WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ASP copyบล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน



กลยุทธ์การลงทุน
    SET ขึ้นทดสอบ 1,500 จุด โดยได้รับ sentiment เชิงบวก หลัง BOJ ปรับนโยบายการเงินผ่านการคุม Yield Curve และ Fed ยังคงดอกเบี้ยฯ ดีต่อตลาดหุ้น แต่ Upside ที่จำกัดยังเป็นปัจจัยเสี่ยง กลยุทธ์ยังถือเงินสด 70% ที่เหลือลงหุ้นกำไรเด่น 3Q59 (TFG, BDMS, BCH, HANA, BA) หรือปันผลสูง (RATCH, TTW, EASTW, MCS) Top pick PTT(FV@B400) แรงหนุนจากราคาน้ำมันโลกพุ่งแรงวานนี้

BOJ ปรับใช้นโยบายการเงินผ่านการคุม Yield Curve ส่วน Fed ยังไม่ขึ้นดอกเบี้ยฯ
    เสร็จสิ้นการประชุม 2 วันของธนาคารกลางสหรัฐ(Fed) และธนาคารกลางญี่ปุ่น(BOJ) ผลปรากฎว่า Fed ยังคงดอกเบี้ยนโยบายระยะสั้นที่ 0.25-0.5% ตามเดิม โดยมีมุมมองบวกต่อเศรษฐกิจสหรัฐ โดยเฉพาะตลาดแรงงานที่ยังแข็งแกร่ง โดยยังให้น้ำหนักอย่างใกล้ชิดต่อการขยายตัวของอัตราเงินเฟ้อ (ล่าสุดอยู่ที่ 1.1%) และปัจจัยเสี่ยงจากเศรษฐกิจในประเทศและโลก
   ทั้งนี้ หากพิจารณาการประชุมในรอบนี้ พบว่า Fed มีการปรับลดคาดการณ์ อัตราดอกเบี้ยในระยะยาวลง(Long term rate) คาดปี 2559 มีโอกาสปรับขึ้นไม่เกิน 1 ครั้ง ปี 2560 ไม่เกิน 2 ครั้ง และปี 2561-2562 ไม่เกิน 3 ครั้ง ปรับลด GDP Growth ของสหรัฐปี 2559 เหลือ 1.8% จาก 2% แต่คงปี 2560-2562 ที่เดิม และปรับลดเงินเฟ้อปี2559 เหลือ 1.3% จาก 1.4% เช่นเดียวกับหลังการประชุม ประธาน Fed นางเจเน็ต เยลเลน เผยว่ามีโอกาสที่จะปรับขึ้นดอกเบี้ยได้อย่างน้อย 1 ครั้งในปีนี้ ส่งผลให้ตลาดให้น้ำหนักโอกาสขึ้นดอกเบี้ยรอบเดือน ธ.ค. มากขึ้น สะท้อนจากผลสำรวจ Fed fund future เพิ่มขึ้นที่ระดับ 61.2% (รอบ พ.ย. 21.4%) อย่างไรก็ตามค่าเงิน Dollar index กลับมาอ่อนค่าอยู่ที่ระดับ 95.415จุด เนื่องจากการปรับลดคาดการณ์ Long term rate ลงดังกล่าวข้างต้น หนุนสินทรัพย์เสี่ยงระยะสั้น อาทิ ทองคำ น้ำมัน
     ขณะที่ BOJ แม้ไม่เป็นไปตามที่ตลาดคาด คือ ยังคงดอกเบี้ยนโยบายฯที่ติดลบ 0.1% และคงฐานเงิน (Money Base) ผ่านการซื้อคืนพันธบัตรรัฐบาล 80 ล้านล้านเยนต่อปี ตามเดิม และเพิ่มวิธีการควบคุมเส้นผลตอบแทน (Yield curve) ทุกช่วงอายุ ซึ่งน่าจะทำให้ BOJ มีความคล่องตัวในการแทรกแซงปริมาณเงินในระบบ ผ่านการซื้อ/ขายพันธบัตร ทุกช่วงอายุ ซึ่งกดดันให้เงินเยนกลับมาอ่อนค่าอีกครั้งหนึ่ง แต่ถูกหักล้างจาก Dollar index ที่กลับมาอ่อนค่าดังกล่าว

