- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Tuesday, 06 September 2016 16:26
- Hits: 974
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
SET มีโอกาสลงมาที่ 1,450-1,460 จุด (Ex.P/E 16.3 เท่า) สัญญาณเตือนคือเงินบาทอ่อนค่าสูงสุดในภูมิภาค ต่างชาติทยอยขายตราสารหนี้ กลยุทธ์ถือหุ้น 30% เน้นหุ้น Low Beta + High Div (HANA, SCCC, TTW) ส่วนใหญ่ถือเงินสด/กองทุนอสังหา (TFUND และ CPNRF) Top pick คือ BLA([email protected]) ได้ประโยชน์ผลตอบแทนพันธบัตรสูงขึ้นขณะนี้
ต่างชาติขายตราสารหนี้ หนุนผลตอบแทนพันธบัตรสูงสุดในภูมิภาค ดีต่อ BLA
ค่าเงินในภูมิภาคอาเซีย มีสัญญาณอ่อนค่าอีกครั้ง หลังจากที่แข็งค่าต่อเนื่องตลอดปีนี้ กล่าวคือ เงินรูเปียะห์ และเงินริงกิต อ่อนค่ามากสุดถึง 7% จากต้นปีนี้จนถึงปัจจุบัน (ytd) ใกล้เคียงกัน รองลงมาคือเงินบาทแข็งค่าราว 4%ytd ขณะที่ค่าเงินเปโซอ่อนค่า 3%ytd แต่อย่างไรก็ตามนับจากปลายสัปดาห์ที่ผ่านมาเริ่มเห็นการกลับเงินอ่อนอีกครั้ง นำโดยค่าเงินริงกิตอ่อนมากที่สุดราว 1.5% (จากจุดต่ำสุด 29 ส.ค.) ตามมาด้วยเปโซฟิลิปปินส์ อ่อนค่า 1.4% และไทยอ่อนค่าราว 0.5% มีเพียงอินโดนีเซียที่มียังแข็งค่าราว 1.2% ทั้งนี้คาดว่าน่าจะเกิดจากแรงขายพันธบัตรรัฐบาลที่เริ่มเห็นความชัดเจนมากขึ้น กล่าวคือ ตราสารหนี้ไทย ติดต่อกัน 4 วันติดต่อกัน ราว 135 เหรียญสหรัฐ (หรือ 4.66 พันล้านบาท) หลังจากที่ยอดซื้อตราสารหนี้สะสมสุทธิของไทยตลอดปี 2559 รวมกันราว 3.6 แสนล้านบาท (สูงสุดตั้งแต่ปี 2557) ขณะที่ตลาดในภูมิภาคเอเซียน่าจะมีลักษณะคล้ายกับไทย แม้บางประเทศไม่ชัดเจนเท่า แต่น่าจะซื้อลดลง และน่าจะทยอยขายนับจากนี้
และหากพิจารณาอัตราผลตอบแทนของพันธบัตร 10 ปี (Yield) ของประเทศภูมิภาคเริ่มมีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้น และหากพิจารณาเป็นรายประเทศพบว่า ฟิลิปปินส์ให้ผลตอบแทนสูงสุดราว 3.76% ตามมาด้วยมาเลเซียราว 3.535% อินโดนีเซียราว 3.351% ขณะที่ไทยอยู่ที่ 2.225% แต่สำหรับประเทศไทย พบว่าผลตอบแทนพันธบัตร ได้ขยับสูงจากระดับต่ำสุดที่ 1.54% ในวันที่ 15 เม.ย. 2559 ในสถานการณ์นี้น่าจะดีต่อ BLA([email protected]) (อ่านรายละเอียดย่อหน้าสุดท้าย)
ตลาดหุ้นไทยยังคงปรับฐานตามแรงขายของสถาบันฯ
วานนี้ตลาดหุ้นไทยยังคงตกหนักต่อเนื่องเป็นวันที่ 2 แต่เป็นที่สังเกตว่าแรงขายส่วนใหญ่ยังคงมาจากนักลงทุนสถาบัน เป็นหลักราว 2.4 พันล้านบาท ตรงข้ามกับต่างชาติที่ซื้อสุทธิหุ้นไทยกว่า 2.5 พันล้านบาท ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับตลาดหุ้นในภูมิภาค ที่ต่างชาติยังคงมียอดซื้อสุทธิทั้งสิ้น 582 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2) และเป็นการซื้อสุทธิถึง 