- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Wednesday, 21 September 2016 18:11
- Hits: 901
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
SET แกว่งในกรอบ 1,470-1,480 จุด รอผลการประชุม Fed และ BOJ ซึ่งมีน้ำหนักกดดันต่างชาติ ทั้งหุ้นและตราสารหนี้ ให้เลือกเฉพาะหุ้นกำไรเด่น 3Q59 (TFG, BDMS, BCH, HANA, BA) หรือปันผลสูง (RATCH, TTW, MCS) Top pick KSL(FV@B6) ASPS ปรับสมมติฐานราคาน้ำตาลขึ้น สะท้อนผลผลิตโลกขาดแคลนต่อปีหน้า
SET ยังแกว่ง 1,470-1,480 จุด รอผลประชุม Fed และ BOJ ค่ำคืนนี้
วันนี้เป็นวันที่ 2 ของการประชุมธนาคารกลาง 2 แห่ง (ประชุม 2 วัน 20-21 ก.ย.) คือ ธนาคารกลางญี่ปุ่น(BOJ) รู้ผลช่วงเช้าวันนี้ และธนาคารกลางสหรัฐ(Fed) ซึ่งจะรู้ผลเช้ามืดวันที่ 22 ก.ย. (ตามเวลาในประเทศไทย) ซึ่งตลาดคาด BOJ มีโอกาสลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก (ธ.พ. ฝาก BOJ) เพิ่มเติม จากปัจจุบันที่ -0.1% และเพิ่มวงเงิน QQE ปัจจุบัน อยู่ที่ 80 ล้านล้านเยน/ปี เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจที่ชะลอตัว
ขณะที่ Fed คาดว่าจะคงดอกเบี้ยฯที่ 0.5% ตามเดิม โดยตลาดน่าจะให้น้ำหนักการขึ้นดอกเบี้ยในการประชุมเดือน ธ.ค. มากสุด สะท้อนจากผลสำรวจ Fed fund future ล่าสุดเพิ่มขึ้นต่อเนื่องมาอยู่ที่ 59% (ขณะที่รอบ ก.ย. ราว 22% และรอบ พ.ย. ราว 28.7%) ทั้งนี้แม้การรายงานดัชนีชี้นำเศรษฐกิจสหรัฐยังขัดแย้งกัน ล่าสุด พบว่ายอดเริ่มสร้างบ้าน (Housing start) เดือน ส.ค. ลดลงมากว่าที่ตลาดคาด คือ ติดลบ 5.8%mom สู่ระดับ 1.14 ล้านหลัง (หลังจากที่เพิ่ม 2 เดือนติด) ขัดแย้งกับดัชนีความเชื่อมั่นผู้สร้างบ้านในเดือน ก.ย. เพิ่มสูงสุดในรอบ 11 เดือน และอัตราเงินเฟ้อ ล่าสุดเพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 1.1%(จาก 0.8% ในเดือน ก.ค.) อย่างไรก็ตาม ASPS ยังเชื่อว่าดัชนีชี้นำที่ขัดแย้ง และ ปัจจัยเสี่ยงรอบด้าน ยังกดดัน Fed ชะลอการขึ้นดอกเบี้ยฯ ในช่วง 1H60
น้ำมันยืนเหนือ 40 เหรียญฯ VS Soft commodities ยังเดินหน้าต่อ
จากดัชนีชี้นำเศรษฐกิจสหรัฐ ฝั่งผู้บริโภคยังมีความขัดแย้ง กดดันให้ Dollar Index กลับมาแกว่งตัวอีกครั้งหนึ่ง และตลาดคาดสต็อกน้ำมันดิบสหรัฐสัปดาห์นี้น่าจะลดลง เนื่องจากท่อส่งน้ำมันดิบสหรัฐที่ปิดซ่อมปิดซ่อมแซมบางส่วนจะกลับมาใช้งานได้ ทำให้มีการดึงน้ำมันดิบมาใช้เพิ่มขึ้น รวมถึงความร่วมมือกันเพื่อรักษาระดับการผลิต ระหว่างผู้ผลิตน้ำมันกลุ่ม OPEC และ Non-OPEC (ประชุม 26-28 ก.