WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

DBS copyบล.ดีบีเอสวิคเคอร์ส : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน

 

'มีสิทธิอ่อนก่อน...แล้วลุ้นรีบาวด์ตามมา'
หุ้นที่เปลี่ยนคำแนะนำทางปัจจัยพื้นฐานวันนี้ : ไม่มี
     ปัจจัย&กลยุทธ์ทางปัจจัยพื้นฐาน : ช่วง 1 สัปดาห์ที่ผ่านมา ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับฐานลงไป 122.65 จุด (ต่ำสุดที่ 1435.67 สูงสุด 1558.32) ซึ่งมาจากปัจจัยภายในที่ไม่แน่นอน ความกังวลเรื่องเฟดอาจปรับขึ้นดอกเบี้ยในการประชุม 20-21 ก.ย.นี้ และที่สำคัญ คือ ตลาดอยู่ในโซนแพง (P/E ปี 59 ณ ระดับ Index 1550 อยู่ที่ 16.4 เท่า เกือบเท่ากับ Median+1SD) แต่เมื่อดัชนีปรับลดลงมาที่ 1445.28 (ระดับปิดวันศุกร์ที่ 9 ก.ย.) P/E ปีนี้ได้ลดลงมาที่ 15.1 เท่า (Median+0.5SD) เรียกได้ว่าถูกลงมาในระดับหนึ่ง (แม้ว่าจะยังไม่ได้ถูกมาก) อย่างไรก็ตาม เมื่อนำการวิเคราะห์ทางเทคนิคเข้ามาพิจารณาประกอบ เห็นว่าตลาดมีโอกาสรีบาวด์จากระดับดัชนี 1430+/- จุด เนื่องด้วยเป็นระดับการปรับฐานที่ 38.2% ของกรอบ SET 1558 กับ 1220 ซึ่งอยู่ที่ 1429 จุด และนักลงทุนที่ขายลดพอร์ตไปมากก็เริ่มกลับเข้ามาซื้อในวันศุกร์ที่ผ่านมา สำหรับระยะทางของการปรับขึ้นก็ขึ้นกับว่ามีปัจจัยบวกใหม่ที่มีนัยสำคัญเข้ามาช่วยหนุนหรือไม่ แต่ในเบื้องต้นมองเป็นรีบาวด์จากภาวะขายมากเกินไปในระยะสั้นไว้ก่อน เพราะในตลาดมีปัจจัยกดดันเรื่องการปรับขึ้นของดอกเบี้ยสหรัฐอีกเรื่องหนึ่งด้วย ซึ่งคณะกรรมการ FOMC จะมีการประชุมนโยบายการเงินวันที่ 20-21 ก.ย.นี้ และโอกาสความเป็นไปได้ที่จะปรับขึ้นดอกเบี้ยมีมากขึ้นเมื่อเทียบกับเมื่อเดือนส.ค.59
     กลยุทธ์ : เลือกซื้อหุ้นที่ธุรกิจและกำไรยังเติบโตได้ดีขณะที่ราคาร่วงลงแรง ทั้งนี้เน้นเพื่อการเล่นเด้งตามรอบไว้ก่อน (จนกว่าจะมีปัจจัยบ่งชี้ทางบวกใหม่เข้ามาแล้วค่อยถือยาว)
     สำหรับหุ้นพื้นฐานแนะนำวันนี้เป็น GL (ราคาหุ้นลดลงจากระดับสูงสุดมาแล้ว 22% และราคาเป้าหมายที่ 50 บาทมี Upside 45%)
การวิเคราะห์ทางเทคนิค : สัญญาณ Candlestick & Indicators เป็นลบ แต่มีโอกาสเด้งจากภาวะ Oversold โดยมีแนวต้านระยะสั้น 1460 หรือ 1470 ส่วนแนวเด้งอยู่ที่ 1440-1430 จุด
นักวิเคราะห์ : อาภาภรณ์ แสวงพรรค - [email protected]

