WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ASP copyบล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน



กลยุทธ์การลงทุน
      ตลาดให้น้ำหนักต่อการขึ้นดอกเบี้ยฯ Fed มากขึ้น น่าจะกดดันตลาดหุ้นโลกระยะสั้น และ SET ยังมีแนวต้าน 1,555-1,560 จุด กลยุทธ์ยังให้เลือกรายหุ้นที่ผลกำไรเด่นงวด 3Q59 GFPT(FV@B17) และ TFG([email protected]) วันนี้เลือก AJD([email protected]) เป็น Top pick เป็นธุรกิจ Turnaround จากการเข้าสู่ธุรกิจบัตรเติมเงิน (อ่าน Equity talk วันนี้)

ผลประชุม Jackson Hole ตลาดให้น้ำหนักต่อการขึ้นดอกเบี้ยมากขึ้น
       ปลายสัปดาห์ที่แล้วผลการประชุมประจำปีที่ Jackson Hole รัฐไวโอมิงของสหรัฐ ตลาดให้น้ำหนักต่อถ้อยแถลงของประธาน Fed นางเจเน็ต เยลเลน ซึ่งแสดงมุมมองต่อแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐที่ดีขึ้น ซึ่งหนุนต่อการขึ้นอัตราดอกเบี้ย โดยถ้อยแถลงที่สำคัญคือ “เชื่อว่าปัจจุบันตลาดแรงงานที่แข็งแกร่ง สะท้อนจาก การจ้างงานนอกภาคการเกษตร (Non farm payrolls) ขยายตัว 3 เดือนติดต่อกัน หนุนอัตราการว่างงานทรงตัวที่ 4.9% (ระดับที่วางเอาไว้) และจะหนุนให้เงินเฟ้อบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ที่ 2% ล่าสุดอยู่ที่ 0.8% เป็นเหตุผลให้เชื่อว่า fed จะสามารถขึ้นดอกเบี้ยได้ในไม่กี่เดือนข้างหน้า”
        แม้ถ้อยแถลงของประธาน Fed ข้างต้นจะเปิดโอกาสการปรับขึ้นดอกเบี้ยในปีนี้เพิ่มขึ้น แต่ไม่ระบุรอบที่จะขึ้นดอกเบี้ยจากการประชุมที่เหลืออีก 3 ครั้งการประชุมรอบถัดไปคือ 20-21 ก.ย. (ASPS ตั้งสมมติฐาน Fed จะไม่ขึ้นดอกเบี้ยจนถึงสิ้นปีนี้) สะท้อนจาก ผลสำรวจ Fed fund future คาดโอกาสการขึ้นดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น คือ รอบ 20-21ก.ย. เพิ่มเป็น 42 % จาก 32% ก่อนหน้านี้ ส่วนรอบ 1-2 พ.ย. เพิ่มเป็น 47% จากเดิม 37.8% และรอบ 13-14 ธ.ค. สูงสุด 64.7% จาก 57.4% ส่งผลให้ค่าเงิน Dollar index กลับมาอยู่ในทิศทางแข็งค่า ล่าสุดอยู่ที่ 95.48 จุด กดดันต่อสินทรัพย์เสี่ยง อาทิ ทองคำ น้ำมันในระยะสั้น

คาดแรงซื้อหุ้นจากต่างชาติชะลอตัวลง หลังตลาดให้น้ำหนัก Fed ขึ้นดอกเบี้ยปีนี้
     วันศุกร์ที่ผ่านมาต่างชาติสลับมาขายสุทธิหุ้นในภูมิภาคมากขึ้นเรื่อยๆ ด้วยมูลค่าราว 271 ล้านเหรียญ และเป็นการขายสุทธิสูงสุดในรอบ 51 วันที่ผ่านมา โดยมีเพียง 2 ประเทศเท่านั้นที่ยังคงซื้อสุทธิ คือ ไต้หวันถูกซื้อสุทธิ 115 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2), และอินโดนีเซีย 6 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2) ส่วนที่เหลืออีก 3 ประเทศต่างชาติขายสุทธิ คือ เกาหลีใต้ขายสุทธิสูงถึง 353 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 3) ตามมาด้วยฟิลิปปินส์ 16 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 4) และไทย 22 ล้านเหรียญ หรือ 752 ล้านบาท (หลังจากซื้อสุทธิต่อเนื่อง 7 วัน) ต่างกับนักลงทุนสถาบันฯที่ซื้อสุทธิราว 904 ล้านบาท
     จากนี้ไป คาดว่า Fund Flow น่าจะชะลอตัวลง เมื่อเทียบกับช่วง 1-2 เดือนที่ผ่านมา เนื่องจากนักลงทุนกลับมาให้น้ำหนักกับประเด็นที่ประธาน Fed มีโอกาสขึ้นดอกเบี้ยภายในปีนี้มากขึ้น สังเกตได้จาก คืนวันศุกร์ที่ผ่านมา ตลาดหุ้นสหรัฐมีการตอบสนองต่อประเด็นดังกล่าว โดยปรับตัวลงราว 0.29% พร้อมกับ Bond Yield ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยในทุกช่วงเวลา รวมถึง Dollar Index ที่แข็งค่าขึ้นเช่นกัน