ย.) มีแนวโน้มที่ดีขึ้น (ผู้ผลิตน้ำมันอันดับต้นๆของกลุ่ม OPEC ออกมาสนับสนุนการคงกำลังผลิต อาทิ ซาอุดิอาระเบีย(อันดับ 1), อิรัก(อันดับ 2), อิหร่าน(อันดับ 3), ไนจีเรีย, ลิเบีย และเวเนซุเอล่า ร่วมถึง Non-OPEC อย่าง รัสเซีย) ล้วนหนุนให้ราคาน้ำมันยังสามารถยืนอยู่ระดับ 40 เหรียญฯต่อบาร์เรล ซึ่งถือว่าดีต่อหุ้นน้ำมันทั้ง PTT(FV@B400) และ PTTEP(FV@B89)
เช่นเดียวกับราคาสินค้า Soft commodities มีแนวโน้มที่ฟื้นตัวต่อเนื่อง ล่าสุดราคากากถั่วเหลืองที่เริ่มขยับตัวขึ้น ล่าสุด 313.20 เซนต์ต่อปอนด์ เพิ่มขึ้น 2% mtd คาดเนื่องจากมีฝนตกหนักในหลายพื้นที่ของสหรัฐ ทำให้เกษตรกรต้องเลื่อนการเก็บเกี่ยวถั่วออกไป หนุนราคากากถั่วเหลืองตลาดโลกให้เริ่มกระเตื้องขึ้น ซึ่งดีต่อ TVO([email protected]) ที่น่าจะได้รับประโยชน์จากประเด็นดังกล่าว ประกอบกับ TVO มีการจ่ายปันผลสูงราว 6% และมี Upside ราว 8% เช่นเดียวกับราคาน้ำตาล แม้อาจมีการย่อเล็กน้อยวานนี้ แต่ถือว่าทำสถิติสูงต่อเนื่อง และมีแนวโน้มจะขยับขึ้นต่อ ตามคาดการณ์ว่าปีผลิตหน้าจะเกิดปัญหาขาดแคลนเป็นปีที่ 2 ดังจะกล่าวในย่อหน้าถัดไป
เพิ่มสมมติฐานราคาน้ำตาล ผลผลิตขาดแคลนปีหน้า หนุน KSL, KTIS, KBS, BRR
ในการเข้าร่วมประชุมนักวิเคราะห์ของ KSL ทำให้เห็นภาพธุรกิจน้ำตาลที่สดใสมากขึ้น ประเด็นแรกคือ สถาบัน F.O. Lichts ได้คาดการณ์ปริมาณผลผลิตน้ำตาลโลกที่มีแนวโน้มจะขาดดุลเพิ่มเป็น 7.3 ล้านตันในปีผลผลิต 2558/2559 และ 8.8 ล้านตัน ในปีผลผลิต 2559/2560 หรือขาดดุลเพิ่มขึ้นจากที่บริษัทเคยเปิดเผยไว้ก่อนหน้าที่ราว 52.1% และ 76.0% ตามลำดับ เพราะปัญหาภัยแล้งที่รุนแรงมากในทวีปเอเซีย โดยเฉพาะประเทศอินเดีย ทำให้ผลผลิตต่ำสุดเป็นประวัติการณ์
ถัดมาคือสต็อกน้ำตาลโลก (Stock to Consumption Ratio) มีแนวโน้มลดลงจาก 39% ของความต้องการในปี 2558/59 ลงมาที่ระดับ 33% ของความต้องการในปี 2559/60 ซึ่งไปอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกับปี 2552/53 เนื่องจากเกิดปัญหาภัยแล้งในอินเดียเช่นกัน แต่เป็นที่สังเกตว่าราคาน้ำตาลในปีนี้กลับยืนอยู่ที่ 22 เซนต์ต่อปอนด์ เทียบกับปี 2552/53 สูงถึง 35 เซนต์ต่อปอนด์
จาก 2 ปัจจัยทำให้โอกาสที่ราคาน้ำตาลทรายโลกจะขยับขึ้นจากปัจจุบันมีความเป็นไปได้สูงมาก ขณะที่ราคาน้ำตาลดิบในตลาดโลกวานนี้ยังคงทำสถิติสูงต่อเนื่อง ล่าสุดอยู่ที่ 22.7 เซนต์ต่อปอนด์ และทำให้ราคาเฉลี่ยจากต้นปีจนถึงปัจจุบัน (ytd) อยู่ที่ 17.11 เซนต์ต่อปอนด์ แต่เนื่องจากปีผลผลิต 2558/59 (สิ้นสุด ต.