WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ASP copyบล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน

 

กลยุทธ์การลงทุน
       ต่างชาติขายทำอยำกำไรหลังซื้อสุทธิกว่า 1 แสนล้านบาท (ytd) และแรงขายรับงบ 2Q59 กดดัน SET ปรับฐานระยะสั้น แต่ทิศทางเงินบาทยังแข็งค่า เชื่อว่ามีโอกาสกลับมาซื้ออีกรอบ กลยุทธ์ยังแนะนำสะสมหุ้น laggard (TMB, TASCO, PTTEP, RATCH, BH) Top picks เลือก PTTEP(FV@B89) ยังฟื้นตัวตามทิศทางราคาน้ำมันดูไบ และ CPF(FV@B40) ปรับกำไรและมูลค่าหุ้นปีนี้ขึ้นหลังกำไรงวด 2Q59 ดีกว่าคาด

เชื่อ Fed ไม่ขึ้นดอกเบี้ยจนถึงสิ้นปี แต่ตลาดกลับมากังวลจึงกลับมากดดันตลาดช่วงสั้น
      การรายงานดัชนีชี้นำเศรษฐกิจสหรัฐยังส่งสัญญาณขัดแย้ง กล่าวคือ เงินเฟ้อ เดือน ก.ค. เพิ่มขึ้นน้อยกว่าที่ตลาดคาด อยู่ที่ 0.8%yoy ลดลงจาก 1% ในเดือน มิ.ย. (หลังจากทรงตัวติดต่อมา 3 เดือน) เนื่องจากสินค้าหมวดพลังงานปรับตัวลดลงในเดือน ก.ค. ขณะที่การบริโภคภาคครัวเรือนยั
มีทิศทางดีขึ้นต่อเนื่อง สะท้อนจากยอดสั่งสร้างบ้าน (Housing start) ในเดือนเดียวกัน เพิ่มขึ้น 2.1%mom (ที่ 1.21 ล้านหลัง ทำระดับสูงสุดในรอบ 5 เดือน) ตามการฟื้นตัวของตลาดแรงงาน (ยอดการจ้างงานนอกภาคการเกษตร ล่าสุด ขยายตัว 3 เดือนติด หนุนอัตราการว่างงานอยู่ที่ 4.9%)
จากปัจจัยข้างต้น กับ ความกังวลต่อผลกระทบ Brexit ทำให้ ASPS ยังเชื่อว่า Fed จะชะลอการขึ้นดอกเบี้ยไปจนถึงสิ้นปี (การประชุมที่เหลืออีก 3 ครั้ง) แม้วานนี้ประธาน fed สาขา New York นายวิลเลียม ดัดลีย์ ออกมาแสดงความเห็นว่า มีความโอกาสสูงที่ Fed จะขึ้นดอกเบี้ยครั้งแรกในรอบเดือน ก.ย. ทำให้ตลาดคาดหวังต่อการขึ้นดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น สะท้อนจากผลสำรวจ Fed Fund future ใน Bloomberg คาดโอกาสขึ้นดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น รอบ ก.ย. ราว 22% (เดิม 18%) รอบ พ.ย. 24%(เดิม 22%) ขณะที่รอบ ธ.ค.เพิ่มเป็น 51% เดิม 44%) แต่ก็ถือเป็นประเด็นกดดันตลาดในระยะสั้น ทั้งนี้ ยังให้น้ำหนักต่อการรายงาน Fed minute ของการประชุมรอบ ก.ค. ในวันนี้ และถ้อยแถลงมุมมองเศรษฐกิจที่ Jackson Hole ของประธาน Fed นางเจเน็ต เยลเลน วันที่ 26 ส.ค. ว่าเป็นอย่างไร

