- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Monday, 08 August 2016 17:10
- Hits: 655
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
SET ยังฟื้นตามความหวังว่า BOJ จะออก QE เพิ่มเติม หลัง BOE นำร่องไปก่อน ขณะที่ในประเทศ การเมืองเดินหน้าเลือกตั้งปลายปี 2560 หลังรับร่างรัฐธรรมนูญ กลยุทธ์ชอบหุ้นปันผล (ADVANC, RATCH) แต่เข้าสู่ไตรมาส 3 หุ้นโรงพยาบาล เข้าสู่ high season ขณะที่ราคาหุ้นยัง Laggard เลือก BH(FV@B202) เป็น Top pick
หลังมีมติรับร่างรัฐธรรมนูญ จะนำไปสู่การเลือกตั้งปลายปี 2560
ผลการลงประชามติเมื่อวันที่ 7 ส.ค.2559 ได้ข้อสรุปว่าผ่านเป็นที่เรียบร้อย โดยเห็น ชอบกับร่างรัฐธรรมนูญฯ ด้วยคะแนนเสียง 61.40% และเห็นชอบคำถามพ่วง ซึ่งสรุปใจความว่าในช่วงเวลา 5 ปี หลังจากที่รัฐธรรมนูญมีผลบังคับใช้ จะให้ที่ประชุมร่วมรัฐสภา (สส. + สว.) เป็นผู้พิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคล ซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี ด้วยคะแนนเสียง 58.11% (มีผู้มาออกเสียงราว 58% ของจำนวนผู้มีสิทธิ์ลงคะแนนเสียง 50.2 ล้านคน)
กระบวนการที่จะเกิดขึ้นหลังจากนี้ เป็นหน้าที่ของ กรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.)ในการที่จะนำร่างรัฐธรรมนูญที่ผ่านความเห็นชอบจากประชามติดังกล่าว นำมาปรับปรุงโดยนำผลของคำถามพ่วง คือการให้ที่ประชุมร่วมรัฐสภา มีอำนาจในการพิจารณาเลือกนายกรัฐมนตรี บรรจุเพิ่มเติมไว้ในร่างรัฐธรรมนูญ ภายใน 30 วัน หลังจากนั้นนำส่งให้ ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาว่า ข้อความที่เพิ่มเติมเข้าไปในร่างรัฐธรรมนูญสอดคล้องกับผลประชามติหรือไม่ โดยศาลฯ มีเวลาในการพิจารณา 30 วัน แต่ในกรณีที่ไม่เห็นชอบ ต้องส่งมาให้กรรมการร่างรัฐธรรมนูญปรับแก้ภายใน 15 วัน เมื่อแล้วเสร็จก็จะส่งร่างรัฐธรรมนูญให้นายกรัฐมนตรี เตรียมนำขึ้นทูลเกล้า ภายใน 30 วัน หากผ่านทุกขั้นตอน คาดใช้เวลารวม 90 วัน ที่จะนำร่างรัฐธรรมนูญขึ้นทูลเกล้าฯ และประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา ให้มีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการ
อีกกระบวนการหนึ่งที่จะเกิดขึ้นต่อไปก็คือ คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) จะต้องดำเนินการร่างกฎหมายลูกประกอบรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญที่จะกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อนำไปสู่การเลือกตั้งทั่วไปจำนวน 4 ฉบับ ซึ่งจะใช้ 240 วัน (8 เดือน) หลังจากนั้นต้องกำหนดวันจัดการเลือกตั้งทั่วใน 150 วัน จะเป็นกระบวนการการจัดการเลือกตั้ง ซึ่งในเบื้องต้นคาดว่าจะน่าจะเห็นการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งทั่วไปได้ในช่วงประมาณเดือน ธันวาคม 2560 หรือ มกราคม 2561