ดอลลาร์อ่อนค่า หนุนราคาน้ำมันดีดแรง ส่วนราคาน้ำตาลทำจุดสูงสุดต่อเนื่อง
     ภายหลังผลการประชุม Fed ยังไม่ขึ้นดอกเบี้ย ส่งผลให้เงินดอลลาร์วานนี้อ่อนค่าลงราว 0.5% โดย Dollar Index ล่าสุดอยู่ที่ 95.415 หนุนราคาสินค้าโภคภัณฑ์ให้ปรับตัวขึ้น ทั้งน้ำมันดิบและน้ำตาลโลกที่ขึ้นทำจุดสูงสุดใหม่ โดยในส่วนของน้ำมันดิบนั้น วานนี้สำนักสารสนเทศด้านพลังงาน (EIA) รายงานสต็อกน้ำมันดิบสหรัฐประจำสัปดาห์ สิ้นสุด 16 ก.ย. พบว่า สต็อกน้ำมันดิบลดลง 6.2 ล้านบาร์เรล (ลดลงมากกว่าคาดที่ 3.4 ล้านบาร์เรล) เช่นเดียวกับน้ำมันสำเร็จรูป เบนซินที่กลับมาปรับตัวลดลง 3.2 ล้านบาร์เรล สวนทางกับน้ำมันดีเซลที่ยังเพิ่มขึ้น 2.2 ล้านบาร์เรล อย่างไรก็ตาม ยังคงต้องติดตามการประชุมกลุ่ม OPEC วันที่ 26-28 ก.ย. ว่าจะมีการออกนโยบายใหม่เพื่อรักษาระดับราคาน้ำมันหรือไม่ ซึ่งจากประเด็นดังกล่าวหนุนให้ราคาน้ำมันตลาดล่วงหน้า Brent ปรับขึ้น 2% ล่าสุด 46.39 เหรียญฯต่อบาร์เรล

    ขณะที่น้ำมันดูไบยังคงยืนเหนือ 40 เหรียญฯต่อบาร์เรล (ล่าสุด 43.69 เหรียญฯต่อบาร์เรล) ทั้งนี้แม้ว่าระดับราคาน้ำมันดิบปัจจุบันจะยังคงห่างจากสมมุติฐานราคาน้ำมันดิบดูไบปีนี้ที่ 45 เหรียญฯต่อบาร์เรล แต่คาดว่าในระยะยาวราคาน้ำมันดิบน่าจะสามารถปรับตัวขึ้นต่อได้ จึงยังคงแนะนำสะสมหุ้นกลุ่มพลังงานทั้ง PTT(FV@B400) และ PTTEP(FV@B89) เมื่อราคาอ่อนตัว
    ส่วนราคาน้ำตาลโลก ยังคงทำจุดสูงสุดต่อเนื่อง วานนี้อยู่ที่ 22.76 เซ็นต์ต่อปอนด์ จากแนวโน้มปริมาณผลผลิตน้ำตาลโลกที่มีแนวโน้มจะขาดดุลเพิ่มเป็น 7.3 ล้านตันในปีผลผลิต 2558/2559 และ 8.8 ล้านตัน ในปีผลผลิต 2559/2560 หรือขาดดุลเพิ่มขึ้นจากที่บริษัทเคยเปิดเผยไว้ก่อนหน้าที่ราว 52.1% และ 76.0% ตามลำดับ จากปัญหาภัยแล้งที่รุนแรงมากในทวีปเอเซีย โดยเฉพาะประเทศอินเดีย ทำให้ผลผลิตต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ รวมทั้ง สต็อกน้ำตาลโลก (Stock to Consumption Ratio) มีแนวโน้มลดลงจาก 39% ของความต้องการในปี 2558/59 ลงมาที่ระดับ 33% ของความต้องการในปี 2559/60 ซึ่งไปอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกับปี 2552/53 เนื่องจากเกิดปัญหาภัยแล้งในอินเดียเช่นกัน จาก 2 ปัจจัยทำให้โอกาสที่ราคาน้ำตาลทรายโลกยังขยับสูงขึ้นต่อเนื่อง ส่งผลบวกต่อผู้ส่งออกน้ำตาลทุกราย KSL, KBS, KTIS และ BRR ฝ่ายวิจัยเลือก KSL (FV@B6) เป็น Top pick