ค.) ทางบริษัทอ้อยและน้ำตาลไทย (อนท.) ซึ่งเป็นบริษัทกลางในการกำหนดราคาส่งออก ได้ตกลงขายที่ตลาดล่วงหน้าราคาเฉลี่ย 15 เซนต์ต่อปอนด์แล้ว ราคาอ้อยที่ขยับสูงขึ้นในขณะนี้ จึงหนุนผลดำเนินงานปี 2559/60 (พ.ย. 2559-ต.ค. 2560) ซึ่ง อนท. ได้กำหนดราคาขายล่วงหน้าไปแล้ว 60% ของยอดส่งออก เฉลี่ย 20.50 เซนต์ต่อปอนด์ แต่ถือว่าสูงกว่าที่ ASPS กำหนดสมมติฐานไว้เพียง 19 เซนต์ต่อปอนด์ จึงทำให้นักวิเคราะห์ ASPS ปรับเพิ่มสมมติฐานราคาน้ำตาลขึ้นจากเดิม 2 เซนต์ต่อปอนด์ ซึ่งทำให้ต้องปรับเพิ่มประมาณการปี 2560 ของ KSL และ KTIS ขึ้นจากเดิม 11% และ 12% พร้อมปรับเพิ่ม Fair Value ปี 2560 เป็น 6 บาท และ 9.20 บาท หรือเพิ่มขึ้นจากเดิม 33.3% และ 8.2% ตามลำดับ ในสถานการณ์นี้บวกต่อผู้ส่งออกน้ำตาลทุกราย KSL, KBS, KTIS และ BRR แต่เลือก KSL (FV@B6) เป็น Top pick
ต่างชาติสลับมาซื้อหุ้นไทย แต่ขายหุ้นในกลุ่ม TIP ที่เหลือต่อเนื่อง
วานนี้ต่างชาติซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคราว 134 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 3) แต่ยังคงเป็นการขายสุทธิอยู่ 2 ประเทศ คือ อินโดนีเซียถูกขายสุทธิ 34 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 9) และฟิลิปปินส์ 8 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิต่อเนื่องนานถึง 19 วัน) ส่วนที่เหลืออีก 3 ประเทศต่างชาตอยังคงซื้อสุทธิ คือ ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ถูกซื้อสุทธิราว 88 ล้านเหรียญ ตามมาด้วยไต้หวัน 36 ล้านเหรียญ และไทยที่สลับมาซื้อสุทธิราว 51 ล้านเหรียญ หรือ 1.8 พันล้านบาท (หลังจากขายสุทธิเพียงวันเดียว) สวนทางกับนักลงทุนสถาบันฯที่ขายสุทธิราว 1.6 พันล้านบาท
เป็นที่สังเกตว่าต่างชาติยังคงขายสุทธิทั้งฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย แต่กลับมาสลับซื้อหุ้นไทยนั้นน่าจะเป้นเพราะระดับ Expected P/E ของไทยยังต่ำกว่า 2 ประเทศดังกล่าว คือในปี 2559 ของไทยอยู่ที่ 16.4 เท่า เทียบกับฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย อยู่ที่ 19.5 เท่า และ 17.4 เท่า และ หากพิจารณาปี 2560 ของไทยอยู่ที่ 15 เท่า ใกล้เคียงกับอินโดนีเซีย แต่ฟิลิปปิน์ยังสูงที่ 17.8 เท่า ดังนั้นในช่วงเวลา 1-2 เดือนนี้ เป็นไปได้ที่ต่างชาติจะซื้อสลับขายกำไรหุ้นไทยบ้าง แต่ยังไม่น่าจะออกไปทันที จนกว่าภาพการขึ้นดอกเบี้ยของสหรัฐจะชัดเจนขึ้น
ขณะที่ตลาดตราสารหนี้ไทย นักลงทุนสถาบันในประเทศซื้อสุทธิราว 1.9 หมื่นล้านบาท และเช่นเดียวกับนักลงทุนต่างชาติที่ซื้อสุทธิราว 7.2 พันล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2)
