไม่ดีควร Wait & see ส่วนการลงทุนระยะกลาง-ยาว เน้นทยอยซื้อสะสมหุ้นพื้นฐานดีที่ราคาปรับลงแรง (ถอยรับเป็น Step แบบ Rebalancing) ต่อไป สำหรับหุ้นปันผลสูงที่แนะนำวันนี้เป็น CPTGF
     การวิเคราะห์ทางเทคนิค : สัญญาณระยะสั้นเป็นลบ และยังควรระวังการแกว่งตัวต่อจากโครงสร้างขาลงในระยะกลาง เน้นซื้ออ่อนตัวเป็นหลัก ส่วนการซื้อตามค่าบวกเพื่อเล่นสั้นเป็นกลยุทธ์รอง แนวเด้ง 1380/1360-1340 จุด ส่วนแนวต้านกรณีมีรีบาวด์ 1410-1420, 1430 จุด
ส่วนการ SCAN หุ้นที่มีโอกาสทำ New High ที่เข้ามาใหม่ -ไม่มี- ส่วนหุ้นที่ยังอยู่ใน List -ไม่มี- หุ้นที่หลุด List -ไม่มี- ส่วนหุ้นที่แนะนำไปแล้วและควรหาจังหวะ Take Profit -ไม่มี-
นักวิเคราะห์ : อาภาภรณ์ แสวงพรรค - [email protected]

Need to know TODAY
ปัจจัยต่างประเทศ
- สหรัฐ : ผู้ขอสินเชื่อจำนองใหม่ลดลง 6%WoW
สมาคมนายธนาคารเพื่อการจำนอง (MBA) ของสหรัฐ เปิดเผยว่าจำนวนผู้ยื่นขอสินเชื่อเพื่อการจำนองลดลง 6% ในสัปดาห์ที่แล้ว หลังการดีดตัวขึ้นของอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เพื่อการจำนอง (ดัชนียื่นขอสินเชื่อเพื่อการซื้อที่อยู่อาศัย ลดลง 3% ในสัปดาห์ที่แล้ว ขณะที่ดัชนียื่นขอสินเชื่อเพื่อการรีไฟแนนซ์ ร่วงลง 8%) ทั้งนี้ อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เฉลี่ยเพื่อการจำนองแบบคงที่ระยะเวลา 30 ปี เพิ่มขึ้นสู่ระดับ 3.68% ในสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 1 เดือน จากระดับ 3.62% ก่อนหน้านี้

สหรัฐ : เจ้าหน้าที่เฟดที่หนุนให้ขึ้นดอกเบี้ยมองว่าการใช้ดอกเบี้ยต่ำนานแล้วเร่งปรับขึ้นจะกระทบศก.ได้
      รายงานการประชุมประจำเดือนก.ย.ของเฟดที่ระบุว่าเจ้าหน้าที่เฟดที่ต้องการให้มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย มีความวิตกว่าการชะลอการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยออกไปเป็นเวลานานเกินไป จะทำให้เฟดถูกบังคับให้ต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็นอย่างมากในระยะเวลาต่อมาเพราะอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นกดดัน เหตุการณ์นี้ทำให้เศรษฐกิจชะลอตัวลงหรือถดถอยได้

สหรัฐ : จับตาการกล่าวสุนทรพจน์ของนางเจเน็ต เยลเลน ประธานเฟด
     ประธานเฟดจะมีการกล่าวสุนทรพจน์ในการประชุมเศรษฐกิจครั้งที่ 60 ของเฟดสาขาบอสตันในวันศุกร์ที่ 14 ต.ค.นี้ตามเวลาสหรัฐ ซึ่งนักลงทุนจับตามองใกล้ชิดเพื่อจับความเคลื่อนไหวว่าประธานเฟดจะส่งสัญญาณเรื่องการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปีนี้หรือไม่ โดยการประชุมดังกล่าวจัดขึ้นภายใต้หัวข้อ "The Elusive Recovery"