Need to know TODAY
ปัจจัยต่างประเทศ
- สหรัฐ : เจ้าหน้าที่เฟดออกมากระตุ้นเฟดให้ปรับขึ้นดอกเบี้ย หลังเศรษฐกิจสหรัฐฟื้นตัวดี
นายเอริค โรเซนเกรน ประธานเฟด สาขาบอสตัน กล่าวเตือนว่า เฟดเผชิญความเสี่ยงมากขึ้น หากชะลอการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยออกไปนานเกินไป ดังนั้นการใช้นโยบายคุมเข้มอย่างค่อยเป็นค่อยไปจึงมีความเหมาะสม และนายโรเซนเกรนระบุว่าขณะนี้เฟดเผชิญความเสี่ยงใน 2 ด้าน โดยด้านหนึ่งคือการชะลอตัวของเศรษฐกิจในต่างประเทศ ขณะเดียวกันเฟดก็เผชิญความเสี่ยงจากการที่เศรษฐกิจสหรัฐอาจร้อนแรงเกินไป หากเฟดคงนโยบายผ่อนคลายทางการเงินนานมากไป


ทางด้านนายโรเบิร์ต แคปแลน ประธานเฟด สาขาดัลลัส กล่าวว่าปัจจัยที่สนับสนุนให้เฟดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย กำลังมีน้ำหนักมากขึ้นในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา โดยตลาดแรงงานสหรัฐยังคงปรับตัวดีขึ้น และขณะที่อัตราเงินเฟ้อกำลังเพิ่มขึ้นอย่างเชื่องช้าไปสู่เป้าหมายของเฟดที่ 2% แต่การที่มีปัจจัยกระทบการขยายตัวของเศรษฐกิจในระยะยาว บ่งชี้ว่าเฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในอัตราที่ช้ามาก
ความเห็นดังกล่าวทำให้ตลาดประเมินว่ามีโอกาสความเป็นไปได้มากขึ้นที่เฟดจะปรับขึ้นดอกเบี้ยในการประชุม 20-21 ก.ย.นี้ ทั้งนี้นักลงทุนเพิ่มความเป็นไปได้ในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนก.ย.สู่ระดับ 24% จากเดิมที่ 18%

สหรัฐ : สต็อกภาคค้าส่งทรงตัวในเดือนก.ค.59
กระทรวงพาณิชย์สหรัฐรายงานว่าสต็อกสินค้าคงคลังภาคค้าส่งประจำเดือนก.ค. ทรงตัว หลังจากเพิ่มขึ้น 0.3% ในเดือนมิ.ย. โดยสต็อกสินค้าคงคลังภาคค้าส่งของสหรัฐถูกถ่วงลงจากการดิ่งลงของสินค้าภาคการเกษตร และภาคปิโตรเลียม แต่สต็อกรถยนต์ปรับตัวขึ้น ส่วนยอดขายภาคค้าส่งลดลง 0.4% ในเดือนก.ค. ซึ่งเป็นการดิ่งลงมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนม.ค. หลังจากเพิ่มขึ้น 1.7% ในเดือนมิ.ย. ด้านอัตราส่วนสต็อกสินค้าคงคลังเทียบยอดขายอยู่ที่ระดับ 1.34 หมายความว่า จะต้องใช้เวลา 1.34 เดือนในการเคลียร์สต็อกสินค้า โดยเพิ่มขึ้นจากระดับ 1.33 เดือนในมิ.ย.

