- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Tuesday, 20 September 2016 16:58
- Hits: 1243
บล.เอเซีย พลัส : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน วันอังคารที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2559
ข่าว JAS ทำคำเสนอซื้อหุ้นจากผู้ถือหุ้นเดิม หนุนการควบรวมกิจการในกลุ่มสื่อสาร แต่แรงขายต่างชาติเริ่มชัดขึ้น อาจทำให้ SET ผันผวนมากขึ้นเมื่อใกล้ 1,500 จุด กลยุทธ์ เลือกรายหุ้น กำไรเด่น 3Q59 (TFG, BDMS, BCH, HANA, BA) หรือปันผลสูง (RATCH, TTW, MCS) Top pick วันนี้ยังเป็น KSL([email protected]) และให้ขาย JAS(FV@B7) เพราะไม่ว่า Deal จะสรุปไปทางใด ราคาหุ้นแพงแล้ว SET Index 1,492.73
เปลี่ยนแปลง (จุด) 13.66
มูลค่าการซื้อขาย (ล้านบาท) 60,625.75
Fed และ BOJ ประชุมวันนี้ จะหนุนตลาด หากมีนโยบายการเงินผ่อนคลายต่อ
วันนี้เป็นวันแรก ในการประชุมธนาคารกลาง 2 แห่ง (ประชุม 2 วัน 20-21 ก.ย.) คือ ธนาคารกลางญี่ปุ่น(BOJ) และธนาคารกลางสหรัฐ(Fed) ซึ่งจะรู้ผลเช้าวันที่ 22 ก.ย. ตลาดคาด BOJ มีโอกาสลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก (ธ.พ. ฝาก BOJ) จากปัจจุบันที่ -0.1% เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจที่ชะลอตัวติดต่อกันนาน (ยอดค้าปลีก หรือ Retail Sales หดตัวนาน 12 เดือน) และเงินเฟ้อติดลบนาน 5 เดือน (ล่าสุด -0.5%yoy)
ขณะที่ Fed ในรอบนี้ น่าจะคงดอกเบี้ยฯที่ 0.5% ตามเดิม โดยให้น้ำหนักการขึ้นดอกเบี้ยมากที่สุด คือรอบ ธ.ค. ซึ่งล่าสุดผลสำรวจ Fed fund future ขยับขึ้นมาอยู่ที่ 56% จาก 49% ในปลายสัปดาห์ที่แล้ว ภายหลังจากดัชนีชี้นำเศรษฐกิจเริ่มส่งสัญญานการฟื้นตัวที่ดีขึ้น แม้อาจจะ ขัดแย้งกันบ้าง อาทิ เงินเฟ้อ เดือน ส.ค. เพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 1.1%(สูงสุดตั้งแต่ เม.ย.2559 เพิ่มจาก 0.8% ในเดือน ก.ค.) และดัชนีความเชื่อมั่นผู้สร้างบ้านในเดือน ก.ย. เพิ่มขึ้นมากกว่าที่ตลาดคาดอยู่ที่ 65 จุด (สูงสุดในรอบ 11 เดือน) สวนทางกับยอดค้าปลีก(Retail sales) และ ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม ในเดือน ส.ค. ที่พลิกกลับมาติดลบครั้งแรกในรอบ 5 และ 3 เดือน ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม ASPS ยังเชื่อว่าดัชนีชี้นำที่ขัดแย้ง และ ปัจจัยเสี่ยงรอบด้าน ยังกดดัน Fed ชะลอการขึ้นดอกเบี้ยฯ ในช่วง 1H60
ไม่ว่า Deals จะสรุปหรือไม่ ถือว่าราคา JAS แพงเกินพื้นฐานแล้ว
วานนี้ นายพิชญ์ โพธารามิก ผู้บริหารและผู้ถือหุ้นใหญ่สุดของ JAS (25.84%) แจ้งตลาดฯ เพื่อทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของบริษัทฯ (Tender Offer) ราคา 7.25 บ. (สูงกว่าราคาปิดวันศุกร์ที่ 16 ที่ 6.65 บ.) และ JAS-W3 หุ้นละ 3.68 บ. (สูงกว่าราคาปิดวันศุกร์ที่ 16 ที่ 3.20 บ.)
