- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Monday, 03 October 2016 16:49
- Hits: 791
บล.ฟินันเซีย ไซรัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
แม้ SET ยังพักตัว แต่คาดเป็นแค่ช่วงสั้นก่อนลุ้นขึ้นต่อในช่วงถัดไป...
ตลาดหุ้นวานนี้ : SET ปรับตัวลงไปเคลื่อนไหวด้านลบอีกครั้ง หลังจากช่วงรีบาวด์กลับขึ้นไปในวันก่อนหน้ายังมีแรงขายช่วงบวกกดดัน ขณะที่ตลาดหุ้นต่างประเทศส่วนใหญ่ก็ปรับตัวลง จากความกังวลเกี่ยวกับปัญหาของดอยช์ แบงก์ และ เวลส์ ฟาร์โก อย่างไรก็ตามตลาดหุ้นไทยยังมีแรงซื้อพยุงตลาดไว้ได้บ้าง ทำให้กรอบลบยังค่อนข้างจำกัด
แนวโน้มตลาดวันนี้ : SET น่าจะมีแรงซื้อหนุนให้ดัชนีกลับมาแกว่งตัวด้านบวกได้บ้าง หลังจากเมื่อวันศุกร์ตลาดหุ้นสหรัฐและยุโรปหลายแห่งยังมีจังหวะบวก เนื่องจากมีข่าวว่าดอยช์ แบงก์ใกล้ที่จะบรรลุข้อตกลงกับทางการสหรัฐในการลดค่าปรับลง ขณะที่ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกก็ยังฟื้นตัวขึ้นอีกเกือบ 1% ถึงแม้ว่านักลงทุนจะยังไม่มั่นใจกับข้อตกลงเรื่องการลดกำลังการผลิตจากการประชุมนอกรอบในช่วงกลางสัปดาห์ โดยยังต้องรอติดตามการประชุมของกลุ่มโอเปกในปลายเดือน พ.ย.อีกครั้งก็ตาม ขณะที่ตลาดหุ้นเอเชียเช้านี้หลายแห่งยังเปิดเป็นบวกได้ อย่างไรก็ตามเนื่องจากยังไม่มีความชัดเจนในประเด็นต่างๆ ทำให้ FSS คาดว่า SET มีสิทธิที่จะแกว่งตัวผันผวนได้ แต่กรอบลบน่าจะยังค่อนข้างจำกัด และลุ้นโอกาสฟื้นตัวขึ้นในช่วงถัดไปได้ตามคาดเดิม
กลยุทธ์ : ยังแนะนำให้เลือกหุ้นทยอยซื้อสะสมในช่วงตลาดอ่อนตัว และเน้นถือลงทุนระยะกลาง-ยาวมากกว่า
แนวรับ 1480-1477 , 1475-1470 จุด
แนวต้าน 1488-1492 , 1495-1498 จุด
หุ้นเด่นทางเทคนิค : BJC , MCS , S(buy back)
Fund Flow เมื่อวันศุกร์กระแสเงินทุนไหลออกจากภูมิภาค US$322ล้าน นำโดยไต้หวัน US$243ล้าน เกาหลีใต้ US$175ล้าน และไทย US$16ล้าน ขณะที่ไหลเข้าฟิลิปปินส์ US$80ล้าน และอินโดนีเซีย US$30ล้าน แนวโน้มกระแสเงินทุนมีทิศทางกลับมาไหลเข้าภูมิภาคหลังมีรายงานข่าวว่าธนาคารดอยช์แบงก์ใกล้บรรลุข้อตกลงกับรัฐบาลสหรัฐ ในการที่จะจ่ายค่าปรับเพื่อยุติการสอบสอนในคดีเกี่ยวกับการจำหน่าย MBS ซึ่งเป็นต้นเหตุของวิกฤตปี 2008
ข่าว/หุ้นเด่นมีประเด็น
