WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ASP copyบล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน



กลยุทธ์การลงทุน
      ราคาน้ำมันยังฟื้น มีความหวังเชิงบวกต่อการตัดลดกำลังผลิตทั่วโลก และการลงทุนเอกชนที่มีแนวโน้มขึ้น หลังมี พ.ร.บ. ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก แม้ยังถูกกดดันจากความกังวลต่อการขึ้นดอกเบี้ยของ Fed ก็ตาม ยังให้ถือเงินสด 70% และ 30% สะสมหุ้นกำไรเด่นงวด 2H59 (WHA) และปันผลสูง (ASK, MCS, HANA) Top picks คือ WHA([email protected]) และ PTTEP(FV@102) ราคาน้ำมันฟื้นตัวหนุนกำไรปี 2560

(+) หลายสำนักวิจัยปรับ GPD ไทยขึ้นมาใกล้ค่าเฉลี่ย 3.3%
      คาดว่าปัจจัยหนุนตลาดหุ้นไทยระยะสั้น ๆ ยังมาจากสถาบันในประเทศ และต่างประเทศทยอยปรับเพิ่ม GDP Growth ของไทยเพิ่มขึ้น ล่าสุดธนาคารโลก (World Bank) ปรับเพิ่ม GDP Growth ไทยปีนี้ เพิ่มขึ้น 0.6% มาอยู่ที่ 3.1% หลังจาก IMF ปรับเพิ่ม 0.2%มาอยู่ที่ 3.2% ตามที่รายงานวานนี้ แต่ถือเป็นการปรับขึ้นมาใกล้เคียงกับ Consensus ที่คาดเฉลี่ยที่ 3.3% (ASPS คาดที่ 3.5%) เนื่องจากที่ผ่านมา ทำไว้ต่ำเกินไป จึงถือเป็นว่าบวกต่อตลาดหุ้นไม่มากนัก
แต่อย่างไรก็ตาม ตลาดยังให้น้ำหนักต่อการขึ้นดอกเบี้ยของ Fed ในปลายปีนี้มากขึ้น หลังดัชนีชี้นำเศรษฐกิจภาคบริการกลับมาฟื้นตัวแรงกว่าคาด คือดัชนีภาคบริการสำรวจโดยสถาบัน ISM (PMI ภาคบริการ) ใน ก.ย. เพิ่มขึ้น 11%mom และมากกว่าการสำรวจของสถาบัน Markit ในเดือนเดียวกัน เพิ่มขึ้น 2.54%mom
     เช่นดียวกับดัชนีภาคการผลิตของสถาบัน ISM (ISM Manufactuing PMI) เดือน ก.ย. เพิ่มขึ้น 4.25%mom เทียบกับผลสำรวจของสถาบัน Markit เพิ่มขึ้นเล็กน้อย (ที่ 51.5 จุด จาก 51.4 จุดในส.ค.) หนุนความเชื่อมั่นมากขึ้น แม้ล่าสุด ตลาดแรงงาน วัดจากยอดการจ้างงานภาคเอกชน (ADP Employment) ในเดือนเดียวกัน เพิ่มน้อยกว่าที่คาด คืออยู่ที่ 1.54 แสนราย ลดลง 3 เดือนติดต่อกัน ทำให้ตลาดคาดหวังต่อการขึ้นดอกเบี้ยปลายปีนี้ สะท้อนจากผลสำรวจ Fed Fund Future ล่าสุดโอกาสขึ้นดอกเบี้ยรอบ 13-14 ธ.ค. ยังมีน้ำหนักสูงสุด 62% เพิ่มขึ้นติดต่อกัน 8 วัน จากจุดต่ำสุดที่ 49.9% ในวันที่ 27 ก.ย. (ขณะที่รอบ 1-2 พ.ย. ราว 23.6%)