เป็นที่น่าสังเกตว่า ราคา Tender Offer ที่ประกาศออกมา สูงกว่าราคาตลาด และสูงกว่ามูลค่าหุ้นพื้นฐานที่ประเมินโดยนักวิเคราะห์ในตลาด (อยู่ระหว่าง 4.15 – 7.9 บาท) ซึ่งทำให้คาดว่า อาจ Deals ที่น่าสนใจ เช่น ขายหุ้น JAS ต่อให้แก่ผู้ให้บริการมือถือ (Operator) รายใดรายหนึ่งจาก 3 ราย หรือ การร่วมทำธุรกิจกับพันธมิตร เพื่อความอยู่รอดในระยะยาว ดังนี้ :-
กรณีที่ 1 ต้องการขายธุรกิจหลักคือ Broadband และอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง ให้กับ Operators รายใดรายหนึ่ง ใน 3 ราย คือ ADVANC, DTAC หรือ TRUE บนสมมติฐานว่า JAS ต้องการยุติการทำธุรกิจปัจจุบัน ทั้งนี้หากพิจารณาถึงความจำเป็นในการต่อยอดและความเข้มแข็งในธุรกิจแล้ว คาดว่า DTAC มีความจำเป็นมากสุด เพราะยังไม่มีธุรกิจ Broadband และอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงเป็นของตนเอง รองลงมาคือ ADVANC แม้ได้เริ่มทำแล้ว แต่ยังไม่ครอบคลุม (ล่าสุดให้บริการเพียง 26 จังหวัด) ส่วน TRUE มีส่วนแบ่งการตลาดสูงถึง 39.1% (สิ้นสุด 2Q58) จึงไม่มีความจำเป็นมากนัก นอกจากต้องการผูกขาดการให้บริการแต่รายเดียว แต่อย่างไรก็ตามหากพิจารณาความพร้อมด้านการเงินแล้ว ADVANC ถือว่าดีสุด โดยมีเงินสด+เงินสดจากการดำเนินงานรวมปีละกว่า 6 หมื่นล้านบาท เทียบกับ DTAC ที่มีเพียง 2 หมื่นล้านบาท และ TRUE 1.5 หมื่นล้านบาท
กรณีที่ 2 เพิ่มความแข็งแกร่งและอยู่รอดในระยะยาว โดยการหาพันธมิตรร่วมทำธุรกิจ จะด้วยการแลกหุ้น (stock swap) กับผู้ให้บริการมือถือรายใดรายหนึ่งข้างต้น (หากต้องการอยู่ในธุรกิจต่อ) แต่กรณีนี้ทั้ง ADVANC กับ TRUE น่าจะให้ความสนใจน้อย เพราะจะไม่มีความเป็น อิสระในการบริหารงาน ขณะที่ต่างมีฐานลูกค้าธุรกิจอินเตอร์เน็ตอยู่แล้ว จึงน่าจะเหลือเพียง DTAC ที่มีความเป็นไปได้มากสุด เพราะนอกจากไม่มีฐานธุรกิจ Broadband และอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงแล้ว ยังมีฐานะทางการเงินที่ไม่แข็งแรงพอ เพราะ DTAC ต้องเตรียมเงินเพื่อรอประมูลคลื่นความถี่ 1800 MHz (ของตนเอง 50 Mhz ) ที่จะสิ้นสุดสัมปทานในปี 2561
