- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Wednesday, 24 August 2016 17:19
- Hits: 2326
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
SET ยังผันผวน แม้ต่างชาติยังซื้อหุ้นไทย ตลาดเทน้ำหนักไปที่ Fed มีโอกาสขึ้นดอกเบี้ยมากขึ้น แต่ ASPS เชื่อไม่ขึ้นในปีนี้ กลยุทธ์ให้เลือกลงทุนรายหุ้น เน้นไปที่ผลประกอบการเด่นในงวด 3Q59 ยังชื่นชอบ GFPT(FV@B17) และ TFG([email protected]) วันนี้เลือก Top pick KCAR([email protected])
ตลาดเทน้ำหนักไปที่ Fed มีโอกาสขึ้นดอกเบี้ยมากขึ้น กดดัน Dollar ผันผวน
วานนี้สหรัฐ รายงานดัชนีชี้นำเศรษฐกิจยังมีสัญญาณขัดแย้ง กล่าวคือ ภาคครัวเรือนยังมีสัญญาณฟื้นตัว สะท้อนจากยอดขายบ้านใหม่ (New home sale) เดือน ก.ค. เพิ่มขึ้น 12.4 %mom อยู่ที่ระดับ 6.54 แสนยูนิต (ระดับสูงสุดในรอบเกือบ 9 ปี) เป็นการฟื้นตัวตามตลาดแรงงานที่ยังแข็งแกร่ง สวนทางกับดัชนี PMI ภาคการผลิตรายงานโดย มาร์กิต ในเดือนเดียวกันยังคงลดลง 1.5%mom พลิกจากที่เดือนก่อนหน้าเพิ่มขึ้นติดต่อกัน 4 เดือน
ภาคการผลิตของสหรัฐที่ชะลอตัวถือว่าสอดคล้องกับดัชนีผลิต (PMI) ของโลก นำโดย สหภาพยุโรปพบว่า ดัชนี PMI เดือน ส.ค. ลดลง 0.5% mom เป็นการลดลงติดต่อกัน 3 เดือน ขณะที่ความกังวลต่อ Brexit น่าจะมีน้ำหนักกดดันการฟื้นตัวเศรษฐกิจของสหรัฐไม่มั่นคงในอนาคต และหากพิจารณาเงินเฟ้อ ล่าสุดเดือน ก.ค. เพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอลง ที่ 0.8% yoy ลดลงจาก 1% ในเดือน มิ.ย. (หลังจากทรงตัวติดต่อมา 3 เดือน) ทำให้เชื่อว่าโอกาสที่ Fed จะขึ้นดอกเบี้ยในปีนี้น่าจะมีน้ำหนักน้อย แม้ความเห็นตลาดจะให้น้ำหนักต่อการขึ้นดอกเบี้ยฯ ภายในสิ้นปีนี้เพิ่มขึ้นเป็น 54% จากที่อยู่ในระดับ 40% ในการสำรวจครั้งก่อน ๆ ก็ตาม
ในระยะสั้นตลาดน่าจะให้น้ำหนักไปที่ 26 ส.ค. ซึ่งเป็นวันที่มีการประชุมผู้นำธนาคารกลางทั่วโลกที่เมือง Jackson Hole และติดตามถ้อยแถลงของประธาน Fed นางเจเน็ต เยลเลนต่อทิศทางการขึ้นดอกเบี้ยของสหรัฐที่เหลืออีก 3 ครั้ง โดยรอบถัดไป 20-21 ก.ย. ซึ่งผลการประชุมน่าจะมีอิทธิพลต่อทิศทางดอลลาร์ และสินทรัพย์เสี่ยงในระยะสั้น
ต่างชาติเริ่มสลับขายเป็นรายประเทศในภูมิภาค