คาดต่างชาติขายทำกำไรระยะสั้น Fund Flow มีโอกาสกลับมา จากเงินบาทที่แข็งค่า
วานนี้ต่างชาติเริ่มมีการปรับพอร์ต โดยการขายสลับมาขายสุทธิหุ้นในภูมิภาคเล็กน้อย ด้วยมูลค่าราว 29 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อติดต่อกัน 8 วัน) โดยเป็นการขายเกือบทุกตลาดยกเว้นเพียงตลาดหุ้นอินโดนีเซียเท่านั้นที่ยังคงถูกซื้อสุทธิราว 44 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิติดต่อกันเป็นวันที่ 17) ส่วนตลาดที่เหลืออีก 4 ประเทศสลับมาขายสุทธิ คือ เกาหลีใต้ขายสุทธิราว 21 ล้านเหรียญ ตามมาด้วยฟิลิปปินส์ 16 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 3), ไต้หวัน 9 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิ 8 วัน) และไทยที่ต่างชาติสลับมาขายสุทธิ 27 ล้านเหรียญ หรือ หรือ 929 ล้านบาท (หลังจากซื้อสุทธิติดต่อกัน 7 วัน) เช่นเดียวกับนักลงทุนสถาบันฯที่ขายสุทธิสูงถึง 3.2 พันล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 5)
และหากกลับมาดูเฉพาะตลาดหุ้นไทย พบว่า ตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบัน SET Index ปรับตัวเพิ่มขึ้นไปแล้วกว่า 19.37% โดยเริ่มมีแรงซื้อจากต่างชาติเข้ามาหนาแน่นตั้งแต่ช่วงกลางเดือน ก.พ. 59 เป็นต้นมา ด้วยมูลค่าทั้งสิ้นกว่า 1.2 แสนล้านบาท ซึ่งเม็ดเงินดังกล่าวหากปรับตามมูลค่าตลาดแล้ว จะได้ต้นทุนเฉลี่ยของต่างชาติอยู่ที่ 1,463.94 จุด โดยมีมูลค่าเพิ่มขึ้น 5.03% เมื่อเทียบกับ SET Index ณ ปัจจุบันที่ 1,537.52 จุด ดังนั้นจึงไม่แปลกที่จะมีการขายทำกำไรในช่วงสั้น อย่างไรก็ตามด้วย Dollar Index ที่ทรงตัวถึงอ่อนค่า ตามความคาดหวังว่า Fed จะไม่ขึ้นดอกเบี้ยในปีนี้ กดดันให้เงินบาทมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้น และเป็นไปในทิศทางเดียวกับประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งประเด็นดังกล่าวน่าจะช่วยหนุนให้ Fund Flow ยังคงไหลเข้ามาในตลาดหุ้นภูมิภาคได้อย่างต่อเนื่อง รวมถึงตลาดหุ้นไทย
ข้อมูลแสดงเงินทุนต่างชาติไหลเข้าออกรายเดือนของแต่ละประเทศในภูมิภาค

แรงขายระยะสั้นเกิดจาก SET ให้ผลตอบแทน 9% หลัง Brexit
หากนับตั้งแต่ผลการลงประชามติ Brexit เมื่อ 24 มิ.ย. ตลาดหุ้นไทยปรับขึ้นได้อย่างต่อเนื่องเกือบ 9% ขณะที่เม็ดเงินจากนักลงทุนต่างชาติที่ซื้อสุทธิมาต่อเนื่องในช่วงเวลาเดียวกันรวมกว่า 7.4 หมื่นล้านบาท หนุนให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นกว่า 1.8% จึงทำให้นักลงทุนต่างชาติมีผลตอบแทนโดยรวม นับจากหลัง Brexit กว่า 10.8% และน่าจะเหตุผลทำให้ มีการขายทำกำไรระยะสั้น กดดัน SET Index ปรับลดลงค่อนข้างแรง แต่ก็เชื่อว่าเป็นเพียงการ take profit ช่วงสั้นๆ เท่านั้น โดยนักลงทุนอาจจะสลับเงินไปยังประเทศเพื่อนบ้านที่ยังปรับขึ้นน้อยกว่า เช่น ฟิลิปปินส์ ปรับขึ้นเพียง 5% หรือมาเลเซีย ที่ปรับขึ้นเพียง 4% โดยเชื่อว่าเม็ดเงินต่างชาติยังไม่น่าจะไหลออกจากภูมิภาค เนื่องจากระดับ Expected P/E ของตลาดหุ้นไทยหรือภูมิภาคยังอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกับตลาดหุ้น DM แต่สิ่งที่เป็นข้อได้เปรียบของตลาดหุ้น EM คือ อัตราดอกเบี้ยที่ยังสูงกว่า DM ค่อนข้างมาก ประกอบกับความจำเป็นที่ต้องใช้มาตรการผ่อนคลายทางการเงินของธนาคารกลางที่สำคัญของโลก และ Fed ยังไม่น่าที่จะเร่งขึ้นดอกเบี้ย จึงทำให้ความเป็นไปได้ที่กระแสเงินจะไหลกลับ ยังไม่น่าจะเป็นไปได้มากนัก
ผลตอบแทนตลาดหุ้นไทย และตลาดหุ้นโลก ytd และหลัง Brexit