บทวิเคราะห์ข้างต้นเป็นเพียงสมมติฐาน ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลพื้นฐานของทั้ง 4 บริษัท โดยยังมิได้มีการสัมภาษณ์ผู้บริหารรายใด ผลสรุปทั้งหมดจึงต้องรอการเปิดเผยจากผู้บริหาร JAS ดังนั้นผู้ถือหุ้น JAS ราคาหุ้นที่ปรับขึ้นใกล้เคียงกับราคาที่ทำ Tender Offer จึงแนะนำให้ขาย เพราะไม่ว่าผลสรุปจะเป็นทางเลือกใด เชื่อว่าความสามารถในการทำกำไรของ JAS ในระยะ 2 ปีข้างหน้าไม่เปลี่ยนแปลงจากประมาณการเดิม (คาดจะมีกำไรสุทธิในปี 2559 และ 2560 ที่ 3.46 และ 3.61 พันล้านบาท หรือหุ้นละ 0.36 บาท และ 0.38 บาท ตามลำดับ) และ น่าจะสลับไปซื้อหุ้นที่มีพื้นฐานแข็งแกร่ง และ มี upside ที่สูงกว่าคือ ADVANC(FV@B200)
ราคาน้ำตาลยังทำ New High ผลผลิตขาดแคลนต่อปีหน้า หนุน KSL, KTIS, KBS
ท่ามกลาง Dollar Index ยังคงแข็งค่า ล่าสุด 95.98 จุด จากความคาดหวังว่า Fed มีโอกาสจะขึ้นดอกเบี้ยนโยบายดังกล่าวข้างต้น กดดันราคาน้ำมันดิบอ่อนตัวลงต่อ แต่คาดว่ายังยืนเหนือ 40 เหรียญฯ ต่อบาร์เรล ทั้งนี้ ยกเว้น Soft Commodity ที่ยังปรับตัวขึ้นต่อเนื่อง กล่าวคือ ราคาน้ำตาลดิบในตลาดโลกยังคงทำสถิติสูงต่อเนื่อง ล่าสุดอยู่ที่ 22.75 เซนต์ต่อปอนด์ จากวานนี้อยู่ที่ 22.45 เซนต์ต่อปอนด์ และทำให้ราคาเฉลี่ยจากต้นปีจนถึงปัจจุบัน (ytd)อยู่ที่ 17.11 เซนต์ต่อปอนด์ แต่เนื่องจากปีผลผลิต 2555/59 (สิ้นสุด ต.ค.) ทางบริษัทอ้อยและน้ำตาลทราย (อนท) ซึ่งเป็นบริษัทกลางในการกำหนดราคาส่งออก ที่ทำราคาส่งออกเฉลี่ย 15 เซนต์ต่อปอนด์ ดังนั้นราคาอ้อยที่ขยับสูงขึ้นในขณะนี้ จึงส่งผลบวกต่อผลดำเนินงานปี 2560 (พ.ย. 2559-ต.ค. 2560) ซึ่งขณะนี้ทาง อนท ได้กำหนดราคาขายที่ 20 เซนต์ต่อปอนด์ (50% ของยอดส่งออก) แต่ถือว่าสูงกว่าที่ ASPS กำหนดสมมติฐานไว้เพียง 19 เซนต์ต่อปอนด์ หากราคาน้ำตาลขยับขึ้นต่อเนื่อง อาจจะต้องปรับเพิ่มสมมติฐาน KSL([email protected]) และ KTIS([email protected]) ทั้งนี้เนื่องจากผลผลิตน้ำตาลโลกมีแนวโน้มจะน้อยกว่าความต้องการเป็นปีที่ 2 ในปีผลผลิตหน้าคือปี 2560 (ปีผลผลิต 2559 ขาดแคลนเป็นปีแรกในรอบ 5 ปี) เนื่องจาก บราซิล ซึ่งเป็นผู้ผลิตและส่งออกน้ำตาลรายใหญ่อันดับ 1 ของโลก เผชิญอากาศหนาวผิดปกติ ทำให้เก็บเกี่ยวก่อนฤดูกาลทำให้ผลผลิตลดลง และภัยแล้งที่ อินเดีย ซึ่งเป็นผู้ผลิตน้ำตาลรายใหญ่อันดับ 2 ของโลก แต่บริโภคในประเทศทั้งหมด สถานการณ์นี้บวกต่อผู้ส่งออกน้ำตาลทุกราย KSL, KBS, KTIS แต่เลือก KSL([email protected]) Top pick
เช่นเดียวกับ กากถั่วเหลืองที่เริ่มขยับตัวขึ้น ล่าสุด 312 เซนต์ต่อปอนด์ เพิ่มขึ้น 1.73% mtd คาดเนื่องจากภาวะอากาศที่แปรปรวน ประกอบกับมีพายุเข้าในฝั่งอเมริกา ทำให้เกิดฝนตกหนักในหลายพื้นที่ ส่งผลทำให้เกษตกรเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ล่าช้า หนุนราคาถั่วเหลืองให้เริ่มกระเตื้องขึ้น ซึ่งดีต่อ TVO([email protected]) ที่น่าจะได้รับประโยชน์จากประเด็นดังกล่าว ประกอบกับ TVO มีการจ่ายปันผลสูงราว 6% และมี Upside ราว 6%