SET แกว่งตัวเป็นโอกาสเลือกลงทุนรายหุ้น : BCH, TFG, BA, ASK
วันนี้คาดว่าตลาดหุ้นไทยยังคงมีความผันผวนสูง โดยมีแนวรับ 1,465 - 1,480 จุด และแนวต้านสำคัญยังอยู่บริเวณ 1500 จุด ที่ยังไม่สามารถผ่านไปได้โดยง่าย โดยเชื่อว่านักลงทุนส่วนใหญ่ยังคงรอผลการประชุมของ BOJ และ Fed ซึ่งในการประชุมรอบนี้น่าจะทำให้ทราบท่าที ต่อการกำหนดนโยบายการเงินผ่อนคลายในช่วงที่เหลือของปีนี้ และต่อเนื่องในปี 2560 ซึ่งถือเป็นปัจจัยสำคัญต่อ fund flow ที่เข้ามาลงทุนทั้งในตลาดทุนและตราสารหนี้ในประเทศ และเพื่อนบ้าน นับจากนี้ ทำให้กลยุทธ์การลงทุนยังเน้นให้ถือเงินสด 70% และให้ถือหุ้นส่วนน้อยที่เหลือ 30% ทั้งกลยุทธ์นับจากนี้ต้องเน้นเลือกรายหุ้นพื้นฐานดี โดยจะต้องถือลงทุนระยะ 3-6 เดือน คือ
I.กลุ่มที่มีกำไรเติบโตโดดเด่นในงวด 2H59 อาทิ กลุ่มโรงพยาบาล ท่องเที่ยวและโรงแรม ประกันฯ ส่งออกอาหาร และชิ้นส่วนฯ เป็นต้น รายละเอียดคือ
กลุ่มโรงพยาบาล : คาดงวด 3Q59 กำไรกลุ่ม ร.พ. จะสูงสุด จากผลของฤดูกาล (โรคต่างๆที่มากับฤดูฝน และคนไข้ต่างประเทศเพิ่มขึ้น จากตะวันออกกลาง ซึ่งเป็นช่วงวันหยุดฤดูร้อน และ ปีนี้วันถือศีลอด(รอมฎอน) ตกงวด 3Q59 เพียง 7 วัน เทียบกับปีก่อนที่ 21 วัน โดย BDMS (FV@B27) เป็นโรงพยาบาลขนาดใหญ่ที่มีการกระจายตัวของคนไข้ที่ดี มีการเติบโตต่อเนื่อง และยังได้รับประโยชน์ทางภาษี หลัง BOI มีนโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรมยาและเครื่องมือแพทย์เป็นครั้งแรกในประเทศ ส่วน BH(FV@B220) แม้กำหนดเป้ารายได้ทรงตัว แต่แผนการลดต้นทุนเพื่อควบคุมค่าใช้จ่าย รวมทั้งการเร่งเปิดคลินิคทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อเป็นศูนย์ส่งต่อผู้ป่วย น่าจะช่วยหนุนกำไรปีนี้จะยังเติบโต 7% และเพิ่มขึ้นอีก 10.7% ในปีหน้า ส่วนหุ้นขนาดกลาง BCH (FV@B14) จะพลิกกลับมาเติบโตก้าวกระโดดทั้งจากช่วงฤดูกาลและการเพิ่มศักยภาพ รพ.เก่า และการเตรียมขยายสาขาใหม่ โดยคาดกำไรสุทธิปีนี้จะเติบโตถึง 34%yoy จากรายได้ผู้ป่วยประกันสังคมที่เพิ่มขึ้น ขณะที่รายได้จาก WMC ดีขึ้นเป็นลำดับจากรายได้ผู้ป่วยต่างชาติที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง คาดว่าจะเริ่มเห็นกำไรในปีหน้า ส่วน RJH (FV@B24) คาดปีนี้จะเติบโตแบบก้าวกระโดดกว่าเท่าตัว จากทำเลที่ดี และการบกระดับการให้บริการศูนย์โรคหัวใจและไตเทียม บวกกับราคาหุ้นยังมี upside สูง 17.6% ส่วน LPH(FV@B12) คาดปีนี้เติบโตถึง 70% และโตแรงต่อเนื่องในปี 2560 จากเปิดเพิ่ม 9 ศูนย์ Excellent Center ขณะที่ราคาหุ้นยังมี Upside จากราคาปัจจุบัน 42% โดยยังไม่รวมมูลค่าเพิ่มจากดีล รพ.เดชาที่คาดจะทราบผลสิ้นเดือนนี้
