- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Wednesday, 05 October 2016 16:52
- Hits: 1035
บล.ฟินันเซีย ไซรัส : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน
Today’s Report : ASEFA, CPALL, GL
Our Portfolio Oct 2016 : BJC, EKH, FSMART, IRPC, KKP
แม้ SET ดีดขึ้นได้แรงดี แต่ยังต้องระวังผันผวน จึงน่ารอซื้อช่วงอ่อนตัว
ตลาดหุ้นวานนี้ : SET ยังบวกต่อเนื่อง แต่มีกรอบจำกัดในช่วงเช้า เนื่องจากยังมีความกังวลเกี่ยวกับปัญหาของดอยช์ แบงก์ และนักลงทุนยังวิตกว่าเฟดอาจจะขยับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมภายในปีนี้ ก่อนที่ในภาคบ่ายจะมีแรงซื้อหุ้นกลุ่มแบงก์เข้ามาหนุนตลาดให้มีจังหวะขยับบวกต่อขึ้นอีก จนดัชนีสามารถหลุดออกจากกรอบแกว่งในช่วงสัปดาห์เศษขึ้นมาทำจุดสูงสุดใหม่ได้
แนวโน้มตลาดวันนี้ : ตลาดหุ้นเอเชียเช้านี้เริ่มมีจังหวะเปิดปรับตัวลดลงอีกครั้ง คาดว่าส่วนหนึ่งมาจากแรงขายทำกำไร หลังมีช่วงบวกวานนี้ เนื่องจากยังขาดปัจจัยบวกใหม่หนุน ส่วนปัญหาของดอยช์ แบงก์ ก็ยังไม่มีความชัดเจนนอกจากนี้ยังมีการคาดการณ์ว่า ECB อาจจะปรับลดวงเงิน QE ในเร็วๆ นี้รวมทั้งยังมีความวิตกเกี่ยวกับผลกระทบจาก Brexit อีกครั้ง หลังอังกฤษระบุว่าจะเริ่มดำเนินการเรื่องการออกจากสหภาพยุโรปในเดือน มี.ค.60 นอกจากนี้ยังมีความกังวลว่าข้อตกลงเกี่ยวกับการปรับลดการผลิตน้ำมันอาจจะดำเนินการไม่สำเร็จ จึงทำให้ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกเริ่มอ่อนตัวเล็กน้อย ทำให้ FSSคาดว่า SET ยังมีแนวโน้มที่จะแกว่งตัวผันผวนและอ่อนตัวได้อีกอยู่ แต่คาดกรอบลบจะไม่ลึกนักและยังลุ้นกลับไปแกว่งบวกได้ในช่วงถัดไปตามคาดเดิม
กลยุทธ์ : เรายังแนะนำให้เลือกหุ้นทยอยซื้อสะสมช่วงตลาดอ่อนตัว และหลังจากซื้อแล้วยังให้เน้นถือเพื่อรอรอบบวกใหญ่ต่อไป
แนวรับ 1507-1505 , 1502-1498 จุด
แนวต้าน 1515-1517 , 1520-1527 จุด
หุ้นเด่นทางเทคนิค : LIT , EPG , TTCL(buy back)
Fund Flow วานนี้กระแสเงินทุนไหลเข้าภูมิภาค US$359ล้าน นำโดยเกาหลีใต้US$234ล้าน และไต้หวัน US$152ล้าน ขณะที่ไหลออกจากไทยและอินโดนีเซียประเทศละ US$14ล้าน แนวโน้มกระแสเงินทุนมีทิศทางไหลเข้าภูมิภาคแต่อาจเห็นการชะลอตัวลงบ้างหลังมีกระแสข่าวว่า ECB จะปรับลดวงเงิน QE และความกังวลว่าFed จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วขึ้น
ข่าว/หุ้นเด่นมีประเด็น
