WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

DBS copyบล.ดีบีเอสวิคเคอร์ส : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน

 

'เน้นถือหุ้นพื้นฐานดีและมีปันผล'
หุ้นที่เปลี่ยนคำแนะนำทางปัจจัยพื้นฐานวันนี้ : ILINK (จากถือเป็นซื้อ)
     ปัจจัย&กลยุทธ์ทางปัจจัยพื้นฐาน : เมื่อวานนี้ดัชนีตลาดหุ้นไทยรีบาวด์แรง (ปิด +34.99 จุดที่ 1446.84) ซึ่งดีกว่าตลาดหุ้นภูมิภาค เพราะ SET Index ปรับลดลงแรงและเร็วกว่าประเทศอื่นๆ นักลงทุนต่างชาติยังคงเดินหน้าซื้อสุทธิ 4.1 พันล้านบาท สถาบันในประเทศซื้อสุทธิ 626 ล้านบาท ส่วนพอร์ตบล.และรายย่อยขายสุทธิ


    วันนี้ตลาดหุ้นเอเชียอยู่ใน Sentiment ลบ แต่ไม่ถึงกับรุนแรงมาก เนื่องจากดัชนีดาวโจนส์ฟิวเจอร์สเช้านี้บวกขึ้นเล็กน้อย 0.25% แม้ว่าเมื่อคืนนี้ DJIA จะร่วงลงถึง 1.4% (-258.32 จุด) และปิดเหนือระดับ 18,000 จุดได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น ซึ่งปัจจัยที่กดดันยังคงเป็นความกังวลเรื่องการปรับขึ้นดอกเบี้ยของเฟด ซึ่งมีทิศทางไม่แน่นอน เพราะความเห็นเจ้าหน้าที่เฟดระดับสูงที่แตกต่างกัน ส่วนในประเทศ วันนี้มีการประชุมกนง. ซึ่งคาดว่าจะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 1.50% ก่อน สำหรับหลักทรัพย์ของไทยที่จะเข้าไปคำนวณใน DJSI จะมีผลตั้งแต่ 19 ก.ย.นี้ ได้แก่ ADVANC, AOT, BANPU, CPF, CPN, IRPC, KBANK, MINT, PTT, PTTEP, PTTGC, SCC, TOP และ TU ซึ่งคาดว่าหลักทรัพย์ดังกล่าวนี้จะได้รับความสนใจลงทุนจากนักลงทุนต่างประเทศมากขึ้น (โดย KBANK ได้รับการคัดเลือกเข้ามาเพิ่มในปีนี้) และเราเห็นว่าเป็นหลักทรัพย์ที่น่าสนใจทยอยซื้อลงทุนระยะกลาง-ยาวเมื่อราคาหุ้นอ่อนตัวลงแรงตามภาวะตลาด


     กลยุทธ์ : เลือกซื้อหุ้นที่ธุรกิจและกำไรยังเติบโตได้ดีขณะที่ราคาร่วงลงแรง ทั้งนี้เน้นเพื่อการเล่นเด้งตามรอบไว้ก่อน (จนกว่าจะมีปัจจัยบ่งชี้ทางบวกใหม่เข้ามาแล้วค่อยถือยาว) สำหรับหุ้นพื้นฐานแนะนำวันนี้เป็น KBANK
     การวิเคราะห์ทางเทคนิค : สัญญาณ Candlestick & Indicators เป็นบวกเล็กๆ โดยมีแนวต้านระยะสั้น 1450-1460, 1470 สำหรับหุ้นแนะนำซื้อตามค่าบวก ได้แก่ BBL, KBANK, INTUCH, ADVANC, SCB, KTB, ILINK, PTG (ดูรายละเอียดใน Traders Spectrum)

นักวิเคราะห์ : อาภาภรณ์ แสวงพรรค - [email protected]