- ตลาดหุ้นสหรัฐ : ดิ่งแรง 2% กว่า...กังวลเฟดขึ้นดอกเบี้ย
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 18,085.45 จุด ลดลง 394.46 จุด หรือ -2.13%% ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,127.81 จุด ลดลง 53.49 จุด หรือ -2.45% ดัชนี NASDAQ ปิดที่ 5,125.91 จุด ลดลง 133.57 จุด หรือ -2.54% เนื่องจากนักลงทุนกังวลเกี่ยวกับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐในการประชุมวันที่ 20-21 ก.ย. ภายหลังเจ้าหน้าที่ระดับสูงของเฟดได้ออกมาแสดงความเห็นในเรื่องนี้ ดัชนี CBOE Volatility Index ซึ่งเป็นดัชนีชี้วัดความวิตกกังวลในตลาดวอลล์สตรีททะยานขึ้น 39.98% ปิดที่ 17.50 ในวันศุกร์ที่ผ่านมา

- ราคาน้ำมันดิบ : อ่อนลงหลังปรับขึ้นช่วงก่อนหน้า
สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนต.ค.ลดลง 1.74 ดอลลาร์ หรือ 3.65% ปิดที่ 45.88 ดอลลาร์/บาร์เรล ขณะที่ตลอดสัปดาห์ สัญญาน้ำมันดิบเพิ่มขึ้น 3.2% ด้านสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนพ.ย.ลดลง 1.98 ดอลลาร์ หรือ 3.96% ปิดที่ 48.01 ดอลลาร์/บาร์เรล อย่างไรก็ดี สัญญาปรับตัวขึ้นราว 2.5% ในรอบสัปดาห์ เบเกอร์ ฮิวจ์ เปิดเผยว่า จำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมันที่ใช้งานในสหรัฐเพิ่มขึ้น 7 แท่นในสัปดาห์นี้ สู่ระดับ 414 แท่น ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นสัปดาห์ที่ 10 ในรอบ 11 สัปดาห์ รวมทั้งคาดหมายว่าสต็อกน้ำมันดิบสหรัฐมีโอกาสจะพุ่งขึ้นมากในรายงานสัปดาห์นี้ หลังจากลดลงถึง 14.5 ล้านบาร์เรลในรายงานสัปดาห์ก่อน จับตาการประชุมอย่างไม่เป็นทางการของกลุ่มโอเปกในวันที่ 26-28 ก.ย.นี้ นอกรอบการประชุมพลังงานระหว่างประเทศ (IEF) ที่แอลจีเรีย โดยที่ประชุมจะหารือการตรึงกำลังการผลิต เพื่อรักษาเสถียรภาพของราคาน้ำมัน

ราคาทองคำ : ลดลงเล็กน้อย
สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนธ.ค. ปรับตัวลง 7.1 ดอลลาร์ หรือ 0.53% ปิดที่ 1,334.5 ดอลลาร์/ออนซ์ โดยการแข็งค่าของเงินดอลลาร์เพราะโอกาสความเป็นไปได้ที่เฟดจะปรับขึ้นดอกเบี้ยมีมากขึ้นเป็นปัจจัยกดดันราคาทองคำในช่วงนี้

