- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Tuesday, 11 October 2016 19:05
- Hits: 4501
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
วันนี้ SET น่าจะยืนเหนือ 1,455-1,460 จุด จากแรงหนุนหุ้นน้ำมัน หลังราคาน้ำมันดิบโลกฟื้นตัวแตะ 50 เหรียญฯต่อบาร์เรล ในรอบ 1 ปี แต่ความเสี่ยงยังมีอยู่ แนะให้ถือหุ้น 30% และสะสมหุ้นกำไรเด่น 2H59 (WHA, BA, HANA, BLA) หรือหุ้นปันผลเด่น (ASK, MCS, HANA) Top picks คือ HANA(FV@FV@B42) และ MCS([email protected]) ได้ประโยชน์ในช่วงเงินบาทอ่อนค่า
(0) เงินปอนด์และยูโรอ่อนค่า กดดัน Dollar ผันผวน
ค่าเงินโลกยังคงผันผวนมากขึ้น จากความกังวลผลกระทบของ Brexit ที่จะเกิดขึ้น เมื่ออังกฤษมีแผนชัดเจนที่จะเดินหน้าออกจากยุโรปภายในงวด 1Q60 ซึ่งจากนี้คงต้องใช้เวลา 2 ปี ในการเจรจาการค้า และการลงทุนกับสมาชิกฯ ที่เหลือ 27 ประเทศ พร้อมออกกฎหมายรองรับ การออกจากยุโรปอย่างเป็นทางการ ซึ่งระยะกลาง-ยาว ผลกระทบจะเกิดขึ้นกับการค้า และการลงทุน แต่ระยะสั้นน่าจะกระทบต่ออัตราแลกเปลี่ยน สะท้อนจากเงินปอนด์–ดอลลาร์ อ่อนค่าติดต่อกันเป็นวันที่ 7 ลงมาอยู่ที่ระดับ 1.23 ปอนด์-ดอลลาร์ อ่อนค่ามากสุดราว 20.5% นับจากผลการทำประชามติ Brexit แต่ยังลดลงน้อยกว่าเมื่อเทียบกับช่วงวิกฤติซับไพร์มปี 2551 ที่ลดลง 30% ขณะที่ค่าเงินยูโรอ่อนค่า 2.7% ในช่วงเดียวกัน แต่ถือว่ายังน้อยกว่าเมื่อเทียบกับช่วงวิกฤติฯ ที่อ่อนค่า 18%
ผลกระทบดังกล่าวกดดันให้ค่าเงิน Dollar มีแนวโน้มแกว่งตัวถึงแข็งค่า นอกเหนือจากที่ตลาดคาดหวังว่าสหรัฐจะมีโอกาสขึ้นดอกเบี้ยเพิ่มมากขึ้นในการประชุมรอบ ธ.ค. หรือครั้งสุดท้ายในปีนี้
(-) เงินเอเชียอ่อนค่าต่างชาติทยอยขายตราสารหนี้ เป็นปัจจัยเร่ง fund flow
ตรงกันข้ามกับเงินเอเชียส่วนใหญ่ ยังผันผวนในทิศทางอ่อนค่า ยกเว้นเพียงค่าเงินรูเปียะห์ของอินโดนีเซียที่ยังแข็งค่า การที่ค่าเงินอ่อนค่าหลัก ๆ เกิดจากที่ ต่างชาติทยอยขายตราสารหนี้เกือบทุกประเทศ นำโดยเงินเปโซของฟิลิปปินส์อ่อนค่ามากสุดราว 4% นับจากปลายเดือน ก.ย. ซึ่งสอดคล้องกับ ต่างชาติขายพันธบัตรรัฐบาลฟิลิปปินส์ต่อเนื่อง 20 วัน ทำให้ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล (yield) เพิ่มเป็น 3.549% จากระดับต่ำ 3.245% ในช่วงก่อนหน้า ตามมาด้วยเงินบาทอ่อนค่า 1.8% ในช่วงเดียวกัน และพบว่าต่างชาติขายตราสารหนี้ในไทยติดต่อกันนาน 14 วัน หนุน Yield ล่าสุดเพิ่มมาอยู่ที่ 2.248% จากระดับต่ำ 2.166% หลังจากซื้อสุทธิติดต่อกันมาต่อเนื่องจนทำให้ยอดซื้อสุทธิสะสมตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบันทำจุดสูงสุดใหม่วานนี้ที่ 4.1 แสนล้านบาท
