- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Monday, 28 July 2014 15:59
- Hits: 2211
บล.เอเซียพลัส : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
ปัจจัยกดดันรอบด้าน และ SET ขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้โอกาสถูกขายทำกำไรระยะสั้น แนะนำปรับลดพอร์ต โดยถือหุ้น P/E ต่ำ เงินปันผลสูง คือ BECL(FV@B45) และยังเป็นหุ้น laggard
ส่งออกไทยดีขึ้น แต่มีความเสี่ยงอาจถูกลดเครดิตประเทศ
เป็นที่น่าตื่นเต้นมากที่ยอดส่งออกของไทยกลับมาฟื้นตัวอีกครั้ง หลังจากที่ประสบภาวะชะลอตัวติดต่อมาหลายเดือน โดยเฉพาะ 5 เดือนแรกของปี 2557 พบว่าติดลบ 1.22%yoy (เป็นการหดตัวจีน โดยติดลบ 5.6% ตามมาด้วย ASEAN-9 ติดลบ 3.5% และญี่ปุ่น ติดลบ 1.7%) แต่ล่าสุดแหล่งข่าวจากหนังสือพิมพ์ ในเบื้องต้นคาดว่ายอดส่งออกเดือน มิ.ย. กลับมาเติบโตอีกครั้งราว 7.2%yoy มีมูลค่าราว 2.0473 หมื่นล้านเหรียญฯ ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในปีนี้ ทั้งนี้เป็นการผลจากการฟื้นตัวของคู่ค้าที่สำคัญ ได้แก่ สหรัฐ และ ยุโรป ดังนั้นจึงคาดว่าในช่วงที่เหลืออีก 6 เดือนของปีนี้ น่าจะขยายตัวต่อเนื่อง แต่การที่เงินบาทกลับมามีทิศทางแข็งค่าในระยะสั้นๆ อาจจะกระทบภาคส่งออกบ้าง แต่คาดว่ามูลค่าส่งออกในปี 2557 น่าจะอยู่ที่ 3-3.5% (ตามประมาณการของกระทรวงพาณิชย์ และ ธปท.) หากกำหนดให้ยอดส่งออกในช่วงที่เหลือของปีนี้เติบโตเฉลี่ยเดือนละ 6%yoy ขณะที่เป้าหมายที่ ASP คาดไว้ที่ 5% อาจจะเป็นไปได้น้อยลง ซึ่งอาจจะต้องทำการทบประมาณการใหม่อีกครั้ง ภายหลังมีการประกาศ GDP Growth งวด 2Q57
อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงที่ไทยอาจจะถูก มูดดี้ส์ ซึ่งเป็นสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือชั้นนำของโลก ปรับลดเครดิตนั้น มีความเป็นไปได้สูง (จะลดลงจากปัจจุบันอยู่ที่ระดับ Baa1 ถือว่าเป็นระดับที่ยังไม่เสี่ยงต่อการลงทุน) เนื่องจากมูดดี้ส์ ให้น้ำหนักต่อการมีรัฐบาลหรือการจัดตั้งรัฐบาลที่มีเสถียรภาพ แม้ภายหลังการรัฐประหาร จะช่วยเพิ่มความเชื่อมั่นผู้บริโภคและนักลงทุนได้ แต่ยังไม่สามารถเดินหน้าปฏิรูปประเทศได้สำเร็จ ซึ่งจะส่งผลลบต่อความน่าเชื่อถือของประเทศ และเป็นสาเหตุต่อการบั่นทอนเศรษฐกิจในระยะยาว ถือเป็นปัจจัยกดดันตลาดหุ้นไทยในระยะสั้น
ความขัดแย้งในรัสเซีย vs ผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลก
ล่าสุด ธนาคารกลางรัสเซีย ได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.5% สู่ระดับ 8% (เป็นการปรับขึ้นครั้งที่ 3 ในปี 2557) เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ล่าสุดเดือน มิ.ย. อยู่ที่ 7.8% ส่วนหนึ่งได้รับแรงกดดันจากปัญหาความขัดแย้งในยูเครน ส่งผลให้ค่าเงินรูเบิลเทียบอ่อนค่ากว่า 13% นับตั้งแต่ต้นปี 2557 เป็นต้นมา นอกจากนี้ รัสเซียเตรียมขึ้นทั้งภาษีนำเข้าและภาษีขาย ภายในปี 2558 เพื่อลดแรงจูงใจในการนำเข้าอันเป็นผลมาจากค่าเงินที่อ่อนค่าดังกล่าวข้างต้น
