- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Thursday, 22 September 2016 16:02
- Hits: 1033
บล.เมย์แบงก์ กิมเอ็ง : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน
ตลาดหุ้นไทยวานนี้
SET INDEX วานนี้เปิดบวกเด่นกลับมายืนเหนือ 1,480 จุด ผลักดันด้วยกลุ่มธนาคาร รับเหมาก่อสร้าง แม้ว่าบรรยากาศการลงทุนรอบเอเชียและยุโรปจะเป็นกลางเพื่อรอดูผลการประชุมเฟดและ BoJ ปิด ณ สิ้นวัน SET INDEX บวก 13.39 จุด มาอยู่ที่ 1,487.17 จุด มูลค่าการซื้อขาย 49,763 ล้านบาท
ทั้งนี้ต่างชาติซื้อสุทธิตลาดหุ้นไทยเป็นวันที่ 2 เพียง 327 ล้านบาท Long สุทธิใน SET50 Index Futures เป็นวันที่ 2 อีก 1,750 สัญญา และซื้อสุทธิตลาดตราสารหนี้เป็นวันที่ 3 มากถึง 6,659 ล้านบาท
ปัจจัยสำคัญวันนี้
ผลการประชุม BoJ เพิ่มมาตรการ QQE และการบริหาร Bond Yield Curve เพื่อให้อัตราเงินเฟ้อแตะเป้าหมาย 2.0%
ผลการประชุมเฟดคงอัตราดอกเบี้ยตามที่ตลาดคาด แต่ยังคงส่งสัญญาณขึ้นอัตราดอกเบี้ยภายในปีนี้
ติดตามค่าเงินบาทเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ เพื่อประเมินกระแสเงินทุนต่างชาติต่อการลงทุนในไทย
ตลาดหุ้นญี่ปุ่นปิดทำการ เนื่องในวันเริ่มต้นฤดูใบไม้ร่วง
มุมมองต่อตลาดวันนี้: กลางถึงบวก เป็นวันแรกในรอบ 5 วันทำการ
เราขยับมุมมองการลงทุนขึ้นเป็น "กลางถึงบวก" พร้อมให้น้ำหนักกับ SET INDEX มีโอกาสทดสอบ 1,500 จุดระหว่างชั่วโมงการซื้อขาย หลัง BOJ เพิ่มมาตรการทางการเงิน ทั้งใช้ QQE แบบไม่จำกัดช่วงเวลา เพื่อที่จะบริหาร Bond Yield Curve ให้เหมาะสม ผลตอบแทนพันธบัตรญี่ปุ่นอายุ 10 ปีต้องไม่ติดลบ เนื่องจากตลาดพันธบัตรระยะยาวในญี่ปุ่นอาจไม่มีพันธบัตรมากพอที่จะให้ BoJ ซื้อได้
สำหรับผลการประชุมเฟดคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.25-0.50% ตามที่ตลาดคาด พร้อมลดคาดการณ์การขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปีนี้ลงเหลือ 1 ครั้งจากเดิม 2 ครั้ง ซึ่งประธานเฟดยืนยันว่าจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยภายในปีนี้ หากตลาดการจ้างงานปรับตัวดีขึ้น
จากผลการประชุมของ 2 ธนาคารกลางหลักโลก เราเชื่อว่าเงินทุนจะไหลกลับเข้าสินทรัพย์เสี่ยง อย่างตลาดหุ้น / สินค้าโภคภัณฑ์อีกรอบ และน่าจะเป็นรอบของ Big Rally ก่อนจะถึงการเลือกตั้งสหรัฐฯ ในวันที่ 8 พ.ย. ทั้งนี้จับตาผลการดำเนินงาน 3Q59 ซึ่งจะเริ่มทยอยประกาศในเดือนหน้า หากออกมาดีกว่าคาด เชื่อว่า SET INDEX มีลุ้นทดสอบ 1,600 จุด
กลยุทธ์การลงทุน "กลับมาเน้นเก็งกำไรหุ้น Big Cap ที่ให้ผลตอบแทนจากเงินปันผลสูงเป็นเป้าหมาย" รวมถึงกองทุน Property Fund/ REIT / IFF จะได้อานิสงค์เชิงบวกจากมาตรการของ BoJ ในครั้งนี้
Strategy of the Day
1. เก็งกำไร LH : ราคาปิด 9.20 บาท ราคาเหมาะสม 11.00 บาท
a) MBKET ประเมินว่าราคาหุ้นจะตอบรับเชิงบวก หลังรายงานตลท.ว่ามีแผนขายโรงแรม Grand Centre Point ราชดำริ ให้กับกองทุน LHHOTEL มูลค่าราว 3.5-3.9 พันล้านบาท ใน 1H60 และคาดว่าจะมีกำไรพิเศษราว 800-900 ล้านบาท ซึ่งเป็น Upside ที่ยังไม่รวมไว้ในประมาณการกำไรปี 2560
