- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Tuesday, 30 August 2016 16:34
- Hits: 2547
บล.บัวหลวง : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
รอบด้านตลาดหุ้น
Bounce
วันนี้คาดดัชนีฯ เด้ง (ไม่ไกล) แนวรับ 1,540 จุด แนวต้าน 1,555 จุด (+) เมื่อวานตัวเลข US Core PCE +1.6% y-y ยังต่ำกว่าเป้าเงินเฟ้อของเฟดที่ 2% สนับสนุนการขึ้นดอกเบี้ยอย่างค่อยเป็นค่อยไป
สัปดาห์นี้คาด Sideways up แนวรับ 1,528 จุด แนวต้าน 1,575 จุด มองดัชนีฯจะยังไม่หลุดจาก 1,528 จุด หนุน Sentiment ให้เก็งกำไรต่อได้
ปัจจัยที่มีผลต่อตลาด (+) FTSE index จะประกาศทบทวนดัชนีฯรอบใหม่ 31 สค.นี้ (+) Morgan Stanley พาหุ้นไทยบินโรดโชว์ ยุโรปสัปดาห์นี้ (+) ตลท.จัดงานไทยแลนด์โฟกัส 31 สค.-2 กย. (0) กระแสการออก ทริกเกอร์ฟันด์ รอบใหม่ (คาดว่าจะไม่ฮิตเหมือนเมื่อก่อน เพราะมาออกตอนตลาดอยู่กรอบบนของ PE Band) (+/-) ประชุม ECB 8 กย.
แนวโน้มรายเดือน กย. คาดแรงซื้อต่างชาติ จะเริ่มชะลอลง จากการรอดูผลการประชุมเฟด และ BOJ 21 กย.นี้ บวกกับ Sell on fact หลังงบออก และขึ้น XD รับปันผล คาดว่าจะมีผลทำให้ดัชนีพักตัว 3-5% คาดแนวรับ 1,510 จุด แนวต้าน 1,575 จุด กลยุทธ์แนะนำ อ่อนตัวซื้อ สะสมหุ้นที่ กำไรผ่านจุดต่ำสุดใน 2Q16 และ กำไรจะเร่งตัวขึ้นใน 2H16
หุ้นแนะนำวันนี้ TCMC แนวรับ 4.36 บ. ต้าน 4.56 บ. PE Fully diluted จากกำไรปีนี้อยู่แค่เพียง 8.5 เท่า มองว่าราคาหุ้นในเชิงจิตวิทยา มีแนวโน้มบวกขึ้นรับ วอแรนต์ล็อตสุดท้ายแปลงสภาพ,
MONO แนวรับ 3.16 บ. ต้าน 3.50 บ. มี Scope of upside จากอัตราค่าโฆษณาที่เรามองว่ายังเพิ่มขึ้นได้อีกมาก (2 หมื่นบาท/นาที) พิจารณาจากค่าความนิยมของช่องที่ขึ้นเร็วมาก หลังเพิ่มโปรแกรมหนังดังดึงดูดคนดูได้ เรตติ้งไล่ตาม WORK (5 หมื่นบาท/นาที) ขึ้นมาติดๆ และทิ้งห่าง RS กับ GRAMMY ไปเป็นที่เรียบร้อย
รายงานพื้นฐาน BLS วันนี้
(+) GFPT คาดราคาหุ้นจะขึ้นจากการ Re rate PE ตามราคาไก่ที่ยังคงปรับตัวสูงขึ้น เหมือนในอดีตที่หุ้นเคยเทรดบน P/E 14-18 เท่า เมื่อราคาไก่อยู่ที่ 42-46 บาท/กก. ปัจจุบันราคาไก่ที่ราว 45 บาท/กก. หากอิง P/E 14 เท่า บนสมมติฐานเชิงอนุรักษ์ จะได้ราคาเป้าหมายที่ 17.85 บาท เราปรับกำไรปี 2016-17 ขึ้น 4% เป็น 1.42 และ 1.59 พันล้านบาท ตามลำดับ บนสมมติฐานมาร์จิ้นที่ดีขึ้นเพราะราคาไก่สูงขึ้น และปรับราคาเป้าหมายขึ้น 6% เป็น 17 บาท คงคำแนะนำ ซื้อ
(+/-) CENTEL: YUM ขาย 130 สาขา จากทั้งหมด 585 สาขา ให้ RDCL (บ.ร่วมทุนไทย-ญี่ปุ่น): ความเห็น (1) CENTEL ไม่ได้สาขาตรงนี้เพิ่ม ไม่ได้เหนือความคาดหมาย (2) ไม่กระทบแผนขยายสาขา เพราะ CENTEL ขยายสาขา KFC ผ่านเซ็นทรัลอยู่แล้ว ตามแผนเดิม คงคำแนะนำ ซื้อ