(+) แนวโน้มตลาดหุ้นเดือน ต.ค. การดีเบตของคู่ชิงประธานาธิบดีสหรัฐ 2 ครั้งในเดือนนี้ (9 และ 19 ต.ค.) เป็นปัจจัยสำคัญทำให้กระแสเงินทุนจากต่างประเทศชะลอการไหลเข้าต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 เพราะนโยบายที่ต่างกันมากระหว่างนางฮิลลารีและนายทรัมป์มีผลกระทบต่อทั้งเศรษฐกิจสหรัฐเองและประเทศคู่ค้า ส่วนความวิตกต่อสถาบันการเงินในยุโรปเชื่อว่าไม่มีน้ำหนักต่อการเคลื่อนย้ายเงินทุนเพราะยุโรปไม่ใช่ที่หมายของโฟลว์อยู่แล้ว ปลายเดือนนักลงทุนอาจเริ่มเกร็งกับ BOJ ที่จะประชุมต้น พ.ย. ว่าจะสร้างเซอร์ไพรส์ให้ตลาดอีกหรือไม่ รวมถึงการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ แต่เชื่อ SET ปรับขึ้นตามคาดการณ์ผลประกอบการ 3Q16 เป็นรายตัว และตลาดหุ้นไทยไม่ได้ถูก Overweight จากต่างชาติอยู่แล้วจึงไม่ใช่เป้าที่จะถูกขาย ในดือนนี้เราเลือก BJC, EKH, KKP, IRPC, FSMART ทางเทคนิคมองว่ามีแนวโน้มที่ SET จะแกว่งขึ้นหาเป้า 1550 จุด(+/-) ได้
(0) ธปท.รายงานเศรษฐกิจเดือน ส.ค. ดีขึ้นจากเดือนก่อน จากการใช้จ่ายภาครัฐและส่งออกที่กลับมาขยายตัว การลงทุนภาคเอกชนดีขึ้นบ้างแต่กระจุกตัวในภาคบริการ
(+) KBANK เราคาดกำไรสุทธิ 3Q16 จะดีที่สุดในรอบปีนี้ที่ 1.08 หมื่นล้านบาท +15% Q-Q, +7% Y-Y จากการตั้งสำรองลดลง ขณะที่ NIM คาดทรงตัวที่ 3.5-3.55% ตามสินเชื่อที่คาดเพิ่มขึ้น 1-2% Q-Q และต้นทุนการเงินต่ำ ข่าวดีคือสถานการณ์ NPL ที่ดีขึ้น แม้จะยังเพิ่มขึ้นแต่อัตราการเพิ่มมีความคงที่และบริหารจัดการได้ ยังคงประมาณการกำไรปีนี้ -2.3% Y-Y และปีหน้า +12.8% Y-Y แนะนำซื้อ คงราคาพื้นฐานปี 2017 ที่ 232 บาท
(+) SNC Valuations น่าสนใจมาก แม้จะคาดว่ากำไรสุทธิ 3Q16 -26.7% Q-Q เพราะ low season แต่ +12.2% Y-Y จากรายได้ที่เพิ่มขึ้นในเกือบทุกกลุ่มสินค้าหลังได้ลูกค้าเพิ่ม รวมถึงโมเดลใหม่ๆจากลูกค้าเดิม และการควบรวมงบการเงินของ SSMA หลังถือหุ้นเพิ่มจาก 49% เป็น 51% แนวโน้มผลการดำเนินงานในระยะถัดไปน่าจะเห็นการเติบโตในอัตราเร่งหลังย้ายโรงงานแล้วเสร็จ ซึ่งทำให้ได้รับออร์เดอร์เพิ่ม และประสิทธิภาพการดำเนินงานดีขึ้น เราคาดกำไรปีนี้ +8.2% Y-Y ปีหน้า +14.7% ปัจจุบันมี 2017PE เพียง 7.6 เท่า และคาด Dividend yield 7% แนะนำซื้อ ราคาพื้นฐานปีหน้า 21 บาท
(+) SPALI เรากลับมาเริ่ม Coverage อีกครั้งด้วยคำแนะนำซื้อ ราคาพื้นฐานปีหน้า 31 บาท จุดเด่นของ SPALI อยู่ที่รายได้มั่นคงมากทั้งปีนี้และปีหน้าเพราะ Backlog คอนโดที่สร้างเสร็จพร้อมโอนในปี 2017 สูงขึ้นเกือบเท่าตัวเมื่อเทียบกับปีนี้และจะสูงต่อเนื่องถึงปี 2019 ประกอบกับยอดขายแนวราบน่าประทับใจ ขณะที่คอนโด Wellington ซึ่งมี margin ต่ำเหลือโอนน้อยมากแล้ว เราคาดกำไรปีนี้ +10.8% Y-Y ปีหน้า 16.2% Y-Y ปัจจุบันมี 2017PE เพียง 7.2 เท่า คิดเป็น PEG เพียง 0.4 และคาด Dividend yield 4-5% ต่อปี แนะนำซื้อ ราคาพื้นฐานปีหน้า 31 บาท (PE 9.5 เท่า)
ปัจจัยที่ต้องติดตาม
3 ต.ค. - ไทย:อัตราเงินเฟ้อ (ก.ย.), ดัชนีความเชื่อมั่นภาคธุรกิจ (ก.ย.)