ต่างชาติซื้อหุ้นในภูมิภาคต่อเนื่องเป็นวันที่ 4
    วานนี้ตลาดหุ้นทั่วเอเชียปรับตัวเพิ่มขึ้น หลังจากผลการประชุม BOJ ออกมา โดยมีการปรับเปลี่ยนนโยบายการเงิน เพื่อช่วยกระตุ้นการส่งออก และเศรษฐกิจของประเทศ และน่าจะเป็นผลดีต่อตลาดหุ้นเพื่อนบ้าน สังเกตได้จากวานนี้ต่างชาติซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคต่อเนื่องเป็นวันที่ 4 ด้วยมูลค่ากว่า 350 ล้านเหรียญ โดยเป็นการซื้อสุทธิทุกประเทศ ยกเว้น ฟิลิปปินส์ที่ถูกขายสุทธิเล็กน้อยราว 7 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิติดต่อกันนานถึง 20 วัน) ส่วนที่เหลืออีก 4 ประเทศต่างชาติยังคงซื้อสุทธิ นำโดยตลาดหุ้นไต้หวันถูกซื้อสุทธิราว 233 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 3) ตามมาด้วยเกาหลีใต้ 73 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 4), อินโดนีเซีย 42 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิต่อเนื่อง 9 วัน) และไทยที่ซื้อสุทธิเล็กน้อยราว 9 ล้านเหรียญ หรือ 326 ล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2) ต่างกับนักลงทุนสถาบันฯที่ขายสุทธิราว 779 ล้านบาท
    ขณะที่ตลาดตราสารหนี้ไทย นักลงทุนสถาบันในประเทศซื้อสุทธิราว 5.1 พันล้านบาท เช่นเดียวกับนักลงทุนต่างชาติที่ซื้อสุทธิราว 6.7 พันล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 3)

SET มีความเสี่ยงเพิ่มเมื่อใกล้ 1,500 จุด เน้นเลือกรายหุ้น : BCH, TFG, BA, ASK
   คาดว่าตลาดหุ้นไทยน่าจะได้ sentiment เชิงบวกจากการที่ BOJ ปรับมาใช้นโยบายทางการเงินที่มีความยืดหยุ่นมากขึ้นดังกล่าวข้างต้น บวกกับ Fed ลดโอกาสการปรับขึ้นดอกเบี้ยทั้งในปีนี้และปีหน้าลง กดดันเงินดอลลาร์ให้อ่อนค่าลง ซึ่งถือเป็นปัจจัยหนุน fund flow ที่เข้ามาลงทุนทั้งในตลาดทุนและตราสารหนี้ในประเทศและเพื่อนบ้าน รวมทั้งสินค้าโภคภัณฑ์ทั้งน้ำมันและน้ำตาล อย่างไรก็ตาม ยิ่งดัชนีเข้าใกล้แนวต้านสำคัญ 1,500 จุด ยิ่งทำให้ SET Index มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น เนื่องจาก Expected P/E ที่สูงกว่า 16.5 เท่า ถือว่าใกล้เคียงกับตลาดหุ้นเพื่อนบ้าน อย่างอินโดนีเซีย, มาเลเซีย, อินเดีย ยกเว้น ฟิลิปปินส์ สูงสุดในภูมิภาค ตลาดหุ้นไทยจึงไม่มีความได้เปรียบประเทศเพื่อนบ้านนัก จึงยังคงกลยุทธ์การลงทุนยังเน้นให้ถือเงินสด 70% และให้ถือหุ้นส่วนน้อยที่เหลือ 30% โดยเน้นถือลงทุนระยะ 3-6 เดือน เลือกลงทุนเป็นรายหุ้น Selective Buy หุ้นที่มีผลกำไรโดดเด่นใน 2H59 อาทิ KSL (FV@B6), BDMS (FV@B27), BCH (FV@B14), BA ([email protected]), HANA (FV@B42), TFG (FV@B6) หุ้นได้ประโยชน์จาก Bond Yield ขาขึ้น BLA (FV@B54) รวมทั้งหุ้นปันผลสูงและ ผันผวนน้อยกว่าตลาด MCS ([email protected]), ASK ([email protected])

ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
พาสุ ชัยหลีเจริญ ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์

 

BSP

 

adsoptimal100

paidtoclick copy

 

  

 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!