- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Monday, 05 September 2016 16:42
- Hits: 1168
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
คาด SET มีแนวโน้มแกว่งตัวลงต่อ และต่างชาติเริ่มซื้อน้อยลง (ดัชนีระดับนี้มีกำไรทั้ง Capital gain + FX gain) กลยุทธ์ปรับพอร์ตถือหุ้น 30% และให้สะสมหุ้นกำไรเด่น 2H59 (BDMS, BCH, GFPT, BA, AJD) หรือหุ้น Low Beta + High Dividend (HANA, SCCC, TTW) Top picks BDMS(FV@27) และ RJH(FV@B24)
การจ้างงานสหรัฐต่ำกว่าคาด ลดความคาดหวังการขึ้นดอกเบี้ยฯ
ปลายสัปดาห์ที่แล้วการรายงานตัวเลขยอดการจ้างงานนอกภาคการเกษตร (Nonfarm payrolls โดยกรมแรงงาน) เดือน ส.ค. อยู่ที่ 1.5 แสนราย ต่ำกว่าที่ตลาคคาด 1.8 แสนราย (vs 2.55 แสนรายในเดือน ก.ค.) ยอดการจ้างงานที่เริ่มชะลอลง ลดความคาดหวังที่ Fed จะขึ้นดอกเบี้ยในปีนี้ลง สะท้อนจากผลสำรวจ Fed Fund Future สุดสัปดาห์ที่ผ่านมา เริ่มลดลงกล่าวคือโอกาสการขึ้นดอกเบี้ยในเดือน ก.ย. ลดลงอยู่ที่ 32% จาก 42% ช่วงต้นสัปดาห์ รอบ 1-2 พ.ย. ราว 36% ลดลงจาก 47% และ รอบ13-14 ธ.ค.ราว 59% ลดลงจาก 64% นับว่าสอดคล้องกับ ASPS ที่เชื่อมั่นว่า Fed ยังไม่น่าขึ้นดอกเบี้ยภายในสิ้นปีนี้ เนื่องจากปัจจัยเสี่ยงจากภายนอกยังมีอยู่มิใช่เพียงแต่ BREXIT ยังกดดันเศรษฐกิจสหภาพยุโรป แต่ญี่ปุ่น ซึ่งเป็นคู่ค้าหลักของสหรัฐ และ สหภาพยุโรปยังเผชิญกับภาวะชะลอตัว
ล่าสุดเงินเฟ้อของญี่ปุ่นยังติดลบ โดย เดือน ส.ค. -0.5% (ติดลบต่อเนื่อง 4 เดือน) ประกอบกับภาคการค้าระหว่างประเทศที่หดตัวติดต่อกันตั้งแต่ปลายปี 2558 (ยอดส่งออก ล่าสุดติดลบ14%yoy หดตัวมากที่สุดในรอบ7ปี) ซึ่งเป็นผลจากค่าเงินเยนที่แข็งค่าราว 17%ytd ทำให้ตลาดคาดหวังว่าจะมีการออกมาตรการกระตุ้นเพิ่มเติมจาก ธนาคารกลางญี่ปุ่น BOJ ผ่านการลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก ธ.พ. ที่ปัจุบัน ติดลบ 0.1% ในการประชุมรอบถัดไปของ BOJ ซึ่งจะมีการประชุมวันเดียวกับ FED
ราคาน้ำมันยังแกว่งตัว จากอิทธิพลปริมาณผลิตที่เพิ่ม
ราคาน้ำมันยังลดลง ทำจุดต่ำสุดในรอบเดือน ล่าสุดน้ำมันดิบดูไบปิดที่ 42.13 เหรียญฯต่อบาร์เรล ลดลง 1.25 เหรียญฯต่อบาร์เรล (ตลาดล่วงหน้า WTI และ Brent อยู่ที่ 44.11 และ 46.57 เหรียญฯต่อบาร์เรลตามลำดับ) ปัจจัยกดดันนอกจาก สต็อกน้ำมันดิบสหรัฐสัปดาห์ล่าสุดที่เพิ่มขึ้น ติดต่อกัน 2 สัปดาห์ แล้ว พบว่าทางด้านฝั่งประเทศผลิตน้ำมันมีสัญญานผลิตเพิ่มขึ้นกล่าวคือ
สหรัฐพบว่า จำนวนหลุมขุดเจาะที่เพิ่มขึ้น 14 หลุม ในสัปดาห์ก่อน และ 93 หลุม นับตั้งแต่เดือน พ.ค. ที่ผ่านมา จากที่ทยอยปิดหลุมขุดเจาไปกว่า 260 หลุม นับจากช่วงต้นปี 2559 จนถึงช่วงก่อนที่จะมาปรับเพิ่มหลุมขุดเจาะอีกรอบดังกล่าว
ฝั่ง OPEC เปิดเผยว่าได้เพิ่มกำลังผลิตจนทำให้มีระดับสูงสุดใหม่ ใน เดือน ส.ค. คือผลิต 1.2 แสนบาร์เรล สู่ระดับ 33.69 ล้านบาร์เรลต่อวัน
อย่างไรก็ตามคาดว่า Dollar Index ที่อ่อนแรง จากการายงานตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐ ดังกล่าวข้างต้น น่าจะช่วยพยุงราคาน้ำมันให้ยืนเหนือ ระดับ 40 เหรียญฯต่อบาร์เรลได้ และราคาน้ำมันระดับนี้คาดว่าจะไม่สนับสนุนให้ผู้ผลิตที่มีต้นทุนสูง (shale oil/shale gas) กลับมาผลิต สนับสนุนโดยผลการศึกษาของ EIA เชื่อว่าน้ำมันดิบโลกจะยังคงสามารถกลับมาสมดุลได้ใน 1H60 และเริ่มขาดดุลช่วงครึ่งหลังของปี 2560