เตรียมปรับเพิ่ม EPS ตลาดปี 2559 หลังกำไรตลาดงวด 2Q59 ดีกว่าคาด
การรายงานผลประกอบการ 2Q59 จากข้อมูลที่ฝ่ายวิจัยรวบรวมถึงช่วงเย็นวานนี้ (16 ส.ค.) จำนวนทั้งสิ้น 513 บริษัท คิดเป็น 98% ของ Market Cap ทั้งตลาด ทำกำไรสุทธิรวมกันได้กว่า 2.44 แสนล้านบาท มากกว่า 1Q59 ที่ทำกำไรได้ 2.33 แสนล้านบาท และมากกว่า 2Q58 ที่ทำกำไรได้ 2.18 แสนล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 4.5%qoq และ 11.5%yoy ตามลำดับ โดยภาพรวมของกำไรสุทธิรายกลุ่มฯ มีดังนี้
กลุ่มที่กำไรสุทธิเติบโตทั้ง yoy และ qoq ได้แก่
  ค้าปลีก เติบโต 19.7%yoy และ 6.1%qoq การเติบโตหลักๆ มาจาก CPALL และ HMPRO
  วัสดุก่อสร้าง เติบโต 12.3%yoy และ 10.9%qoq หลักๆ มาจาก SCC
  พลังงาน เติบโต 5.9%yoy และ 14.5%qoq การเพิ่มขึ้นของกำไรส่วนใหญ่มาจาก TOP และ PTT
  อสังหาฯ ทรงตัวyoy และ เติบโต 13.5%qoq ที่โดดเด่นคือ SPALI และ LH

กลุ่มที่กำไรสุทธิเติบโต yoy แต่ลดลง qoq ได้แก่
  ท่องเที่ยว-โรงแรม (675%yoy, -88.5%qoq) ที่เติบโตโดดเด่น คือ AAV และ AOT
  อาหาร (28.4%yoy, -10.4%qoq) กำไรส่วนใหญ่มาจาก CPF, M, MINT และ OISHI
  โรงพยาบาล (6.8%yoy, -22.8%qoq) ที่เติบโตได้ คือ BDMS และ LPH
  สื่อสาร (3.5%yoy, -31.4%qoq) ที่กำไรเติบโต คือ INTUCH และ JMART

กลุ่มที่กำไรสุทธิเติบโต qoq แต่ลดลง yoy ได้แก่
  สื่อ-บันเทิง (71.7%qoq, -31.4%yoy) หลักๆ มาจากหุ้น MAJOR, WORK และ VGI
  ปิโตรเคมี (31.1%qoq, -18.5%yoy) ที่เติบโตโดดเด่น คือ IVL
  ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ (27.2%qoq, -14.9%yoy) ที่เติบโตได้ดี คือ KCE
  รับเหมาฯ (10.9%qoq, 17.7%yoy) หลักๆมาจาก UNIQ
  ธนาคารพาณิชย์ (5.1%qoq, -2.4%yoy) ที่ดีคือ KKP TCAP TISCO