ตลาดแรงงานฟื้นตัว หนุนดอลล่าร์แข็งค่า แต่น่าจะแกว่งในกรอบแคบๆ
สหรัฐรายงานดัชนีชี้นำเศรษฐกิจยังส่งสัญญาณการฟื้นตัวต่อเนื่อง โดยเฉพาะ ตลาดแรงงาน กล่าวคือ ยอดการจ้างงานนอกภาคการเกษตร (Nonfarm Payrolls รายงานโดยกรมแรงงาน) เดือน ก.ค. เพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 2.55 แสนราย มากกว่าที่ตลาดคาดที่ 1.8 แสนราย (เพิ่มขึ้นติดต่อกัน 2 เดือนหลังจากที่ลดลงแรง 1.1 หมื่นรายในเดือน พ.ค.) สาเหตุมาจากแรงงานในภาคเอกชนเข้าสู่ตลาดแรงงาน 2.17 แสนรายและแรงงานในภาครัฐเพิ่มขึ้น 3.8 หมื่นราย
แต่โดยรวมยังทำให้อัตราการว่างงาน ในเดือนเดียวกันทรงตัวที่ระดับ 4.9% (เป็นเดือนที่ 2 ) หนุนให้ตลาดกลับมาคาดหวังต่อการขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) อีกครั้ง สะท้อนจาก Fed fund future ล่าสุด เพิ่มขึ้น รอบ ก.ย. ราว 26% (เดิม 18%) รอบ พ.ย. 26% (เดิม 19.8%) และรอบ ธ.ค. ราว 47% (เดิม 37%) อย่างไรก็ตาม ASPS เชื่อว่าประเด็น เงินเฟ้อสหรัฐที่ยังต่ำ ล่าสุด 1% และการที่ธนาคารกลางทั่วโลกยังดำเนินมาตรการการเงินผ่อนคลายเพิ่มเติม ดังกล่าวข้างต้น น่ากดดันให้ Fed ขึ้นดอกเบี้ยยากขึ้น และระยะสั้นหนุนให้ Dollar index กลับมา แข็งค่าแต่น่าจะมีกรอบจำกัด จึงน่าจะกดดันน้ำมันและทองคำไม่มากนัก
คาดหวัง มาตรการ QE เพิ่มเติมจากญี่ปุ่น หลัง BOE นำร่องไปก่อนแล้ว
เชื่อว่าปัจจัยหนุนตลาดหุ้นโลกในระยะถัดไป มาจากการดำเนินมาตรการทางการเงินผ่อนคลายของธนาคารกลางของฝั่งประเทศพัฒนาแล้ว ผ่านมาตรการ QE นอกเหนือจากดอกเบี้ยต่ำ ดังเช่น ปลายสัปดาห์ก่อนหน้า ธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) ได้ดำเนินไป ทั้งลดดอกเบี้ย 25 bps เหลือ 0.25% (ครั้งแรกในรอบ 7 ปี) และ กลับมาใช้ QE อีกครั้ง วงเงิน 4.35 แสนล้านปอนด์ หรือราว 5.7 แสนล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งถือว่าเม็ดเงินอาจจะไม่มากนักเมื่อเทียบกับ ที่ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ได้ใช้มาตรการ QE (ช่วง มี.ค.2558 - มี.ค. 2560 ระยะโครงการรวม 25 เดือน) เดือนละ 8 หมื่นล้านยูโร หรือรวมทั้งโครงการราว 1.93 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ (คิดราว 50 %ของการใช้ QE ในสหรัฐช่วงซับไพร์ม ซึ่งใช้เม็ดรวมกว่า 3.92 ล้าน โดยเม็ดเงินของ BOJ รอบนี้คิดเป็น 14.5 %ของการใช้ QE ในสหรัฐ แต่มากกว่า ช่วงวิกฤติปี 2551-2556 BOE ใช้ QE 6 รอบ ราว 3 แสนล้านเหรียญฯ หรือ 7% ของการใช้ QE ในสหรัฐช่วงซับไพร็ม) เชื่อว่าจะหนุน M2 ของอังกฤษ และ ยุโรป ที่หดตัว 18%และ หดตัวราว 10.9%yoy
หลังจากนี้คาดว่าญี่ปุ่น น่าจะเป็นประเทศถัดไป ที่จะเพิ่มการใช้มาตรการ QQE2 ภายใต้การนำของนายกฯ ชินโสะ อาเบะ (ช่วง ต.ค.2557-ปัจจุบัน) ปัจจุบันอยู่ที่ 80 ล้านล้านเยนต่อปี หรือราว 7.48 แสนล้านเหรียญต่อปี คิดราว 20 %ของการใช้ QE ในสหรัฐ) ปัจจุบัน M2 ของญี่ปุ่น ในช่วง 6M59 หดตัว 4.5%yoy