ทั้งนี้ยกเว้นเงินรูเปียะห์ อินโดนีเซีย ที่ยังแข็งค่าราว 2.25% นับจากช่วงเดียวกัน แม้ต่างชาติทยอยขายตราหนี้ติดต่อกัน 7 วัน แต่ Yield เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจาก 6.989% เป็น 7.072% ซึ่งเชื่อว่าต่างชาติน่าจะยังคงวนเวียนในตลาดตราสารหนี้ของอินโดนีเซีย เนื่องจากรัฐบาลมีนโยบายที่จะยกเลิกการจัดเก็บภาษีผลตอบแทนที่เกิดจากการลงทุนในตราสารหนี้ในปี 2560 เป็นต้น
(-) เงินบาทมีทิศทางอ่อนค่า หนุนเงินทุนไหลออกนับจากนี้
วานนี้ตลาดหุ้นไต้หวันหยุดทำการ เนื่องจากเป็นวันชาติ แต่ตลาดหุ้นอื่นๆยังคงเปิดทำการเป็นปกติ โดยภาพรวมแล้วพบว่าต่างชาติสลับมาซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาค ด้วยมูลค่าราว 145 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิเพียงวันเดียว) แต่ยังเป็นการขายสุทธิอยู่ 2 ประเทศ คือ ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ขายสุทธิราว 24 ล้านบาท (หลังจากซื้อสุทธิ 2 วัน) และฟิลิปปินส์ 11 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 4) ส่วนที่เหลืออีก 2 ประเทศต่างชาติสลับมาซื้อสุทธิ คือ อินโดนีเซียถูกซื้อสุทธิสูงถึง 152 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิติดต่อกัน 4 วัน) และไทย 29 ล้านเหรียญ หรือ 999 ล้านบาท (หลังจากขายสุทธิ 2 วัน) ต่างกับนักลงทุนสถาบันฯที่ขายสุทธิอย่างหนัก ด้วยมูลค่าสูงถึง 7.3 พันล้านบาท ซึ่งเป็นการขายสุทธิที่สูงที่สุดนับตั้งแต่เหตุการณ์ Brexit เป็นต้นมา
ขณะที่ตลาดตราสารหนี้ไทย นักลงทุนสถาบันในประเทศซื้อสุทธิราว 7.8 พันล้านบาท ต่างกับนักลงทุนต่างชาติที่สลับมาขายสุทธิสูงถึง 1.2 หมื่นล้านบาท กดดันเงินบาทอ่อนค่าดังกล่าวข้างต้น ซึ่งภาพโดยรวมการที่ต่างชาติทยอยขายตราสารหนี้ พร้อมกับกับการขายตลาดหุ้น ซึ่งถือเป็นปัจจัยเร่งให้ต่างชาติยังออกจากตลาดหุ้นไทย
ดัชนี 1,450-1470 สะสมหุ้นปันผล/Beta ต่ำ : ASK, MCS, HANA, BJC
วานนี้ SET Index ปรับฐานลงแรงทดสอบแนวรับที่บริเวณ 1,450 จุด จากแรงขายหนักของนักลงทุนสถาบันในประเทศกว่า 7.3 พันล้านบาท (มูลค่าขายสูงสุดเป็นลำดับที่ 2 ของปีนี้ รองจากวันที่ 24 มิ.ย. (วันลงประชามติ Brexit) ที่ขายสุทธิไปกว่า 7.5 พันล้านบาท) อย่างไรก็ตาม แรงขาย Panic Sell ที่เกิดขึ้นโดยที่ปัจจัยพื้นฐานไม่ได้เปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยฯ ทำให้เชื่อว่าวันนี้ SET Index มีโอกาส rebound ขึ้นได้ โดยแรงหนุนน่าจะมาจากกลุ่มพลังงานตามการปรับขึ้นแรงของราคาน้ำมันโลก หลังการประชุม World Energy Congress ที่ประเทศตุรกี วานนี้ ประธานาธิบดีรัสเซีย นายวลาดีมีร์ ปูติน แสดงจุดยืน ที่จะให้ความร่วมมือในการคง/ลดกำลังการผลิต ตามผลการประชุมล่าสุดของกลุ่ม OPEC ซึ่งจะนำไปสู่การตัดลดอย่างเป็นทางการ ในการประชุมวันที่ 30 พ.