แรงซื้อหุ้นในภูมิภาคจากต่างชาติเริ่มแผ่วลงอย่างเห็นได้ชัด โดยวานนี้ต่างชาติได้สลับมาซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาค แต่ด้วยมูลค่าเพียง 55 ล้านเหรียญ ซึ่งน้อยกว่ายอดซื้อสะสมเฉลี่ยต่อวันในเดือน ส.ค. ที่ 334 ล้านเหรียญ อยู่มาก และเป็นการขายสุทธิอยู่ 2 ประเทศ คือ อินโดนีเซียถูกขายสุทธิ 12 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิเพียงวันเดียว), ฟิลิปปินส์ 10 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิเพียงวันเดียว) ส่วนที่เหลืออีก 3 ประเทศต่างชาติซื้อสุทธิ คือ เกาหลีใต้ถูกซื้อสุทธิ 54 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิเพียงวันเดียว) ตามมาด้วยไต้หวัน 6 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิ 2 วัน) และไทย 18 ล้านเหรียญ หรือ 637 ล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 5) ต่างกับนักลงทุนสถาบันฯที่ขายสุทธิ 644 ล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 3)
ขณะที่ตลาดตราสารหนี้ไทย นักลงทุนสถาบันในประเทศซื้อสุทธิราว 3.1 พันล้านบาท เช่นเดียวกับนักลงทุนต่างชาติที่สลับมาซื้อสุทธิราว 2.2 พันล้านบาท (หลังจากขายสุทธิเพียงวันเดียว)
ให้น้ำหนักหุ้นที่ต่อกำไรเด่นงวด 3Q59 : TK, S11, KCAR, BA, TFG, GFPT
ตลาดหุ้นไทยค่อนข้างแกว่งผันผวนในกรอบแคบ เชื่อว่านักลงทุนบางส่วนยังรอผลการประชุมที่ Jackson Hole ในวันที่ 26 ส.ค. รวมทั้งการประชุมของกลุ่มผู้ผลิตน้ำมันทั้ง OPEC และ Non-OPEC วันที่ 26-28 ก.ย. นี้ ขณะที่บางส่วนก็ให้น้ำหนักไปที่แนวโน้มของผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนในช่วงครึ่งหลังของปี ซึ่งมีหลายกลุ่มอุตสาหกรรมที่คาดว่าจะออกมาโดดเด่น ได้แก่ กลุ่มเช่าซื้อ-ลิสซิ่ง (ASK, S11, AUCT, KCAR), ธนาคารพาณิชย์ (BBL, TCAP), ประกันฯ (BLA, BKI), สายการบิน (BA), ท่องเที่ยว-โรงแรม (ERW), ชิ้นส่วนฯ (SVI, HANA, DELTA) และเกษตร-อาหาร (TFG, GFPT, CPF) ดังที่ฝ่ายวิจัยได้นำเสนอไปวานนี้
ขณะที่กลุ่มฯ ที่คาดว่าผลการดำเนินงานอาจชะลอตัวลง หรือเข้าสู่ช่วง low season ในช่วง 2H59 หรือราคาหุ้นปรับขึ้นไปมากสะท้อนปัจจัยบวกต่างๆ ไปแล้ว ซึ่งจะมีผลทำให้ราคาหุ้นอาจแกว่งตัว หรือปรับลดลงได้ในระยะต่อไป ประกอบด้วย
