- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Monday, 28 July 2014 15:51
- Hits: 2240
บล.ฟินันเซีย ไซรัส : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน
คาด SET ยังมีสิทธิแกว่งผันผวนและย้อนลงได้ ดังนั้นรอซื้อลบเช่นเดิม..
กลยุทธ์ : SET ยังมีลักษณะแกว่งตัวผันผวนต่อเนื่อง ทำให้เราคาดว่ากรอบการรีบาวด์น่าจะยังจำกัด และมีสิทธิที่จะอยู่ในช่วงแกว่งตัวเพื่อปรับพักฐานต่อเนื่องได้ ก่อนที่จะไปลุ้นการกลับมาแกว่งบวกขึ้นทำจุดสูงสุดใหม่อีกครั้งในช่วงถัดไป ดังนั้นเรายังแนะนำให้รอเลือกหุ้นเข้าทยอยซื้อในช่วงตลาดอ่อนตัวลงเช่นเดิมไว้ก่อน
หุ้นเด่นทางเทคนิค : INET, KAMART, STPI(buy back)
แนวโน้ม : หลังจากช่วงครึ่งสัปดาห์แรกของสัปดาห์ก่อน SET แกว่งตัวผันผวนรุนแรงพอควร จากข่าวลบเกี่ยวกับการย้ายฐานลงทุนของเทมาเส็ค และการเลื่อนพิจารณาการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของ คสช. จนทำให้ในช่วงท้ายสัปดาห์ถึงแม้ว่าดัชนีจะดีดกลับขึ้นมาได้อีกครั้ง แต่ก็ยังมีลักษณะแกว่งตัวผันผวนมากขึ้น และมีจังหวะย้อนลงลบให้เห็นด้วย ขณะที่ยังไม่มีปัจจัยบวกใหม่ๆ เข้ามาหนุน ดังนั้น FSS จึงคาดว่าแรงขายกดดันตลาดจะยังมีอยู่ในสัปดาห์นี้ ทำให้มีโอกาสที่ SET จะยังปรับตัวลดลงต่อเนื่องได้ ประกอบกับเช้านี้บรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้นต่างประเทศก็ไม่ได้สดใสนัก หลังตลาดหุ้นสหรัฐเมื่อค่ำวันศุกร์ปิดทำการเป็นลบถึงเกือบ 1% จากตัวเลขผลประกอบการของบริษัทเอกชนที่ออกมาน่าผิดหวัง โดยตลาดหุ้นยุโรปยังถูกกดดันจากข้อมูลความเชื่อมั่นทางธุรกิจที่ย่ำแย่ของเยอรมนีด้วย อย่างไรก็ตามตลาดหุ้นเอเชียเช้านี้ที่เปิดทำการส่วนใหญ่ก็ยังเคลื่อนไหวเป็นบวกได้บ้าง ทำให้เราคาดว่า SET จะมีลักษณะแกว่งตัวผันผวนต่อเนื่องและยังลุ้นปรับตัวลงได้อยู่
แนวรับ 1540-1536 , 1530-1526 จุด แนวต้าน 1546-1548 , 1552-1555 จุด
Fund Flow สัปดาห์ที่ผ่านมายังไหลเข้าตลาดหุ้นภูมิภาคต่อเนื่อง แต่ปริมาณลดลงเหลือ US$873 ล้าน จาก US$1,228 ล้านในสัปดาห์ก่อนหน้า ส่วนศุกร์ที่ผ่านมา Flow ไหลเข้าออกสลับกันในปริมาณเบาบาง โดยนักลงทุนซื้อในเกาหลีใต้ US$75.6 ล้าน อินโดนีเซีย US$16.8 ล้าน และเวียดนาม US$1.6 ล้าน แต่ขายตลาดไต้หวัน US$61.7 ล้าน ไทย US$31.4 ล้าน และฟิลิปปินส์ US$7.5 ล้าน ค่าเงินภูมิภาคเช้านี้อ่อนค่าเล็กน้อย Flow น่าจะเบาบาง
ข่าว/หุ้นเด่นมีประเด็น