4 ประเทศ คือ ไต้หวันซื้อสุทธิราว 274 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2) ตามมาด้วยเกาหลีใต้ 216 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2), อินโดนีเซีย 33 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิ 5 วัน) และไทย 72 ล้านเหรียญ ยกเว้นฟิลิปปินส์ที่ถูกขายสุทธิ 13 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 9)
แต่หากพิจารณาตั้งแต่ช่วงกลางเดือน ส.ค. เป็นต้นมาพบว่า แรงซื้อของชาติ ในตลาดหุ้นภูมิภาคเอเซีย พบว่าเริ่มชะลอตัวลงอย่างเห็นได้ชัด สังเกตได้จากต่างชาติมีการสลับซื้อสลับขายหุ้นในภูมิภาคเรื่อยมา โดยตลอดเดือน ส.ค. พบว่ามียอดซื้อสะสมรวม 460 ล้านเหรียญ หรือคิดเป็นยอดซื้อเฉลี่ยต่อวันเพียง 48 ล้านเหรียญ เท่านั้น เทียบกับยอดซื้อสุทธิเฉลี่ยต่อวัน ตั้งแต่หลังเหตุการณ์ Brexit จนถึงปัจจุบัน สูงถึง 363 ล้านเหรียญ แม้ Fed จะไม่ขึ้นดอกเบี้ยภายในปีนี้ แต่สัญญาณเงินบาทที่อ่อนค่า ดังกล่าวข้างต้น จะเป็นแรงผลักเงินทุนต่างชาติในระยะสั้นๆ
หลบภัยเข้ากองทุนอสังหาฯ กระแสเงินสดและปันผลมั่นคง : TFUND, CPNRF
ภายใต้ SET Index ที่ผันผวน ขณะที่ผลตอบแทนการลงทุนในพันธบัตร และดอกเบี้ยเงินฝากกับสถาบันการเงินที่อยู่ในระดับต่ำลง สำหรับผู้ลงทุนที่สามารถรับความเสี่ยงได้ในระดับปานกลาง แนะนำ กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (กอง 1) และทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (REIT) โดยกองฯ ที่มีสภาพคล่องในการซื้อขายสูง และมีความแน่นอนของการสร้างรายได้ค่าเช่า ได้แก่
TFUND: ลงทุนกรรมสิทธิ์ในโรงงานและคลังสินค้าทั้งหมด 244 แห่ง รวมพื้นที่ให้เช่า 5.8 แสนตารางเมตร (พื้นที่โรงงานฝั่งบางนาและอีสเทิร์นซีบอร์ดคิดเป็นสัดส่วน 69% และโซนอยุธยาสัดส่วน 31%) จุดเด่นที่น่าสนใจ คือ เป็นกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ หรือ Freehold ทำให้หมดความกังวลเรื่องราคาซื้อขายที่จะลดลงตามอายุสัญญาเช่า ขณะที่ราคาปัจจุบันยังต่ำกว่า NAV ล่าสุดเดือน ก.ค. ที่ 11.32 บาท อยู่ประมาณ 7% และทั้งปี 2559 คาดเงินปันผลเฉลี่ย 6% ต่อปี
CPNRF: ลงทุนสิทธิเช่าศูนย์การค้า 4 แห่ง มีอายุการเช่าคงเหลือเฉลี่ย 34 ปี (โครงการพระราม 2, พระราม 3, ปิ่นเกล้า และเชียงใหม่ แอร์พอร์ต ซึ่งมีอายุการเช่าคงเหลือ 9, 79, 8, และ 28 ปี ตามลำดับ) มีพื้นที่ให้เช่ารวม 2.24 แสนตารางเมตร มีอัตราการเช่าสูงระดับ 90% และมีความพร้อมที่จะแปลงสภาพเป็น REIT (สามารถกู้ยืมเพิ่มขึ้นจากเดิม 10% ของมูลค่าสินทรัพย์สุทธิ เป็น 35%) คาดจะใช้เวลาประมาณ 6-8 เดือน และน่าจะแล้วเสร็จต้นปี 2560 โดยเตรียมกู้ยืมเพิ่ม เพื่อนำเงินไปใช้ในการปรับปรุงเซ็นทรัล พระราม 3 ซึ่งช่วยเพิ่มมูลค่าสินทรัพย์ และเพิ่มโอกาสในการลงทุนสินทรัพย์ใหม่เพื่อเป็นการขยายขนาดกองทุน และช่วยให้การดำเนินงานของกองทุนเติบโตมากขึ้นในอนาคต โดย ณ ระดับราคาหน่วยลงทุนปัจจุบัน คาด Dividend ปี 2559 เกือบ 6% ต่อปี อย่างไรก็ดีมีข้อพึงระวังเรื่องราคาหน่วยลงทุนที่สูงกว่า NAV (ล่าสุดเดือน ก.