WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ASP copyบล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน



กลยุทธ์การลงทุน
      ยอดจ้างงานนอกภาคเกษตรสหรัฐต่ำกว่าตลาดคาด หนุน Dollar หยุดแข็ง หนุน น้ำมัน แต่ถูกหักล้างจากที่ตลาดยังเชื่อ Fed จะขึ้นดอกเบี้ยฯ ภายในปีนี้ กดดัน SET ผันผวน 1,515-1,500 จุด กลยุทธ์ถือหุ้น 30% เน้นหุ้นกำไรเด่นงวด 2H59 (WHA) และปันผลสูง (ASK, MCS, HANA) Top pick คือ WHA([email protected])

(0) ยอดจ้างงานสหรัฐต่ำกว่าคาด Dollar และตลาดหุ้นโลกผันผวน
     ปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา การรายงานยอดจ้างงานนอกภาคการเกษตร (Nonfarm payrolls โดยกรมแรงงาน) ของสหรัฐ เดือน ส.ค. อยู่ที่ 1.56 แสนราย ต่ำกว่าที่ตลาคคาด 1.75 แสนราย (vs 1.67 แสนรายในเดือน ส.ค. เพิ่มขึ้นในอัตราชะลอตัวติดต่อกัน 2 เดือน) กดดันให้อัตราการว่างงาน เพิ่มขึ้นจาก 4.9% ในเดือนก่อนหน้ามาที่ 5% แต่อย่างไรก็ตามก็ยังไม่ได้ทำให้ตลาดลดความคาดหวังต่อการขึ้นดอกเบี้ยของ Fed ในปลายปีนี้ สะท้อนจากผลสำรวจ Fed Fund Future ล่าสุดพบว่าโอกาสขึ้นดอกเบี้ยรอบ 13-14 ธ.ค. เพิ่มขึ้นมาที่ระดับ 64.7% (รอบ 1-2 พ.ย. ลดลงเหลือ 15% สาเหตุจากใกล้การเลือกประธานาธิบดีสหรัฐ)
      หากพิจารณา Dollar Index ที่หยุดการแข็งค่า และกลับอ่อนค่า โดยล่าสุดอยู่ที่ 96.522 จุด ซึ่งเป็นการบ่งบอกถึงความขัดแย้ง และหากพิจารณาปัจจัย Brexit ซึ่งคาดว่าน่าจะมีน้ำหนักและกระทบในวงกว้างมากขึ้น สะท้อนจากล่าสุด กระทรวงพาณิชย์ของเยอรมนี (อังกฤษพึ่งพาการค้าสหภาพยุโรป 58% ของมูลค่าการค้ารวมของอังกฤษ) เผยยอดส่งออกไปอังกฤษล่าสุดเห็นการหดตัว 1% yoy สวนทางกับที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 5% ซึ่งเป็นผลจากค่าเงินปอนด์–ดอลลาร์ อ่อนค่าเกือบ 20% นับจากผลการทำประชามติ ทำให้ ASPS ยังคงเชื่อมั่นว่าโอกาสการขึ้นดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐภายในปีนี้ น่าจะน้อย แต่น่าจะเกิดขึ้นใน 6 เดือนแรกของปี 2560 ซึ่งน่าจะหนุนให้ดัชนีตลาดหุ้นโลกผันผวนต่อไป

(-) ต่างชาติขายสุทธิหุ้นภูมิภาค แต่ค่าเงินยังทรงตัว สะท้อนเป็นการพักระยะสั้น
     แรงซื้อสลับขายของนักลงทุนต่างชาติเห็นภาพชัดเจน ล่าสุดวันศุกร์ที่ผ่านมา ต่างชาติได้สลับมาขายสุทธิหุ้นในภูมิภาค ด้วยมูลค่า 125 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิติดต่อกัน 4 วัน) และยังเป็นการขายสุทธิเกือบทุกประเทศ ยกเว้นตลาดหุ้นเกาหลีใต้เพียงแห่งเดียวเท่านั้นที่ซื้อสุทธิเล็กน้อยราว 13 ล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2) ส่วนที่เหลืออีก 4 ประเทศยังคงขายสุทธิ คือ ไต้หวันขายสุทธิราว 58 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิวันที่ 2) ตามมาด้วย อินโดนีเซียที่ขายสุทธิราว 59 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 4), ฟิลิปปินส์ 5 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 3), และไทย 17 ล้านเหรียญ หรือ 580 ล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 2) เช่นเดียวกับนักลงทุนสถาบันฯที่ขายสุทธิราว 91 ล้านบาท (หลังจากซื้อสุทธิเพียงวันเดียว)
  ขณะที่ตลาดตราสารหนี้ไทย นักลงทุนสถาบันในประเทศซื้อสุทธิราว 1.0 หมื่นล้านบาท เช่นเดียวกับนักลงทุนต่างชาติที่สลับมาซื้อสุทธิราว 5.2 พันล้านบาท (หลังจากขายสุทธิ 2 วัน)
เป็นที่สังเกตว่าค่าเงินเอเชีย บางประเทศมีแนวโน้มอ่อนค่าต่อเนื่อง โดยเฉพาะเงินเปโซของฟิลิปปินส์ เนื่องจากต่างชาติขายหุ้นหนักที่สุดในกลุ่ม TIP และน่าจะขายตราสารหนี้บ้าง แม้ระยะสั้นยังซื้อลับขายอยู่ก็ตาม เช่นเดียวกับ เงินบาทของไทย เริ่มอ่อนค่าเล็กน้อย เนื่องจากมีการขายตลาดหุ้นเท่านั้น โดยต่างชาติยังคงซื้อตราสารหนี้ ยกเว้นเงินรูเปียะห์ของอินโดนีเซียที่ยังทรงตัว เพราะแม้ต่างชาติจะขายตราสารทุนก็ตาม แต่คาดว่าน่าจะยังซื้อ สลับขาย ตราสารหนี้ เพราะรัฐบาลเตรียมยกเลิกการจุดเก็บภาษีจากผลตอบแทนจากการลงทุนในตราสารหนี้ทุกอย่างในปี 2560