b) คาดรายได้ 2H59 จะขยายตัวจาก 1H59 จากแรงหนุนของการส่งมอบโครงการคอนโดมิเนียมหลายโครงการ เช่น 333 Riverside และ The Room Sathorn 11 และมี Catalyst รออยู่ คือการเปิดขายโครงการ The Bangkok ทองหล่อ มูลค่าโครงการ 4 พันล้านบาท ใน 4Q59 ที่คาดว่าจะมียอด Presales ที่ดี
c) จุดเด่นอยู่ที่ผลตอบแทนจากเงินปันผลสูงถึง 7% ต่อปี และ Valuation ไม่แพง ซื้อขาย PER2559 ที่ 13.0 เท่า ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 7 ปีที่ 16 เท่า
2. เก็งกำไร IRPC : ราคาปิด 4.86 บาท ราคาเหมาะสม 5.40 บาท
a) MBKET ประเมินว่าหุ้นกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมีจะ Outperform ตลาด หลังเฟดมีมติคงอัตราดอกเบี้ยที่ 0.25-0.50% ส่งผลให้ Dollar Index อ่อนค่าลง และเงินทุนไหลเข้าสู่สินทรัพย์เสี่ยงอีกครั้ง
b) ราคาน้ำมันดิบ NYMEX เมื่อคืนนี้ ปรับตัวขึ้น +2.9% เป็น US$45.34/barrel เนื่องจาก EIA รายงานตัวเลขสต็อกน้ำมันดิบลดลงถึง 6.2 ล้านบาร์เรล และเชื่อว่ามีโอกาสไต่ระดับขึ้นทดสอบ US$48.00-50.00/barrel ในสัปดาห์หน้าเพื่อเก็งกำไรการประชุม OPEC ระหว่างวันที่ 26-28 ก.ย.
c) คาดกำไรปกติ 3Q59 เติบโตเด่น qoq จากแรงหนุนของโครงการ UHV และ Valuation น่าสนใจ ซื้อขายที่ระดับ PER2559 เพียง 8.5 เท่า รวมทั้งให้เงินปันผลในระดับสูงถึง 5.8% โดยคาดการณ์เงินปันผลปี 2559 หุ้นละ 0.28 บาท (จ่ายเงินปันผลปีละ 1 ครั้ง)
Fund Flow Analysis
Fund Flow in Emerging Markets
ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 4 อีก US$367 ล้าน จากวันก่อนหน้าซื้อสุทธิ US$131 ล้าน
ทั้งนี้ตลาดหุ้นฟิลิปปินส์ยังคงถูกขายต่อเนื่อง
Foreign Investors Action วานนี้
ต่างชาติซื้อสุทธิทั้ง 3 ตลาดเป็นวันที่ 2
นักลงทุนต่างชาติ คงการซื้อสุทธิตลาดหุ้นไทยเป็นวันที่ 2 อีกเล็กน้อย 327 ล้านบาท รวม 2 วันทำการซื้อสุทธิ 2,103 ล้านบาท ส่งผลให้ YTD ต่างชาติซื้อสุทธิขยับขึ้นเล็กน้อยเป็น 133,758 ล้านบาท
ด้าน SET50 Index Futures นักลงทุนกลุ่มนี้คงการ Long สุทธิเป็นวันที่ 2 อีก 1,750 สัญญา รวม 2 วันทำการ Long สุทธิ 6,210 สัญญา คาดว่าจะเป็นการทยอยปิดสถานะ Short ต่อเนื่อง กดดันให้ S50U16 กลับมาปิดต่ำกว่า SET50 Index อีกครั้ง 2.23 จุด จากวันก่อนหน้า Premium เท่ากับ 1.70 จุด ทำให้ยอด QTD นักลงทุนกลุ่มนี้คงการ Short สุทธิลดลงอีกเล็กน้อยเป็น 10,098 สัญญา
และนักลงทุนกลุ่มนี้ คงการซื้อสุทธิในตลาดตราสารหนี้เป็นวันที่ 3 อีก 6,659 ล้านบาท รวม 3 วันทำการซื้อสุทธิ 15,781 ล้านบาท เมื่อราคาพันธบัตรไทยปรับฐานลงเป็นวันที่ 2 ผ่านผลตอบแทนพันธบัตรไทย อายุ 10 ปี ผลตอบแทนเพิ่มขึ้นเป็นวันที่ 2 อีก 0.97bps จากวันก่อนหน้าเพิ่มขึ้น 1.07bps ปิดที่ 2.238%
Short-Selling วานนี้
ลดลงเล็กน้อยเป็น 1,292 ล้านบาท จากวันก่อนหน้า 1,518 ล้านบาท และ SBL กระจายตัวลงเหลือ 74 ตัว จากวันก่อนหน้า 94 หุ้น
NVDR Movement
NVDR ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2 เน้นกลุ่มธนาคาร อาหาร พลังงาน