ส่วนกลุ่มที่พลิกกลับมากำไรสุทธิ ได้แก่
  ประกัน พลิกกำไรสุทธิ qoq และเติบโตถึง 198%yoy หลักๆ มาจาก BLA
  ขนส่ง พลิกกำไรสุทธิ yoy แต่ลดลง 76.5%qoq กำไรหลักมาจาก AOT และ AAV, BEM และ BTS
โดยรวมกำไรตลาด 2Q59 นี้ทำได้สูงกว่าคาด โดยกำไรสุทธิในครึ่งปีแรกของปีนี้นี้อยู่ที่ประมาณ 4.79 แสนล้านบาท คิดเป็นกว่า 56% ของประมาณการกำไรทั้งปีของตลาดในปีนี้ ขณะที่ครึ่งปีหลังยังไม่เห็นสัญญาณอะไรที่ออกมาในเชิงลบ รวมทั้งแนวโน้ม GDP Growth ของประเทศที่มีโอกาสฟื้นตัวต่อเนื่อง ตามมาตรการกระตุ้นภาครัฐ จึงทำให้มีโอกาสที่ฝ่ายวิจัยจะปรับประมาณการกำไรตลาดปีนี้ขึ้น และน่าจะช่วยดึงให้ระดับ Expected P/E ลดลงต่ำกว่าระดับ 17 เท่าได้อีกครั้ง
กลยุทธ์การลงทุน จึงเน้นไปยังหุ้นที่มีผลประกอบการเติบโตโดดเด่น โดยเฉพาะกลุ่มส่งออกอาหาร จากปัจจัยช่วง high season ฤดูกาลส่งออก ฝ่ายวิจัยแนะนำ CPF (FV@B40) และ GFPT (FV’60@B17)
รวมทั้งหุ้นที่ยังมี upside สูง หรือ laggard กว่าตลาด ผลการดำเนินงานมีแนวโน้มฟื้นตัว หรือเติบโตได้ต่อเนื่อง คาดหวังเงินปันผลสูง แนะนำ BH (FV@B202), BDMS (FV@B25) รวมถึง PTTEP (FV@B 89) ซึ่งได้รับแรงหนุนจากราคาน้ำมันที่ขยับขึ้น

ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
พาสุ ชัยหลีเจริญ ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์
บล.เอเซีย พลัส : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน

กลยุทธ์การลงทุน
ต่างชาติขายทำอยำกำไรหลังซื้อสุทธิกว่า 1 แสนล้านบาท (ytd) และแรงขายรับงบ 2Q59 กดดัน SET ปรับฐานระยะสั้น แต่ทิศทางเงินบาทยังแข็งค่า เชื่อว่ามีโอกาสกลับมาซื้ออีกรอบ กลยุทธ์ยังแนะนำสะสมหุ้น laggard (TMB, TASCO, PTTEP, RATCH, BH) Top picks เลือก PTTEP(FV@B89) ยังฟื้นตัวตามทิศทางราคาน้ำมันดูไบ และ CPF(FV@B40) ปรับกำไรและมูลค่าหุ้นปีนี้ขึ้นหลังกำไรงวด 2Q59 ดีกว่าคาด
เชื่อ Fed ไม่ขึ้นดอกเบี้ยจนถึงสิ้นปี แต่ตลาดกลับมากังวลจึงกลับมากดดันตลาดช่วงสั้น
การรายงานดัชนีชี้นำเศรษฐกิจสหรัฐยังส่งสัญญาณขัดแย้ง กล่าวคือ เงินเฟ้อ เดือน ก.ค. เพิ่มขึ้นน้อยกว่าที่ตลาดคาด อยู่ที่ 0.8%yoy ลดลงจาก 1% ในเดือน มิ.ย. (หลังจากทรงตัวติดต่อมา 3 เดือน) เนื่องจากสินค้าหมวดพลังงานปรับตัวลดลงในเดือน ก.ค. ขณะที่การบริโภคภาคครัวเรือนยังมีทิศทางดีขึ้นต่อเนื่อง สะท้อนจากยอดสั่งสร้างบ้าน (Housing start) ในเดือนเดียวกัน เพิ่มขึ้น 2.1%mom (ที่ 1.21 ล้านหลัง ทำระดับสูงสุดในรอบ 5 เดือน) ตามการฟื้นตัวของตลาดแรงงาน (ยอดการจ้างงานนอกภาคการเกษตร ล่าสุด ขยายตัว 3 เดือนติด หนุนอัตราการว่างงานอยู่ที่ 4.9%)
จากปัจจัยข้างต้น กับ ความกังวลต่อผลกระทบ Brexit ทำให้ ASPS ยังเชื่อว่า Fed จะชะลอการขึ้นดอกเบี้ยไปจนถึงสิ้นปี (การประชุมที่เหลืออีก 3 ครั้ง) แม้วานนี้ประธาน fed สาขา New York นายวิลเลียม ดัดลีย์ ออกมาแสดงความเห็นว่า มีความโอกาสสูงที่ Fed จะขึ้นดอกเบี้ยครั้งแรกในรอบเดือน ก.ย. ทำให้ตลาดคาดหวังต่อการขึ้นดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น สะท้อนจากผลสำรวจ Fed Fund future ใน Bloomberg คาดโอกาสขึ้นดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น รอบ ก.ย. ราว 22% (เดิม 18%) รอบ พ.ย. 24%(เดิม 22%) ขณะที่รอบ ธ.ค.เพิ่มเป็น 51% เดิม 44%) แต่ก็ถือเป็นประเด็นกดดันตลาดในระยะสั้น ทั้งนี้ ยังให้น้ำหนักต่อการรายงาน Fed minute ของการประชุมรอบ ก.ค. ในวันนี้ และถ้อยแถลงมุมมองเศรษฐกิจที่ Jackson Hole ของประธาน Fed นางเจเน็ต เยลเลน วันที่ 26 ส.ค. ว่าเป็นอย่างไร


