WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน

กลยุทธ์การลงทุน
       SET ขึ้นมา 19% ต้นปี - ปัจจุบัน แนะนำขายกลุ่มที่ขึ้นมากกว่าตลาดคือ ร.พ. อสังหา ท่องเที่ยว ธ.พ. (ขึ้นกว่า 30-40%) ขณะที่ตลาดมี Current P/E 16 เท่า แนะนำซื้อรายหุ้นคือ BECL(FV@B25) เป็นหุ้น laggard แต่มี P/E ต่ำ 10 เท่า และ Dividend Yield สูง 4.8%

IMF ปรับลด GDP โลก กังวลต่อความขัดแย้งในรัสเซีย
       ล่าสุด IMF ปรับลดการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (GDP Growth) โลกเหลือ 3.4% จากเดิม 3.6% (สูงกว่าที่ World Bank คาดไว้ที่ 2.8%) เพราะกังวลต่อจีน และสหรัฐ รวมถึงความขัดแย้งระหว่างยูเครนและรัสเซีย ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อราคาน้ำมัน แต่ปรับเพิ่ม GDP Growth ปี 2558 เล็กน้อยเป็น 4% จากเดิม 3.9% (สูงกว่าที่ World Bank คาดไว้ที่ 3.4%) ทั้งนี้เป็นการปรับลดรายประเทศ โดยในฝั่งประเทศพัฒนาแล้ว ปรับลดสหรัฐ เป็นหลัก โดยลดเหลือ 1.7% จากเดิม 2% ตามมาด้วยประเทศกำลังพัฒนา โดยการปรับลดรัสเซียเหลือ 1.1% จากเดิม 1.3% และจีน ปรับลดลงเล็กน้อยเหลือ 7.4% จากเดิม 7.5% แต่ในปี 2558 ปรับลดเหลือ 7.1% จากเดิม 7.3% ตรงข้ามประเทศที่ปรับเพิ่มได้แก่ สเปน เป็น 1.2% จากเดิม 0.9% และญี่ปุ่น อยู่ที่ระดับ 1.6% จากเดิม 1.4% ส่วนในปี 2558 อยู่ที่ 1.1% จากเดิม 1% อย่างไรก็ตามคาดว่าการปรับลด GDP Growth ของ IMF ไม่น่าจะส่งผลกระทบรุนแรงต่อตลาดหุ้น เนื่องจากเป็นระดับที่สูงกว่าที่ World Bank ประเมินไว้ และตลาดน่าจะรับรู้ไปบางส่วนแล้ว
     ขณะสหรัฐยังรายงานดัชนีชี้นำเศรษฐกิจสดใสต่อเนื่อง โดยพบว่าจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกในรอบสัปดาห์ที่สิ้นสุดวันที่ 19 ก.ค. ปรับลดลง 19,000 ราย ต่ำสุดในรอบ 8 ปีครึ่ง และต่ำกว่าที่คาด 21,000 ราย ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญกระตุ้นกำซื้อภาคครัวเรือน (คิดเป็น 60% ของ GDP) ขณะที่ ดัชนี PMI ภาคการผลิต เริ่มชะลอตัวเล็กน้อยในเดือน ก.ค. มาอยู่ที่ระดับ 53.3 ต่ำกว่าเดือนก่อนที่ระดับ 57.3 เล็กน้อย แต่ยังเป็นระดับสูงสุดในรอบ 49 เดือน ซึ่งยังเป็นปัจจัยหนุนเศรษฐกิจสหรัฐให้เติบโต 1.7% ในช่วง 3 ไตรมาสสุดท้ายของปี 2557 หลังจากเติบโตเพียง 1.5% ในงวด 1Q57 จากสภาพอากาศที่หนาวเย็นผิดปกติ โดยภาพรวม ทำให้เชื่อว่ากระแสของการปรับขึ้นดอกเบี้ยฯ น่าจะเกิดขึ้นในช่วง 1Q58-3Q58 หลังจากตัดลด QE สิ้นสุดราวเดือน ต.ค. แม้ FED จะยังไม่ได้กำหนดกรอบเวลาที่ชัดเจนก็ตาม ซึ่งคงต้องติดตามผลการประชุมคณะนโยบายการเงิน FOMC ระหว่างวันที่ 29 - 30 ก.ค.
ขณะที่ญี่ปุ่นยังรายงานเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ล่าสุดเดือน มิ.ย. อยู่ที่ 3.3% แม้ชะลอตัวลงเล็กน้อยจาก 3.4% ในเดือนก่อนหน้า แต่ทำให้เฉลี่ยจากต้นปี พบว่าอยู่ที่ระดับ 2.5%ytd ซึ่งทำให้การใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่าน QE เพิ่มเติมไม่น่าจะเกิดขึ้น แต่ น่าจะมีการลดภาษีบริษัทจากปัจจุบัน 36% ให้ต่ำกว่า 30% เพื่อชดเชยกับการขึ้นภาษีขาย ในเดือนเมษายนที่ผ่านมา โดยเชื่อว่าอัตราเงินเฟ้อที่สูงเกินเป้าหมายน่าจะเกิดขึ้นต่อเนื่องในช่วงที่เหลือของปีนี้ ทั้งนี้มิใช่ผลกระทบจากการขึ้นภาษีขายแต่เพียงอย่างเดียว แต่น่าจะเป็นผลของการขึ้นค่าแรง จากที่มีอัตราการว่างงานที่ใกล้การจ้างงานเต็มที่ ซึ่งทำให้เชื่อว่าตลาดหุ้นญี่น่าจะมีแรงจูงใจที่น้อยลง