ปัจจัยในประเทศ & หุ้นเด่น
+ GL (ราคาปิด 34.50 บาท, ราคาพื้นฐาน 50 บาท) : รุกธุรกิจในเมียนมาร์...ราคาหุ้นอ่อนตัวเป็นจังหวะลงทุน
# บริษัทวางแผนซื้อหุ้น 71.9% ใน BGMM ซึ่งเป็นบริษัทที่ทำธุรกิจไมโครไฟแนนซ์ในประเทศเมียนมาร์ โดยเป็นการซื้อผ่านบริษัทย่อยคือ Group Lease Holding (GLH) ด้วยการทำ MOU กับ Commercial Credit ซึ่งเป็นบริษัทไฟแนนซ์ที่ใหญ่ที่สุดในศรีลังกา มีความชำนาญในธุรกิจการปล่อยกู้สำหรับผู้มีรายได้ต่ำ และตรงนี้เป็นจุดเริ่มต้นการเป็นพันธมิตรกับ Commercial Credit โดยคาดว่าจะมีความร่วมมือกันทำธุรกิจต่อเนื่องในอนาคต ทั้งนี้รัฐบาลเมียนมาร์จะไม่ออกใบอนุญาตการทำธุรกิจการเงินใหม่ และยังไม่มีเกณฑ์ควบคุมการทำธุรกิจลีสซิ่ง ดังนั้น GL จึงใช้รูปแบบข้างต้นในการเข้าไปทำธุรกิจ (BGMM เริ่มได้ใบอนุญาตทำธุรกิจมาแล้วตั้งแต่ 5 พ.ย.58) บริษัทคาดว่าดีลจะแล้วเสร็จในประมาณ 4Q59
# BGMN ปล่อยสินเชื่อไมโครไฟแนนซ์ให้กับกลุ่มผู้หญิง 5 คนเพื่อทำธุรกิจคนละไม่เกิน 200 เหรียญสหรัฐ หรือทั้งกลุ่มไม่เกิน 1,000 เหรียญสหรัฐ เพื่อใช้ในการทำธุรกิจที่ไม่เหมือนกัน และให้มีการค้ำประกันกันเองในกลุ่ม อายุสินเชื่อประมาณ 50 สัปดาห์ และจ่ายคืนเงินต้น & ดอกเบี้ยเป็นรายสัปดาห์ ซึ่งโมเดลนี้ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดีในศรีลังกา และเมียนมาร์ โดยมี NPL ใกล้เคียงศูนย์ทั้งในสองประเทศ
# บริษัทคาดว่าพอร์ตสินเชื่อในเมียนมาร์จะขยายเป็น 40 ล้านเหรียญสหรัฐ และทำกำไรได้ราว 2 แสนเหรียญสหรัฐต่อเดือน ในปี 60 จากขนาดพอร์ตปัจจุบันที่ 1.5 ล้านเหรียญสหรัฐและมีกำไร 2 หมื่นเหรียญสหรัฐต่อเดือน ปัจจุบัน BGMM มีสาขาอยู่ 3 แห่ง และคาดว่าปีหน้าจะเพิ่มอีก 12 แห่ง สำหรับอัตราดอกเบี้ย รัฐบาลเมียนมาร์กำหนดเพดานดอกเบี้ยไว้ที่ไม่เกิน 30% แต่ไม่กำหนดเพดานของอัตราค่าธรรมเนียม ดังนั้นบริษัทจึงคาดว่าอัตรากำไรของธุรกิจในเมียนมาร์จะสูงกว่าที่ทำได้ในปัจจุบัน
# GL มีความพร้อมที่จะเติบโตด้วยการไปลงทุนในประเทศต่างๆ เพื่อเปิดโอกาสใหม่ๆ ในอนาคต เช่น อินโดนีเซ๊ย บังกลาเทศ ศรีลังกา และ อิหร่าน อย่างไรก็ดีบริษัทเชื่อว่าโอกาสในการทำธุรกิจในเวียดนามยังเป็นไปได้ยาก เพราะรัฐบาลไม่ให้ใบอนุญาตใหม่มากว่า 5-6 ปีแล้ว และการเข้าซื้อกิจการก็ไม่ง่ายเพราะราคาสูง (ผู้ขายต้องการ P/BV ประมาณ 3.0 เท่า)
# ราคาหุ้นอ่อนตัวเป็นจังหวะซื้อลงทุน โดยให้ราคาพื้นฐาน 12 เดือนข้างหน้าไว้ที่ 50.00 บาท ซึ่งประเมินด้วย P/BV ปี 60 ที่ 5.9 เท่า ด้วยวิธี Gordon Model ทั้งนี้เราคาดว่า GL มีความน่าสนใจ คือ อัตราการเติบโต CAGR ของกำไรหลักต่อหุ้น (EPS growth) สูงถึง 45% ในช่วงปี 2558-2561

นักวิเคราะห์ : อาภาภรณ์ แสวงพรรค - [email protected]

---------------------------------------

 

BSP

 

adsoptimal100

paidtoclick copy

  

 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!