WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

บล.เคที ซีมิโก้ : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน

อ่อนตัว-รอผลประชุมเฟด
Highlight
      ตลาดหุ้นเอเชียเช้านี้ เปิดอ่อนตัวลงตามการลดลงของตลาดหุ้นสหรัฐฯและยุโรป ที่ลงแรงวันศุกร์ จากแรงขายทำกำไรรอลุ้นผลประชุมเฟดสัปดาห์นี้
      ตัวเลขเศรษฐกิจวันนี้ USA: Pending Home Sales มิ.ย. คาด +0.3% m-m(Vs 6.1%) Thai: Mfg Production มิ.ย. คาด -3.5%y-y (Vs -4.1%)

     - วันทำการก่อนหน้า ต่างชาติกลับมาขายสุทธิ -998 ลบ. (จากวันก่อนซื้อ 1.16 พันลบ.) และนักลงทุนสถาบันในประเทศกลับมาขาย -668 ลบ. (จากซื้อสะสม 2 วันรวม +2.36 พันลบ.)
Fund Flow Weekly (17-23 ก.ค.) ดูรายงาน – มีแรงเทขายหุ้นโลก แต่หุ้นไทยมีแรงซื้อตรง เป็นครั้งแรก นับตั้งแต่ต้นเดือน เม.ย. +$15.5bn หลังจากขาย 15 สัปดาห์รวม -$323mn.
      +/- การเมือง ยุทธศาสตร์โครงสร้างพื้นฐานประชุมอังคารนี้ ส่วนโครงการปฏิรูปพลังงาน เลื่อนออกไป
คาดดัชนีฯ วันนี้ อ่อนตัวลงแนวรับ 1538/1531 จุด แนวต้าน 1545/1555 จุด ตามแรงขายหุ้นโลก ปลายสัปดาห์ก่อน รอลุ้นผลประชุมเฟดและ 2Q57F GDP USA
กลยุทธ์: แนะ Trading Buy โดยมีจุดขายตัดขาดทุน/กำไร 3% หุ้น 2Q57F High earnings Play แนะนำ CSS IVL GOLD เก็งกำไรหุ้นได้ผลบวกบาทแข็ง AAV PTT IVL BANPU หุ้นมีประเด็นบวก GUNKUL IFEC AIE ส่วนนักลงทุนระยะยาว แนะนำ ซื้อสะสม หุ้น Top pick KBANK SCB SIRI LPN PS PTTEP ADVANC INTUCH SCC

หุ้นในกระแส:
     หุ้นโมเมนตัมบวก (ขึ้นเกิน 6.0%) ได้แก่ TMI NIPPON MACO LIT TSR SF THAI WHA CK MDX PTG หุ้นที่ลงกว่า 2.5% ได้แก่ SPVI UTP SAPPE CPF TWZ TICON RS TRUE
NVDR (หน่วย: ลบ.) สูงสุดด้านซื้อ ได้แก่ SCC+150 TMB+140 สูงสุด ด้านขาย ได้แก่ KBANK-230 THCOM-106 DTACI-67 INTUCH -60
หลักทรัพย์ที่มี Short Sell สูงสุด (หน่วย:ล้านบาท) ได้แก่ ADVANC 186 ITD 70

Market Outlook
      คาดดัชนีฯ วันนี้ อ่อนตัวลง กรอบ 1538/1531 - 1545/1555 จุด จากแรงขายตลาดหุ้นโลกปลายสัปดาห์ก่อนเพื่อรอลุ้นผลประชุมเฟด และรายงาน 2Q57F GDP สหรัฐฯ กลางสัปดาห์นี้ เราแนะนำ ทยอยขายบริเวณ 1555 จุด เพื่อรอซื้อคืน 1508/1500 จุด ลุ้นเก็งกำไรหุ้นขนาดเล็ก-กลาง อิง Earnings Play
คาดดัชนีฯ สัปดาห์นี้ ผันผวนสูง กรอบ 1531 (SMA 10 วัน) /1515 จุด (SMA5 สัปดาห์) ถึง 1555/1568 จุด (กรอบ Trend Line) โดยการชะลอตัวจะเกิดขึ้นในช่วงต้นถึงกลางสัปดาห์ วิตกต่อ รายงานผลประชุมเฟด (อังคาร-พุธ) และอาจผิดหวัง 2Q57F GDP สหรัฐฯ (พุธ) ส่วนข่าวดีคือ รายงานเงินเฟ้อยุโรป หากอยู่ในระดับต่ำ อาจส่งผลให้ ECB อาจพิจารณาออกมาตรการผ่อนคลายการเงินเพิ่มเติมในการประชุมสัปดาห์ต่อไป (โอกาสออกQE มีโอกาสสูงขึ้น เห็นได้จาก ค่าเงินยูโร/ดอลล์ สัปดาห์ก่อนอ่อนค่าถึง 0.6%w-w) ขณะที่ปัจจัยในประเทศ อาจมี Sell on Fact ต่อผลประชุมคสช.วันอังคารนี้ ต่อยุทธศาสตร์โครงสร้างพื้นฐาน ที่คาดว่าจะไม่แตกต่างจากที่เคยส่งสัญญาณไว้ล่วงหน้า และจับตาผลกำไรของ SCC (สะท้อนแนวโน้มกำไรกลุ่มวัสดุฯ และปิโตรเคมี)
     เราแนะนำ ทยอยขาย บริเวณ 1555 จุด เพื่อรอซื้อคืนบริเวณ 1508/1500 จุด อิงสัญญาณเตือนของการเกิด Correction รอบใหญ่ ภายใน 2 สัปดาห์ข้างหน้า จากสัญญาณเตือนของ Valuation ที่ซื้อขายในระดับ PER สูงถึง 18.6 เท่า สูงสุดรอบ 14 เดือน Vs สูงสุดรอบ4ปีอยู่ที่ 19.83 เท่า เดือนกพ.ปี 56) และสัญญาณเทคนิคที่ฟอร์มตัวเป็นรูปสามเหลี่ยมปากอ้า สะท้อน โอกาสอ่อนตัวของดัชนีฯระหว่างสัปดาห์ มีสูง เราคาดว่า หุ้นกลุ่มสื่อสาร ยังคงมีความเสี่ยงขาลงต่อเนื่อง ขณะที่กลุ่มรับเหมาฯ อาจมีแรงขายจาก Sell on Fact ส่วนกลุ่มเด่นคาดว่าเป็น กลุ่มขนส่ง ท่องเที่ยว จากนโยบายสนับสนุนของคสช. แนะนำ AAV PSL CENTEL