Need to know TODAY
ปัจจัยต่างประเทศ
- ตลาดหุ้นสหรัฐ : อ่อนตัวลง 1% กว่า
      ดัชนี เฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 18,066.75 จุด ร่วงลง 258.32 จุด หรือ -1.41% ดัชนี NASDAQ ปิดที่ 5,155.25 จุด ลดลง 56.64 จุด หรือ -1.09% ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,127.02 จุด ลดลง 32.02 จุด หรือ -1.48% โดยปัจจัยที่กดดันหลักยังคงเป็นทิศทางที่ไม่แน่นอนของการปรับขึ้นดอกเบี้ยเฟด หลังความเห็นเจ้าหน้าที่ระดับสูงแตกต่างกัน (นางเบรนนาร์ด ซึ่งเป็น 1 ในคณะกรรมการ FOMC ที่มีสิทธิออกเสียงในการประชุมเห็นว่าเฟดควรใช้นโยบายผ่อนคลายต่อไป ขณะที่ประธานเฟดสาขาบอสตัน แอตแลนตา ดัลลัส หนุนให้เฟดทยอยปรับขึ้นดอกเบี้ย) ทั้งนี้เจ้าหน้าที่เฟดจะไม่สามารถออกมาให้ความเห็นเกี่ยวกับดอกเบี้ยตั้งแต่ 12 ก.ย.59 (ตามกฎคือห้ามแสดงความเห็นก่อนการประชุม 1 สัปดาห์) นอกจากนั้นราคาน้ำมันดิบที่ลดลงก็กดดันหุ้นกลุ่มพลังงานด้วย

- ราคาน้ำมันดิบ : ร่วงลงราว 3%…อุปสงค์เติบโต แต่ปริมาณผลิตของกลุ่มโอเปกก็เพิ่มขึ้น
สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนต.ค.ร่วงลง 1.39 ดอลลาร์ หรือ -3% ปิดที่ 44.90 ดอลลาร์/บาร์เรล ส่วน BRENT ส่งมอบเดือนพ.ย.ลดลง 1.22 ดอลลาร์ หรือ -2.5% ปิดที่ 47.10 ดอลลาร์/บาร์เรล ทั้งนี้ IEA เปิดเผยว่าการขยายตัวของอุปสงค์น้ำมันต่ำกว่าที่เคยคาดการณ์ไว้ และอาจใช้เวลานานกว่าจะถึงระดับสมดุล โดย IEA คาดอุปสงค์น้ำมันปีนี้เพิ่ม 1.3 ล้านบาร์เรล (ลดลงจากครั้งก่อน 1 แสนบาร์เรล/วัน) ส่วนปี 60 คาดว่าอุปสงค์จะเพิ่ม 1.2 ล้านบาร์เรล/วัน สำหรับกลุ่มโอเปกคาดว่าอุปสงค์น้ำมันดิบปีนี้จะเพิ่ม 1.23 ล้านบาร์เรล/วัน และปี 60 เพิ่ม 1.15 ล้านบาร์เรล/วัน
ด้านอุปทาน ทาง IEA มองว่าปริมาณการผลิตน้ำมันดิบนอกกลุ่มโอเปกลดลง แต่ปริมาณการผลิตของกลุ่มโอเปกสูงขึ้น และสต็อกน้ำมันดิบกลุ่มประเทศ OECD พุ่งขึ้นสู่ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์

ราคาทองคำ : อ่อนลงเล็กน้อย
สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนธ.ค.ปรับตัวลง 1.9 ดอลลาร์ หรือ 0.14% ปิดที่ระดับ 1,323.7 ดอลลาร์/ออนซ์ ทั้งนี้ CME Group FedWatch ระบุว่า นักลงทุนได้เพิ่มคาดการณ์การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟดในการประชุมเดือนก.ย.ขึ้นสู่ 24% จากเดิมที่ 18%


ปัจจัยในประเทศ & หุ้นเด่น

คาดกนง.คงดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 1.5% ในการประชุมวันนี้ (14 ก.ย.59

      คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ประชุมวันนี้ 14 ก.ย.59 เราคาดว่าจะมีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 1.5% ทั้งนี้เราเห็นว่าเศรษฐกิจไทยมีการฟื้นตัวได้อย่างค่อยเป็นค่อยไป เพราะการลงทุนภาคเอกชนและภาคส่งออกยังซบเซา ขณะที่การบริโภคภาคเอกชนเติบโตดีขึ้นเล็กน้อย การลงทุนภาครัฐล่าช้ากว่าแผน แต่ภาคท่องเที่ยวยังคงเติบโตได้ดี ความเสี่ยงในช่วงที่เหลือของปีนี้ คือ ความผันผวนของกระแสเงินทุนเคลื่อนย้ายซึ่งส่งผลกระทบต่อค่าเงินบาท และการเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบายของสหรัฐถ้าทรัมป์ชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดี (เลือกตั้ง 8 พ.ย.59)

ครม.อนุมัติแผนพัฒนาเศรษฐกิจฯฉบับที่ 12 (ปี 60-64) แล้ว...เริ่มใช้ 1 ต.ค.59 เป็นต้นไป
      คณะรัฐมนตรีเห็นชอบแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (ปี 2560-2564) แล้ว โดยจะเริ่มใช้ตั้งแต่ 1 ต.ค.2559 เป็นต้นไป ซึ่งแผนฯนี้จะเป็นแผนแรกที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี เป้าหมายหลัก คือ รายได้ต่อหัวประชากร 40% ที่มีรายได้ต่ำสุดเพิ่มไม่น้อยกว่า 15% ต่อปี, เศรษฐกิจขยายตัวไม่น้อยกว่า 5% ต่อปี, สัดส่วนพื้นที่ป่าไม้ไม่น้อยกว่า 40% ของประเทศ, ความเสี่ยงต่อภัยก่อการร้ายต่ำกว่าลำดับ 20 ของโลก, ประสิทธิภาพภาครัฐเป็นอันดับ 2 ของอาเซียน, ปริมาณการขนส่งทางรางและทางน้ำไม่น้อยกว่า 4% และ 15% และสัดส่วนค่าใช้จ่าย R&D อยู่ที่ 1.5% ของ GDP
      โดยในแผนพัฒนาฯฉบับนี้มีแผนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานมูลค่ารวม 3 ล้านล้านบาท เช่น ด้านคมนาคมขนส่ง 1.67 ล้านล้านบาท, ด้านพลังงาน 1.2 ล้านล้านบาท, ด้านสาธารณูปโภคโดยเฉพาะน้ำประปา 1.1 แสนล้านบาท, ด้านเศรษฐกิจดิจิตอล 4.4 หมื่นล้านบาท, ด้านการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวก 2.5 หมื่นล้านบาท, ด้านโลจิสติกส์ 3.9 พันล้านบาท เป็นต้น