(-) AUTO สภาอุตฯ รายงานยอดผลิตรถยนตร์ในเดือน ก.ค. ที่ 1.54 แสนคัน ลดลง 7.2% YoY และ 14.4% MoM ตามคาด จากประเด็นเรื่องของ Brexit และ ผลกระทบจากการรอผลประชามติ ในขณะที่ยอดขายรถยนตร์ในเดือน ก.ค. ก็ลดลงเช่นเดียวกัน 0.4% YoY และ 8.2% MoM ที่ 60.6 หมื่นคัน โดยรวมแล้วยอด 7 เดือน ยอดการผลิตรถยนตร์ปรับตัวได้เล็กน้อย 4.2% YoY อยู่ที่ 1.15 ล้านคัน เรามองว่าตัวเลขในเดือน ส.ค. จะปรับตัวดีขึ้น YoY และ MoM จากรถยนตร์รุ่นใหม่ที่จะออกมาและผลประชามติที่ออกมาหนุน สภาอุตฯ ยังคงมองภาพทั้งปีเช่นเดิมโดยคาดยอดผลิตรถยนตร์จะปิดยอดที่ 1.95-2 ล้านคัน เพิ่มขึ้น 2-4% YoY สำหรับหุ้นกลุ่ม AUTO ที่เราดูแล จะเริ่มฟื้นตัวตั้งแต่ใน 4Q16 ไปจนถึงปีหน้า ในทำนองเดียวกับสภาพเศรษฐกิจที่เริ่มฟื้นตัวดีขึ้น เรายังคงมีมุมมอง NEUTRAL ต่อภาพทั้งกลุ่ม AUTO โดยรวม และยังคงชื่นชอบ SAT และ STANLY ที่สุด
หุ้นมีประเด็น
(+) EPG มีคิวโรดโชว์ กับ JP Morgan ต่อ ในช่วง พย.นี้
(+) TFG ราคาลูกเจี๊ยบ ล็อตใหม่อัพเดทเมื่อวานบ่าย ราคายังไม่ยอมลงยืน 19.5 บ. (ที่มา CPF ประเทศไทย)
(+) TPCH วันนี้เราจะจัดประชุมให้กับทางกองทุนตามคำเรียกร้อง หลังพื้นฐานมีพัฒนาการดีขึ้นเร็วมาก โดยเฉพาะหลังประกาศ PPA เพิ่มในช่วงที่ผ่านมา หนุนกำไรโตสูงต่อเนื่อง (ที่มา BLS Research)
(+) RJH เข้าเทรด 1 กย.นี้ ราคาจอง 16 บ. (ที่มา ตลท.) / กลยุทธ์คาดผลบวกจิตวิทยากลุ่มโรงพยาบาลตัวเล็กช่วงนี้
(+) หุ้นโมเมนตั้ม Gain เมื่อวานนี้ กลุ่มไฟเบอร์ออฟติก ALT SYMC ขึ้นรอรับน้องใหม่ ITEL (เมื่อวาน ITEL เคาะราคา IPO 5.20 บ.) (ที่มา BLS Research)
ปัจจัยที่มีผลต่อตลาด
(+) เมื่อวาน US PCE index กค. +0.1% มากกว่าคาดที่ +0% m-m, เทียบรายปี +1.6% ดีกว่าตลาดคาด (ที่มา Bloomberg)
(0) อังคาร US Consumer confidence สค. คาด 97 จาก 97.3, EU area Economic sentiment สค.คาด 104.2 จาก 104.6 เยอรมนี CPI สค. คาด +0.5% y-y จาก 0.4%, ญี่ปุ่น Consumer spending และ อัตราว่างงาน กค. คาดทรงตัว (ที่มา Bloomberg)
(0) พุธ US ADP employment สค. คาด +170k จาก 179k, US ชิคาโก้ PMI สค. คาด 54.3 จาก 55.8, ตัวเลขเงินเฟ้อ EU HICP inflation สค.คาด +0.3% จาก +0.2% y-y ญี่ปุ่น Industrial production คาด +0.2% จาก 2.3% m-m. เกาหลีใต้ Industrial production กค. คาด +0.6% จาก 0.8% y-y. อินเดีย GDP 2Q16 คาด +7.7% จาก 7.9%, ไทย Current account balance กค. คาด +2.8 จาก 3.0 (US$bn) (ที่มา Bloomberg)
(+/-) พฤหัส US ISM mfg สค. คาด 52 จาก 52.6, EU PMI สค. คาด 51.8 คงที่, จีน Official PMI สค. ภาคการผลิต คาด 49.9 จาก 49.9 คงที่, เกาหลีใต้ ส่งออก สค. คาด +1.9% จาก -10.2% y-y. ไทย เงินเฟ้อ CPI สค.คาด +0.4% จาก +0.1% y-y. (ที่มา Bloomberg)
(0) ศุกร์ US Nonfarm payrolls (Aug) คาด +183k จาก 255k และอัตราว่างงาน สค.คาด +4.8% จาก 4.9%, ญี่ปุ่น Consumer Coincidence index, เกาหลีใต้ GDP 2Q16 final คาด +3.2% จาก 3.2% y-y (ที่มา Bloomberg)
วิกิจ ถิรวรรณรัตน์ Tel. (662) 618-1336
นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน/ปัจจัยทางเทคนิค