- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Monday, 29 August 2016 17:22
- Hits: 1302
บล.ไอร่า : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
ทิศทางตลาด
ผันผวน? ภายหลังถ้อยแถลงของประธานเฟดล่าสุดในการประชุมประจำปี ซึ่งยังระบุเหมือนก่อนหน้าว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยจะทำในลักษณะค่อยเป็นค่อยไปแต่ภายใต้ตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ที่มีแนวโน้มดี ทำให้ตลาดส่วนใหญ่คาดการณ์ว่าเฟดอาจมีการพิจารณาขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือนก.ย. (20 – 21/9/59) โดยยังแนะติดตามค่าเงินสหรัฐฯ ที่อาจแข็งค่าขึ้น ซึ่งส่งผลต่อราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ?
ส่วนทางด้านประเด็นในประเทศ ยังไม่มีปัจจัยชี้นำใหม่ คาดยังได้รับปัจจัยลบบ้างจาก (1) ตัวเลขส่งออก – กค. ที่ออกมาต่ำกว่าคาด โดยลดลง 4.0%yoy และลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4 และ (2) Fund Flow หลังต่างชาติกลับมาขายสุทธิประมาณ 750 ล้านบาท แต่ YTD ยอดซื้อสุทธิสะสม ยังอยู่ในระดับสูงกว่า 110,000 ล้านบาท และคาดอาจมีแรงเก็งกำไร หลังหลายๆ บริษัททยอยประกาศจ่ายปันผล ล่าสุด BBL : 2 บาท XD 6/9/59 KKP : 2 บาท XD 6/9/59 และ BCP : 0.80 บาท XD 6/9/59 เป็นต้น
ขณะที่ในระยะกลาง – ยาว คาด Sentiment ยังเป็นบวกจากสถานการณ์การเมืองหลังจากนี้ คาดกระบวนการเลือกตั้ง จะเกิดขึ้นตาม Road Map เดิม ประมาณปลายปี’60 ซึ่งคาดช่วยเพิ่มความเชื่อมั่นในการลงทุนให้ดีขึ้นตามลำดับ
โดยยังคงติดตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย หลังมุมมองของ ธปท. เปลี่ยนแปลงจากการประชุมครั้งก่อน 2 เรื่องหลัก (1) เริ่มมองว่าการเติบโตของเศรษฐกิจเริ่มมี Downside Risk จากความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลกมากขึ้น และ (2) เงินเฟ้ออาจจะกลับเข้าสู่เป้าหมายได้ช้ากว่าที่เคยประเมินไว้เล็กน้อยจากราคาพลังงานที่ต่ำกว่าคาด
และยังแนะจับตา
(1) กลุ่มปิโตรเคมี ได้รับประโยชน์จากปริมาณการผลิตที่เพิ่มขึ้น เช่น IVL
(2) กลุ่มวัสดุก่อสร้าง ที่คาดได้รับประโยชน์ต่อเนื่องจากส่วนต่างผลิตภัณฑ์ที่สูงขึ้น เช่น SCC และ VNG
(3) กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ มีปัจจัยบวกจากยอดโอนในช่วงที่เหลือของปี 59 ยังคงอยู่ในเกณฑ์ดี เช่น ANAN, AP และ SPALI
(4) กลุ่มรับเหมาก่อสร้าง ที่ได้รับประโยชน์จากงานภาครัฐ เช่น CK,UNIQ,PYLONและ SEAFCO
(5) กลุ่มพลังงาน ในขณะที่หุ้นหลักอย่างเช่น PTT ได้รับประโยชน์จากธุรกิจก๊าซที่แนวโน้มกำไรเติบโตดี ในขณะที่ BCP และ IRPC แนวโน้มผลการดำเนินงานดี
SET SET50 SET100
1,549.41 +5.31 987.29 +3.76 2,214.28 +8.58
ปัจจัยที่มีผลต่อตลาด
ปัจจัยที่มีผลต่อตลาดวันนี้
(-/+) ตลาดหุ้นต่างประเทศ DJIA -53.01, NASDAQ +6.71, S&P -3.43, FTSE +21.15, CAC +35.26 และ DAX +58.18
ภายใต้ความไม่แน่นอนหลังถ้อยแถลงของประธานเฟด ในการประชุมประจำปีของเฟดเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ระบุว่า เฟดยังคงคาดการณ์ว่า การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นจะเป็นไปอย่างค่อยเป็นค่อยไป พร้อมระบุว่าการจ้างงานและเงินเฟ้อใกล้แตะระดับเป้าหมายของเฟด โดยยังไม่ได้ระบุกรอบเวลาของการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟด ขณะที่นายฟิสเชอร์ รองประธานเฟด ระบุตัวเลขการจ้างงานครั้งต่อไป จะเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีน้ำหนักมากในกระบวนการพิจารณาปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟด ซึ่งกระตุ้นให้เกิดการคาดการณ์ว่า เฟดอาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนหน้า (20 – 21/9/59)
ส่วนทางด้านตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐฯ (1) GDP – 2Q/59 ขยายตัว 1.1% สอดคล้องกับคาด แต่ต่ำกว่าประมาณการเบื้องต้นที่ 1.2% และ (2) ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคช่วงท้ายเดือนส.ค. อยู่ที่ 89.8 ลดลง จาก 90.4 เมื่อต้นส.ค.