+ กลุ่มสื่อ : บอร์ดกสทช.พิจารณาการลดค่าธรรมเนียมกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์วันนี้
บอร์ดกสท.เห็นชอบแนวทางเปลี่ยนการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์รายปี (ทีวีดิจิตอล ทีวีดาวเทียม เคเบิลทีวี และวิทยุ) จากปัจจุบัน 2% ของรายได้ เป็นแบบขั้นบันได 5 ระดับ คือ รายได้ 0-5 ล้านบาทแรกเก็บอัตรา 0.5%, 5-ไม่เกิน 50 ล้านบาทเก็บอัตรา 0.75%, 50-ไม่เกิน 500 ล้านบาทเก็บอัตรา 1%, 500-ไม่เกิน 1,000 ล้านบาทเก็บอัตรา 1.75% และเกิน 1,000 ล้านบาทเก็บอัตรา 2% ซึ่งทำให้อัตราค่าธรรมเนียมลดลงจากเดิม ทั้งนี้เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ส่วนใหญ่มีรายได้ไม่สูง โดยผู้ประกอบการที่มีรายได้สูงกว่า 1,000 ล้านบาท/ปี มีเพียง 3-5 รายเท่านั้น (ผู้ประกอบการต้องชำระค่าใบอนุญาตในช่วงเดือนพ.ค.-มิ.ย.ของทุกปี)
ทั้งนี้ บอร์ดกสทช.จะพิจารณาเรื่องอัตราค่าธรรมเนียมใหม่ในวันนี้ (14 ก.ย.) และเมื่อเห็นชอบแล้ว จะนำไปประกาศในราชกิจจานุเบกษา เพื่อให้มีผลบังคับใช้ต่อไป ซึ่งคาดว่าจะเป็นภายในปี 59
     ความเห็นเชิงกลยุทธ์ Retail Research : นับเป็นข่าวดีกับกลุ่มสื่อที่จะได้ลดภาระการจ่ายค่าธรรมเนียมลงเป็นลักษณะขั้นบันไดดังกล่าว (เช่น ผู้ประกอบการที่มีรายได้ 1.5 พันล้านบาท/ปี ต้องจ่ายค่าธรรมเนียมอัตรา 2% คือ 30 ล้านบาทต่อปี ก็จะจ่ายลดลงตามอัตราขั้นบันไดเหลือ 22 ล้านบาท/ปี เป็นต้น) และในกลุ่มทีวีดิจิตอลยังมีโอกาสที่จะได้เลื่อนระยะเวลาในการชำระค่าประมูลฯงวดที่ 4 ซึ่งจะครบกำหนดชำระเดือนพ.ค.60 ออกไป 1-2 ปีด้วย ซึ่งขณะนี้กำลังรอฟังความเห็นจากสำนักงบประมาณและกระทรวงการคลังต่อเรื่องนี้ก่อน สำหรับหลักทรัพย์ที่มีความโดดเด่นในกลุ่มทีวีดิจิตอล คือ WORK (แนะนำซื้อ ราคาพื้นฐาน DBSV ให้ไว้ที่ 45 บาท) ส่วน Dark horse เป็น RS ซึ่งคาดว่าจะพลิกกลับเป็นกำไรได้ใน 4Q59

/+ บจ.ไทยที่เข้าไปคำนวณใน Dow Jones Sustainability Indices (DJSI)
     ตลาดหลักทรัพย์ฯเปิดเผยรายชื่อ 14 บจ.ไทยที่เข้าไปคำนวณใน Dow Jones Sustainability Indices (DJSI) ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ 19 ก.ย.59 เป็นต้นไป โดย DJSI World 5 คือ KBANK, PTT, PTTEP, PTTGC, SCC ส่วน DJSI Emrging Market เป็น ADVANC, AOT, BANPU, CPF, CPN, IRPC, KBANK, MINT, PTT, PTTEP, PTTGC, SCC, TOP และ TU

      นอกจากนี้ยังมีไทยเบฟฯที่จดทะเบียนในตลาดหุ้นสิงคโปร์ด้วย
      ทั้งนี้ KBANK ได้รับการคัดเลือกเข้ามาในปีนี้ และเป็นธนาคารพาณิชย์แห่งแรกของไทยและอาเซียนที่ได้เข้า DJSI รวมทั้ง TOP ได้คะแนนสูงสุดเป็นอันดับ 1 ในกลุ่มพลังงานของโลกจากจำนวน 159 บริษัทในกลุ่มเดียวกันต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 นับเป็นบวก เพราะหลักทรัพย์ที่ได้เข้าไปคำนวณใน DJSI หรือดัชนีแห่งความยั่งยืนนี้จะได้รับความสนใจจากนักลงทุนสถาบันต่างประเทศมากขึ้น โดยเฉพาะกองทุนขนาดใหญ่ระดับโลก

นักวิเคราะห์ : อาภาภรณ์ แสวงพรรค - [email protected]

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!