ปัจจัยต่างประเทศ (+/-) จับตา
     +/- ผลประชุมเฟด (29-30/7) คาดลดวงเงิน QE ลงอีก $10bn./เดือน ก่อนที่จะสิ้นสุดในเดือน ต.ค. 57 โดยตลาดจะจับตา ความเห็นของประธานเฟดหลังประชุมต่อแผน Exit Strategy สัญญาณปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายฯ (จะเป็นลบต่อตลาดหุ้นระยะสั้น หากมีสัญญาณปรับขึ้นเร็วกว่าคาดการณ์) ส่วนสัปดาห์ต่อไป ลุ้นสัญญาณผ่อนคลายการเงินเพิ่มเติมของ ECB และแผน Exit Strategy ของ BoE (ประชุม 7 ส.ค.) ส่วนกนง.ประชุม 6 ส.ค. คาดคงดอกเบี้ยนโยบายที่ 2% ตลอดช่วงที่เหลือปีนี้
      +/- ตัวเลขเศรษฐกิจ: สหรัฐฯจะมีการรายงานเศรษฐกิจสำคัญ จำนวนมาก ทั้งการจ้างงานนอกภาคเกษตร อัตราว่างงาน รายงานภาคการผลิต แต่ที่เป็นไฮไลท์สำคัญที่สุด คือ US 2Q57F GDP โดยตลาดคาดว่าจะเติบโต 2.9%q-q (Vs 1Q57 -2.9%q-q) โดยจะเป็นปัจจัยลบต่อตลาดหุ้นโลก หากออกมาแย่กว่าคาดการณ์
     +/-ผลกำไร บจ. ยังคงจับตา ความเสี่ยงโลก Geopolitical Risks จากมาตรการกดดันรัสเซียจากสหรัฐฯ ยุโรป และ ผลการดำเนินงานบจ.สหรัฐฯ

ปัจจัยในประเทศ (+)
+ ผลประชุม คสช. (29/7) คาดผลประชุมคสช.จะอนุมัติแผนยุทธศาสตร์โครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ 2 ล้านล้านบาท จากการนำเสนอของคณะทำงานด้านเศรษฐกิจที่มี พล.อ.อ. ประจิณ จั่นตองเป็นประธาน (ผลบวกต่อกลุ่มรับเหมาฯ วัสดุฯก่อสร้าง และสถาบันการเงิน) รวมถึงความคืบหน้าของ แผนการลงทุนด้าน Logistics วงเงิน 2.4 ล้านล้านบาท ส่วนการปฎิรูปโครงสร้างพลังงานเลื่อนออกไปเพื่อรอทำ Public Hearing เรื่องราคา ภาษี ฯลฯ (ส่งผลกลุ่มปตท. ยังต้องรอความชัดเจนต่อไป)
+ ตัวเลขเศรษฐกิจ: คาด ธปท.ส่งสัญญาณเศรษฐกิจที่ดีขึ้นในเดือน มิ.ย.. ทั้งภาคการบริโภค การลงทุนภาคเอกชน หลังจาก เม็ดเงินโครงการจำนำข้าว 9 หมื่นลบ. ไหลกลับเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ
+/- ผลการดำเนินงาน : จับตา บจ.ขนาดใหญ่ SCC (30/7) จะเป็นสัญญาณบวกต่อกลุ่มวัสดุก่อสร้าง หากออกมาดีกว่าที่ตลาดคาดการณ์ที่ 8.7 พันลบ. อื่นๆ ได้แก่ VGI BCP GLOW