กลุ่มประกันฯ : เชื่อว่า bond yield curve น่าจะผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว รวมทั้งการที่ คปภ. ได้พิจารณาปรับอัตราคิดลด (discount rate) ที่เหมาะสมใหม่รองรับกรณีอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ระดับต่ำ ส่งผลบวกต่อ BLA ([email protected]) มีการตั้งเงินสำรองฯ กรมธรรม์ลดลง หนุนกำไรปกติยังอยู่ในทิศทางที่ดี และน่าจะเข้าสู่ช่วง Peak ในช่วง 4Q59 เช่นเดียวกับ BKI (FV@B409) คาด 3Q59 ขึ้นทำ peak ของปี เนื่องจากเป็นช่วงต่อสัญญาประกันภัยโดยเฉพาะในกลุ่มงานภาครัฐและรัฐวิสาหกิจ ซึ่งจะช่วยหักล้างผลกระทบจากรายได้จากธุรกิจลงทุนที่จะเห็นการลดลงของรายได้จากเงินปันผลเนื่องจากเป็นช่วงนอกฤดูกาล ส่วน THREL ([email protected]) การเติบโตของเบี้ยฯ กลุ่ม non-conventional ที่แข็งแกร่งมากในช่วง 1H59 ทำให้ผลการดำเนินงาน 1H59 คิดเป็นสัดส่วนถึง 53% ของประมาณการกำไรสุทธิปี 2559 ที่ประเมินไว้เดิม บวกกับการควบคุม combined ratio ได้ดีกว่าคาด ทำให้ฝ่ายวิจัยเพิ่มประมาณการกำไรสุทธิปี 2559-60 ขึ้น 9.2% และ 5.7% จากเดิม โดยคาดแนวโน้มผลการดำเนินงานงวด 3Q59 ยังทรงตัวใกล้เคียงกับงวด 2Q59 ก่อนที่จะกลับขึ้นไปทำระดับสูงสุดของปีในงวด 4Q59 เมื่อเข้าสู่ช่วงฤดูกาล ทำให้ปีนี้คาดกำไรสุทธิเติบโต 16%yoy และปีหน้าโตต่อเนื่อง 12.6%yoy
กลุ่มสายการบิน : ช่วง 3Q59 เป็นช่วง high season เกาะสมุย ส่งผลบวกโดยตรงต่อ BA ([email protected]) โดยคาดว่า Cabin Factor ช่วง 2H59 จะสูงกว่า 1H59 ที่ 69.6% หนุนยอดทั้งปีจะสูงกว่าสมมติฐานฝ่ายวิจัยที่ 68.3% ขณะที่ต้นทุนน้ำมันช่วงที่เหลือของปี คาดว่าจะลดลงจาก 2H58 ที่ 90 เหรียญฯ เนื่องจากได้ทำสัญญาล่วงหน้าในช่วง 2H59 ไป 50% ของปริมาณใช้ที่ราคาราว 60 เหรียญฯฯ และส่วนที่เหลืออีก 50% ยังคาดมีต้นทุนราคาใกล้เคียงราคาปัจจุบันที่ 60-65 เหรียญฯ
กลุ่มท่องเที่ยว-โรงแรม น่าจะดีเป็นรายหุ้นแม้ยังไม่เข้าสู่ high season ในช่วง 4Q59 คือ ERW ([email protected]) นั้นคาดงวด 3Q59 จะมีกำไรสูงกว่า 2Q59 จากอัตราการเข้าพักเพิ่มขึ้นจาก 2Q59 อีก 8% สู่ 79% และน่าจะมีกำไรเพิ่มต่อเนื่องจนถึง 4Q59 และยาวไปจนถึง 1Q60 ซึ่งเป็นช่วง Peak Season ท่องเที่ยว ส่วน CENTEL (FV@B46) ธุรกิจโรงแรม 2H59 คาดเติบโตตามทิศทางการท่องเที่ยวไทย โดยดีสุด 4Q59 จากช่วง High Season