(0) สัปดาห์นี้เต็มไปด้วยตัวเลขเศรษฐกิจและผลประกอบการของบจ.ทั้งในสหรัฐและไทย ฝั่งสหรัฐฯมีกว่า 100 บริษัทที่จะประกาศผลประกอบการในสัปดาห์นี้ ซึ่งตลาดคาดว่าส่วนใหญ่จะดีขึ้นทั้ง Q-Q และ Y-Y นอกจากนี้ จะมีการประชุม Fed 29-30 ก.ค. ซึ่งน่าไม่มีอะไรใหม่ คาดว่าจะเดินหน้าถอน QE เดือนละ US$1 หมื่นล้าน เหลือ US$2.5 หมื่นล้าน และยังไม่ชี้ชัดว่าจะขึ้นดอกเบี้ยเมื่อใด จนกว่าจะถึงการประชุมเดือนก.ย. จึงจะชัดเจนมากขึ้นเรื่องดอกเบี้ย ส่วนตลาดหุ้นในเอเชียในสัปดาห์นี้ปิดหลายตลาด ส่วนของไทยจะมีผลประกอบการของ SCC, GLOW, TTW, VGI
(+) กลุ่มพลังงานถูกกดดันน้อยลง เพราะเลื่อนปรับโครงสร้างราคาพลังงาน รอฟังความเห็นจากประชาชน ส.ค. นี้ และยังไม่สามารถกำหนดได้ว่าการปรับโครงสร้างราคาพลังงานจะแล้วเสร็จเมื่อใด แต่สิ่งที่จะพิจารณาก่อนคือโครงสร้างราคาก๊าซหุ้งต้มและน้ำมัน ส่วนการเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบใหม่ต้องรอสภาปฏิรูป ประเด็นนี้ช่วยคลายความกังวลออกไป ทำให้กลุ่มน้ำมันหันมาเคลื่อนไหวตามราคาน้ำมันในตลาดโลกแทน
(+) BGH แนวโน้มกำไรปกติใน 2Q14 น่าจะเติบโตโดดเด่น เราคาดเพิ่มถึง 27% Y-Y จากการควบคุมรายจ่ายที่มีประสิทธิภาพ ขณะที่จำนวนผู้ป่วยและค่ารักษาพยาบาลเติบโตได้ดี แต่กำไรจะลดลง 25% Q-Q ตามฤดูกาลซึ่งเป็นปกติ เราคงประมาณการกำไรปกติปีนี้โต 21% ปีหน้าโต 20% ปรับไปใช้ราคาเป้าหมายปี 2015 ที่ 20 บาท ยังคงแนะนำซื้อ
(+) MINT เราคาดกำไรปกติใน 2Q14 แข็งแกร่ง เติบโต 38% Y-Y แม้ถูกกระทบจากการชุมนุม เพราะมีธุรกิจโรงแรมในต่างประเทศช่วยชดเชย และธุรกิจอาหารเริ่มฟื้น แต่กำไรดังกล่าวลดลง 58% Q-Q ตามฤดูกาล และเชื่อเป็นจุดต่ำสุดของปีนี้ เราคงประมาณการกำไรปีนี้แต่ปรับเพิ่มปีหน้าขึ้น 6% ทำให้กำไรปีนี้โต 22% ปีหน้าโต 20% เราปรับไปใช้ราคาเป้าหมายปี 2015 ที่ 40 บาท ยังแนะนำซื้อและยังคงเป็น Top pick ในกลุ่ม
(+) AP เราคาดกำไรปกติ 2Q14 เติบโต 139% Q-Q และ 37% Y-Y น่าจะเป็นการเติบโตที่ดีที่สุดในกลุ่มในไตรมาสนี้ เราปรับเพิ่มกำไรปี 2014-15 ขึ้น 4% และ 11% เป็นเติบโต 3% ในปีนี้และเร่งตัวขึ้นเป็น 16% ในปีหน้า สูงกว่ากลุ่มที่โตเฉลี่ย 11% Y-Y เพราะคอนโด Life @Ratchadpisek มีแนวโน้มโอนได้เร็วที่คาดไว้เดิม ปรับไปใช้ราคาเป้าหมายปี 2015 ที่ 8.45 บาท ปรับคำแนะนำขึ้นเป็นซื้อ จากเดิมถือ ปัจจุบันมี PE ปี 2015 เพียง 8.5 เท่า ต่ำสุดเป็นอันดับ 2 รองจาก RML
(0) TKT แนวโน้มผลประกอบการ 2Q14 น่าจะขาดทุน 3 ล้านบาท แย่กว่าเดิมที่เคยคาด เราปรับกำไรปี 2014-15 ลง 18% และ 13% ตามลำดับ ทำให้กำไรในปี 2014 หดตัวติดต่อกันเป็นปีที่ 2 (-18% Y-Y) แต่จะฟื้นตัวแรง 63% Y-Y ในปี 2015 เราปรับไปใช้ราคาเป้าหมายปี 2015 ที่ 3 บาท แนะนำซื้อ เพราะกำลังจะผ่านผลประกอบการที่ต่ำสุดใน 2Q14 และเริ่มฟื้นตัวตั้งแต่ 2H14 ปัจจุบันมี PE ปี 2015 เพียง 10.4 เท่า