(+) น้ำมันยังหนุนตลาด สต๊อกลด และผู้ผลิตน้ำมันหันมาตัดลดกำลังผลิต
    ประเด็นน้ำมันดูเหมือนจะช่วยหนุนตลาดมากขึ้น สะท้อนจากสต็อกน้ำมันดิบสหรัฐ รายสัปดาห์ สิ้นสุด 30 ก.ยง โดยสำนักสารสนเทศด้านพลังงาน (EIA) ลดลงมากกว่าคาดที่ 3 ล้านบาร์เรล (VS คาดเพิ่มขึ้น) และลดลงติดต่อกันเป็นสัปดาห์ที่ 5 (จากปริมาณการนำเข้าน้ำมันดิบลดลงสัปดาห์ที่ผ่านมา เช่นเดียวกับน้ำมันสำเร็จรูป ดีเซลที่กลับมาปรับตัวลดลง 2.36 ล้านบาร์เรล แม้น้ำมันเบนซิน จะเพิ่มขึ้นเล็กน้อราว 0.2 ล้านบาร์เรล) แต่คาดน่าจะกลับมาลดลงเช่นเดียวกับน้ำมันสำเร็จรูปชนิดอื่น เนื่องจากเริ่มเข้าสู่ฤดูกาลปิดซ่อมบำรุงของโรงกลั่น ประกอบกับความต้องการใช้น้ำมันเพื่อทำความร้อนในฤดูหนาวน่าจะสูงขึ้น สร้าง Sentiment เชิงบวกให้กับตลาด
      นอกจากนี้ ยังมีประเด็นบวก จากผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ในกลุ่ม OPEC และ Non-OPEC เริ่มหันหน้ามาเจรจากันเพื่อแก้ปัญหา Oversupply ล่าสุดมีการกำหนดการประชุมอย่างไม่เป็นทางการอีกครั้งในวันที่ 9-13 ต.ค. ที่อิสตันบูล ประเทศตุรกี (การประชุมนอกรอบ หลังการประชุม World Energy Congress ครั้งที่ 23) โดยล่าสุดมีสมาชิกในกลุ่ม OPEC ตกลงเข้ารวมแล้ว อาทิ ซาอุดิอาระเบีย แอลจีเรีย การ์ต้า และสาธารณรัฐอาหรับ เอมิเรตส์ (UAE) และนอกลุ่ม OPEC อย่าง รัสเซีย ซึ่งการประชุมครั้งนี้ น่าจะมีแนวทางลดกำลังการผลิต สู่ระดับ 32.5–33 ล้านบาร์เรลต่อวัน ตามที่ได้ข้อสรุปในเดือนก่อน (แม้อาจมีบางประเทศที่ได้รับยกเว้นการลดกำลังผลิต อาทิ อิหร่าน ไนจีเรีย และลิเบีย เนื่องจากมีปัญหาด้านการผลิตและส่งออกน้ำมันในช่วงก่อนทำให้กำลังผลิตอยู่ในระดับไม่สูงมาก) ล้วน สร้าง Sentiment เชิงบวก และหนุนให้กับราคาน้ำมันแตะ 50 เหรียญฯต่อบาร์เรล (Brent ล่าสุด 51.86 เหรียญฯต่อบาร์เรล) เช่นเดียวกับน้ำมันดูไบปิดตลาด 48.96 เหรียญฯต่อบาร์เรล หนุนหุ้นในกลุ่มพลังงาน อาทิ PTT(FV@B400) และ PTTEP(FV@B102) รวมถึง BANPU([email protected])

(0) แรงซื้อหุ้นภูมิภาคของต่างชาติเริ่มลดและสลับซื้อ/ขายบางประเทศ
     วานนี้แม้ต่างชาติยังคงซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคต่อเนื่องเป็นวันที่ 3 แต่ด้วยมูลค่าที่เริ่มลดน้อยลง โดยอยู่ที่ 86 ล้านเหรียญ และเป็นการสลับมาขายสุทธิถึง 3 ประเทศ คือ เกาหลีใต้ถูกสุทธิราว 9 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิเพียงวันเดียว) ตามมาด้วยฟิลิปปินส์ 7 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิ 4 วัน) และอินโดนีเซีย 3 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 3) ส่วนที่เหลืออีก 2 ประเทศต่างชาติยังคงซื้อสุทธิ คือ ไต้หวันราว 73 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 3) และไทยที่สลับมาซื้อสุทธิราว 31 ล้านเหรียญ หรือ 1.1 พันล้านบาท (หลังจากขายสุทธิเพียงวันเดียว) สวนทางกับนักลงทุนสถาบันฯที่ขายสุทธิ 1.3 พันล้านบาท (หลังจากซื้อสุทธิติดต่อกัน 4 วัน)
ขณะที่ตลาดตราสารหนี้ไทย นักลงทุนสถาบันในประเทศซื้อสุทธิราว 5.8 พันล้านบาท สวนทางกับนักลงทุนต่างชาติที่สลับมาขายสุทธิราว 2.5 พันล้านบาท (หลังจากซื้อสุทธิ 2 วัน)