ต่างชาติขายหุ้นไทยสูงสุดในภูมิภาค และน่าจะขายเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกับ TIP
วานนี้แม้ต่างชาติซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคราว 275 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2) แต่เป็นการซื้อสุทธิเพียง 2 ประเทศ คือ ไต้หวันซื้อสุทธิ 354 ล้านเหรียญ และเกาหลีใต้ 45 ล้านเหรียญ ส่วนที่เหลือขาเป็นตลาดหุ้นกลุ่ม TIP ขายทุกตลาด นำโดย หุ้นฟิลิปปินส์ขายสุทธิราว 19 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิต่อเนื่องนานถึง 18 วัน) ตามมาด้วยอินโดนีเซีย 7 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 8) และไทยสลับมาขายสุทธิสูงถึง 99 ล้านเหรียญ หรือ 3.4 พันล้านบาท และยังเป็นการขายสุทธิสูงสุดในรอบเกือบ 9 เดือนที่ผ่านมา (หลังจากซื้อสุทธิติดต่อกัน 8 วัน) ยิ่งไปกว่านั้นยังมีการเปิดสถานะ short สัญญา SET50 Futures สูงถึง 1.2 หมื่นสัญญา เช่นเดียวกับนักลงทุนสถาบันฯที่ขายสุทธิราว 706 ล้านบาท
และหากพิจารณาช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา (19 ส.ค. – 19 ก.ย. 59) พบว่าต่างชาติได้ทยอยขายหุ้นในกลุ่ม TIP อย่างชัดเจน โดยเฉพาะตลาดหุ้นฟิลิปปินส์ขายสุทธิไปแล้วกว่า 515 ล้านเหรียญ (คิดเป็นสัดส่วนสูงถึง 74% ของยอดซื้อสุทธิตั้งแต่ต้นปีที่ 696 ล้านบาท) และอินโดนีเซียขายสุทธิ 400 ล้านเหรียญ (คิดเป็นสัดส่วนราว 15% ของยอดซื้อสุทธิตั้งแต่ต้นปีที่ 2.6 พันล้านบาท) ส่วนไทยแม้ต่างชาติจะซื้อสุทธิสะสมมาแล้วกว่า 731 ล้านเหรียญในช่วงเวลาเดียวกัน แต่ตราบใดที่ไม่มีปัจจัยบวกใหม่เข้ามาหนุน จึงทำให้เชื่อว่าจะเห็นแรงขายเพิ่มขึ้นนับจากนี้ ในลักษณะเดียวกับประเทศในกลุ่ม TIP
ข้อมูลแสดงเงินทุนต่างชาติไหลเข้าออกรายเดือนของแต่ละประเทศในภูมิภาค
SET ฟื้นตัวต่อเนื่อง ยังให้หุ้นรายตัวเด่นใน 3Q59 : BCH, TFG, BA, ASK
การฟื้นตัวของ SET Index วานนี้ โดยมีกระแสข่าวเชิงบวก ต่อการควบรวมกิจการของกลุ่มสื่อสาร เพื่อความอยู่รอดในระยะยาว แต่อย่างไรก็ตามการที่ต่างชาติเริ่มกลับมาขายหุ้นไทยอย่างหนักวานนี้ ทำให้ดัชนีที่ใกล้ 1,500 จุด มีความเสี่ยงมากขึ้น และเป็นที่สังเกตว่าต่างชาติ ได้กลับมาเปิด สถานะ Short ใน SET50 Index Futures 1.2 หมื่นสัญญา อีกครั้ง หลังจากวันก่อนหน้าเปิดสถานะ Long สูงสุดเป็นประวัติการณ์กว่า 2.9 หมื่นสัญญา กลยุทธ์การลงทุนยังเน้นให้คัดเลือกหุ้นลงทุนระยะ 3- เดือน ก็เน้นพื้นฐานดี 2 กลุ่ม คือ