• (-) ปัจจัยต่างประเทศกดดัน เงินบาทมีทิศทางอ่อนค่า ปธ.เฟด 2-3 สาขาให้ความเห็นตรงกันว่าควรขึ้นดอกเบี้ยในการประชุม 1-2 พ.ย. นี้เลยโดยไม่ต้องรอการเลือกตั้งปธน. 8 พ.ย. แต่ตลาดยังคาดว่าน่าจะเป็นเดือน ธ.ค. (ความเป็นไปได้เพิ่มขึ้นเป็น61%) ขณะที่ตัวเลขการจ้างงานเดือน ก.ย. ที่จะประกาศคืนวันศุกร์นี้ ตลาดคาดว่าจะออกมาดี +1.74 แสนตำแหน่ง (เดือนก่อน +1.51 แสนตำแหน่ง) ความกังวลเรื่องเฟดที่เข้ามาเพิ่ม นอกเหนือจากปัญหาภาคธนาคารในยุโรปที่ยังไม่คลี่คลาย และการเตรียมตัวเจรจาออกจาก EU ของอังกฤษในปีหน้า ทำให้ค่าเงินดอลลาร์แข็งค่า กลับมากดดันราคาทองคำ หุ้น และสินค้าโภคภัณฑ์อีกครั้ง
• (+) การบริโภคมีทิศทางที่ดีขึ้น วานนี้ครม.มีมติปรับค่าจ้างรัฐวิสาหกิจขึ้นไม่เกิน 2%หรือไม่เกิน 0.5 ขั้นสำหรับผู้ที่มีเงินเดือนไม่เกิน 43,890 บาท ประกอบกับงบประมาณของรัฐบาล (0.3% ของ GDP) ในการช่วยเหลือเกษตรกรผู้มีรายได้น้อยก่อนหน้านี้ จะช่วยหนุนการจับจ่ายใช้สอยในช่วง 4Q16 ให้ดีขึ้น เรายังคงชอบ CPALL, BJC
• (+) CPALL แม้ 3Q จะเป็น Low season และฐานกำไรสูงใน 2Q16 แต่เราคาดกำไรใน3Q16 +1.7% Q-Q, +31% Y-Y จากความสำเร็จของ Stamp promotion และรายได้จากการส่งเสริมการขายจาก Supplier ที่หักล้างค่าการตลาดได้หมด แนวโน้มกำไรจะดีต่อเนื่องใน 4Q16 ตามฤดูกาล เราปรับกำไรสุทธิปี 2016-17 ขึ้น 6-9% เป็น +22.6% YYปีนี้และ +17.7% Y-Y ปีหน้า ปรับราคาพื้นฐานปีหน้าขึ้นเป็น 74 บาทจาก 68 บาท(DCF) ปัจจุบันมี 2017PE 28 เท่า ต่ำกว่าปกติที่อยู่ที่ 30-33 เท่า แนะนำซื้อ
• (+) GL เราปรับกำไรสุทธิปี 2017 ขึ้น 10% เป็น 1,687 ล้านบาท +57.5% Y-Y สะท้อนการซื้อกิจการในศรีลังกา 30% และเมียนมาร์ 100% ต่อยอดสู่การลงทุนในภูมิภาค การลงทุนในศรีลังกาคุ้มค่า รับรู้กำไรได้ทันทีราว 180-200 ล้านบาท/ปี เริ่มตั้งแต่ 4Q16 ส่วนการลงทุนในเมียนมาร์ คาดรับรู้กำไรราว 5 ล้านบาท/ปี กำไรของ 2 บริษัทใหม่คิดเป็น5% ของกำไรในปีนี้และ 13% ปีหน้า ปรับราคาพื้นฐานปีหน้าขึ้นเป็น 44 บาทจาก 41บาท ส่วนกำไร 3Q16 คาดดีต่อเนื่อง +13% Q-Q, +93% Y-Y และทำ new high ใน4Q16 แนะนำซื้อ
• (+) ASEFA เราคาดกำไร 3Q16 ทำสถิติสูงสุดของปีนี้ +11.2% Q-Q ตาม highseason แต่ทรงตัว Y-Y เพราะฐานสูงในปีก่อน แนวโน้มกำไรจะชะลอใน 4Q16 เพราะฤดูกาล ปัจจุบันมี Backlog 1.8 พันล้านบาทเพิ่มต่อเนื่อง เราปรับกำไรปี 2016-17 ขึ้น 5-7% เป็น +23% Y-Y ในปีนี้และ +15% Y-Y ในปีหน้า แนวโน้มระยะยาวยังดีในฐานะที่เป็นผู้ผลิตและจำหน่ายสวิทซ์บอร์ดไฟฟ้าและอุปกรณ์ด้านระบบไฟฟ้าชั้นนำในประเทศเติบโตตามการลงทุนขนาดใหญ่ด้านคมนาคม โรงไฟฟ้า และการขยายตัวของธุรกิจเอกชน เราปรับไปใช้ราคาพื้นฐานปีหน้า 8.50 บาท เพิ่มคำแนะนำเป็นซื้อ จากเดิมถือ
ปัจจัยที่ต้องติดตาม
5 ต.ค. - สหรัฐ: การจ้างงานภาคเอกชน (ก.ย.), คำสั่งซื้อสินค้าคงทน (ส.ค.)
