- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Friday, 16 September 2016 16:56
- Hits: 2824
บล.ไอร่า : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
ทิศทางตลาด
มีโอกาสปรับขึ้น? แต่คาดอยู่ในกรอบจำกัด แม้ได้รับปัจจัยหนุนจากคาดการณ์ล่าสุดว่าเฟดยังไม่พิจารณาขึ้นอัตราดอกเบี้ยในรอบการประชุมนี้ (20 – 21/9/59) หลังตัวเลขเศรฐกิจมีความผันผวน โดยเฉพาะตัวเลขค้าปลีกล่าสุดที่ลดลงมากกว่าคาด แต่ภายใต้การส่งสัญญาณของเจ้าหน้าที่ระดับสูงของเฟดที่แตกต่างกันไป คาดยังทำให้เกิดความกังวลต่อความไม่แน่นอน และคาดเป็นปัจจัยกดดันต่อเนื่อง รวมถึงทำให้ตลาดฯ มีความผันผวนไปถึงวันประชุมเฟด นอกจากนี้ดัชนีบ้านเรายังปรับเพิ่มขึ้นกว่า 50 จุด ในช่วง 2 – 3 วันที่ผ่านมา คาดอาจเกิดแรงขายทำกำไรออกมาบ้าง เพื่อลดความเสี่ยงดังกล่าว
ส่วนประเด็นในประเทศ ยังไม่มีประเด็นชี้นำใหม่ๆ แต่คาดยังได้รับปัจจัยหนุนจาก Fund Flow ต่างชาติยังคงซื้อสุทธิต่อเนื่อง แม้มูลค่าจะมีความผันผวนบ้าง แต่ YTD ยอดซื้อสุทธิสะสมเพิ่มขึ้นสูงเกือบ 130,000 ล้านบาท อย่างไรก็ตามแนะติดตามแรงขายของสถาบันในประเทศ? ซึ่งอาจกลับมากดดันภาพรวมตลาดอีกครั้ง
และยังแนะจับตา
(1) กลุ่มปิโตรเคมี ได้รับประโยชน์จากปริมาณการผลิตที่เพิ่มขึ้น เช่น IVL
(2) กลุ่มวัสดุก่อสร้าง ที่คาดได้รับประโยชน์ต่อเนื่องจากส่วนต่างผลิตภัณฑ์ที่สูงขึ้น เช่น SCC และ VNG
(3) กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ มีปัจจัยบวกจากยอดโอนในช่วงที่เหลือของปี 59 ยังคงอยู่ในเกณฑ์ดี เช่น ANAN, AP และ SPALI
(4) กลุ่มรับเหมาก่อสร้าง ที่ได้รับประโยชน์จากงานภาครัฐ เช่น CK, STEC
(5) กลุ่มพลังงาน ในขณะที่หุ้นหลักอย่างเช่น PTT ได้รับประโยชน์จากธุรกิจก๊าซที่แนวโน้มกำไรเติบโตดี ในขณะที่ TOP และ SPRC แนวโน้มผลการดำเนินงานดี
(6) กลุ่มค้าปลีก เช่น CPALL, HMPRO, KAMART และ ROBINS ที่คาดได้รับประโยชน์หลังรัฐบาลอัดฉีดกำลังซื้อรากหญ้าอย่างต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา ส่วนหนึ่งจากโครงการที่เกี่ยวข้องกับการดูแลเกษตรกร 3 โครงการวงเงิน 93,000 ล้านบาท
(7) กลุ่มท่องเที่ยว เช่น โรงแรม (CENTEL, MINT, ERW) ที่คาดได้รับประโยชน์จากจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติในปี’59 ที่คาด อยู่ที่ 33 ล้านคน เพิ่มจากประมาณการเดิมที่ 32.5 ล้านคน และคาดรายได้จากการท่องเที่ยว 1.69 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 10.6%
(8) กลุ่มขนส่ง ในส่วนของธุรกิจการบินและสนามบิน เช่น AAV, AOT
SET SET50 SET100
1,463.39 +5.20 932.21 +1.26 2,083.24 +3.89
ปัจจัยที่มีผลต่อตลาด
ปัจจัยที่มีผลต่อตลาดวันนี้
(+) ตลาดต่างประเทศ DJIA +177.71, NASDAQ +75.92, S&P +21.49 FTSE +56.99, CAC +2.96 และ DAX +52.80