ประเด็นที่ต้องจับตา :
เรายังคงเตือน ตลาดหุ้นไทย มีโอกาสที่จะเกิด Correction ได้ใน 1-2 สัปดาห์ข้างหน้า อิง
1) Valuation ของตลาดหุ้นไทยปัจจุบัน มีความเสี่ยงของการปรับฐานในระยะสั้น : ณ ปัจจุบันระดับ Trailing PER ของตลาดหุ้นไทยอยู่ที่ 18.6 เท่า ซึ่งเป็นระดับสูงสุดรอบ 14 เดือน และใกล้เคียงกับระดับ Peak สูงสุดรอบ 4 ปีที่เคยทำไว้เมื่อ กพ.56 ที่ระดับ 19.83 เท่า หรือหากเทียบเป็น Forward PER ก็อยู่ในระดับใกลเคียงกับ ค่าเฉลี่ย+1S.D.(15.5เท่า) สะท้อน การปรับขึ้นช่วงนี้ส่วนใหญ่มาจาก Momentum Play มากกว่า Valuation Driven ซึ่งหากเทียบสถิติในอดีตที่เคยทำ Peak PER ในช่วงตลาดขาขึ้น เราพบว่า ดัชนีฯปรับลดลง-4.91% ถึง -16.32%
2) ปัจจัยเทคนิค: ฟอร์มตัวเป็นรูปแบบ สามเหลี่ยมปากอ้า กรอบ 1506-1568 จุด สะท้อน ดัชนีฯ มีโอกาสผันผวนสูง เราแนะนำให้นักลงทุนเล่นรอบ ควรพิจารณา ขึ้น-ทยอยขาย เพื่อรอซื้อคืน-ที่แนวรับ อิงสัญญาณเตือนภาวะ Overbought ของ Stochastics, RSI ยังคงอยู่ในกรอบบน ทั้งในรูปแบบรายวันและรายสัปดาห์ และการเริ่มหลุดเส้น SMA 5-10 วันในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา รวมถึง สัญญาณ Volume ที่ปรับขึ้น แต่ดัชนีฯปรับขึ้นจำกัด ส่วนปัจจัยพื้นฐาน เราคาดว่า การแข็งค่าของเงินบาท/ดอลล์ คาดว่าจะมีจำกัด หลังจากแข็งค่าสุดรอบ 9 เดือนมาที่ 31.74 บาท ซึ่งใกล้เคียงกับระดับคาดการณ์ของ Goldman Sachs ที่ 31.70 บาท/ดอลล์ ในช่วง 3-6 เดือนข้างหน้า (ดีสุดไม่เกิน 31.40 บาท)