น้ำมันที่ท่าส่ง Cushing ลดลงต่ำสุดในรอบ 6 ปี กดดันราคาน้ำมัน
     กระทรวงพลังงานสหรัฐฯ (EIA) รายงานยอดน้ำมันดิบคงคลังลดลงต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 4 ราว 3.97 ล้านบาร์เรล อยู่ที่ 371.1 ล้านบาร์เรล ในขณะที่สต๊อคน้ำมันที่ท่าส่งเมือง Cushing ลดลง 1.45 ล้านบาร์เรล แตะระดับ 18.8 ล้านบาร์เรล ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 6 ปี เป็นผลจากการคงกำลังการผลิตน้ำมันที่ระดับ 93.8% เท่ากับสัปดาห์ก่อนหน้า ซึ่งเป็นระดับที่สูงที่สุดในรอบ 9 ปี และการวางท่อการส่งน้ำมันใหม่ตั้งแต่ต้นปีที่เริ่มใช้งานของ TransCanada Corp.แต่อย่างไรก็ตามราคาน้ำมันที่ตลาดล่วงหน้า WTI ส่งมอบเดือน ก.ย. ยังทรงตัวที่ระดับ 102.05 เหรียญฯต่อบาร์เรล เช่นเดียวกับ Brent ที่ราคาลดลงเล็กน้อยอยู่ที่ 105.60 เหรียญฯต่อบาร์เรล และดูไบเพิ่มขึ้นเล็กน้อยอยู่ที่ระดับ 104.98 เหรียญฯต่อบาร์เรล ทั้งนี้การคงกำลังการผลิตน้ำมันในระดับสูง ส่งผลให้สต๊อกน้ำมันเบนซินเพิ่มขึ้นถึง 3.38 ล้านบาร์เรล ขึ้นมาแตะระดับอยู่ที่ 217.9 ล้านบาร์เรล และ ส่วนเชื้อเพลิงอื่น ๆ (heating oil) เพิ่มขึ้นเช่นกันราว 1.64 ล้านบาร์เรล อยู่ที่ 125.9 ล้านบาร์เรล
       อย่างไรก็ตามคาดราคาน้ำมันดิบโลกจะยังทรงตัวในระดับสูงได้ เนื่องจากยังมีประเด็นความกังวลเกี่ยวกับอุปทานน้ำมันดิบอย่างต่อเนื่องจากความไม่สงบในลิเบีย อิสราเอล และยูเครน โดยรวมแล้วราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยตั้งแต่ต้นปี 2557 จนถึงปัจจุบัน เท่ากับ 105.36 เหรียญฯ/บาร์เรล สูงกว่าสมมติฐานของฝ่ายวิจัยที่ 100 เหรียญฯ/บาร์เรล ยังคงแนะนำซื้อสะสม PTTEP ([email protected]) แนวโน้มกำไรในช่วง 2H57 จะโดดเด่นกว่าช่วง 1H57 จากโครงการใหม่ M9 ทำให้กำไรทั้งปี 2557 ขึ้นทำ New High อีกทั้ง Valuation ยังถูกกว่าภูมิภาค และ PER ปี 2557 อยู่เพียง 9.5 เท่า และ PTT (FV@B 360) ได้อานิสงส์จากถือหุ้น PTTEP อยู่ 65%

เงินทุนต่างชาติไหลเข้าภูมิภาคต่อเนื่อง
      กระแสเงินทุนจากต่างชาติยังคงไหลเข้าภูมิภาคอย่างต่อเนื่อง โดยที่วานนี้นักลงทุนต่างชาติยังคงซื้อหุ้นในภูมิภาคติดต่อกันเป็นวันที่ 11 ราว 293 ล้านเหรียญฯ (เพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่าตัว) เริ่มจากเกาหลีใต้ซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 11 ราว 173 ล้านเหรียญฯ (ยอดซื้อเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว) ส่วนไต้หวันกลับมาเปิดทำการอีกครั้งและซื้อสุทธิราว 53 ล้านเหรียญฯ (ต่อเนื่องเป็นวันที่ 2, ลดลง 77%) ส่วนไทยสลับมาซื้อสุทธิราว 37 ล้านเหรียญฯ (1.2 พันล้านบาท) และ อินโดนีเซียซื้อสุทธิเป็นวันที่ 3 ราว 32 ล้านเหรียญฯ (ลดลง 28% จากวันก่อนหน้า) สวนทางกับ ฟิลิปปินส์ที่ยังคงถูกขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 6 แต่เบาบางเพียง 1 ล้านเหรียญฯ
     ในส่วนของตลาดตราสารหนี้ของไทยนักลงทุนต่างชาติยังคงซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 20 ถึง 1.3 หมื่นล้านบาท (รวม 1.7 แสนล้านบาท) แต่อย่างไรก็ตาม การที่ค่าเงินดอลล่าห์ได้แข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วง 2 สัปดาห์หลังสุดเมื่อเทียบกับค่าเงินสกุลหลักต่างๆ ทำให้ค่าเงินบาทยังคงทรงตัวอยู่ที่ระดับ 31.84 บาทต่อเหรียญฯ ซึ่งถือว่ายังอยู่ในระดับแข็งค่า และน่าจะยังคงเป็นปัจจัยบวกต่อตลาดหุ้นไทยในระยะสั้น