ส่วนทางด้านตลาดหุ้นยุโรป มีมุมองที่เป็นบวกต่อถ้อยแถลงของประธานเฟด ข้างต้นราคาน้ำมันดิบ (NYMEX) ส่งมอบเดือน ต.ค. +US$0.31 อยู่ที่ US$47.64 ต่อบาร์เรล ส่วนหนึ่งได้รับปัจจัยหนุนจากถ้อยแถลงของประธานเฟดข้างต้น และตัวเลขจำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมันที่เปิดใช้งานในสหรัฐฯ มีจำนวนคงที่ในสัปดาห์ที่ผ่านมา
อย่างไรก็ตามยังอยู่ระหว่างรอการประชุมของกลุ่มโอเปก ในวันที่ 26-28 ก.ย.นี้ ที่แอลจีเรีย ขณะที่การเจรจาหลายครั้งก่อนหน้านี้ของกลุ่มประเทศผู้ผลิตน้ำมันไม่ประสบความสำเร็จ
P/E (เท่า) P/BV (เท่า) Dividend Yield (%)
22.82 1.97 3.06
ที่มา: www.set.or.th
มูลค่าการซื้อขาย หน่วย(ลบ.)
มูลค่าการซื้อขาย 48,007.63
สถาบัน 903.99
บัญชีหลักทรัพย์ -295.11
ต่างประเทศ -751.94
ในประเทศ +143.06
ราคาทองคำ (COMEX) ส่งมอบเดือน ธ.ค. +US$1.3 อยู่ที่ US$ 1,325.9ต่อออนซ์ แม้ได้รับปัจจัยบวกจากถ้อยแถลงของประธานเฟด ข้างต้น แต่การปรับขึ้นเป็นไปอย่างจำกัด ภายใต้ปัจจัยกดดันจากเงินสหรัฐฯ ที่แข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ
(-) เม็ดเงินลงทุนจากต่างประเทศสุทธิ -752 ล้านบาท สะสม YTD +111,068 ล้านบาท (ปี’57 และ 58 ยอดขายสุทธิสะสม 36,584 ล้านบาท และ 154,346 ล้านบาท ตามลำดับ)
(-) กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยตัวเลขการส่งออกของไทย – ก.ค. มีมูลค่า 1.74 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลง 4.4%yoy ซึ่งเป็นการหดตัวเป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกัน และต่ำกว่าที่คาดว่าจะลดลง 2.0% แต่ยังคงเป้าหมายการส่งออกทั้งปีที่ 5% ?
ประเด็นที่ต้องติดตาม 29 ส.ค. – 2 ก.ย. 2559
29/8/59 : สหรัฐฯ เปิดเผย
รายได้ส่วนบุคคลเดือนก.ค.
30/8/59 : สหรัฐฯ เปิดเผย
ราคาบ้านเดือนมิ.ย.
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนส.ค.
31/8/59 : สหรัฐฯ เปิดเผย
ตัวเลขการจ้างงานภาคเอกชนเดือนส.ค.
ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) เขตชิคาโกเดือนส.ค.
ยอดทำสัญญาซื้อบ้านที่รอปิดการขาย (pending home sales) เดือนก.ค.
สต็อกน้ำมัน
1/9/59 : สหรัฐฯ เปิดเผย
ผู้ขอรับสวัสดิการว่างงาน
ประสิทธิภาพการผลิตและต้นทุนแรงงานต่อหน่วย – 2Q/59
ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตขั้นสุดท้าย - ส.ค.
ค่าใช้จ่ายด้านการก่อสร้างเดือนก.ค.
ดัชนี PMI ภาคการผลิตเดือนส.ค.
2/9/59 : สหรัฐฯ เปิดเผย
ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนส.ค.
การค้าระหว่างประเทศเดือนก.ค.
ดัชนีการผลิตรัฐนิวยอร์คเดือนส.ค.
ยอดสั่งซื้อของโรงงานเดือนก.ค.
(6) กลุ่มค้าปลีก เช่น CPALL, HMPRO, KAMART และ ROBINS ที่คาดได้รับประโยชน์หลังรัฐบาลอัดฉีดกำลังซื้อรากหญ้าอย่างต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา ส่วนหนึ่งจากโครงการที่เกี่ยวข้องกับการดูแลเกษตรกร 3 โครงการวงเงิน 93,000 ล้านบาท
(7) กลุ่มท่องเที่ยว เช่น โรงแรม (CENTEL, MINT, ERW) ที่คาดได้รับประโยชน์จากจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติในปี’59 ที่คาด อยู่ที่ 33 ล้านคน เพิ่มจากประมาณการเดิมที่ 32.5 ล้านคน และคาดรายได้จากการท่องเที่ยว 1.69 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 10.6%
(8) กลุ่มขนส่ง ในส่วนของธุรกิจการบินและสนามบิน เช่น AAV, AOT
(9) กลุ่มหลักทรัพย์ จากมูลค่าการซื้อขายต่อวันที่สูงขึ้นในเดือน ก.ค. และ ส.ค. เช่น ASP, MBKET
ผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ 10 ปี +0.06 อยู่ที่ 1.63% (ระดับสูงสุด 3.77% เมื่อ กพ.’54)
ดัชนีความเสี่ยง (VIX) +0.02 อยู่ที่ 13.65
หุ้นแนะนำ : CPN
นักวิเคราะห์ : จิตรลดา เลขาพันธ์ โทร.02-684-8788