Event Plays:
1) Earnings Play: เก็งกำไรหลักทรัพย์ที่คาดว่าจะรายงานกำไร 2Q57F เติบโตสูง อาทิ CSS IVL GOLD ANAN JUBILE MINT SVI (ทั้งนี้ หลักทรัพย์ที่โบรกเกอร์มีความเห็นเชิงบวกต่อ Upward Revision ล่าสุด ได้แก่ TMB BCP
2) High Dividend Play: หลักทรัพย์ที่มีประวัติการจ่ายปันผลสูงรายปีเฉลี่ยสูงกว่า 3.5% และจ่ายปันผลระหว่างกาลสม่ำเสมอ รวมถึงมี % Upside ต่อราคาเป้าหมาย ได้แก่ INTUCH, SNC, ADVANC, LALIN, LH ,BOL, UEC, JMART, BTS, TNITY, CSL, DTAC, TTW, TRT, PTTGC, SAMTEL
3) หุ้น Turnaround โตก้าวกระโดด ปี57/58 CFRESH, GOLD, MJD, THRE, TPOLY, TTA, VNG (turnaround) APCO, CSS, DCON, IFEC, IVL (โตก้าวกระโดด)
4) หุ้นที่มีประเด็นบวกต่างๆ : MFEC, RASA, TRUE (ปป.โครงสร้างผู้ถือหุ้นใหม่) JAS (ซื้อหุ้นคืน) BLAND (คาดบันทึกกำไรพิเศษ+เตรียมออกกอง Impact growth reit) IFEC (ย้ายไปหมวดพลังงาน) LH QH (Hidden Asset สูง)
พอร์ตลงทุนหุ้นระยะยาว : เน้นลงทุนกลุ่ม Domestic Play หุ้นเด่นแนะนำ KBANK SCB ADVANC SIRI PS CPALL SCC AAV CENTEL และกลุ่ม Cyclical Play หุ้นเด่นแนะนำ PTT IVL IRPC PSL
** สัปดาห์ที่ผ่านมา : ตลาดหุ้นฮ่องกง ญี่ปุ่น ปรับขึ้นดีสุดในโลก ส่วนไทย ดีสุดในกลุ่ม TIPS
+/- ตลาดหุ้นโลก: ตลาดหุ้นเอเชียฯ ยังคงปรับตัวดีที่สุดเมื่อเทียบกับตลาดหุ้นทั่วโลกในสัปดาห์ที่ผ่านมา นำโดย ฮ่องกง +3.25%w-w (Vs +0.95%w-w สัปดาห์ก่อน) หลังจีนรายงาน 2Q57 GDP และภาคการผลิต มิ.ย. สูงกว่าคาด รองลงมาคือ ตลาดหุ้นญี่ปุ่น +1.59%w-w เกาหลีใต้ +0.71%w-w จากแนวโน้มเศรษฐกิจมีสัญญาณดีขึ้นตามลำดับ ส่วนตลาดหุ้นสหรัฐฯ ยุโรป ต่างทรงตัวถึงปรับลดลง จาก วิตกต่อสถานะการณ์ยูเครน ที่อาจมีความเสี่ยงของเหตุการณ์ร้าย หลังจากออกมาตรการแซงชั่นรัสเซียเพิ่มเติม
ตลาดหุ้นไทย สัปดาห์ที่ผ่านมา ปรับตัวเพิ่มขึ้น +0.68%w-w (Vs สัปดาห์ก่อนหน้า+1.01%w-w) ดีสุดในกลุ่ม TIPs แต่แย่กว่าภูมิภาคเอเชียเหนือ โดยยังคงมีปัจจัยสนับสนุนจาก แรงซื้อคืนของนักลงทุนต่างชาติ แต่ด้วยปริมาณลดลงมากเหลือเพียง +1.67 พันลบ. Vs สัปดาห์ก่อนหน้า +6 พันลบ. ส่วนทั้งเดือน ก.ค. ซื้อสะสม +1.82 หมื่นลบ. ขณะที่แรงขายมาจาก นักลงทุนสถาบันในประเทศ เพื่อทำกำไร -919 ลบ.(Vs สัปดาห์ก่อนหน้า -8.07 พันลบ. และสะสมเดือน ก.ค. -8.14 พันลบ.)
กลุ่มอุตฯ ที่ปรับขึ้นสูงสุด เปลี่ยนมาเป็น กลุ่มอาหาร +2.02%w-w วัสดุก่อสร้าง +1.95%w-w พาณิชย์ +1.86% จากการเลือกลงทุนในกลุ่มได้ประโยชน์จากรายงานเศรษฐกิจที่ดีขึ้น ส่วนกลุ่มอุตฯ ที่ปรับลดลง ได้แก่ ICT -3.66%w-w (การเลื่อนประมูล 4 G และค่าเสาทีวีดิจิตอลเหลือ 690 บาทต่อครัวเรือน ) ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิคส์ -2.47%(ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น -0.9%w-w สู่ระดับแข็งค่าสุดรอบ 9เดือน)
+/- ตลาดโภคภัณฑ์ ฟื้นตัวช่วงปลายสัปดาห์ จากสถานะการณ์ยูเครน : ราคาน้ำมันดิบ ซึ่งเปลี่ยนมาเป็นสัญญาเดือน ก.ย. (จาก ส.ค.) เช่นเดียวกันกับราคาทองคำ ได้การปรับขึ้นช่วงปลายสัปดาห์ จากวิตกสถานะการณ์ในยูเครน หนุนการฟื้นตัวรายสัปดาห์ ส่วนค่าระวางเรือ ฟื้นตัว +0.96%w-w จากปัจจัยฤดูกาลที่ค่าระวางเรือจะอ่อนตัวลงในช่วงเดือน ก.ค. - ส.ค.
+ ตลาดอัตราแลกเปลี่ยน : จับตาการแข็งค่าของดอลลาร์ ลุ้นผลประชุมเฟดสัปดาห์นี้
ดอลลาร์พุ่งแตะระดับสูงสุดในรอบ 8 เดือนเมื่อเทียบกับยูโรในวันศุกร์ หลังจากข้อมูลความเชื่อมั่นทางธุรกิจที่ย่ำแย่ของเยอรมนีเพิ่มความวิตกว่า สถานการณ์ตึง เครียดกำลังกระทบเศรษฐกิจยูโรโซน ทั้งนี้ ดอลลาร์ปรับตัวขึ้น 0.03% มาที่ 101.83 เยน ขณะที่ยูโรปรับตัวลง 0.27% มาที่ 1.3429 ดอลลาร์ หลังจากร่วงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 8 เดือนที่ 1.34210 ดอลลาร์
เอกอัครราชทูตของสหภาพยุโรปได้บรรลุข้อตกลงขั้นต้นเมื่อวันศุกร์เพื่อผลักดันมาตรการคว่ำบาตรรัสเซียแล้ว แต่ยังไม่มีการจัดทำรายละเอียด ขณะที่นักวิเคราะห์กล่าวว่า มาตรการคว่ำบาตรอาจกระทบเศรษฐกิจยุโรป เนื่องจากจะกระทบการค้าระหว่างรัสเซียและเยอรมนี
ส่วนแนวโน้มค่าเงินบาทในสัปดาห์นี้ คาดว่า เงินบาทอาจเคลื่อนไหวในกรอบ 31.80-32.00 บาทต่อดอลลาร์ฯ โดยต้องจับตากระแสเงินทุนของต่างชาติ และผลการประชุมเฟด ขณะที่ข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ ได้แก่ ดัชนี ISM ภาคการผลิต ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตร เดือน ก.ค. ยอดทำสัญญาซื้อบ้านที่รอปิดการขาย จีดีพีประจำไตรมาส 2/57 (ประกาศครั้งแรก) และจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ นอกจากนี้ ยังมีดัชนี PMI เดือน ก.ค. ที่ประกาศโดยมาร์กิตของหลายๆ ประเทศ รวมถึงข้อมูลการค้าระหว่างประเทศของไทยเดือน มิ.ย. อีกด้วย