คาดต่างชาติาขายทำกำไรระยะสั้น Fund Flow มีโอกาสกลับมา จากเงินบาทที่แข็งค่า
วานนี้ต่างชาติเริ่มมีการปรับพอร์ต โดยการขายสลับมาขายสุทธิหุ้นในภูมิภาคเล็กน้อย ด้วยมูลค่าราว 29 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อติดต่อกัน 8 วัน) โดยเป็นการขายเกือบทุกตลาดยกเว้นเพียงตลาดหุ้นอินโดนีเซียเท่านั้นที่ยังคงถูกซื้อสุทธิราว 44 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิติดต่อกันเป็นวันที่ 17) ส่วนตลาดที่เหลืออีก 4 ประเทศสลับมาขายสุทธิ คือ เกาหลีใต้ขายสุทธิราว 21 ล้านเหรียญ ตามมาด้วยฟิลิปปินส์ 16 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 3), ไต้หวัน 9 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิ 8 วัน) และไทยที่ต่างชาติสลับมาขายสุทธิ 27 ล้านเหรียญ หรือ หรือ 929 ล้านบาท (หลังจากซื้อสุทธิติดต่อกัน 7 วัน) เช่นเดียวกับนักลงทุนสถาบันฯที่ขายสุทธิสูงถึง 3.2 พันล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 5)
และหากกลับมาดูเฉพาะตลาดหุ้นไทย พบว่า ตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบัน SET Index ปรับตัวเพิ่มขึ้นไปแล้วกว่า 19.37% โดยเริ่มมีแรงซื้อจากต่างชาติเข้ามาหนาแน่นตั้งแต่ช่วงกลางเดือน ก.พ. 59 เป็นต้นมา ด้วยมูลค่าทั้งสิ้นกว่า 1.2 แสนล้านบาท ซึ่งเม็ดเงินดังกล่าวหากปรับตามมูลค่าตลาดแล้ว จะได้ต้นทุนเฉลี่ยของต่างชาติอยู่ที่ 1,463.94 จุด โดยมีมูลค่าเพิ่มขึ้น 5.03% เมื่อเทียบกับ SET Index ณ ปัจจุบันที่ 1,537.52 จุด ดังนั้นจึงไม่แปลกที่จะมีการขายทำกำไรในช่วงสั้น อย่างไรก็ตามด้วย Dollar Index ที่ทรงตัวถึงอ่อนค่า ตามความคาดหวังว่า Fed จะไม่ขึ้นดอกเบี้ยในปีนี้ กดดันให้เงินบาทมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้น และเป็นไปในทิศทางเดียวกับประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งประเด็นดังกล่าวน่าจะช่วยหนุนให้ Fund Flow ยังคงไหลเข้ามาในตลาดหุ้นภูมิภาคได้อย่างต่อเนื่อง รวมถึงตลาดหุ้นไทย
ข้อมูลแสดงเงินทุนต่างชาติไหลเข้าออกรายเดือนของแต่ละประเทศในภูมิภาค