การซื้อขายผ่าน NVDR คงการซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2 อีก 715 ล้านบาท จากวันก่อนหน้าซื้อสุทธิ 348 ล้านบาท โดย NVDR ยังคงซื้อสุทธิกลุ่มธนาคารเด่น 474 ล้านบาท กลุ่มอาหารซื้อสุทธิ 396 ล้านบาท และกลุ่มพลังงาน ซื้อสุทธิ 356 ล้านบาท แต่ขายสุทธิ ICT สูงสุด 197 ล้านบาท
ประเด็นสำคัญด้านเศรษฐกิจ - การเงินรายภูมิภาค
สหรัฐอเมริกา
เฟดคงอัตราดอกเบี้ยตามที่ตลาดคาดแต่ยืนยันขึ้นอัตราดอกเบี้ยภายในปีนี้: ผลการประชุมเฟด คงอัตราดอกเบี้ยที่ 0.50% แต่ให้สัญญาณที่แข็งแกร่งว่าจะต้องใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดมากขึ้นภายในสิ้นปีนี้ หากตลาดแรงงานปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง ขณะที่มุมมองต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ เติบโตแข็งแกร่งมากขึ้น การขึ้นอัตราดอกเบี้ยจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่จะป้องกันไม่ให้เศรษฐกิจร้อนแรงจนเกินไปและเป็นการเร่งอัตราเงินเฟ้อ
- ทั้งนี้มีประธานเฟด 3 ท่านที่ต้องการขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมนัดนี้
- เฟดลดคาดการณ์การขึ้นอัตราดอกเบี้ยภายในปีนี้ลงจาก 2 ครั้งเป็น 1 ครั้ง
- 3 ใน 17 ประธานเฟดที่คาดการณ์ว่าอัตราดอกเบี้ยจะคงที่ไปจนถึงสิ้นปีนี้
- เฟดลดความร้อนแรงในการขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปี 2560-2561
- และลดอัตราดอกเบี้ยระยะยาวลงจาก 3.0% เป็น 2.9%
ยุโรป
BoE เริ่มให้ความกังวลต่อการตั้งสำรองของบริษัทประกันภัย: หัวหน้าการกำกับดูแลสายงานประกันภัยของ BoE ให้ความเห็นว่าค่าพรีเมียมของประกันภัยได้ลดลงต่อเนื่อง แต่กำไรของบริษัทประกันภัยกับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากการยกเว้นการจ่าย Payout จำนวนมาก และลดการตั้งสำรอง ซึ่งการลดระดับการตั้งสำรอง ณ ปัจจุบันอยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 30 ปี ซึ่งแนวทางนี้จะทำให้กำไรของบริษัทดีขึ้น แต่จะไม่ใช่ระยะยาว หากแนวโน้มในระยะยาวเท่ากับอัตราเงินเฟ้อในอดีต ประเมินว่าการตั้งสำรองจะต้องเพิ่มขึ้นจากระดับปัจจุบัน 25%
เยอรมันเตรียมหารือถึงการแซงชั่นกับรัสเซีย: รมว.เศรษฐกิจ เยอรมัน สนับสนุนให้มีการพิจารณายกเลิกการแซงชั่นรัสเซีย แต่ต้องแลกด้วยขั้นตอนที่สร้างความสันติสุขในยูเครน ซึ่งอียูได้เริ่มการแซงชั่นรัสเซียตั้งแต่ปี 2557 หลังรัสเซียเข้าไปในยูเครน
ECB เตรียมพิจารณาระดับการปล่อยสินเชื่อให้บริษัทนำไป Takeover: ECB เตรียมพิจารณาระดับการปล่อยสินเชื่อที่ Private Equity กู้ไปซื้อกิจการบริษัท ซึ่งทาง ECB จะเข้ามากำหนดระดับการกู้เงินเมื่อเทียบกับกำไร (DE Ratio) ซึ่งอาจกลายเป็นความเสี่ยงต่อระบบสถาบันการเงิน
OECD ประเมินเศรษฐกิจโลกชะลอตัว: ประเมินว่าการค้าระหว่างประเทศ ยังคงเป็นตัวฉุดรังการเติบโตทางเศรษฐกิจทั่วโลกในปีนี้ เติบโต 2.9% ลดลงจากการประเมินเดือนมิ.ย.ที่ 3.0% และเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เกิดวิกฤติทางการเงินในปี 2551-2552 และจะขยับเป็น 3.2% ในปี 2560 ลดลงจากการประเมินครั้งก่อนเช่นกันที่ 3.3%