 

ประเด็นจับตา
1. ประเด็นการเมือง: จับตาแนวทางการตั้งสภาปฏิรูป และกำหนดเวลานำไปสู่การเลือกตั้ง
ประเด็นการเมือง (Update):
      "สุพจน์"คาดเสนอแผนบริหารจัดการน้ำต่อ คสช.ในส.ค.,อาจใช้งบ 4 ล้านลบ.ใน 10 ปี
       นายสุพจน์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รองปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม เผยว่า กระทรวงทรัพยากรฯ อยู่ระหว่างการจัดทำแผนแม่บทการบริหาร จัดการน้ำทั้งระบบ ซึ่งเป็นแผนแก้ปัญหาระยะยาว 10 ปี ที่อาจจะใช้งบประมาณทั้งสิ้น ราว 4 ล้านล้านบาท เพื่อแก้ปัญหาน้ำแล้ง, อุทกภัยและปัญหาน้ำเน่าเสียอย่างยั่งยืน โดยคาดว่า จะจัดทำแผนดังกล่าวแล้วเสร็จ และเสนอไปยัง คสช. เพื่อพิจารณาได้ภายในส.ค.นี้ และคสช.น่าจะประกาศแผนแม่บทการบริหารจัดการน้ำ ทั้งระบบต่อสาธารณชน ได้ในกลางเดือนต.ค.นี้แผนปฏิรูปราคาพลังงานจะแล้วเสร็จไม่ทันเดือนก.ค.นี้
      หลังคสช.ให้ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม โดยเฉพาะประเด็นที่ต้องทำความเข้าใจกับประชาชน เพื่อเตรียมทำประชาพิจารณ์ในช่วงเดือนส.ค.นี้ "คสช.ส่งเรื่องกลับมา เนื่องจากต้องการให้มีรายละเอียดในเรื่องการทำความเข้าใจกับประชาชน ในเรื่องของราคา ภาษี กองทุนฯ เพราะมีความซับซ้อนกว่าที่คิด และต้องการรายละเอียดเพิ่มขึ้น หลังจากเสร็จแล้วให้นำเสนอต่อหัวหน้าคณะ คสช." พล.อ.อ.ประจิน กล่าวอีกว่า ตลอดทั้งเดือนส.ค.จะมีการทำความเข้าใจเรื่อง การปฏิรูปราคาพลังงาน กับประชาชนสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ซึ่งจะมีทั้งเรื่องราคาน้ำมันและก๊าซปิโตรเลียมเหลว(LPG) รวมถึงการนำราคาน้ำมันไปสนับสนุนราคา LPG โดยจะเปิดให้สื่อมวลชนเข้าร่วมรับฟังด้วย และจะสรุปผลเพื่อนำ เสนอหัวห น้า คสช .ต่อไปด้วย
      สำหรับ แผนปฏิรูปพลังงาน จะแบ่งเป็นสองระยะ โดยระยะแรกที่นำเสนอต่อคสช. เป็นการปฏิรูปที่เกี่ยวกับด้านราคา ซึ่งจะมีความชัดเจนทั้งด้านราคา ,ภาษี และ กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งทั้ง 3 เรื่องดังกล่าวทางคสช.เห็นว่า รายละเอียดที่นำเสนอยังมีความชัดเจนไม่มากเพียงพอ เนื่องจากเป็นเรื่องที่ซับซ้อนและยุ่งยาก ส่วนระยะที่สอง จะต้องเสนอรายละเอียดต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) ซึ่งรวมถึงการพิจารณาเปิดให้สัมปทานปิโตรเลียม รอบที่ 21 ด้วย ตลอดจนเรื่องอื่นๆ ก็จะนำเสนอให้ สนช.พิจารณาต่อไปด้วย