แรงขายระยะสั้นเกิดจาก SET ให้ผลตอบแทน 9% หลัง Brexit
หากนับตั้งแต่ผลการลงประชามติ Brexit เมื่อ 24 มิ.ย. ตลาดหุ้นไทยปรับขึ้นได้อย่างต่อเนื่องเกือบ 9% ขณะที่เม็ดเงินจากนักลงทุนต่างชาติที่ซื้อสุทธิมาต่อเนื่องในช่วงเวลาเดียวกันรวมกว่า 7.4 หมื่นล้านบาท หนุนให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นกว่า 1.8% จึงทำให้นักลงทุนต่างชาติมีผลตอบแทนโดยรวม นับจากหลัง Brexit กว่า 10.8% และน่าจะเหตุผลทำให้ มีการขายทำกำไรระยะสั้น กดดัน SET Index ปรับลดลงค่อนข้างแรง แต่ก็เชื่อว่าเป็นเพียงการ take profit ช่วงสั้นๆ เท่านั้น โดยนักลงทุนอาจจะสลับเงินไปยังประเทศเพื่อนบ้านที่ยังปรับขึ้นน้อยกว่า เช่น ฟิลิปปินส์ ปรับขึ้นเพียง 5% หรือมาเลเซีย ที่ปรับขึ้นเพียง 4% โดยเชื่อว่าเม็ดเงินต่างชาติยังไม่น่าจะไหลออกจากภูมิภาค เนื่องจากระดับ Expected P/E ของตลาดหุ้นไทยหรือภูมิภาคยังอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกับตลาดหุ้น DM แต่สิ่งที่เป็นข้อได้เปรียบของตลาดหุ้น EM คือ อัตราดอกเบี้ยที่ยังสูงกว่า DM ค่อนข้างมาก ประกอบกับความจำเป็นที่ต้องใช้มาตรการผ่อนคลายทางการเงินของธนาคารกลางที่สำคัญของโลก และ Fed ยังไม่น่าที่จะเร่งขึ้นดอกเบี้ย จึงทำให้ความเป็นไปได้ที่กระแสเงินจะไหลกลับ ยังไม่น่าจะเป็นไปได้มากนัก
ผลตอบแทนตลาดหุ้นไทย และตลาดหุ้นโลก ytd และหลัง Brexit