- จีน:Manufacturing & Non-manufacturing PMI (ก.ย.)
- ญี่ปุ่น:ดัชนี Tankan (3Q16)
5 ต.ค. - สหรัฐ:การจ้างงานภาคเอกชน (ก.ย.),คำสั่งซื้อสินค้าคงทน (ส.ค.)
- ยูโรโซน: Markit Eurozone Composite PMI (ก.ย.)
6 ต.ค. - ไทย:ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (ก.ย.)
- สหรัฐ: ผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์
7 ต.ค. - สหรัฐ:การจ้างงานนอกภาคเกษตรและอัตราการว่างงาน (ก.ย.)
8 ต.ค. - จีน:Caixin China PMI Composite (ก.ย.)
9 ต.ค. - สหรัฐ:การ Debate รอบ 2 ของคู่ชิงประธานาธิบดี
10 ต.ค. - จีน:ยอดสินเชื่อรายเดือน (ก.ย.)
- สิงคโปร์: 3Q16 GDP
11 ต.ค. - ยูโรโซน: ZEW survey Expectations (ต.ค.)
(+) ตลาดหุ้นสหรัฐฯเมื่อคืนวันศุกร์ที่ผ่านมาปิดบวกได้ค่อนข้างดีหลังมีข่าวว่า Deutsche Bank ใกล้จะบรรลุข้อตกลงกับสหรัฐฯในการลดค่าปรับเหลือ 5.4 พันล้านดอลลาร์
(+) ด้านตลาดหุ้นยุโรปเมื่อคืนวันศุกร์ปิดบวกได้เล็กน้อยโดยพลิกฟื้นในช่วงบ่ายของชั่วโมงซื้อขายหลังมีข่าวลือว่า Deutsche Bank ได้บรรลุข้อตกลงกับกระทรวงยุติธรรมของสหรัฐฯในการลดค่าปรับ
(+) ส่งผลให้ตลาดหุ้นเอเชียเช้านี้เปิดในแดนบวกได้เช่นกันจากบรรยากาศการลงทุนที่สดใสและนักลงทุนเริ่มคลายความกังวลมากขึ้น
(0) ค่าเงินบาทเริ่มมีจังหวะแข็งค่าขึ้นเล็กน้อย แต่ภาพรวมยังเป็นการแกว่งตัวออกข้างในกรอบ 34.55-34.63 บาท/ดอลลาร์
(+) ราคาน้ำมันดิบ NYMEX ส่งมอบเดือน พ.ย. เพิ่มขึ้น 0.41 ดอลลาร์/บาร์เรล มาอยู่ที่ 48.24 ดอลลาร์/บาร์เรล โดยยังคงได้รับอานิสงส์จากการประชุมกลุ่มผู้ผลิตน้ำมันสัปดาห์ที่แล้วที่กลุ่ม OPEC ได้ตกลงในการปรับลดกำลังการผลิต
ราคาทองคำ COMEX ส่งมอบเดือน ธ.ค. ร่วงลง 8.90 ดอลลาร์/ออนซ์ มาอยู่ที่ 1,317.10 ดอลลาร์/ออนซ์ โดยนักลงทุนเริ่มคลายความกังวลหลังมีข่าวว่า Deutsche Bank ใกล้บรรลุการเจรจากับกระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯในการปรับลดค่าเปรับเหลือเพียง 5.4 พันล้านดอลลาร์
Contact person : Somchai Anektaweepon Register : 002265
Tel: 02-646-9967, 02-646-9852 www.fnsyrus.com
FB: Finansia Syrus Research, IG: finansiasyrusresearch