-2. Fund Flow :เริ่มมีแรงขายหุ้นโลก แต่หุ้นไทยมีแรงซื้อตรงเป็นครั้งแรก นับตั้งแต่ เม.ย.
Recommendation : แนะนำ บจ.คาดกำไรเติบโตดี-ปันผลระหว่างกาล ได้แก่ KBANK KTB TMB PTTEP PTT MINT IVL
** สัญญาณด้านบวกต่อตลาดหุ้นไทย คือ การลงทุนโดยตรงต่อหน่วยลงทุนในตลาดหุ้นไทย มีแรงซื้อสุทธิเป็นสัปดาห์แรกนับตั้งแต่เดือนเมย.ด้วยจำนวนสูงถึง+$15.5bn. (ก่อนหน้า ขายสุทธิต่อเนื่อง 16 สัปดาห์สะสม -$323mn.)
Fund Flow: สัปดาห์ที่ผ่านมา (17-23 ก.ค. 57) ซื้อ Bonds แต่ขาย Equities โดยเฉพาะ DM ส่วนหุ้นไทย มีแรงซื้อ +$130mn. (Vs $+218mn และ $192mn.) และซื้อตรงกองทุนไทยเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ เม.ย. +$15.5mn.
สัปดาห์ที่ผ่านมา กระแสเงินทุนเคลื่อนย้ายมีการเปลี่ยนแปลง โดยกลับมาขายสุทธิ Equities Funds -$5bn. หลังจากซื้อต่อเนื่อง 4 สัปดาห์ ( +$6.2bn. +$5.4bn. +$1.3bn. -$0.6bn. สะสม YTD +$76.2bn.) เป็นแรงขายเกือบทั้งหมดใน DM (Vs สัปดาห์ก่อน +$4.1bn.) ส่วน Bond Funds มีแรงซื้อต่อเป็นสัปดาห์ที่ 19 ในรอบ 20 สัปดาห์ (หรือเป็นสัปดาห์ที่ 26 ในรอบ29 สัปดาห์) +$1.9bn. (สัปดาห์ก่อนหน้า +$3.5bn. +$3.5bn. +$4.9bn. +$4.7bn. ตามลำดับ สะสม YTD+$113.1bn.)
ตลาดหุ้น USA กลับมาขายสุทธิสูงถึง -$7.6bn. หลังจากซื้อ 8 สัปดาห์ต่อเนื่อง (Vs สัปดาห์ก่อน +$4.3bn. +$3.7bn. +$3.1bn.) ส่งผลแรงซื้อสะสม YTD +$74.4bn.(Vs +$119bn. y-y) ขณะที่ ตลาดหุ้น Europe มีแรงขายต่อเล็กน้อย -$135mn (Vs สัปดาห์ก่อน -$32.9mn. -$11.9mn.) เป็นการขายสัปดาห์ที่ 3ในรอบ 56 สัปดาห์ สะสมสุทธิ $99.8 bn.
ส่วนกองทุน GEM มีแรงซื้อต่อสัปดาห์ที่ 7 ด้วยปริมาณทรงตัว +$730mn. (Vs สัปดาห์ก่อนหน้า+$900mn. +$1.2bn. +$500mn.) สะสม +$18.7bn. นับตั้งแต่มีแรงซื้อกลับมาเป็นครั้งแรกตั้งแต่สิ้นเดือน มี.ค. เป็นต้นมา (Vs ขายสุทธิ -$44bn. รอบ1ปีสิ้นสุด มี.ค. 57)
6 ชาติเอเชียฯ มีแรงซื้อต่อเป็นสัปดาห์ที่ 11 ด้วยปริมาณลดลง
สำหรับ 6 ชาติในเอชียไม่รวมญี่ปุ่น พบว่า มีแรงซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 11 ด้วยปริมาณลดลงเหลือ+$1.7bn..(Vs สัปดาห์ก่อนหน้า +$2.3bn. +$2.1bn) สะสม 11 สัปดาห์รวม +$18.7bn.
ทั้งนี้ ผลสำรวจน้ำหนักลงทุนล่าสุดเดือน มิ.ย. ของ MSCI Asia Ex-Japan เดือน มิ.ย. (ประกาศสัปดาห์ก่อน) พบว่า เพิ่มน้ำหนักลงทุน China +0.9ppt India+0.3ppt S.Korea+0.2ppt แต่ลดน้ำหนัก HK-0.7ppt Malaysia -0.4ppt Singapore -0.2ppt.
+แรงซื้อกลุ่ม TIPs ยังคงอยู่ในตลาดหุ้นไทย +$130mn.(Vs +$218mn. +$192mn.) ตลาดหุ้นอินโดนีเซีย +$129mn. (Vs สัปดาห์ก่อนซื้อสูงสุดรอบ 7 สัปดาห์ที่ +$745mn.) แต่ฟิลิปปินส์ ถุกขายสุทธิ -$46mn. ขณะที่ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ ยังคงมีแรงซื้อสุทธิ สุงสุด +$663mn. (Vs สัปดาห์ก่อน+$814mn.) รองลงมา คือ India +$649mn. (Vs $397mn.) ไต้หวัน +$190mn. (Vs -$142mn.)

3. +/- 2Q57F Earnings Results: Consensus คาดบจ. ไทยมีกำไรเพิ่มขึ้น 18% YoY -3.9%q-q ใน 2Q14
ประมาณการของ Bloomberg คาด 2Q57F ที่จะทยอยประกาศบงบการเงินสัปดาห์หน้า เช่น GLOW SCC MBKET BCP VGI (ดูตาราง) เราคาดว่ารายงานผลกำไรของ SCC จะเป็นไฮไลท์สัปดาห์นี้ โดยเฉพาะต่อธุรกิจปิโตรเคมีและธุรกิจวัสดุก่อสร้าง
Bloomberg Consensus : 2Q14E earning estimate by sector คาดว่า กลุ่มพลังงาน จะรายงานกำไรเติบโต y-y สูงสุด +105.3% รองลงมาคือ กลุ่มอาหาร +86.5%y-y ปิโตรเคมี +70%y-y แย่สุดคือ กลุ่มเหล็ก -168.9%y-y ขนส่ง -146.7%y-y
+/- USA: ผลการดำเนินงาน 2Q57F ของบจ.สหรัฐฯ ที่น่าสนใจ : ได้แก่ UPS AMEX (29/7) Goodyear KRAFT (30/7) Time Warner Cable, Exxon (31/7) P&G, Berkshire Harthaway (1/8)