ตลาดแกว่งตัว 1,515-1,500 จุด ยังให้สะสม : WHA, HANA, MCS, PTTEP
      ประเด็นการขึ้นดอกเบี้ยของ Fed นั้น ตลาดยังคงให้น้ำหนักอยู่ที่การแสดงความเห็นของคณะกรรมการ Fed แต่ละราย เพราะแม้ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตร และ อัตราว่างงาน จะออกมาแย่กว่าที่คาด แต่หากพิจารณา รายได้ต่อชั่วโมงโดยเฉลี่ยของแรงงาน และอัตราการเข้าสู่ตลาดแรงงาน ยังมีแนวโน้มที่ดีขึ้น และหนุนให้ผลสำรวจ Fed Fund Future ของการประชุมเดือน ธ.ค. ล่าสุดขึ้นมาอยู่ที่ 64.7% เพิ่มขึ้นจาก 63% จากที่เคยต่ำสุด 50% เมื่อช่วงกลางปีที่ผ่านมา


     และการโต้วาที2 ระหว่าง ผู้ชิงตำแหน่งประธานาธิบดี นางฮิลลารี คลินตัน และนายโดนัลด์ ทรัมป์ ซึ่งแม้ผลสำรวจที่ออกมาล่าสุดคลินตันจะยังมีคะแนนความนิยมนำทรัมป์อยู่ แต่ก็ห่างกันไม่มากเพียง 44.2% และ 40.5% เท่านั้น จึงทำให้ตลาดหุ้นสหรัฐในช่วงนี้น่าจะยังแกว่ง sideway อยู่
ขณะที่ตลาดหุ้นไทย สัปดาห์นี้จะเข้าสู่ฤดูกาลประกาศงบฯ 3Q59 เริ่มต้นที่กลุ่ม ธนาคารพาณิชย์ซึ่งนักวิเคราะห์ ASPS ประเมิน ผลการดำเนินงานทรงตัวได้หรือเติบโตเล็กน้อยจากงวดก่อนหน้า จากรายได้ค่าธรรมเนียม ที่ดีขึ้น แม้สินเชื่อสุทธิจะทรงตัว และ NIM ยังทรงตัวได้ และค่าใช้จ่ายสำรองหนี้ฯ มีโอกาสลดลง สอดคล้องกับภาพรวมคุณภาพสินทรัพย์ที่เห็นสัญญาณบวกขึ้น อย่างไรก็ตาม การเก็งกำไร Earning กลุ่ม ธนาคารพาณิชย์ ดูจะเป็นเพียงช่วงสั้น และต้องระวัง Sell on Fact ทำให้เชื่อว่าการที่ดัชนีขึ้นเหนือ 1,500 จุด อาจอยู่ในภาวะไม่แข็งแกร่ง ทั้งนี้ SET Index ที่ 1,500 จุด จะให้ค่า PER สิ้นปี 2559 ที่ 16.64 เท่า ถือว่าอยู่ในระดับที่ค่อนข้างสูง โอกาสที่จะเห็นการปรับฐานในสัปดาห์นี้จึงมีความเป็นไปได้
กลยุทธ์การลงทุน ยังคงแนะนำ selective Buy โดยเลือกหุ้นที่ราคายังต่ำกว่า Fair Value ทางปัจจัยพื้นฐาน และมี Theme การลงทุนที่ชัดเจน ราคาหุ้นยังมี upside คือ
     อุตสาหกรรมท่องเที่ยว ERW ([email protected]), CENTEL (FV@B48), MINT (FV@B48) รวมทั้ง AOT (FV@B490) จากการเข้าสู่ฤดูกาลท่องเที่ยวไตรมาส 4


โรงพยาบาล BCH (FV@B14), BH (FV@B213) รวมทั้ง LPH (FV@B13)
หรือหุ้นที่มีกำไรเด่นงวด 3Q59 หรือมีเงินปันผลสูง บวกราคาหุ้นยัง Laggard ได้แก่ ASK ([email protected]), HANA (FV@B42), MCS ([email protected]) รวมถึงหุ้นที่ประเด็นบวก ได้แก่ WHA ([email protected]) และ TPIPL ([email protected]) ที่เริ่มรับรู้กำไรจะธุรกิจโรงไฟฟ้าชัดเจนขึ้น และกำลังจะนำบริษัทย่อยที่ทำธุรกิจโรงไฟฟ้าเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในเดือน พ.ย. นี้ เป็นต้น

ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
พาสุ ชัยหลีเจริญ ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์

 

BSP

 

adsoptimal100

paidtoclick copy

 

  

 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!