อังกฤษ : ศาลจะตัดสินว่านายกฯมีสิทธิประกาศให้เกิด Brexit โดยไม่ต้องผ่านรัฐสภาหรือไม่
     ศาลของอังกฤษจะทำการตัดสินในวันพรุ่งนี้ว่า นางเทเรซา เมย์ นายกรัฐมนตรีอังกฤษ มีสิทธิประกาศใช้มาตรา 50 ของสนธิสัญญาลิสบอนของสหภาพยุโรป (EU) แต่เพียงผู้เดียวหรือไม่ โดยไม่ต้องขอความเห็นชอบจากรัฐสภา เพื่อเริ่มกระบวนการแยกตัวออกจากสหภาพยุโรป (Brexit)
สำหรับสนธิสัญญาลิสบอนฉบับปี 2552 นั้นเป็นข้อตกลงระหว่างสมาชิกสหภาพในการแจ้งให้คณะผู้บริหาร EU ในกรุงบรัสเซลส์ทราบและดำเนินการเรื่องการลาออก โดยมีสาระสำคัญ 5 ประการคือ
1.ประเทศที่ประสงค์ลาออกจากการเป็นสมาชิก ต้องได้รับการอนุมัติตามกระบวนการทางกฎหมายของประเทศนั้นๆก่อน
2.ประเทศสมาชิกที่ประสงค์ถอนตัว ต้องยื่นคำร้องอย่างเป็นทางการต่อคณะมนตรียุโรป หลังจากนั้น EU จะหารือและสรุปข้อตกลงทั้งหมดร่วมกับประเทศนั้น เพื่อกำหนดแนวทางและกรอบระยะเวลาสำหรับการลาออก จากนั้นคณะมนตรียุโรปจะลงมติรับรองด้วยเสียงข้างมากอย่างเด็ดขาด เมื่อเห็นชอบแล้วจึงส่งเรื่องต่อไปให้สภายุโรปอนุมัติอย่างเป็นทางการต่อไป
3.สถานภาพสมาชิกของประเทศที่ประสงค์ถอนตัวมีอันสิ้นสุดภายในระยะเวลา 2 ปี นับตั้งแต่วันที่ยื่นคำร้องตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ในข้อ 2. แต่หากมีกรณีจำเป็น ทั้งสองฝ่ายสามารถหารือและบรรลุข้อตกลงร่วมกันอย่างเป็นเอกฉันท์ในเรื่องการขยายกรอบระยะเวลาได้ตามความเหมาะสม
4.สมาชิกคณะมนตรียุโรปของประเทศที่ยื่นคำร้องขอสิ้นสุดสถานภาพ สมาชิกไม่สามารถเข้าร่วมการหารือกับที่ประชุมตามกระบวนการในข้อ 2. และ 3. ได้ ขณะที่การลงมติของสมาชิกที่เหลือต้องให้ได้เสียงข้างมากตามที่ระบุอยู่ในมาตรา 218 วรรค 3บี ของสนธิสัญญาว่าด้วยวิธีการบริหารงานของสหภาพยุโรป
5.ในกรณีที่ประเทศซึ่งถอนตัวออกจากการเป็นสมาชิกสหภาพแล้ว แต่ต้องการขอรับสถานภาพนั้นกลับคืน ต้องปฏิบัติตามขั้นตอนที่ระบุอยู่ในมาตรา 49 ของสนธิสัญญาลิสบอน

ตลาดหุ้นสหรัฐ : ขยับขึ้นเพียงเล็กน้อย
     ดัชนี DJIA ปิดที่ 18,144.20 จุด เพิ่มขึ้น 15.54 จุด หรือ +0.09% ดัชนี NASDAQ ปิดที่ 5,239.02 จุด ลดลง 7.77 จุด หรือ -0.15% ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,139.18 จุด เพิ่มขึ้น 2.45 จุด หรือ +0.11% โดยปัจจัยที่นักลงทุนติดตามใกล้ชิด คือ ความเห็นของเจ้าหน้าที่เฟดระดับสูงเกี่ยวกับทิศทางอัตราดอกเบี้ยสหรัฐ