งวด 2Q57 กำไรภาคการผลิตไม่สดใส แต่จะดีขึ้นในงวด 2H57
      วานนี้ฝ่ายวิจัยรายงาน preview earnings ของกลุ่มโรงกลั่น-ปิโตรเคมี พบว่าแนวโน้มกำไรในงวด 2Q57 หดตัวลงเมื่อเทียบกับงวดก่อนหน้า จากปัญหาค่าการกลั่นตลาด (Market GRM) ที่ปรับตัวลดลง และ Spread ผลิตภัณฑ์กลุ่มอะโรเมติกส์ที่ยังคงปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง เริ่มจาก TOP (FV@B56) คาดงวด 2Q57 กำไรสุทธิลดลง 15%qoq แม้มีกำไรจากสต็อกน้ำมัน แต่ถูกหักล้างด้วยการหยุดเดินเครื่องซ่อมบำรุงครั้งใหญ่ของโรงกลั่น และโรงงานอะโรเมติกส์ รวมทั้งค่าการกลั่นตลาด (Market GRM) และ Spread ผลิตภัณฑ์กลุ่มอะโรเมติกส์ที่ยังคงปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง แต่เนื่องจากกำไรงวด 1H57 คิดเป็น 60.2% ของประมาณการทั้งปี 2557 ทำให้ยังคงประมาณการกำไรปี 2557 เนื่องจากคาดแนวโน้มกำไรในงวด 3Q57 จะปรับตัวลดลงต่ำสุดของปีจากแผนหยุดเดินเครื่องเพื่อซ่อมบำรุงครั้งใหญ่ของหน่วยกลั่น CDU 3 รวมทั้งค่าการกลั่นที่มีแนวโน้มลดลง ขณะที่ธุรกิจอะโรเมติกส์คาดจะทรงตัวในระดับต่ำต่อเนื่องจากภาวะ Oversupply
       ตามมาด้วย IRPC ([email protected]) คาดงวด 2Q57 ยังคงมีกำไรสุทธิ แต่ลดลง 36.1%qoq แม้จะดีกว่าที่ขาดทุน งวด 2Q56 จากการบันทึกกำไรจากสต็อกน้ำมันและการทำ hedging แต่ยังถูกกดดันด้วยค่าการกลั่นตลาด (GRM) ที่ลดลง และ Spread ของธุรกิจปิโตรเคมีที่ลดลง (กลุ่มสไตรีนิกซ์ และกลุ่มอะโรเมติกส์) เป็นปัจจัยกดดันประสิทธิภาพการทำกำไร รวมทั้งผลจากการหยุดเดินเครื่องเพื่อซ่อมบำรุง 20 วันในงวด 1Q57 และอีก 10 วันในงวด 2Q57 ทำให้ฝ่ายวิจัยมีแนวโน้มปรับลดประมาณการกำไรทั้งปี 2557 อีกครั้ง แต่ยังคงคำแนะนำ “ซื้อ” เพื่อลงทุนระยะยาว เพราะเชื่อว่าราคาหุ้นได้สะท้อนปัจจัยลบต่างๆที่เกิดขึ้นไปในระดับหนึ่งแล้ว
      และ BIGC ([email protected]) แม้กำไรงวด 2Q57 เพิ่มขึ้น 50% qoq, 20% yoy ดีกว่าคาด 27% รวมทั้งราคาจะถูกกว่ากลุ่มฯ แต่ด้วยแนวโน้มธุรกิจที่เริ่มอิ่มตัว กำไรในแต่ละไตรมาสมีความไม่แน่นอนสูง คาดหวังการกลับมาเติบโตได้อย่างยั่งยืนลำบาก บวกกับราคาเต็มมูลค่าพื้นฐานแล้ว จึงยังคงแนะนำ “ขาย”

ภรณี ทองเย็น, CISA เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
พบชัย ภัทราวิชญ์
กษิดิ์เดช รัตนสมบูรณ์
มาราพร กี้วิริยะกุล

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!