I.กลุ่มที่มีกำไรเติบโตโดดเด่นในงวด 2H59 อาทิ กลุ่มโรงพยาบาล ท่องเที่ยวและโรงแรม ประกันฯ ส่งออกอาหาร และชิ้นส่วนฯ เป็นต้น รายละเอียดคือ
• กลุ่มโรงพยาบาล : คาดงวด 3Q59 กำไรกลุ่ม ร.พ. จะสูงสุด จากผลของฤดูกาล (โรคต่างๆที่มากับฤดูฝน และคนไข้ต่างประเทศเพิ่มขึ้น จากตะวันออกกลาง ซึ่งเป็นช่วงวันหยุดฤดูร้อน และ ปีนี้วันถือศีลอด(รอมฎอน) ตกงวด 3Q59 เพียง 7 วัน เทียบกับปีก่อนที่ 21 วัน โดย BDMS (FV@B27) เป็นโรงพยาบาลขนาดใหญ่ที่มีการกระจายตัวของคนไข้ที่ดี มีการเติบโตต่อเนื่อง และยังได้รับประโยชน์ทางภาษี หลัง BOI มีนโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรมยาและเครื่องมือแพทย์เป็นครั้งแรกในประเทศ ส่วน BH(FV@B220) แม้กำหนดเป้ารายได้ทรงตัว แต่แผนการลดต้นทุนเพื่อควบคุมค่าใช้จ่าย รวมทั้งการเร่งเปิดคลินิคทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อเป็นศูนย์ส่งต่อผู้ป่วย น่าจะช่วยหนุนกำไรปีนี้จะยังเติบโต 7% และเพิ่มขึ้นอีก 10.7% ในปีหน้า ส่วนหุ้นขนาดกลาง BCH (FV@B14) จะพลิกกลับมาเติบโตก้าวกระโดดทั้งจากช่วงฤดูกาลและการเพิ่มศักยภาพ รพ.เก่า และการเตรียมขยายสาขาใหม่ และจากการประชุมนักวิเคราะห์วานนี้ ทำให้มั่นใจว่ากำไรสุทธิปีนี้จะเติบโตถึง 34%yoy จากรายได้ผู้ป่วยประกันสังคมที่เพิ่มขึ้น ขณะที่รายได้จาก WMC ดีขึ้นเป็นลำดับจากรายได้ผู้ป่วยต่างชาติที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง คาดว่าจะเริ่มเห็นกำไรในปีหน้า ส่วน RJH (FV@B24) คาดปีนี้จะเติบโตแบบก้าวกระโดดกว่าเท่าตัว จากทำเลที่ดี และการบกระดับการให้บริการศูนย์โรคหัวใจและไตเทียม บวกกับราคาหุ้นยังมี upside สูง 17.6% ส่วน LPH(FV@B12) คาดปีนี้เติบโตถึง 70% และโตแรงต่อเนื่องในปี 2560 จากเปิดเพิ่ม 9 ศูนย์ Excellent Center ขณะที่ราคาหุ้นยังมี Upside จากราคาปัจจุบัน 42% โดยยังไม่รวมมูลค่าเพิ่มจากดีล รพ.เดชาที่คาดจะทราบผลสิ้นเดือนนี้