- สัญญาน้ำมันดิบ : อ่อนต่อ หลังการจัดหารือที่อิสตันบูลล้มเพราะมีเพียง 5 ชาติที่เข้าร่วม
    สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนพ.ย.ลดลง 61 เซนต์ หรือ 1.2% ปิดที่ 50.18 ดอลลาร์/บาร์เรล ด้าน BRENT ส่งมอบเดือนธ.ค.ลดลง 60 เซนต์ หรือ 1.1% ปิดที่ 51.81 ดอลลาร์/บาร์เรล โดยนักลงทุนไม่มั่นใจต่อข้อตกลงปรับลดกำลังการผลิตของกลุ่มประเทศผู้ผลิตน้ำมัน และความกังวลเรื่องนี้มีมากขึ้น หลังจากมีรายงานว่ากลุ่มโอเปกและประเทศนอกกลุ่มโอเปกไม่ได้จัดการประชุมขึ้นนอกรอบการประชุมพลังงานโลก (World Energy Congress) เมื่อวานนี้ที่กรุงอิสตันบูลเพราะมีเพียงรัฐมนตรีพลังงานจากประเทศเวเนซุเอลา แอลจีเรีย สหรัฐอาหรับเอมิเรทส์ กาตาร์ และกาบอง เข้าร่วมเท่านั้น

สัญญาทองคำ : ขยับขึ้นเล็กน้อย
      สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนธ.ค.ลดลง 2.10 ดอลลาร์ หรือ 0.2% ปิดที่ระดับ 1,253.80 ดอลลาร์/ออนซ์ การแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์ส่งผลให้สัญญาทองคำมีราคาแพงขึ้นและไม่น่าดึงดูดใจ

ปัจจัยในประเทศ & หุ้นเด่น
ตลาดหุ้นไทย : เดือนตุลาผันผวนสูง
     เมื่อ 3 ต.ค.59 เราได้ออกรายงานกลยุทธ์ โดยคาดว่าตลาดหุ้นในเดือนต.ค.59 จะยังมีความผันผวนจากหลากหลายปัจจัยที่ผสมกันไปทั้งบวกและเสี่ยง/ไม่แน่นอน โดยปัจจัยหนุนหลัก คือ สภาพคล่องจากการออก QE, อัตราดอกเบี้ยที่ต่ำมาก, แนวโน้มกำไร 3Q59 ที่จะเติบโตสูงมากเมื่อเทียบ YoY, รัฐบาลไทยเร่งใช้จ่ายและลงทุน และตลาดหุ้นมีปันผลที่สม่ำเสมอราว 3.5% ต่อปีและมีสภาพคล่องในการซื้อขายที่ดี ส่วนปัจจัยเสี่ยง/ไม่แน่นอน ได้แก่ โอกาสที่จะปรับขึ้นดอกเบี้ยมีมากขึ้นในช่วงที่เหลือของปีนี้, ปัญหาดอยซ์แบงก์ที่ยังไม่ได้สรุปเรื่องค่าปรับว่าจะเป็นประมาณ 5 พันล้านUS$ อย่างที่ธนาคารประเมินไว้หรือไม่ ซึ่งหากตัวเลขค่าปรับจริงสูงกว่านี้มากก็อาจกระทบความเชื่อมั่นภาคธนาคารโดยรวม, การดีเบตผู้สมัครประธานธิบดีสหรัฐในเดือนต.ค.59 (ครั้งที่ 2 คะแนนของฮิลลารี่ยังคงนำทรัมป์), การฟื้นตัวที่ล่าช้าของเศรษฐกิจไทย, การปราบปรามทัวร์ศูนย์เหรียญ และความไม่แน่นอนของเรื่องสำคัญในประเทศ
    เมื่อความไม่แน่นอนและความเสี่ยงมากขึ้น ตลาดหุ้นก็มี Downside risk สูงขึ้นด้วยเช่นกัน ดังนั้นเราจึงยังคงกำหนดกลยุทธ์การลงทุนไว้เป็น 2 แนวทาง คือ 1) เน้นถือเงินสดให้มากขึ้น แต่ในกรณีที่ยังต้องมีหุ้นในพอร์ต แนะนำให้ถือหุ้นที่ธุรกิจมั่นคง & จ่ายปันผลได้สม่ำเสมอไว้ในพอร์ต เพราะอย่างน้อยในช่วงที่ Return จากส่วนต่างราคาหุ้นไม่สดใส ก็ยังมีเงินปันผลรับเข้ามาต่อเนื่อง และ 2) สแกนหาหุ้นที่มีแนวโน้มกำไรเติบโตแข็งแกร่งในปี 60 เพื่อเลือกและทยอยซื้อสะสมในช่วงตลาดและราคาหุ้นปรับฐาน (ควรทยอยซื้อแบบถอยรับเป็น Step)

นักวิเคราะห์ : อาภาภรณ์ แสวงพรรค - [email protected]

 

BSP

 

adsoptimal100

paidtoclick copy

 

  

 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!