- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Wednesday, 12 October 2016 18:04
- Hits: 652
บล.เอเซียพลัส :บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
ข่าวการก่อการร้าย และเงินเอเชียอ่อนค่า ล้วนกดดันบรรยากาศการซื้อขาย และหักล้างราคาน้ำมันที่ยืนใกล้ 50 เหรียญฯ ทำให้ดัชนีแกว่งตัวลงในกรอบ 1,445-1430 จุด ราคาหุ้นอ่อนตัวเป็นโอกาสสะสมหุ้นพื้นฐาน ยังแนะนำหุ้นกำไรเด่นงวด 2H59/ปันผลสูง โดย HANA(FV@B42) และ MCS([email protected]) เป็น Top picks
(-) เหตุการณ์ก่อการร้าย กระทบหุ้นท่องเที่ยว
วานนี้ SET Index ปรับฐานลงต่อจนหลุดแนวรับ 1,450 จุด ท่ามกลางปัจจัยกดดันในประเทศเป็นหลัก โดยเฉพาะการแจ้งเตือนเหตุวินาศกรรมในเขตกรุงเทพ และปริมณฑล ที่อาจเกิดขึ้นในช่วงวันที่ 25-30 ต.ค. นี้ ทำให้ระบบขนส่งมวลชนต่างๆ ทั้งระบบ MRT, BTS และสนามบินสุวรรณภูมิ ต้องเพิ่มความเข้มงวดมาตรการรักษาความปลอดภัยขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบเชิงลบต่อบรรยากาศท่องเที่ยวและจำนวนนักท่องเที่ยว ซึ่งกำลังเข้าสู่ High Season ฤดูกาลท่องเที่ยวตั้งแต่ไตรมาส 4 ต่อเนื่องถึงไตรมาส 1 ปีถัดไป
แต่อย่างไรก็ตาม คาดว่าจะเห็นผลกระทบเกิดขึ้นในช่วงสั้นๆ เท่านั้น โดยหากเทียบเคียงกับเหตุวินาศกรรมในช่วงที่ผ่านมา ทั้งจากเหตุระเบิดหลายจุดในพื้นที่ทางภาคใต้ของประเทศ (จุดใหญ่เกิดขึ้นในหัวหิน) ช่วงเทศกาลวันแม่กลางเดือน ส.ค. ที่ผ่านมา ถือว่าส่งผลกระทบต่อภาคการท่องเที่ยวไทยน้อยมาก
ขณะที่เหตุระเบิดแยกราชประสงค์ช่วงกลาง ส.ค. 2558 ที่มีความรุนแรงมากกว่า (เดือน ส.ค. 2558 นักท่องเที่ยวรวม 2.6 ล้านคน และเหลือ 2 ล้านคนในเดือน ก.ย. 2558) แต่ก็กินเวลาเพียง 1-2 เดือนเท่านั้น ก็มีนักท่องเที่ยวกลับเข้าสู่ภาวะปกติ ทั้งนี้ ฝ่ายวิจัยประเมินแนวโน้ม 4Q59 ซึ่งเป็นช่วง High Season รวมถึงมีแรงหนุนจากวันชาติจีน, การฟื้นตัวของนักท่องเที่ยวรัสเซีย และการจัดกิจกรรมของภาครัฐและเอกชน คาดหนุนให้นักท่องเที่ยวเพิ่มอีกไม่น้อยกว่า 9 ล้านคน ผลักดันทั้งปี 2559 ไม่ต่ำกว่า 33 ล้านคน เติบโต 10% yoy
ผลกระทบช่วงสั้น อาจทำให้ราคาหุ้นที่เกี่ยวข้องต่อการท่องเที่ยว-โรงแรม ที่มีความอ่อนไหวต่อเหตุการณ์ได้ง่าย ปรับตัวลดลง ราคาหุ้นที่ย่อน่าจะเป็นโอกาสสะสมสำหรับนักลงทุนระยะกลางยาว ได้แก่ ERW([email protected]), CENTEL(FV@B48), MINT (FV@B48), BA([email protected]), AOT(FV@B490) รวมทั้งหุ้นที่เกี่ยวข้องกับ Medical Tourism หรืออิงกับกลุ่มคนไข้ต่างประเทศ อาจได้รับผลกระทบช่วงสั้น เช่น BDMS ([email protected]), BH (FV@B213) และระบบขนส่ง เช่น BTS (FV@B10) ซึ่งหุ้นดังกล่าวมีแนวโน้มเติบโตดีในระยะยาว จึงแนะนำสะสมเมื่ออ่อนตัว
(-) ต่างชาติขายสุทธิหุ้นทั้งภูมิภาค กดดันเงินเอเซียอ่อนค่าต่อเนื่อง
วานนี้ต่างชาติสลับมาขายสุทธิหุ้นในภูมิภาค ด้วยมูลค่าราว 248 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิเพียงวันเดียว) โดยเป็นการขายสุทธิเกือบทุกประเทศ ยกเว้นตลาดหุ้นไต้หวันเพียงแห่งเดียวเท่านั้นที่ถูกซื้อสุทธิราว 104 ล้านเหรียญ (หลังจากหยุดทำการในวันก่อนหน้า) ส่วนที่เหลือ 4 ประเทศ สลับมาขายสุทธิ คือ เกาหลีใต้ถูกขายสุทธิสูงถึง 309 ล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 2) อินโดนีเซีย 16 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิเพียงวันเดียว), ฟิลิปปินส์ 12 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 5) และไทยขายสุทธิ 15 ล้านเหรียญ หรือ 513 ล้านบาท (หลังจากซื้อสุทธิเพียงวันเดียว) เช่นเดียวกับนักลงทุนสถาบันฯที่ยังคงขายสุทธิราว 3.3 พันล้านบาท (ขายสุทธิติดต่อกัน 3 วัน โดยมียอดรวมสูงถึง 1.1 หมื่นล้านบาท)