- ยูโรโซน: Markit Eurozone Composite PMI (ก.ย.)
6 ต.ค. - ไทย: ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (ก.ย.)
- สหรัฐ: ผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์
7 ต.ค. - สหรัฐ: การจ้างงานนอกภาคเกษตรและอัตราการว่างงาน (ก.ย.)
8 ต.ค. - จีน: Caixin China PMI Composite (ก.ย.)
9 ต.ค. - สหรัฐ: การ Debate รอบ 2 ของคู่ชิงประธานาธิบดี
10 ต.ค. - จีน: ยอดสินเชื่อรายเดือน (ก.ย.)
- สิงคโปร์: 3Q16 GDP
10-21 ต.ค. - ไทย: กลุ่มธนาคารพาณิชย์ประกาศผลประกอบการ 3Q16
11 ต.ค. - ยูโรโซน: ZEW survey Expectations (ต.ค.)
12 ต.ค. - ยูโรโซน: Industrial Production (ส.ค.)
(-) ตลาดหุ้นสหรัฐฯเมื่อคืนที่ผ่านมาปิดในแดนลบต่อเนื่องหลังมีเจ้าหน้าที่ FED ออกมาสนับสนุนให้ขึ้นดอกเบี้ย ส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้น ขณะที่นักลงทุนตอบรับค่อนไปในทางลบหลัง IMFคงคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกที่ 3.1% ในปีนี้
(+) ด้านตลาดหุ้นยุโรปเมื่อคืนปิดในแดนบวกได้ดีต่อเนื่องหลังตลาดเริ่มคลายความกังวลจากข่าวที่ว่า Deutsche Bank อยู่ระหว่างการเจรจาเพื่อปรับลดค่าปรับลงเหลือ 5.4 พันล้านดอลลาร์
(0) ส่วนตลาดหุ้นเอเชียเช้านี้เปิดผสมหลังยังไร้ปัจจัยบวกใหม่ ขณะที่นักลงทุนจับตาดูค่าเงินดอลลาร์ที่แข็งค่ามากขึ้น
(-) ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงแรงพอควร ล่าสุดขึ้นมาเคลื่อนไหวในกรอบ34.70-34.84 บาท/ดอลลาร์
(0) ราคาน้ำมันดิบ NYMEX ส่งมอบเดือน พ.ย. ลดลง 0.12 ดอลลาร์/บาร์เรล มาอยู่ที่ 48.69 ดอลลาร์/บาร์เรล แต่เริ่มกลับมาปรับตัวขึ้นเช้านี้หลังมีรายงานว่าสต๊อกน้ำมันดิบสหรัฐฯอาจปรับตัวลดลงเป็นสัปดาห์ที่ 5 ติดต่อกัน
ราคาทองคำ COMEX ส่งมอบเดือน ธ.ค. ร่วงแรง 43 ดอลลาร์/ออนซ์มาอยู่ที่ 1,269.70 ดอลลาร์/ออนซ์ จากค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯที่แข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลหลักอื่นหลังมีเจ้าหน้าที่ FED ออกมาสนับสนุนให้ปรับขึ้นดอกเบี้ย
Contact person : Somchai Anektaweepon
Register : 002265 Tel: 02-646-9967, 02-646-9852
www.fnsyrus.com FB: Finansia Syrus Research, IG: fss_research