• กลุ่มประกันฯ : เชื่อว่า bond yield curve น่าจะผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว รวมทั้งการที่ คปภ. ได้พิจารณาปรับอัตราคิดลด (discount rate) ที่เหมาะสมใหม่รองรับกรณีอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ระดับต่ำ ส่งผลบวกต่อ BLA ([email protected]) มีการตั้งเงินสำรองฯ กรมธรรม์ลดลง หนุนกำไรปกติยังอยู่ในทิศทางที่ดี และน่าจะเข้าสู่ช่วง Peak ในช่วง 4Q59 เช่นเดียวกับ BKI (FV@B409) คาด 3Q59 ขึ้นทำ peak ของปี เนื่องจากเป็นช่วงต่อสัญญาประกันภัยโดยเฉพาะในกลุ่มงานภาครัฐและรัฐวิสาหกิจ ซึ่งจะช่วยหักล้างผลกระทบจากรายได้จากธุรกิจลงทุนที่จะเห็นการลดลงของรายได้จากเงินปันผลเนื่องจากเป็นช่วงนอกฤดูกาล ส่วน THREL ([email protected]) การเติบโตของเบี้ยฯ กลุ่ม non-conventional ที่แข็งแกร่งมากในช่วง 1H59 ทำให้ผลการดำเนินงาน 1H59 คิดเป็นสัดส่วนถึง 53% ของประมาณการกำไรสุทธิปี 2559 ที่ประเมินไว้เดิม บวกกับการควบคุม combined ratio ได้ดีกว่าคาด ทำให้ฝ่ายวิจัยเพิ่มประมาณการกำไรสุทธิปี 2559-60 ขึ้น 9.2% และ 5.7% จากเดิม โดยคาดแนวโน้มผลการดำเนินงานงวด 3Q59 ยังทรงตัวใกล้เคียงกับงวด 2Q59 ก่อนที่จะกลับขึ้นไปทำระดับสูงสุดของปีในงวด 4Q59 เมื่อเข้าสู่ช่วงฤดูกาล ทำให้ปีนี้คาดกำไรสุทธิเติบโต 16%yoy และปีหน้าโตต่อเนื่อง 12.6%yoy
• กลุ่มสายการบิน : ช่วง 3Q59 เป็นช่วง high season เกาะสมุย ส่งผลบวกโดยตรงต่อ BA ([email protected]) โดยคาดว่า Cabin Factor ช่วง 2H59 จะสูงกว่า 1H59 ที่ 69.6% หนุนยอดทั้งปีจะสูงกว่าสมมติฐานฝ่ายวิจัยที่ 68.3% ขณะที่ต้นทุนน้ำมันช่วงที่เหลือของปี คาดว่าจะลดลงจาก 2H58 ที่ 90 เหรียญฯ เนื่องจากได้ทำสัญญาล่วงหน้าในช่วง 2H59 ไป 50% ของปริมาณใช้ที่ราคาราว 60 เหรียญฯฯ และส่วนที่เหลืออีก 50% ยังคาดมีต้นทุนราคาใกล้เคียงราคาปัจจุบันที่ 60-65 เหรียญฯ
• กลุ่มท่องเที่ยว-โรงแรม น่าจะดีเป็นรายหุ้นแม้ยังไม่เข้าสู่ high season ในช่วง 4Q59 คือ ERW ([email protected]) นั้นคาดงวด 3Q59 จะมีกำไรสูงกว่า 2Q59 จากอัตราการเข้าพักเพิ่มขึ้นจาก 2Q59 อีก 8% สู่ 79% และน่าจะมีกำไรเพิ่มต่อเนื่องจนถึง 4Q59 และยาวไปจนถึง 1Q60 ซึ่งเป็นช่วง Peak Season ท่องเที่ยว ส่วน CENTEL (FV@B46) ธุรกิจโรงแรม 2H59 คาดเติบโตตามทิศทางการท่องเที่ยวไทย โดยดีสุด 4Q59 จากช่วง High Season ส่วนธุรกิจอาหารยังเติบโตจากยอดขายเดิม และขยายสาขาใหม่จากการจัดโปรโมชั่นกระตุ้นยอดขาย และช่วงเทศกาลวันหยุดต่าง ๆ ในช่วงปลายปี MINT (FV@B44) ธุรกิจโรงแรมในงวด 3Q59 มีแรงหนุนจาก High Season ในโปรตุเกส ส่วนธุรกิจอาหาร ยังมีสัญญาณเป็นบวกต่อเนื่องจากยอดขายร้านอาหารเดิม (SSS) ที่ยังเติบโตได้ดี รวมทั้งการขยายสาขาร้านอาหารใหม่ ช่วยหนุนให้ธุรกิจอาหารรวมเติบโตไม่ต่ำกว่า 20% yoy