ขณะที่ตลาดตราสารหนี้ไทย นักลงทุนสถาบันในประเทศซื้อสุทธิราว 2.5 หมื่นล้านบาท สวนทางต่างชาติที่ยังคงขายสุทธิราว 3.4 หมื่นล้านบาท ส่งผลให้ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงไปอีก โดยล่าสุดอยู่ที่ 35.42 บาท/เหรียญสหรัฐฯ
(-) ค่าเงินเอเชียยังอ่อนค่า สวนทาง Dollar กดดัน Fund Flow
ค่าเงินโลกยังผันผวน โดยค่าเงิน Dollar index ยังมีทิศทางแข็งค่าต่อเนื่องล่าสุดอยูที่ระดับ 97.6จุด (แข็งค่าราว 2.3% จากจุดต่ำสุดเมื่อวันที่ 30 ก.ย.) เป็นผลจากตลาดคาดหวังต่อการขึ้นดอกเบี้ยของ Fed จะขึ้นในปลายปีนี้ สะท้อนจากผลสำรวจ Fed Fund Future ล่าสุดโอกาสขึ้นดอกเบี้ยรอบ 13-14 ธ.ค. ยังมีน้ำหนักสูงสุดราว 68% (ขณะที่รอบ 1-2 พ.ย.ความน่าจะเป็นน้อยมากราว 15%) แม้ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจยังมีสัญญาณขัดแย้งกัน และปัจจัยภายนอกซึ่งไม่สนับสนุนต่อการขึ้นมากนัก
เช่นเดียวกับเงินปอนด์ (เทียบดอลลาร์) กลับมาแข็งค่าเล็กน้อยราว 1.26% (หลังจากที่ก่อนหน้าอ่อนค่าราว 20.5% นับจากผลการทำประชามติ Brexit หลังอังกฤษมีแผนชัดเจนที่จะเดินหน้าออกจากยุโรปภายในงวด 1Q60 ขณะที่ผลกระทบจะค่อย ๆ เกิด)
ส่วนทางทางกับในภูมิภาคเอเชียที่ค่าเงินยังคงอ่อนค่า เนื่องจากแรงขายจากของต่างชาติ ทั้งตลาดหุ้นและตราสารหนี้ นำโดย เงินเปโซของฟิลิปปินส์อ่อนค่ามากสุดกว่า 4% นับจากปลายเดือน ก.ย. ตามมาด้วยเงินบาทอ่อนค่า 2.3% ริงกิตอ่อนค่าราว 2% และเงินรูเปียะห์อ่อนค่าราว 0.7% ทั้งนี้พบว่าต่างชาติได้ทยอยขายหุ้นที่ชัดเจนขึ้น พร้อมๆ กับการขายตราสารหนี้ สะท้อนจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล (Yield) ที่ยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่องกล่าวคือ ฟิลิปปินส์พบว่า อัตราผลตอบแทนอายุ 10 ปี (yield) อยู่ที่ 3.648% จากจุดต่ำสุด 3.197% ตามมาด้วยไทย yield อยู่ที่ 2.276% จากจุดต่ำสุด 2.102% มาเลเซียล่าสุด Yield อยู่ที่ 3.609% จากจุดต่ำสุด 3.533% ในสถานการณ์นี้ถือว่าเป็นปัจจัยกดดันต่างชาติให้ขายสินทรัพย์ในเอเซียต่อเนื่อง
(+) แนะหุ้นที่คาดจะชนะตลาดไตรมาส 4 : HANA, BJC, BDMS
ดังที่นำเสนอไปวานนี้ ภายใต้ภาวะตลาดผันผวน แนะนำกลยุทธ์การลงทุนเลือกเป็นรายหุ้นที่คาดว่าจะสามารถชนะตลาดในช่วงที่เหลือหรือ 4Q59 โดยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ ได้ศึกษาข้อมูลในอดีต ย้อนหลัง 5 ปี พบว่า ดัชนีกลุ่มฯ ที่มักจะ Outperform ตลาดฯ เรียงลำดับจากมากไปน้อย ดังนี้ กลุ่มวัสดุก่อสร้าง ขนส่ง ธุรกิจการเงิน ชิ้นส่วนฯ การแพทย์ อาหาร ค้าปลีก ท่องเที่ยว
แต่อย่างไรก็ตามหากพิจารณาเพิ่มเติมหุ้นรายตัวที่มีความผันผวนน้อย และมีโอกาสสูงที่จะให้ชนะตลาดในช่วง 4Q59 รวมทั้งสามารถคาดหวัง Upside ได้สูงกว่า 15% คือ HANA([email protected]), BJC([email protected]) และ BDMS([email protected]) เป็นต้น ติดตามอ่านรายละเอียดใน Quantitative Analysis ในเช้าวานนี้
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
พาสุ ชัยหลีเจริญ ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์