กลุ่มพัฒนาที่อยู่อาศัย : คาด 3Q59 มีโอกาสเป็นช่วงต่ำสุดของปี เนื่องจากไม่มีมาตรการอสังหาฯ มาช่วยกระตุ้นเหมือนช่วง 2 ไตรมาสก่อนหน้าที่ทำให้เกิดการเร่งขายและโอนฯ มากขึ้น สะท้อนจาก Developer หลายรายมี Backlog เหลือน้อย เช่นเดียวกับยอดโอนที่มีไม่มากนัก อาทิ SC, SIRI, ANAN แต่ผลประกอบการจะกลับมาสูงสุดของปีอีกครั้งใน 4Q59 ตามปัจจับฤดูกาลที่จะมีการโอนฯ สูงสุด ฝ่ายวิจัยยังแนะนำ PS ([email protected]) จากการปรับกลยุทธ์รับมือช่วง low season ด้วยการจัดแคมเปญกระตุ้นยอดขายและโอนฯ ต่อเนื่อง นอกจากนี้ ยังมีจุดเด่นที่เป็นหุ้นปันผลสูง Dividend Yield กว่า 6.5% และราคายัง Laggard ตลาดค่อนข้างมาก
กลุ่มค้าปลีก : งวด 3Q59 เป็นช่วงนอกฤดูกาลจับจ่ายใช้สอย โดยหุ้นค้าปลีกหลายบริษัท คาดมีผลการดำเนินงานที่อ่อนตัวลง เช่น BIGC, ROBINS, MAKRO, COM7 ประกอบกับราคาหุ้นหลายบริษัทปรับขึ้นมามากแล้ว จึงมีโอกาสที่ราคาหุ้นจะอ่อนตัว อย่างไรก็ตาม ผลการดำเนินงานจะกลับมาเพิ่มสูงสุดในงวด 4Q59 จากการเข้าสู่ฤดูกาลปลายปี ฝ่ายวิจัยยังคงแนะนำ BJC (FV@B53) งวด 3Q59 ยังมีโอกาสรับรู้กำไรจาก FX จากการจ่ายคืนเงินกู้ยูโรบางส่วน จากอานิสงส์เงินยูโรที่อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินบาท อีกทั้งต้นทุนการเงินที่ลดลง และผลกระทบอัตราแลกเปลี่ยนจากเงินกู้ต่างประเทศที่น้อยลง ส่วนปีหน้าบันทึกกำไรจาก BIGC เข้ามาเต็มที่ จะหนุนแนวโน้มกำไรโดดเด่นที่สุดในกลุ่มฯ ปีหน้า
กลุ่มสื่อสาร : คาด 3Q59 ผลการดำเนินงานอ่อนตัวลงเช่นกัน โดย ADVANC (FV@B189) คาดว่ากำไร 3Q59 ลดลง qoq และทรงตัวต่ำต่อใน 4Q59 เพราะงวด 3Q59 เริ่มรับรู้รายจ่ายค่าตัดจำหน่ายใบอนุญาตและรายจ่ายอุปกรณ์โครงข่ายคลื่น 900 MHz ส่วนงวด 4Q59 ต้องรับรู้รายจ่ายค่าเช่าคลื่น 2100 MHz รวมทั้งยังมีรายจ่ายทางการตลาดที่เพิ่มมากขึ้น เช่นเดียวกับ TRUE ([email protected]) ยังคงขาดทุนหนักใน 3Q59 จากการเริ่มบันทึกต้นทุนค่าตัดจำหน่าย 900 MHz ขณะที่การฟื้นตัวใน 4Q59 อาจไม่สูงนัก ทางฝั่ง DTAC (FV@B33) แม้จะไม่มีภาระค่าใช้จ่ายเรื่องใบอนุญาต แต่จากการแข่งขันที่รุนแรง ทำให้ต้องมีการแจกเครื่องลูกค้าฟรี ส่งผลให้กำไรปกติ 3Q-4Q59 น่าจะลดลงต่อเนื่อง ส่วนผู้ให้บริการดาวเทียมอย่าง THCOM (FV@B25) คาดกำไร 3Q59 จะปรับตัวลดลงจาก 2Q59 จากผลขาดทุนดาวเทียมไทยคม 8 และการเสียลูกค้าผู้ให้บริการทีวีบอกรับสมาชิก คือ GMMB และ CTH ก่อนที่กำไรจะปรับตัวดีขึ้นในงวด 4Q59 จากการใช้งาน iPSTAR เพิ่มขึ้นในอินเดีย และไทยคม 8 ที่ฟื้นตัวขึ้น อย่างไรก็ตาม ฝ่ายวิจัยยังคงแนะนำ ADVANC