กลยุทธ์ยังเน้นถือเงินสด 70% สะสมหุ้นเด่น : WHA, HANA, MCS
     SET Index วานนี้แกว่งทรงตัวในกรอบแทบไม่เปลี่ยนแปลงจากวันก่อนหน้า โดยกลุ่ม ธ.พ. เผชิญกับแรงขายทำกำไรตามคาดหลังปรับขึ้นก่อนหน้าตามแรงเก็งกำไรระยะสั้นเรื่องผลประกอบการ 3Q59 ตามด้วยกลุ่มขนส่งฯ โดยเฉพาะสายการบิน ที่ถูกกดดันจากราคาน้ำมันที่ปรับสูงขึ้นกระทบต่อต้นทุนน้ำมัน สวนทางกับกลุ่มส่งออกอาหาร อสังหาฯ และพลังงานที่ปรับขึ้นได้ ขณะที่กระแส Fund Flow มีสัญญาณชะลอตัว สะท้อนจากที่มีการซื้อ-สลับขาย ในตลาดหุ้นไทย และเริ่มมีการเปิดสถานะ Short Futures 2 วันติดต่อกันรวมกว่า 1.18 หมื่นสัญญา
ในขณะที่การทำ Earning Preview นั้น นักวิเคราะห์ ASPS ได้ทยอยจัดทำออกมาอย่างต่อเนื่อง โดยในส่วนของกลุ่ม ธ.พ. นั้น ภาพรวม 3Q59 น่าจะดีกว่า 2Q59 หลักๆ มาจากรายได้ค่าธรรมเนียมฯ ขณะที่รายได้สินเชื่อยังคงทรงตัว และเห็นการเพิ่มขึ้นของ NPL ในงวดนี้จาก ธ.พ. ขนาดใหญ่ สวนทางกับ ธ.พ. ขนาดกลาง-เล็ก ที่ควบคุม NPL ให้ลดลงหรือทรงตัวได้ จึงทำให้ ธ.พ. ขนาดกลาง มีความโดดเด่นกว่า ทั้ง TCAP(FV@B50), KKP (FV@B64) และ TISCO ([email protected])
ส่วนกลุ่มพลังงาน ราคาน้ำมันยังคงปรับขึ้นได้อย่างต่อเนื่องดังกล่าวข้างต้น ซึ่งแม้ราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยจากต้นปีจะอยู่ที่ 39.4 เหรียญฯต่อบาร์เรล ยังต่ำกว่าสมมติฐานของ ASPS ที่ 45 เหรียญฯต่อบาร์เรล (ช่วงที่เหลือต้องยืนเหนือ 50 เหรียญฯต่อบาร์เรล) แต่ในปี 2560 สมมติฐานที่กำหนดไว้ 50 เหรียญฯ มีความเป็นไปได้สูง ทำให้นักวิเคราะห์ ASPS ยังคงประมาณการหุ้นพลังงานเช่นเดิมและหากเปรียบเทียบราคาน้ำมันเฉลี่ยใน 3Q59 ที่ 43.30 เหรียญฯต่อบาร์เรล จะเห็นว่าใกล้เคียงกับ 2Q59 ที่ 43.47 เหรียญฯต่อบาร์เรล จึงคาดว่าผลประกอบการกลุ่มพลังงาน จะไม่มี Stock Loss แต่กำไรปกติของกลุ่มฯ อาจจะชะลอตัวลงตามความต้องการใช้ที่ชะลอตัวตามเศรษฐกิจโลก แต่แนวโน้มงวด 4Q59 น่าจะกระเตื้องขึ้น หากราคาน้ำมันดิบแตะระดับ 50 เหรียญฯ เนื่องจากความกังวลต่อ สถานการณ์ oversupply ที่ลดลง และน่าจะเข้าสู่ภาวะสมดุลได้ใน 2H60 ซึ่งน่าจะหนุนหุ้นน้ำมันทั้ง PTT, PTTEP, รวมถึง BANPU
กลยุทธ์การลงทุน ยังให้ถือเงินสด 70% และลงทุนหุ้น 30% โดยปรับพอร์ตขายหุ้นที่เกิน Fair Value หรือปรับขึ้นมามากเกิน และสลับมาเลือกเน้นหุ้นที่มีกำไรโดดเด่นในงวด 2H59 แต่ราคาหุ้นยังมี upside คือ
อุตสาหกรรมท่องเที่ยว ERW ([email protected]), CENTEL (FV@B48), MINT (FV@B48) รวมทั้ง AOT (FV@B490) จากการเข้าสู่ฤดูกาลท่องเที่ยวไตรมาส 4
โรงพยาบาล BCH (FV@B14), BH (FV@B213) รวมทั้ง LPH (FV@B13)
หรือหุ้นที่มีกำไรเด่นงวด 3Q59 หรือมีเงินปันผลสูง บวก ราคาหุ้นยัง Laggard ได้แก่ ASK ([email protected]), HANA (FV@B42), MCS ([email protected]) รวมถึงหุ้นที่ประเด็นบวกในช่วงนี้ ได้แก่ WHA ([email protected]) และ TPIPL ([email protected]) ที่เริ่มรับรู้กำไรจะธุรกิจโรงไฟฟ้าชัดเจนขึ้น และกำลังจะนำบริษัทย่อยที่ทำธุรกิจโรงไฟฟ้าเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในเดือน พ.ย. นี้ เป็นต้น

ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
พาสุ ชัยหลีเจริญ ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์

 

BSP

 

adsoptimal100

paidtoclick copy

 

  

 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!