ขณะที่สถานการณ์ความขัดแย้งในยูเครน มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และน่าจะกดดันปัญหาเศรษฐกิจในรัสเซียต่อไป ทั้งนี้หลังสหรัฐได้เพิ่มมาตรการคว่ำบาตรโดยพุ่งเป้าไปที่บริษัทขนาดใหญ่ของรัสเซีย เช่น บริษัทผู้ผลิตน้ำมันขนาดใหญ่ที่สุด และสหภาพยุโรป (EU) ได้ตัดสินใจเพิ่มมาตรการคว่ำบาตร โดยขยายไปถึงสถาบันการเงิน รวมถึงองค์กรที่สนับสนุนการเงินแก่รัสเซีย และล่าสุดเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ยุโรป ได้เพิ่มการคว่ำบาตรรัสเซีย โดยการอายัดทรัพย์สินและระงับวีซ่าบุคคลอีก 15 คน และ 18 องค์กร (รวมบุคคล และ องค์กร ที่ถูกคว่ำบาตรไปแล้ว 87 ราย และ 20 แห่ง) อย่างไรก็ตามทางด้านรัสเซีย และจีน เตรียมผนึกกำลังตอบโต้ด้วยการจะเลิกใช้เงินดอลลาร์ซื้อขายพลังงาน และเปลี่ยนมาใช้เงินรูเบิ้ลและหยวน แทน
แต่เป็นที่สังเกตว่า การคว่ำบาตรยังไม่ได้ขยายมาถึงการค้าสินค้า และบริการระหว่างประเทศ ทั้งนี้เนื่องจากประเทศมหาอำนาจ ต่างพึ่งพิงการนำเข้าระหว่างกัน กล่าวคือ สหภาพยุโรป (27 ประเทศ) เป็นคู่ค้าหลักของรัสเซีย โดยยุโรป มีการค้ากับรัสเซีย ราว 25% ของมูลค่าการค้าทั้งหมดในรัสเซีย (กว่าปีละ 2.14 แสนล้านเหรียญฯ) สินค้าหลักที่ยุโรปนำเข้าจากรัสเซียคือ น้ำมันเชื้อเพลิง และก๊าซธรรมชาติ (รัสเซียเป็นผู้ผลิตและส่งออกน้ำมันดิบรายใหญ่ที่สุดของโลกราว 11% ของกำลังการผลิตโลก รองจากกลุ่มโอเปค ซึ่งมีสัดส่วนสูงสุด 37% ของกำลังการผลิตโลก) ขณะที่รัสเซียมีส่วนแบ่งตลาดการค้าในสหภาพยุโรปราว 5.9% ของยอดการค้าของสหภาพยุโรป (กว่าปีละ 1.69 แสนล้านเหรียญฯ) โดยนำเข้าสินค้าหลักที่รัสเซียนำเข้าจากยุโรป คือ เครื่องจักรและเครื่องมือต่างๆ สินค้าประจำวัน ยา เนื้อสัตว์ น้ำตาล โลหะแบบกึ่งสำเร็จ เชื่อว่ามีโอกาสคว่ำบาตรทางการค้าน้อย แต่น่าจะกดดันให้เศรษฐกิจโลกซึมลงจากปัญหาความขัดแย้งดังกล่าว
ต่างชาติสลับมาขายภูมิภาคเล็กน้อย รวมถึงไทย
วันศุกร์ที่ผ่านมานักลงทุนต่างชาติพลิกกลับมาขายสุทธิหุ้นในภูมิภาค เล็กน้อยราว 8 ล้านเหรียญฯ (หลังจากที่ซื้อสุทธิติดต่อกัน 11 วันก่อนหน้า) โดยที่เป็นการเลือกขายรายประเทศ ทั้งนี้ประเทศที่ถูกขายสุทธิสูงสุดคือไต้หวัน ที่สลับมาขายสุทธิอีกครั้งราว 62 ล้านเหรียญฯ (ซื้อติดต่อกัน 2 วันก่อนหน้า) ตามมาด้วย ไทยสลับมาขายสุทธิเช่นกัน ราว 31 ล้านเหรียญฯ (998 ล้านบาท, ขายสลับซื้อ 3 วันหลังสุด) และ ฟิลิปปินส์ที่ขายต่อเนื่องกันเป็นวันที่ 7 ราว 7 ล้านเหรียญฯ (เพิ่มขึ้นกว่า 4 เท่าตัวจากวันก่อนหน้า) ตรงกนข้ามกับ เกาหลีใต้ที่ยังคงซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 12 แต่ลดลง 56% เหลือราว 76 ล้านเหรียญฯ สุดท้ายคือ อินโดนีเซียที่ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 4 ราว 17 ล้านเหรียญฯ (ลดลง 47%)