ตลาดน่าจะเข้าสู่ช่วงปรับฐาน จากกังวลต่อการขึ้นดอกเบี้ยสหรัฐ
     ถ้อยแถลงของนางเจเน็ต เยลเลน สร้างความกังวลให้กับตลาดหุ้นโลกในการปรับขึ้นดอกเบี้ยในปีนี้อีกครั้ง ซึ่งหากย้อนกลับไปเมื่อปลายปีที่แล้ว 16 ธ.ค. 2558 ซึ่ง Fed ประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกในรอบ 7 ปี นับตั้งแต่ปี 2552 สู่ระดับ 0.25-0.50% พบว่า ก่อนที่ Fed จะขึ้นดอกเบี้ยราว 1 เดือน หรือต้นเดือน พ.ย. ตลาดหุ้นสหรัฐ S&P500 ปรับตัวลงไม่มากนัก จาก 2,109 จุด เหลือ 2,073 จุด หรือลดลง 1.7% แต่อย่างไรก็ตามมีความผันผวนค่อนข้างรุนแรง โดยมีกรอบกว้างกว่า 100 จุด ในช่วงดังกล่าว
และเป็นที่สังเกตว่า หลังจาก Fed ประกาศลดดอกเบี้ย ตลาดหุ้นสหรัฐ ก็ปรับลดลงต่อเนื่องอย่างรุนแรงจนถึงกลางเดือน ก.พ. 2559 ลงไปทำจุดต่ำสุดของปีนี้ที่ 1,810 จุด หรือลดลงถึงมากถึง 11.7%
      นอกจากนี้ หากพิจารณาผลกระทบต่อตลาดตราสารหนี้ พบว่า อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล (Government Bond Yield) ที่มักจะเป็นตัวส่งสัญญาณก่อนหน้า จะพบว่า Bond Yield สหรัฐ อายุ 10 ปี มีการขยับขึ้นตั้งแต่ปลายเดือน ต.ค. 2558 จาก 2.03% สู่ 2.34% ช่วงต้นเดือน พ.ย. 2558 แม้ หลังจากนั้น อัตราผลตอบแทนพันธบัตรก็กลับปรับตัวลงมา ขณะที่ล่าสุดเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา Bond Yield สหรัฐ ขยับขึ้นจาก 1.57% สู่ 1.61% ซึ่งเป็นไปในระยะสั้นที่ Bond yield จะขยับขึ้นต่อ
   ส่วนตลาดหุ้นไทยในช่วงก่อนสหรัฐจะปรับขึ้นดอกเบี้ยปี 2558 พบว่าดัชนีได้ปรับฐานลงตั้งแต่ต้นเดือน พ.ย. 2558 จนกระทั่งถึงวันที่ Fed ลดดอกเบี้ย จากดัชนีบริเวณ 1,423 จุด ลงไปสู่ 1,300 จุด หรือลงไปกว่า 8.7% และหลังจาก Fed ลดดอกเบี้ย ตลาดหุ้นไทยยังลงต่อเนื่องจนถึงกลางเดือน ม.ค. 2559 จนลงไปทำจุดต่ำสุดของปีนี้ที่ 1,220 จุด หรือลงอีกกว่า 5% ขณะที่ Bond Yield ของไทย อายุ 10 ปี ช่วงปลายเดือน ต.ค. ขยับขึ้นจาก 2.54% สู่ 2.82% แต่ล่าสุดเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา Bond Yield ของไทยยังไม่ขยับขึ้น อยู่ที่ 2.13%
ดังนั้นหาก Fed ขึ้นดอกเบี้ย เชื่อว่าน่าจะกระทบต่อหุ้นไทยอย่างมีนัยฯ เนื่องจากนักลงทุนต่างชาติมีโอกาสที่จะขายทำกำไรหุ้นไทยเพื่อลดความไม่แน่นอน โดยเชื่อว่า SET ที่บริเวณ 1,555 จุด ยังเป็นแนวต้านสำคัญที่ SET อาจยังไม่สามารถผ่านไปได้ ส่วนแนวรับอยู่ที่บริเวณ 1,540 จุด
กลยุทธ์การลงทุน จึงยังแนะนำให้ขายหุ้นแพงเกิน Fair Value และเลือกลงทุนแบบ selective buy สลับมายังหุ้นที่มี upside สูง หรือมีปัจจัยบวกเฉพาะตัวจากแนวโน้มผลการดำเนินที่เติบโตในงวด 2H59 เฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มธุรกิจที่กำลังเข้าสู่ช่วง High Season เช่น กลุ่มเช่าซื้อ: คาดเติบโตตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ซึ่งจะถูกขับเคลื่อนด้วยการลงทุนภาครัฐ และการบริโภคภาคครัวเรือน เป็นผลดีต่อ ASK([email protected]) และ S11([email protected]) กลุ่มสายการบิน: 3Q59 เป็นช่วง high season ฤดูกาลท่องเที่ยวในฝั่งเกาะสมุย ซึ่งเป็นประโยชน์โดยตรงต่อ BA ([email protected]) ซึ่งมีฐานรายได้จากเส้นทางบินไปสู่เกาะสมุยสูงที่สุด, กลุ่มเกษตร-อาหาร: ฤดูกาลส่งออกอาหารสู่ต่างประเทศ และแนวโน้มราคาไก่ – หมู ที่สูงขึ้น ผลักดันผลประกอบการ 2H59 โดดเด่น เลือก TFG ([email protected]) และ CPF (FV@B40) และกลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์: เข้าสู่ช่วง high season ของอุตสาหกรรมชิ้นส่วนฯ ทั่วโลก หนุนคำสั่งซื้อจากลูกค้าต่างประเทศเพิ่มขึ้น เลือก SVI (FV@B6), HANA (FV@B42) และ DELTA (FV@B80)

ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
พาสุ ชัยหลีเจริญ ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
กฤต ชาติเชิดศักดิ์ ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!