• กลุ่มชิ้นส่วนฯ : แม้ทิศทางเงินบาทเทียบกับดอลล่าร์สหรัฐฯ ที่แข็งขึ้นจนนำไปสู่การปรับสมมติฐานเฉลี่ยทั้งปี 2559-60 เป็น 35 บาท แต่การแข็งค่าที่ค่อยเป็นค่อยไป ผนวกกับเป็นช่วง high season ของการส่งออก ซึ่งจะช่วยหนุนกำไรกลุ่มฯ เติบโตสูงกว่า 1H59 โดยเฉพาะ KCE (FV@B110) และ SVI ([email protected]) จากแนวโน้มผลการดำเนินงานงวด 2H59 เติบโตโดดเด่นจากกำลังการผลิตใหม่ๆ ที่เข้ามาต่อเนื่อง พร้อมกับแนะนำซื้อ HANA (FV@B39) ที่จะเห็นการ turnaround ของผลการดำเนินงานในงวด 2H59 และสามารถคาดหวัง div yield ได้ถึง 6% p.a. (จ่ายปีละ 2 ครั้ง)
• กลุ่มเกษตร-อาหาร : แนวโน้มกำไรจากการดำเนินงานงวด 3Q59 ของกลุ่มเกษตร-อาหาร จะเติบโตจากงวด 2Q59 จากการเข้าฤดูกาลส่งออกอาหารสู่ต่างประเทศ ทำให้ราคาไก่ และ สุกร ยังทรงตัวสูงต่อเนื่องจากงวด 2Q59 อีกทั้งราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ ทั้งข้าวโพดและกากถั่วเหลืองอ่อนตัว เนื่องจากจีนเร่งระบายสต็อกข้าวโพด และผลผลิตข้าวโพดและถั่วเหลืองในสหรัฐฯ ออกสู่ตลาด โดยเลือก TFG ([email protected]) จากปัจจัยบวกราคาไก่และสุกรอยู่ในระดับสูง และซื้อ GFPT (FV’[email protected]) BR ([email protected]) ที่ได้ผลประโยชน์จากราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ลดลง และ CPF ([email protected])
II.หุ้นพื้นฐานแกร่ง และมีเงินปันผลสูง
ชุดแรก คัดเลือกเฉพาะหุ้นที่มีคุณสมบัติ คือ เงินปันผลเกินกว่า 4% ต่อปี, Ex.P/E ไม่เกิน 15 เท่า, มีความผันผวนต่ำ (Beta ไม่เกิน 1) และมี upside สูงเกินกว่า 15% คือ
• MCS ([email protected]) คาด 3Q59 ผลประกอบการโดดเด่นจากปริมาณการส่งออกรวมทรงตัวระดับสูง รวมทั้งการแข็งค่าของเงินเยน และมีโอกาสปรับเพิ่มประมาณการ
• RATCH (FV@B60) หุ้น Defensive เติบโตต่อเนื่องในระยะยาว คาดหวัง upside จากโครงการต่างประเทศได้
• ASK ([email protected]) ได้ปัจจัยบวกจากโครงการก่อสร้างภาครัฐหนุนความต้องการใช้สินเชื่อรถบรรทุก รวมทั้งผลตอบแทนจากเงินปันผลสูงกว่า 7.4% จ่ายปีละครั้ง หากนักลงทุนซื้อหุ้นในช่วงนี้ และถือไปจนถึงขึ้น XD เปรียบเสมือนได้ปันผลกว่า 14% จึงเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ
ชุด 2 มี เงื่อนไข คือ Dividend Yield ตั้งแต่ 3.5% ขึ้นไป P/E ต่ำกว่าตลาดฯ และ upside ตั้งแต่ 10% ขึ้นไป คือ