Expected P/E ตลาดหุ้นภูมิภาคเอเซีย
Expected P/E ตลาดหุ้นประเทศ DM
เตรียมปรับเพิ่ม EPS ตลาดปี 2559 หลังกำไรตลาดงวด 2Q59 ดีกว่าคาด
การรายงานผลประกอบการ 2Q59 จากข้อมูลที่ฝ่ายวิจัยรวบรวมถึงช่วงเย็นวานนี้ (16 ส.ค.) จำนวนทั้งสิ้น 513 บริษัท คิดเป็น 98% ของ Market Cap ทั้งตลาด ทำกำไรสุทธิรวมกันได้กว่า 2.44 แสนล้านบาท มากกว่า 1Q59 ที่ทำกำไรได้ 2.33 แสนล้านบาท และมากกว่า 2Q58 ที่ทำกำไรได้ 2.18 แสนล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 4.5%qoq และ 11.5%yoy ตามลำดับ โดยภาพรวมของกำไรสุทธิรายกลุ่มฯ มีดังนี้
กลุ่มที่กำไรสุทธิเติบโตทั้ง yoy และ qoq ได้แก่
ค้าปลีก เติบโต 19.7%yoy และ 6.1%qoq การเติบโตหลักๆ มาจาก CPALL และ HMPRO
วัสดุก่อสร้าง เติบโต 12.3%yoy และ 10.9%qoq หลักๆ มาจาก SCC
พลังงาน เติบโต 5.9%yoy และ 14.5%qoq การเพิ่มขึ้นของกำไรส่วนใหญ่มาจาก TOP และ PTT
อสังหาฯ ทรงตัวyoy และ เติบโต 13.5%qoq ที่โดดเด่นคือ SPALI และ LH
กลุ่มที่กำไรสุทธิเติบโต yoy แต่ลดลง qoq ได้แก่
ท่องเที่ยว-โรงแรม (675%yoy, -88.5%qoq) ที่เติบโตโดดเด่น คือ AAV และ AOT
อาหาร (28.4%yoy, -10.4%qoq) กำไรส่วนใหญ่มาจาก CPF, M, MINT และ OISHI
โรงพยาบาล (6.8%yoy, -22.8%qoq) ที่เติบโตได้ คือ BDMS และ LPH
สื่อสาร (3.5%yoy, -31.4%qoq) ที่กำไรเติบโต คือ INTUCH และ JMART
กลุ่มที่กำไรสุทธิเติบโต qoq แต่ลดลง yoy ได้แก่
สื่อ-บันเทิง (71.7%qoq, -31.4%yoy) หลักๆ มาจากหุ้น MAJOR, WORK และ VGI
ปิโตรเคมี (31.1%qoq, -18.5%yoy) ที่เติบโตโดดเด่น คือ IVL
ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ (27.2%qoq, -14.9%yoy) ที่เติบโตได้ดี คือ KCE
รับเหมาฯ (10.9%qoq, 17.7%yoy) หลักๆมาจาก UNIQ
ธนาคารพาณิชย์ (5.1%qoq, -2.4%yoy) ที่ดีคือ KKP TCAP TISCO
ส่วนกลุ่มที่พลิกกลับมากำไรสุทธิ ได้แก่
ประกัน พลิกกำไรสุทธิ qoq และเติบโตถึง 198%yoy หลักๆ มาจาก BLA
ขนส่ง พลิกกำไรสุทธิ yoy แต่ลดลง 76.5%qoq กำไรหลักมาจาก AOT และ AAV, BEM และ BTS
โดยรวมกำไรตลาด 2Q59 นี้ทำได้สูงกว่าคาด โดยกำไรสุทธิในครึ่งปีแรกของปีนี้นี้อยู่ที่ประมาณ 4.79 แสนล้านบาท คิดเป็นกว่า 56% ของประมาณการกำไรทั้งปีของตลาดในปีนี้ ขณะที่ครึ่งปีหลังยังไม่เห็นสัญญาณอะไรที่ออกมาในเชิงลบ รวมทั้งแนวโน้ม GDP Growth ของประเทศที่มีโอกาสฟื้นตัวต่อเนื่อง ตามมาตรการกระตุ้นภาครัฐ จึงทำให้มีโอกาสที่ฝ่ายวิจัยจะปรับประมาณการกำไรตลาดปีนี้ขึ้น และน่าจะช่วยดึงให้ระดับ Expected P/E ลดลงต่ำกว่าระดับ 17 เท่าได้อีกครั้ง
กลยุทธ์การลงทุน จึงเน้นไปยังหุ้นที่มีผลประกอบการเติบโตโดดเด่น โดยเฉพาะกลุ่มส่งออกอาหาร จากปัจจัยช่วง high season ฤดูกาลส่งออก ฝ่ายวิจัยแนะนำ CPF (FV@B40) และ GFPT (FV’60@B17)
รวมทั้งหุ้นที่ยังมี upside สูง หรือ laggard กว่าตลาด ผลการดำเนินงานมีแนวโน้มฟื้นตัว หรือเติบโตได้ต่อเนื่อง คาดหวังเงินปันผลสูง แนะนำ BH (FV@B202), BDMS (FV@B25) รวมถึง PTTEP (FV@B 89) ซึ่งได้รับแรงหนุนจากราคาน้ำมันที่ขยับขึ้น

ภรณี ทองเย็น
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
พาสุ ชัยหลีเจริญ
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์
ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!