ย. นี้ ได้หนุนให้ราคาน้ำมันดิบตลาดล่วงหน้าขึ้นยืนเหนือเหนือ 50 เหรียญฯต่อบาร์เรล ซึ่งน่าจะหนุนหุ้นพลังงานทั้ง PTT, PTTEP, BANPU เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม ความผันผวนของค่าเงินในภูมิภาคดังกล่าวต้น จึงอาจจะเป็นปัจจัยเร่งให้ต่างชาติขายทั้งตลาดหุ้นและตราสารหนี้ ซึ่งทำให้ตลาดหุ้นไทยยังคงเคลื่อนไหวต่ำกว่า 1,500 จุด ไปอีกระยะหนึ่ง และหากพิจารณาดัชนีตลาดหุ้นไทย แม้จะปรับฐานลงแรงวานนี้ แต่พบว่า Exprected P/E ก็ยังสูง 16.2 เท่า (ลดลงจาก 16.6 เท่า) ทำให้ความน่าสนใจไม่มากนัก กลยุทธ์การลงทุนภายใต้ความผันผวนเช่นนี้ จึงแนะนำ Selective Buy โดยแนะนำหุ้นที่เข้าองค์ประกอบหลักคือ มีผลประกอบการเด่นในงวด 2H59 มีค่า Beta ต่ำ เงินปันผลสูง และ ราคาหุ้นปัจจุบันยังต่ำกว่า Fair Value ทางปัจจัยพื้นฐาน คือ อาทิ MCS ([email protected]), HANA (FV@B42)
ตามด้วย หุ้น Property Fund ที่เป็นหลุมหลบภัยชั้นดี เช่น TFUND ([email protected])
หรือ หุ้นที่มี Theme บวกจากการนำบริษัทลูกเข้าจดทะเบียนในตลาดฯ ได้แก่ WHA ([email protected]) และ TPIPL ([email protected]
นอกจากนี้แนะนำหุ้นที่คาดว่าจะ outperform ตลาดในไตรมาส 4 เลือก BJC (FV@B54) HANA (FV@B42)BDMS ([email protected]))
(+) แนะหุ้นที่คาดจะชนะตลาดไตรมาส 4 : HANA, BJC, BDMS
เพื่อกำหนดกลยุทธ์การลงทุนภายใต้ตลาดผันผวน นักวิเคราะห์เชิงปริมาณ จึงได้รวบรวมสถิติในอดีต ของหุ้นรายกลุ่ม ที่คาดว่าจะให้ผลตอบแทนแทนชนะตลาดฯในไตรมาสที่ 4 โดยใช้ข้อมูล 5 ปีย้อนหลัง พบว่ากลุ่มฯ ที่มักจะ Outperform ตลาดฯ เรียงลำดับจากมากไปน้อยดังนี้ กลุ่มวัสดุก่อสร้างให้ผลตอบแทน 7.06% ตามมาด้วยขนส่ง 6.93%, ธุรกิจการเงิน 6.77%,ชิ้นส่วนฯ 6.36%, การแพทย์ 4.72%, อาหาร 4.25%, ค้าปลีก 3.56%, ท่องเที่ยว2.76%, เกษตร 2.44%, สื่อ-สิ่งพิมพ์ 2.13%,กองทุนอสังหาฯ 1.66% และประกัน1.64% ขณะที่ SET ให้ผลตอบแทนเพียง 0.58%
แต่อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาเพิ่มเติมหุ้นรายตัวที่มีความผันผวนน้อย และมีโอกาสสูงที่จะให้ชนะตลาดในช่วงไตรมาส 4 รวมทั้งสามารถคาดหวัง Upside ได้สูงกว่า 15% และฝ่ายวิจัยแนะนำ ซื้อ ได้ชุดหุ้นดังตารางด้านล่าง
หุ้นที่มีโอกาสชนะตลาดในช่วงไตรมาส 4 สูง และยังมี Upside สูง
ในภาวะตลาดอ่อนตัวจึงแนะนำลงทุนที่มีโอกาสชนะตลาดในช่วงไตรมาส 4 สูง อย่าง HANA([email protected]), BJC([email protected]) และ BDMS([email protected]) เป็นต้น ติดตามอ่านรายละเอียดใน Quantitative Analysis ในเช้าวันนี้
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
พาสุ ชัยหลีเจริญ ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์