เนื่องจากเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดในอุตสาหกรรมจากความแข็งแกร่งทั้งในแง่ของการแข่งขันทีมีคลื่นในมือเพียงพอ และแง่ของฐานะการเงินที่แข็งแกร่ง ส่วน INTUCH (FV@B73) ในฐานะที่เป็นบริษัทแม่ ADVANC (ถือหุ้น 40.45%) และ THCOM (ถือหุ้น 41.14%) ได้รับผลกระทบด้วยเช่นกัน แต่ยังมีจุดเด่นที่ Div. Yield สูงเกินปีละ 5%
กลุ่มปิโตรเลียม, โรงกลั่น และปิโตรเคมี : โดยภาพรวมคาดกำไรงวด 2H59 ลดลงจากงวด 1H59 แรงกดดันหลักๆ จากธุรกิจโรงกลั่นและปิโตรเคมีที่ค่าการกลั่นของโรงกลั่น และ spread ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีอ่อนตัวลงจากการลดลงตามผลของฤดูกาลช่วง low season อีกทั้งจากการคาดการณ์ทิศทางราคาน้ำมันดิบดูไบในช่วง 2H59 ที่ 42-46 เหรียญฯต่อบาร์เรล คาดจะส่งผลให้ไม่มีการบันทึกกำไรจากสต๊อกน้ำมันในระดับสูงเช่นที่เกิดขึ้นในงวด 2Q59 ฝ่ายวิจัยยังแนะนำ PTT (FV@B400) และ PTTEP (FV@B89) จากภาพรวมทิศทางราคาน้ำมัน และราคาปิโตรเคมีที่เชื่อว่าผ่านพ้นจุดต่ำสุดไปแล้ว แต่แนะนำสะสมเมื่อราคาอ่อนตัว
กลุ่มวัสดุก่อสร้าง : งวด 3Q59 กำไรน่าจะชะลอตัวและน่าจะต่อเนื่องถึง 4Q59 โดย SCC (FV@B595) ธุรกิจซีเมนต์-วัสดุก่อสร้าง จะเข้าสู่ Low Season และยังเป็นช่วงรอยต่อรอโครงการลงทุนขนาดใหญ่ภาครัฐ ส่วนธุรกิจปิโตรเคมีได้รับผลกระทบจากแนวโน้มของ Spread ที่แคบลง ส่วนกำไร 4Q59 น่าจะเป็นจุดต่ำสุดของปีนี้ เพราะจะมีการหยุดซ่อมบำรุงโรงงานระยองโอเลฟินส์ ในทำนองเดียวกับ SCCC (FV@B375) และ TPIPL ([email protected]) แต่ SCCC นั้น ยังมีปัจจัยขับเคลื่อนจากการลงทุนซื้อกิจการในต่างประเทศ ซึ่งเป็นการลงทุนครั้งใหญ่เพื่อสร้างการเติบโตในระยะยาว แต่ไม่น่าเป็นปัญหาสำหรับ SCCC เนื่องจากฐานะการเงินแกร่ง แม้อาจจะมีการเพิ่มทุนบางส่วนแต่ก็เพื่อลด Net Gearing ลงเท่านั้น ส่วน TPIPL ยังมีประเด็นบวกจากการนำบริษัทลูก (TPIPP) เข้าตลาด รวมถึง TASCO ([email protected]) แนวโน้มผลประกอบการงวด 2H59 คาดจะชะลอตัวเมื่อเทียบกับ 1H59 เช่นกัน แต่หากราคาน้ำมันดิบโลกยังไม่ขึ้นไปเหนือ 50 เหรียญ/บาร์เรล ก็น่าจะทำให้ spread ของราคายางมะตอยเทียบกับน้ำมันดิบยังคงอยู่ในทิศทางที่ดี
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
พาสุ ชัยหลีเจริญ ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์