ทั้งนี้ยังคงต้องติดตามการประชุมในกลุ่ม OPEC อย่างไม่เป็นทางการในวันที่ 26-28 ก.ย. นี้ว่าจะสามารถบรรลุข้อตกลงคงกำลังการผลิตหรือไม่ แต่อย่างไรก็ตามราคาน้ำมันที่ย่อตัวดังกล่าวยังคงเป็นปัจจัยกดดัน หุ้นกลุ่มพลังงาน แนะนำชะลอการลงทุนระยะสั้น แต่ระยะกลาง-ยาวยังถือว่าเป็นโอกาสสะสม เมื่อราคาหุ้นย่อตัว อย่าง PTT(FV@B342) ซึ่งธุรกิจมีการกระจายความเสี่ยงที่สุดในกลุ่มพลังงาน
ตลาดหุ้นไทยตกหนัก จากแรงขายของสถาบันฯกว่า 4.9 พันล้านบาท
วันศุกร์ที่ผ่านมา สังเกตได้ว่าตลาดหุ้นไทยตกหนักกว่าตลาดหุ้นอื่นในภูมิภาค โดยปรับตัวลดลงถึง 18.23 จุด หรือ 1.18% ซึ่งแรงขายส่วนใหญ่มาจากนักลงทุนสถาบันฯที่ขายสุทธิสูงถึง 4.9 พันล้านบาท ขณะที่ต่างชาติซื้อสุทธิเล็กน้อยราว 97 ล้านบาท และหากกลับมาดูภาพรวมตลาดหุ้นทั้งภูมิภาค พบว่า สลับมาซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคราว 211 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิ 2 วัน) และเป็นการซื้อสุทธิอยู่ 3 ประเทศ คือ เกาหลีใต้ซื้อสุทธิราว 205 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิ 2 วัน) ตามมาด้วยไต้หวัน 22 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิ 2 วัน) และไทย 3 ล้านเหรียญ ส่วนที่เหลืออีก 2 ประเทศยังคงถูกขายสุทธิ คือ ฟิลิปปินส์ขายสุทธิ 18 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 8) และอินโดนีเซียที่ขายสุทธิเล็กน้อยราว 4.8 แสนเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 5)
ส่วนทางด้านตลาดตราสารหนี้ไทย นักลงทุนสถาบันในประเทศซื้อสุทธิราว 1.4 หมื่นล้านบาท ต่างกับนักลงทุนต่างชาติที่ขายสุทธิราว 371 ล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 3)
กลยุทธ์การลงทุนภายใต้ความผันผวน สะสม BDMS, BCH, RJH
แม้ความกังวลต่อการปรับขึ้นดอกเบี้ย Fed จะลดลงภายหลังการรายงานยอดการจ้างงานนอกภาคการเกษตร (Nonfarm payrolls) ดังกล่าวข้างต้นก็ตาม แต่อย่างไรก็ตาม ยังไม่สามารถตัดประเด็นเรื่องการขึ้นดอกเบี้ยออกไปเนื่องจากจนถึงสิ้นปีนี้จะมีการประชุม Fed อีก 3 ครั้ง ด้วยเหตุนี้ตลาดหุ้นไทยยังคงได้รับแรงกดดันจากภายนอก และ การที่ ตลาดหุ้นไทยที่ซื้อขายกันบนระดับ P/E ที่ค่อนข้างสูง กว่า 17.1 เท่า รวมถึงต่างชาติเริ่มซื้อลดน้อยถอยลง (มีการซื้อสลับขายเพื่อทำกำไรหลังจาก SET Index ในปีนี้ปรับขึ้นกว่า 18% บวกกับเงินบาทแข็งค่ากว่า 4% สะท้อนจากล่าสุด ต่างชาติเปิดสถานะ Short SET50 Index Futures ไปแล้วกว่า 8,429 สัญญา ในรอบ 3 วันทำการหลังสุด จึงทำให้มีความเสี่ยงในการถูกขายทำกำไร จึงเชื่อว่าแนวโน้มขาลงยังคงมีอิทธิพลอยู่ และมีโอกาสที่ SET จะลงไปถึง 1500 จุด หรือต่ำกว่า
กลยุทธ์การลงทุน จึงยังแนะนำลด port การลงทุนในหุ้นเหลือ 30% ขายหุ้นที่เกิน Fair Value และเลือกหุ้นแบบ selective buy ในหุ้น Defensive คือ หุ้นที่มี Beta ต่ำ Div. Yield สูง เช่น HANA (FV@B42), DELTA (FV@B80), SVI (FV@B6), ASK ([email protected]), KCAR ([email protected]) หุ้นที่มีปัจจัยบวกเฉพาะตัวหนุน หรือ เข้าสู่ช่วง high season อาทิ BCH (FV@B14), BDMS (FV@B27) และ RJH (FV@B24) และ BA ([email protected])
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
พาสุ ชัยหลีเจริญ ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์