+/- 4.รายงานเศรษฐกิจสำคัญสัปดาห์นี้ : มีอิทธิพลสูงต่อทิศทางตลาดหุ้นโลกสัปดาห์นี้จับตา ผลประชุมเฟด+2Q57F US GDP
วันจันทร์ 28 ก.ค.: USA: Pending Home Sales มิ.ย. คาด +0.3%m-m(Vs 6.1%) Thai: Mfg Production มิ.ย. คาด -3.5%y-y(Vs -4.1%)
วันอังคาร 29 ก.ค.: USA ผลประชุมเฟด 29-30 ก.ค. ดัชนีราคาบ้าน S&P/CS 20 เมืองเดือน พ.ค. คาด +9.7%y-y(Vs 10.82%) Japan: ยอดค้าปลีก มิ.ย. คาด -0.4%y-y (เท่าเดิม)
วันพุธ 30 ก.ค..: USA: ผลประชุมเฟด คาดลดขนาด QE US$10bn/เดือน และจับตา Policy Stateement ของประธานเฟด รายงาน 2Q57F GDP คาด +2.9%q-q (Vs -2.9%) การจ้างงานภาคเอกชน ก.ค. คาด +228k (Vs 280k) Japan: Industrial Production มิ.ย. คาด -1.5%m-m (Vs 0.7%) รายงาน 2Q57F GDP ของเบลเยี่ยม สวีเดน สเปน
วันพฤหัสบดี 31 ก.ค.: USA Chicago PMI ก.ค. คาด 63.1 (Vs 62.6) EU:เงินเฟ้อ ก.ค. คาด 0.5%m-m (Vs 0.5%) Taiwan: 2Q57F GDP คาด +3.1%y-y(Vs 3.1%) Philippines:ผลประชุมธ.กลาง คาดขึ้นดอกเบี้ยเป็น 3.75%(Vs 3.5%)
วันศุกร์ 1 ส.ค. : USA การจ้างงานนอกภาคเกษตร ก.ค. คาด +230k(Vs +288k) อัตราว่างงาน คงที่ที่ 6.1% ISM Mfg ก.ค. คาด 55.5(Vs 55.3) U of M survey ก.ค. คาด 82.2 (Vs 81.3) China:PMI Mfg ก.ค. คาด 51.3 (Vs 51)

รายงานตัวเลขเศรษฐกิจวันทำการผ่านมา:
จีน เผยยอดนำเข้าทองจากฮ่องกงร่วงต่ำสุดในรอบ 17 เดือนใน มิ.ย. ปริมาณการซื้อทองสุทธิในตลาดต่างประเทศของจีนผ่านทางฮ่องกง ลดลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 17 เดือน ในเดือน มิ.ย. ขณะที่หยวนที่อ่อนค่าลงเป็นปัจจัยสกัดอุปสงค์จากจีนซึ่งเป็นผู้ใช้ทองรายใหญ่ที่สุดของโลก และการนำเข้าโดยตรงผ่านจีนเพิ่มขึ้นอย่างมาก การนำเข้าทองลดลงเป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกัน ท่ามกลางการถอนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในสหรัฐ ขณะที่การจำกัดการนำ เข้าในอินเดีย ซึ่งเป็นผู้ซื้อทองอันดับสองนั้น อาจถ่วงราคาทองทั่วโลกลงสำนักงานสถิติและสำมะโนประชากรของฮ่องกงเปิดเผยว่า การนำเข้าทองสุทธิของจีนจากฮ่องกงลดลงสู่ 40.543 ตัน จาก 52.606 ตัน ในเดือน พ.ค. และ 104.567 ตัน ในปีที่ผ่านมา
Ifo ชี้ความเชื่อมั่นธุรกิจเยอรมนีดิ่งเกินคาดใน ก.ค. ขณะร่วงเดือนที่ 3 ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจของสถาบัน Ifo ที่ได้จากการสำรวจ ความเห็นบริษัท 7,000 แห่ง ร่วงแตะระดับ 108.0 ในเดือน ก.ค. จากระดับ 109.7 ในเดือน มิ.ย. ขณะที่ผลสำรวจของรอยเตอร์คาดว่า จะลดลงสู่ระดับ 109.4 ขณะเดียวกัน ผลสำรวจอีกฉบับพบว่า ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเยอรมนีพุ่งแตะระดับสูงสุดในรอบกว่า 7 ปีครึ่งในเดือน ส.ค. ขณะที่ผู้บริโภคมีความเห็นเชิงบวกต่อแนวโน้มรายได้ในอนาคตมากกว่าช่วงเวลาใดๆ นับตั้งแต่ปี 1991