(-) CKP เราปรับกำไรปี 2014-16 ลงปีละ 30% จากต้นทุนการผลิตที่สูงกว่าคาด ทำให้กำไรปีนี้โต 102% ปี 2015 โต 3% และปี 2016 โตเพียง 2.5% ก่อนจะกลับมาโตแรงอีกครั้งในปี 2017 หลังโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม BIC-2 (120MW) เปิดดำเนินการ เราปรับเป้าหมายลงเป็น 16 บาทจาก 19 บาท ราคาหุ้นเต็มมูลค่าแล้ว แนะนำขาย
ตลาดหุ้นสหรัฐฯเมื่อคืนวันศุกร์ร่วงลง 123.23 จุด หลังผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนใหญ่หลายแห่งออกมาน่าผิดหวัง รวมถึงแรงกดดันที่เพิ่มขึ้นจากสถานการณ์ความไม่สงบฝั่งยุโรปและตะวันออกกลาง
ส่วนตลาดหุ้นยุโรปเมื่อคืนวันศุกร์ปิดในแดนลบเช่นกันจากประเด็นความกังวลในเหตุการณ์ไม่สงยบในยูเครนและกาซ่า รวมถึงการคว่ำบาทของ EU ต่อรัสเซีย
ขณะที่ตลาดหุ้นเอเชียเช้านี้เปิดในกรอบแคบๆหลังบรรยากาศการลงทุนไม่ได้เป็นบวกนักจากสถานการณ์ตึงเครียดในยุโรปและตะวันออกกลาง
ค่าเงินบาทแกว่งตัวออกทางข้าง โดยล่าสุดมาแกว่งตัวในกรอบ 31.76-31.87 บาท/ดอลลาร์
ราคาน้ำมันดิบในตลาด NYMEX ส่งมอบเดือน ก.ย. ขยับขึ้นเล็กน้อย 0.02 ดอลลาร์/บาร์เรล มาปิดที่ 102.09 ดอลลาร์/บาร์เรล จาข้อมูลราคาน้ำมันของสหรัฐที่ปรับตัวลดลงต่ำสุดในรอบปี รวมถึงแรงกดดันทางฝั่ง Supply และสต๊อกน้ำมันดิบที่ยังมีมาก
ราคาทองคำในตลาด COMEX ส่งมอบเดือน ส.ค. ดีดตัวขึ้น 12.50 ดอลลาร์/ออนซ์ มาปิดที่ 1,303.30 ดอลลาร์/ออนซ์ โดยมีแรงซื้อกลับหลังร่วงแรงในวันก่อนหน้า นอกจากนี้สถานการณ์ความตึงเครียดในยูเครนและตะวันออกกลางยังคงเป็นปัจจัยหนุนสินทรัพย์ปลอดภัย
ปัจจัยที่ต้องติดตาม
28-31 ก.ค. - อินโดนีเซีย: ตลาดหุ้นปิดทำการ วัน Idul Fitri (การเฉลิมฉลองหลังเทศกาลถือศีลอด)
28-29 ก.ค. - มาเลเซีย: ตลาดหุ้นปิดทำการ วัน Hari raya puasa
28-ก.ค. - ไทย: ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรม (มิ.ย.)
- สหรัฐ: Pending Home Sales (มิ.ย.)
29-ก.ค. - ไทย: PDG เริ่มซื้อขาย (ราคา IPO 2.80 บาท), คสช.พิจารณาแผนโครงสร้างพื้นฐานคมนาคม
- ฟิลิปปินส์: ตลาดหุ้นปิดทำการ วัน Feast of Ramadhan
- อินเดีย: ตลาดหุ้นปิดทำการ วัน Feast of Ramadhan
29-30 ก.ค. - สหรัฐ: การประชุม FOMC
30-ก.ค. - ไทย: SCC, GLOW, VGI ประกาศผลประกอบการ
- สหรัฐ: 2Q14 GDP (ตัวเลขสุดท้าย)
31 ก.ค. - ไทย: ธปท.รายงานภาวะเศรษฐกิจเดือน มิ.ย.
1-ส.ค. - ไทย: อัตราเงินเฟ้อ (ก.ค.)
- จีน: Manufacturing PMI (ก.ค.)