- สหรัฐฯ ปรับประมาณการเติบโตทางเศรษฐกิจปีนี้ลงเป็น 1.4% จากก่อนน้า 1.8% เป็นระดับการเติบโตต่ำสุดนับตั้งแต่วิกฤติปี 2552 ส่วนปีหน้าคาดว่าจะเติบโต 2.1% ลดลงจากการประเมินครั้งก่อนที่ 2.2%
- อียู คาดเติบโต 1.5% ในปีนี้
- อังกฤษ คาดเติบโต 1.8% ปรับขึ้นจากครั้งก่อนที่ 1.7% ในปีนี้ แม้ว่าจะปรับประมาณการปีหน้าลงเหลือ 1.0% จากเดิม 1.5% หลังเข้าสู่ช่วง Brexit
จีน
ธนาคาร Postel Savings เตรียม IPO เป็นดีลที่ใหญ่สุด: ธนาคารรัฐ Postel Savings Bank of China (PSBC) มีแผนที่จะนำหุ้นเข้าจดทะเบียนในตลาดหุ้นฮ่องกง คาดขนาดของดีล IPO ครั้งนี้ US$7.4 พันล้าน โดยจะขายหุ้นใหม่ 1.21 หมื่นล้านหุ้น ราคา HK$4.76/หุ้น ถือเป็นการขาย IPO ที่ใหญ่ที่สุดในโลก นับตั้งแต่ Alibaba Group Holdings เข้าตลาดในปี 2557
เอเชียแปซิฟิก
ผลการสำรวจ Thomeson Reuters ใน 3Q59 สัญญาณรวมเป็นบวก
- ภาคธุรกิจมีสัญญาณแข็งแกร่งสุดในรอบกว่า 1 ปี หลังเศรษฐกิจจีนเริ่มมีเสถียรภาพ และความกังวลต่อ Brexit คลายตัวลง โดย Sentiment ที่ดีขึ้นอย่างโดดเด่นได้แก่ บริษัทในภาคอสังหาฯ, บริษัทในกลุ่มเหล็ก และกลุ่มปิโตรเคมี เช่นเดียวกับกลุ่มพลังงานและโรงไฟฟ้า ไม่มีกลุ่มอุตฯ ใดที่ความเชื่อมั่นต่ำกว่า 50 จุด
- ด้านเศรษฐกิจมีมุมมองใน 3Q59 และต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 3 หลังเศรษฐกิจจีนส่งสัญญาณเติบโต แม้ว่าจะยังมีความกังวลต่อความผันผวนต่อราคาน้ำมัน และผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ก็ตาม โดยมุมมองเป็นบวกที่เด่นที่สุดเป็นภาคเอกชนในฟิลิปปินส์ ตามมาด้วยจีน, ออสเตรเลีย และอินโดนีเซีย ขณะที่ภาคเอกชนในสิงคโปร์กลับมีมุมมองเป็น "ลบ" เป็นส่วนใหญ่
BoJ เพิ่มมาตรการทางการเงินเพื่อให้อัตราเงินเฟ้อเป็นไปตามเป้าหมาย 2.0%:
- คงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย -0.1% ตามเดิม
- ตั้งเป้าหมายผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสอดคล้องกับเป้าหมายเงินเฟ้อที่ตั้งไว้ 2.0%
- BoJ ยืนยันที่จะซื้อพันธบัตรและสินทรัพย์เสี่ยงในจำนวนที่มากต่อไป ทั้งนี้การเข้าซื้อพันธบัตรระยะยาวต้องการให้ผลตอบแทนพันธบัตรญี่ปุ่นอายุ 10 ปีกลับมาอยู่ใกล้เคียง 0.0% จากปัจจุบันที่ติดลบ
- นอกจากนี้ BoJ ได้มีการตั้งเป้าหมายอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นและระยะยาว เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการลดต้นทุนการกู้เงิน ขณะที่เปิดให้ผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาวมากจะขึ้น เพื่อช่วยให้ผลตอบแทนการลงทุนของบริษัทประกันภัยดีขึ้น
- BoJ เปิดทางในการผ่อนคลายนโยบายการเงินได้ยาวนานกว่าคาด เพื่อให้อัตราเงินเฟ้อเป็นไปตามเป้าหมาย 2.0% ก่อนจะลดการเข้าซื้อสินทรัพย์
ไทย
ไม่มี
Strategist Team
Mayuree Chowvikran, CISA Strategist / Analyst 662-6586300 x 1440
Padon Vannarat Equity Analyst 662-6586300 x 1450
Krittapol Itthithumsakul Assistant Analyst