สรุปภาวะตลาดต่างประเทศ
Global Momentum
/- ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปิดร่วง สัปดาห์แรก หลัจากขึ้นตลอด 7 สัปดาห์
     วันทำการที่ผ่านมา ตลาดหุ้นสหรัฐฯ กลับมาปิดลดลง โดยดัชนี DJIA ปิดร่วง 123.23 จุด หรือ -0.72% สู่ระดับ 16,960.57 จุด ดัชนี S&P 500 ปิดลบ 9.64 จุด หรือ -0.48% สู่ระดับ 1,978.34 จุด Nasdaq ปิดลดลง 22.55 จุด หรือ -0.50% สู่ระดับ 4,449.56 จุด เป็นผลจากผิดหวังรายงานผลกำไรของ Amazon.com และมุมมองเชิงลบต่อธุรกิจของ VISA รวมถึง Geopolitical Risk ที่ยูเครน
Goldman Sachs ออกรายงานและแนะนำ Neutral สำหรับการลงทุนในตลาดหุ้น ในช่วง 3 เดือนข้างหน้าจากสัญญาณพันธบัตรรัฐบาลที่ถูกขาย จนราคาลดลง สะท้อนแรงขายตลาดหุ้นโลก อาจเกิดขึ้นตามมา และแนะนำ Underweight ตลาดพันธบัตร สำหรับการลงทุน 3-12 เดือน ส่วนเทรดเดอร์ UBS คาดตลาด จะเกิดการปรับฐานชั่วคราว
     ผลกำไรบจ. ประมาณครึ่งหนึ่งของ บจ. ที่คำนวณในดัชนี S&P500 พบว่า 69% รายงานกำไรดีกว่าคาด และ 63% รายงานรายได้ดีกว่าคาด ซึ่งดีกว่ามากเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา สะท้อนตลาดหุ้นสหรัฐฯ ระยะยาวยังคงน่าสนใจลงทุน

-ตลาดหุ้นยุโรป ปิดร่วง จากวิตกปัญหารัสเซีย บานปลาย
วันทำการที่ผ่านมา ตลาดหุ้นยุโรปกลับมาปิดร่วง หลังขึ้น 3 วันต่อเนื่อง FTSE ปิดร่วง 29.91 จุด หรือ -0.44% สู่ 6,791.55 จุด ดัชนี CAC40 ปิดดิ่งลง 80.10 จุด หรือ -1.82% สู่ 4,449.56 จุด และ DAX ปิดลดลง 150.05 จุด หรือ -1.53% สู่ 9,644.01 จุด เป็นผลจากการวิตกต่อการออกมาตรการแซงชั่นรัสเซียเพิ่มเติมอาจส่งผลต่อ Geopolitical Risk และผลกระทบต่ออุปทานแก๊สในยุโรป

+ราคาน้ำมันดิบ กลับมาฟื้นตัวเล็กน้อย
วันทำการที่ผ่านมา Brent ส่งมอบ ก.ย. ปิดเพิ่มขึ้น 1.06 ดอลลาร์ สู่ 108.13 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ส่วน Nymex ส่งมอบ ก.ย. ขยับขึ้น 0.02 ดอลล์ต่อบาร์เรล เป็น 102.09 ดอลล์ต่อบาร์เรล เป็นผลจากการวิตกต่อความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย กับ ชาติตะวันตก เพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะอุปทานขาดแคลน

+ราคาทองคำ กลับมาฟื้นตัว หลังลดลง 3 วันและร่วงแตะสุดรอบ 1 เดือน
วันทำการที่ผ่านมา ราคาสัญญาทองเดือน สิงหาคม ปิดตลาด พุ่งขึ้น 12.50ดอลล์ สู่ 1,303.30 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ปรับขึ้นหลังลดลงแตะระดับต่ำสุดรอบ 1 เดือน หลังตลาดวิตกปัญหาความขัดแย้งระหว่าง รัสเซีย และชาติตะวันตก ต่อประเด็นยูเครน เพิ่มขึ้น หลังรัสเซียกล่าวหาสหรัฐฯ พยายามสร้างความเห็นเต่อชาติตะวันตกอื่นๆ ให้เกลียดชัดรัสเซีย ขณะที่สหรัฐฯ กล่าวหารัสเซีย ส่งอาวุธให้กลุ่มต่อต้านยูเครน ส่วนทั้งสัปดาห์ที่ผ่านมา ราคาทองคำ ลดลง 1%w-w

+ ดัชนีค่าระวางเรือ Baltic Dry Index ปิดบวกวันที่ 3 หลังร่วง12วัน
วันทำการที่ผ่านมา ดัชนี Baltic Dry Index ปิดเพิ่มขึ้น 7 จุดมาปิดที่ 739 จุด หลังจาก ปี 56 พิ่มขึ้น +28.14%y-y เป็น 2227 จุด (จาก 1738 จุด ณ สิ้นปี 55) โดยระดับสูงสุดอยู่ที่ 2337 จุด เมื่อ 12/12/56 และระดับต่ำสุดอยู่ที่ 698 จุดเมื่อ 2/1/56 ขณะที่ระดับสูงสุดตลอดกาลอยู่ที่ 11793 และระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ อยู่ที่ 554 กลุ่มเรือ (Shipping) คาดผ่านจุดต่ำสุด Bottom Out และฟื้นตัวตามเศรษฐกิจโลก

ถนอมศักดิ์ สหรัตน์ชัย, no. 14501 [email protected] 02-624-6244
ธิดารัตน์ ผโลดม, no. 16564 [email protected] 02-624-6270

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!