ทั้งนี้ การที่นักลงทุนต่างชาติสลับมาขายสุทธิหุ้นในภูมิภาคในวันศุกร์ที่ผ่านมา เชื่อว่าเป็นการขายทำกำไรช่วงสั้น หลังจากที่ซื้อต่อเนื่องในช่วงก่อนหน้าในช่วงเวลาเพียง 1 เดือนเศษ พบว่าดัชนีตลาดหุ้นไทยให้ผลตอบแทนกว่า 6% ขณะที่รายกลุ่มให้ผลตอบแทนที่สูงมากกว่าตลาดมาก เช่น อสังหาริมทรัพย์ 11.4% หลักทรัพย์-เช่าซื้อ 10.7% พลังงาน 10.6% ประกัน 10.3% ท่องเที่ยว-โรงแรม 9.3% รับเหมาฯ 9.1% ขนส่ง 8.4% และธนาคารพาณิชย์ 8% นอกจากนี้ยังมีปัจจัยกดดันเพิ่มเติมจากความขัดแย้งในรัสเซีย ขณะที่ตลาดหุ้นไทยถูกขายสุทธิออกมาตามตลาดในภูมิภาค แต่ในตลาดตราสารหนี้กลับถูกซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 21 ราว 8.6 พันล้านบาท หนุนให้เงินบาทยังอยู่ในระดับแข็งค่าต่อไป
ADVANC และ DTAC มีแต่ข่าวร้ายซ้ำเติม แต่เป็นโอกาสสะสม?????????
แหล่งข่าว เมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา เปิดเผยว่า กสทช สั่งปรับ ADVANC และ DTAC วันละ 1.87 แสนบาท และ 1.58 แสนบาท เนื่องจากในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ผู้ให้บริการมือถือทั้ง 2 ราย มีการคิดค่าบริการ 2G สูงเกินกว่าอัตราขั้นสูงที่กำหนดไว้ที่ 0.99 บาทต่อนาที
ทั้งนี้ จากการประเมินในเบื้องต้นของนักวิเคราะห์ ASP คาดว่า หากต้องจ่ายค่าปรับตามจำนวนวันเป็นระยะเวลาย้อนหลัง 2 ปี คาดว่าจะกระทบต่อประมาณการกำไรในปี 2557 ของ ADVANC และ DTAC ราว 136 ล้านบาท และ 115 ล้านบาท หรือ คิดเป็นประมาณ 0.34% และ 0.87% ซึ่งจะทำให้ประมาณการกำไรลดลง จากประมาณการปัจจุบันของฝ่ายวิจัย 0.3% และ 0.9% ตามลำดับ ในปี 2557 (ฝ่ายวิจัยยังไม่รวมในประมาณการ โดยขอสอบถามผลกระทบที่ชัดเจน รวมถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาของทั้ง 2 ผู้ประกอบการก่อน) ทั้งนี้ หากมีการปรับลดประมาณการในอัตราดังกล่าว กำไรในปี 2558 จะเติบโตเพิ่มขึ้นเป็น 20.7% และ 11.9% ( VS เดิมคาดเติบโต 20.3% และ 11%) เนี่องจากฐานที่ลดลงในปี 2557 อย่างไรก็ตาม ฝ่ายวิจัย ASP ยังคงคำแนะนำ ซื้อ สำหรับ ADVANC(FV@B270) และ DTAC(FV@B122) เนื่องจากคาดว่าจะกระทบต่อมูลค่าหุ้นทั้ง 2 แห่งไม่มีนัยฯ ขณะที่ราคาหุ้นได้ปรับตัวลดลงอย่างรวดเร็วกล่าวคือ ADVANC ลดลง 14.2% และ DTAC ลดลง 16.1% สวนทางกับดัชนีตลาดปรับตัวเพิ่มขึ้น 6%
หุ้นที่แนะนำใน Market talk