ส่วนธุรกิจอาหารยังเติบโตจากยอดขายเดิม และขยายสาขาใหม่จากการจัดโปรโมชั่นกระตุ้นยอดขาย และช่วงเทศกาลวันหยุดต่าง ๆ ในช่วงปลายปี MINT (FV@B44) ธุรกิจโรงแรมในงวด 3Q59 มีแรงหนุนจาก High Season ในโปรตุเกส ส่วนธุรกิจอาหาร ยังมีสัญญาณเป็นบวกต่อเนื่องจากยอดขายร้านอาหารเดิม (SSS) ที่ยังเติบโตได้ดี รวมทั้งการขยายสาขาร้านอาหารใหม่ ช่วยหนุนให้ธุรกิจอาหารรวมเติบโตไม่ต่ำกว่า 20% yoy
กลุ่มชิ้นส่วนฯ : แม้ทิศทางเงินบาทเทียบกับดอลล่าร์สหรัฐฯ ที่แข็งขึ้นจนนำไปสู่การปรับสมมติฐานเฉลี่ยทั้งปี 2559-60 เป็น 35 บาท แต่การแข็งค่าที่ค่อยเป็นค่อยไป ผนวกกับเป็นช่วง high season ของการส่งออก ซึ่งจะช่วยหนุนกำไรกลุ่มฯ เติบโตสูงกว่า 1H59 โดยเฉพาะ KCE (FV@B110) และ SVI ([email protected]) จากแนวโน้มผลการดำเนินงานงวด 2H59 เติบโตโดดเด่นจากกำลังการผลิตใหม่ๆ ที่เข้ามาต่อเนื่อง พร้อมกับแนะนำซื้อ HANA (FV@B39) ที่จะเห็นการ turnaround ของผลการดำเนินงานในงวด 2H59 และสามารถคาดหวัง div yield ได้ถึง 6% p.a. (จ่ายปีละ 2 ครั้ง)
กลุ่มเกษตร-อาหาร : แนวโน้มกำไรจากการดำเนินงานงวด 3Q59 ของกลุ่มเกษตร-อาหาร จะเติบโตจากงวด 2Q59 จากการเข้าฤดูกาลส่งออกอาหารสู่ต่างประเทศ ทำให้ราคาไก่ และ สุกร ยังทรงตัวสูงต่อเนื่องจากงวด 2Q59 อีกทั้งราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ ทั้งข้าวโพดและกากถั่วเหลืองอ่อนตัว เนื่องจากจีนเร่งระบายสต็อกข้าวโพด และผลผลิตข้าวโพดและถั่วเหลืองในสหรัฐฯ ออกสู่ตลาด โดยเลือก TFG ([email protected]) จากปัจจัยบวกราคาไก่และสุกรอยู่ในระดับสูง และซื้อ GFPT (FV'[email protected]) BR ([email protected]) ที่ได้ผลประโยชน์จากราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ลดลง และ CPF ([email protected])
II.หุ้นพื้นฐานแกร่ง และมีเงินปันผลสูง
ชุดแรก คัดเลือกเฉพาะหุ้นที่มีคุณสมบัติ คือ เงินปันผลเกินกว่า 4% ต่อปี, Ex.P/E ไม่เกิน 15 เท่า, มีความผันผวนต่ำ (Beta ไม่เกิน 1) และมี upside สูงเกินกว่า 15% คือ
MCS ([email protected]) คาด 3Q59 ผลประกอบการโดดเด่นจากปริมาณการส่งออกรวมทรงตัวระดับสูง รวมทั้งการแข็งค่าของเงินเยน และมีโอกาสปรับเพิ่มประมาณการ
RATCH (FV@B60) หุ้น Defensive เติบโตต่อเนื่องในระยะยาว คาดหวัง upside จากโครงการต่างประเทศได้
ASK ([email protected]) ได้ปัจจัยบวกจากโครงการก่อสร้างภาครัฐหนุนความต้องการใช้สินเชื่อรถบรรทุก รวมทั้งผลตอบแทนจากเงินปันผลสูงกว่า 7.4% จ่ายปีละครั้ง หากนักลงทุนซื้อหุ้นในช่วงนี้ และถือไปจนถึงขึ้น XD เปรียบเสมือนได้ปันผลกว่า 14% จึงเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ
ชุด 2 มี เงื่อนไข คือ Dividend Yield ตั้งแต่ 3.5% ขึ้นไป P/E ต่ำกว่าตลาดฯ และ upside ตั้งแต่ 10% ขึ้นไป คือ
TTW ([email protected]) หุ้นปันผลสูง ราคาหุ้นไม่ผันผวน ขณะที่ปัญหาภัยแล้งผ่านพ้นไปแล้ว หนุนผลประกอบการดีขึ้น ราคาหุ้นที่ปรับฐานลงมาช่วยเพิ่ม upside ให้น่าสนใจอีกครั้ง
EASTW ([email protected]) หุ้นปันผลสูงเช่นกัน คาดผลประกอบการน่าจะดีขึ้นในช่วง 2H59 หลังผ่านช่วงภัยแล้งไปแล้ว และกำไรจะกลับมาเติบโตอีกครั้งปี 2560
GLOW (FV@B95) จุดเด่นที่กระแสเงินสดในระดับสูง ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนจากเงินปันผลมีความสม่ำเสมอ อีกทั้งยังสามารถคาดหวังปันผลพิเศษที่อาจเกิดขึ้นได้เช่นที่เกิดขึ้นในปีที่แล้ว ขณะที่ผลการดำเนินงานในปี 2559 และ 60 อาจปรับตัวลดลงจากโรงไฟฟ้า IPP ที่รายได้ค่าความพร้อมจ่ายตามสัญญา (AP) อยู่ในช่วงขาลง อีกทั้งยังมีการ shutdown ทั้ง planned และ unplanned เกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม GLOW ยังอยู่ระหว่างการศึกษาโครงการลงทุนใหม่ ถือเป็น upside ในอนาคต
HANA (FV@B39) งวด 3Q59 เข้าสู่ช่วงฤดูกาลส่งออก ส่งผลให้ภาพรวมผลการดำเนินงานงวด 2H59 จะกลับมาเติบโตโดดเด่น จากสินค้าในกลุ่มยานยนต์ การแพทย์ และ RFID ขณะที่ราคาหุ้นยัง laggard SET และกลุ่มฯ ค่อนข้างมาก ราคาที่ปรับลงถือเป็นจุดเข้าสะสมที่ดี โดยมี PER เพียง 10.5 เท่า และยังคาดหวังปันผลได้มากกว่า 6%
SCCC (FV@B342) แผนการลงทุนขนาดใหญ่ในต่างประเทศสร้างผลกำไรที่เติบโตในระยะยาว โดยฐานะการเงินแข็งแรงพอสำหรับการลงทุน แต่อาจมีโอกาสเพิ่มทุนบางส่วนเพื่อลด Net Gearing ลง
PTT (FV@B400) ราคาหุ้นมีโอกาสปรับขึ้นตามราคาน้ำมันโลกที่ปรับตัวขึ้นในช่วงสั้น
ADVANC (FV@B189) ยังเป็นตัวเลือกที่แข็งแกร่งสุดของกลุ่มสื่อสาร ศักยภาพการแข่งขัน และรักษาตำแหน่งผู้นำอย่างยั่งยืนด้วยการมีคลื่นในมือกว่า 55 MHz อย่าวงไรก็ตาม ด้วยการแข่งขันที่รุนแรง ทำให้การเติบโตของกำไรในปีนี้ลดลง ก่อนจะกลับมาเติบโตในปีหน้า
รวมทั้งเลือกลงทุนในหุ้น property fund ที่มีความผันผวนต่ำ แต่ให้ผลตอบแทนจากเงินปันผลที่สม่ำเสมอ ได้แก่ CPNRF, TFUND และ POPF เป็นต้น
นักวิเคราะห์ : ภรณี ทองเย็น, CISA เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์: พาสุ ชัยหลีเจริญ
ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์: ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์