ค. 2559 อยู่ที่ 13.63 บาท/หน่วย) ถึง 50% ทำให้มีความเสี่ยงที่ราคามีโอกาสปรับฐานลงมาได้
กลยุทธ์การลงทุนภายใต้ความผันผวน สะสม BDMS, BCH, RJH
ภายใต้สภาวะความไม่แน่นอน กลยุทธ์การลงทุน จึงยังแนะนำลด port การลงทุนในหุ้นเหลือ 30% ขายหุ้นที่เกิน Fair Value และเลือกหุ้นแบบ selective buy ที่มีผลกำไรที่โดดเด่นในงวด 2H59 คือ
หุ้นโรงพยาบาล : เลือก BCH (FV@B14) เนื่องจากผลประกอบการพลิกกลับมาเติบโตก้าวกระโดด ขณะที่ราคาหุ้นยังไม่ตอบรับ BDMS (FV@B27) ซึ่งอาจได้รับประโยชน์จากนโยบายส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมยาและเครื่องมือแพทย์ และ RJH (FV@B24) โรงพยาบาลน้องใหม่ที่คาดการเติบโตได้แบบก้าวกระโดด แต่ราคาหุ้นยังมี upside สูง
หุ้นฤดูกาลส่งออกอาหาร : CPF (FV@B40) และ GFPT (FV@B17) จากราคาสัตว์บกที่ยังทรงตัวได้ในระดับสูง ส่วน TFG ([email protected]) แต่เนื่องจากราคาหุ้นกลุ่มนี้ได้ปรับตัวขึ้นมามาก จึงแนะนำซื้อ เมื่อราคาอ่อนตัว
กลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ที่ราคาหุ้นปรับตัวขึ้นน้อยในช่วงที่ผ่านมาคือ HANA (FV@B42), DELTA (FV@B80), SVI (FV@B6)
หุ้นสายการบิน : จากการเข้าสู่ฤดูกาล High Season ที่เกาะสมุย ในช่วง 3Q59 หนุน BA ([email protected]) นอกจากนี้ยังได้ประโยชน์จากต้นทุนน้ำมันที่อยู่ในระดับต่ำ และการเปิดเส้นทางบินใหม่กรุงเทพ-ดานัง ซึ่งล้วนมีฐานลูกค้าที่ชัดเจน
หุ้นที่ได้ประโยชน์จากอัตราดอกเบี้ยที่น่าจะผ่านพ้นจุดต่ำสุดไปแล้ว ส่งผลให้ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล (Government Bond Yield) มีแนวโน้มปรับขึ้นต่อจากนี้ เลือก BLA ([email protected]) ในภาวะดอกเบี้ยต่ำ ทำให้ภาระหนี้สินจากการซื้อกรมธรรม์ลดลง จะทำให้สามารถกลับรายการตั้งสำรองฯ มาเป็นรายได้ ทำให้งบกำไรขาดทุนดีขึ้นใน 3Q59
ส่วนที่เหลือถือเงินสด 70% หรือลงทุนใน property fund ที่มีความผันผวนต่ำ แต่ให้ผลตอบแทนจากเงินปันผลที่สม่ำเสมอ ได้แก่ CPNRF และ TFUND
หรือเลือกหุ้นปลอดภัย หุ้นที่มี Beta ต่ำ Div. Yield สูง ดังตารางด้านล่าง
นักวิเคราะห์: ภรณี ทองเย็น, CISA เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์ : พาสุ ชัยหลีเจริญ
ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์ : ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์