• TTW ([email protected]) หุ้นปันผลสูง ราคาหุ้นไม่ผันผวน ขณะที่ปัญหาภัยแล้งผ่านพ้นไปแล้ว หนุนผลประกอบการดีขึ้น ราคาหุ้นที่ปรับฐานลงมาช่วยเพิ่ม upside ให้น่าสนใจอีกครั้ง
• EASTW ([email protected]) หุ้นปันผลสูงเช่นกัน คาดผลประกอบการน่าจะดีขึ้นในช่วง 2H59 หลังผ่านช่วงภัยแล้งไปแล้ว และกำไรจะกลับมาเติบโตอีกครั้งปี 2560
• GLOW (FV@B95) จุดเด่นที่กระแสเงินสดในระดับสูง ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนจากเงินปันผลมีความสม่ำเสมอ อีกทั้งยังสามารถคาดหวังปันผลพิเศษที่อาจเกิดขึ้นได้เช่นที่เกิดขึ้นในปีที่แล้ว ขณะที่ผลการดำเนินงานในปี 2559 และ 60 อาจปรับตัวลดลงจากโรงไฟฟ้า IPP ที่รายได้ค่าความพร้อมจ่ายตามสัญญา (AP) อยู่ในช่วงขาลง อีกทั้งยังมีการ shutdown ทั้ง planned และ unplanned เกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม GLOW ยังอยู่ระหว่างการศึกษาโครงการลงทุนใหม่ ถือเป็น upside ในอนาคต
• HANA (FV@B39) งวด 3Q59 เข้าสู่ช่วงฤดูกาลส่งออก ส่งผลให้ภาพรวมผลการดำเนินงานงวด 2H59 จะกลับมาเติบโตโดดเด่น จากสินค้าในกลุ่มยานยนต์ การแพทย์ และ RFID ขณะที่ราคาหุ้นยัง laggard SET และกลุ่มฯ ค่อนข้างมาก ราคาที่ปรับลงถือเป็นจุดเข้าสะสมที่ดี โดยมี PER เพียง 10.5 เท่า และยังคาดหวังปันผลได้มากกว่า 6%
• SCCC (FV@B342) แผนการลงทุนขนาดใหญ่ในต่างประเทศสร้างผลกำไรที่เติบโตในระยะยาว โดยฐานะการเงินแข็งแรงพอสำหรับการลงทุน แต่อาจมีโอกาสเพิ่มทุนบางส่วนเพื่อลด Net Gearing ลง
• PTT (FV@B400) ราคาหุ้นมีโอกาสปรับขึ้นตามราคาน้ำมันโลกที่ปรับตัวขึ้นในช่วงสั้น
• ADVANC (FV@B189) ยังเป็นตัวเลือกที่แข็งแกร่งสุดของกลุ่มสื่อสาร ศักยภาพการแข่งขัน และรักษาตำแหน่งผู้นำอย่างยั่งยืนด้วยการมีคลื่นในมือกว่า 55 MHz อย่าวงไรก็ตาม ด้วยการแข่งขันที่รุนแรง ทำให้การเติบโตของกำไรในปีนี้ลดลง ก่อนจะกลับมาเติบโตในปีหน้า
รวมทั้งเลือกลงทุนในหุ้น property fund ที่มีความผันผวนต่ำ แต่ให้ผลตอบแทนจากเงินปันผลที่สม่ำเสมอ ได้แก่ CPNRF, TFUND และ POPF เป็นต้น
ยอดซื้อ-ขายสุทธิ นักลงทุนแต่ละประเภท (ล้านบาท)
นักลงทุนต่างชาติ -3,441.91
บัญชีบริษัทหลักทรัพย์ -2,109.40
นักลงทุนสถาบันในประเทศ -706.22
นักลงทุนรายย่อย 6,257.53
ภรณี ทองเย็น
-เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
พาสุ ชัยหลีเจริญ
fผู้ช่วยนักวิเคราะห์
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์
ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์