ภายใต้ (1) คาดการณ์ว่า เฟดจะยังไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมวันที่ 20-21 ก.ย.นี้ หลังสหรัฐฯ เปิดเผยยอดค้าปลีก - ส.ค. ลดลง 0.3%MoM มากกว่าที่คาดว่าจะลดลง 0.1% โดยนักลงทุนลดความเป็นไปได้ในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนก.ย. สู่ระดับ 12% จากเดิมที่ 15% และ (2) ราคาน้ำมันที่ฟื้นตัว ช่วยหนุนหุ้นในกลุ่มพลังงาน
ขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจอื่นของสหรัฐฯ ทรงตัว ทั้งดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ทั่วไป และสต็อกสินค้าคงคลังภาคธุรกิจ เป็นต้น
ส่วนทางด้านตลาดหุ้นยุโรป ได้รับปัจจัยหนุนเพิ่มจาก ธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) ปรับเพิ่มคาดการณ์ GDP – 3Q/59 ขยายตัว 0.3% จากก่อนหน้าที่คาดขยายตัวเพียง 0.1% พร้อมส่งสัญญาณว่า มีแนวโน้มที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยต่อไปในปีนี้ ถึงแม้การลงประชามติแยกตัวออกจากสหภาพยุโรป จะส่งผลกระทบน้อยกว่าที่คาดไว้
ราคาน้ำมันดิบ (NYMEX) ส่งมอบเดือน ต.ค. +US$0.33 อยู่ที่ US$43.91 ต่อบาร์เรล ส่วนหนึ่งจากการเข้าเก็งกำไร หลังสัญญาน้ำมันลดลงติดต่อกัน ในช่วง 2 วันที่ผ่านมา และยังได้แรงหนุนจากข่าวการปิดท่อส่งน้ำมัน Colonial Pipeline Line 1 ในรัฐเท็กซัสเป็นการชั่วคราว เนื่องจากการซ่อมบำรุงหลังพบการรั่วไหล
ขณะที่ยังอยู่ระหว่างติดตามการประชุม (นอกรอบ) ของกลุ่มโอเปก (26-28/9/59) ที่แอลจีเรีย อย่างไรก็ตามการเจรจาหลายครั้งก่อนหน้านี้ของกลุ่มฯ ไม่ประสบความสำเร็จ
P/E (เท่า) P/BV (เท่า) Dividend Yield (%)
21.5 1.86 3.23
ที่มา: www.set.or.th
มูลค่าการซื้อขาย หน่วย(ลบ.)
มูลค่าการซื้อขาย 43,746.02
สถาบัน 267.54
บัญชีหลักทรัพย์ -1,260.81
ต่างประเทศ 1,385.65
ในประเทศ -392.38
ราคาทองคำ(COMEX) ส่งมอบเดือน ธ.ค. -US$8.1 อยู่ที่US$ 1,318.0ต่อออนซ์ ภายใต้ความไม่แน่นอนเกี่ยวกับแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยของเฟด หลังเจ้าหน้าที่ระดับสูงของเฟดออกมาส่งสัญญาณที่แตกต่างกันออกไป
(+) เม็ดเงินลงทุนจากต่างประเทศสุทธิ+1,386 ล้านบาทสะสม YTD +129,327 ล้านบาท(ปี’57 และ58 ยอดขายสุทธิสะสม36,584 ล้านบาทและ 154,346 ล้านบาทตามลำดับ)
ประเด็นที่ต้องติดตาม16 ก.ย. 2559
16/9/59 :สหรัฐฯเปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนส.ค.
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคช่วงต้นเดือนก.ย.
เงินทุนไหลเข้าสุทธิและปริมาณการซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐของต่างชาติเดือนก.ค.
ผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ10 ปี+0.01 อยู่ที่1.70% (ระดับสูงสุด3.77% เมื่อกพ.’54)
ดัชนีความเสี่ยง(VIX) -1.84 อยู่ที่16.30
หุ้นแนะนำ: CK