การประกาศใช้นโยบายการเงินผ่อนคลายที่เหนือความคาดหมายของ อังกฤษ รวมทั้งญี่ปุ่นที่น่าจะอัดฉีดเม็ดเงินเพิ่มเติม น่าจะเป็นการตอกย้ำให้ Fed ชะลอการขึ้นดอกเบี้ยจนถึงสิ้นปี สะท้อนจาก Fed fund future ล่าสุดลดลง รอบ ก.ย. ราว 18% รอบ พ.ย. 19% และรอบ ธ.ค. ราว 37% ซึ่งน่าจะกดดันให้ Dollar Index มีแนวโน้มทรงตัวถึงอ่อนค่าต่อเนื่อง แม้ว่าได้อ่อนค่ามาแล้วราว 2% นับจาก 25 ก.ค. เป็นต้นมา ซึ่งถือว่าเป็นปัจจัยหนุนสินทรัพย์ ทั้งหุ้น น้ำมันและ ทองคำ
ต่างชาติกลับมาซื้อหุ้นในภูมิภาค ด้วยแรงซื้อที่หนาแน่นขึ้นอีกครั้ง
วันศุกร์ที่ผ่านมา ต่างชาติยังคงซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคเป็นวันที่ 2 ด้วยยอดซื้อสุทธิโดยรวมที่หนาแน่นขึ้นมาอยู่ที่ 645 ล้านเหรียญ (จากยอดซื้อสุทธิวันก่อนหน้าเพียง 214 ล้านเหรียญ) แม้ล่าสุดข้อมูลยอดซื้อขายสุทธิในตลาดหุ้นอินโดนีเซียยังไม่ได้อัพเดท และต่างชาติมีการสลับมาขายเล็กน้อยในตลาดหุ้นฟิลิปปินส์ราว 2 ล้านเหรียญ แต่ตลาดหุ้นที่เหลืออีก 3 ประเทศพบว่าต่างชาติยังคงซื้อสุทธิด้วยมูลค่า ที่เพิ่มขึ้น คือ ไต้หวันซื้อสุทธิสูงสุดในภูมิภาค 420 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2) ตามมาด้วยเกาหลีใต้ 199 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2) และไทย 28 ล้านเหรียญ หรือ 1.0 พันล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2) เช่นเดียวกับนักลงทุนสถาบันฯที่ซื้อสุทธิราว 1.9 พันล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2)
ขณะที่ตลาดตราสารหนี้ไทย นักลงทุนสถาบันในประเทศซื้อสุทธิ 1.4 หมื่นล้านบาท ต่างกับนักลงทุนต่างชาติที่ขายสุทธิราว 7.2 พันล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 3)
ตราบที่มี Fund Flow แนะหุ้นใหญ่ที่ยัง Laagard SCCC, BH, BDMS, BA, TASCO
เชื่อว่าประเด็นผลการลงประชามติและทิศทางการเมืองที่จะนำไปสู่กระบวนการเลือกตั้งต่อไป จะเป็น sentiment บวกต่อSET Index ในช่วงนี้ แม้ตลาดะคาดการณ์ผลไปล่วงหน้าแล้วพอสมควร สะท้อนจากการปรับขึ้นของ SET Index นับตั้งแต่หลัง Brexit จนถึงวันศุกร์ที่ผ่านมากว่า 7.5% โดยมีกระแส Fund Flow จากนักลงทุนต่างชาติเป็นตัวขับเคลื่อนหลัก จึงเป็นที่น่าสนใจว่าหลังจากนี้ Fund Flow จะยังไหลเข้ามาต่อเนื่อง หรือจะมีการ Sell on Fact หรือไม่ แม้ว่าจากสถิติย้อนหลัง 5 ปีที่ผ่านมา นักลงทุนต่างชาติมักขายสุทธิในเดือน ส.ค. ส่งผลให้ SET Index ลดลงเฉลี่ย 2.47% ด้วยความน่าจะเป็น 60% แต่ก็เป็นการขายสุทธิในปี 2554, 2556, 2558 ซึ่งเป็นปีที่ไทยประสบปัญหา (2554-น้ำท่วมใหญ่, 2556-ปัญหาการเมือง, 2558-ความกังวล Fed ขึ้นดอกเบี้ย) ขณะที่ในปีนี้ เชื่อว่าปัญหาต่างๆ น่าจะเริ่มคลี่คลายลง ก็เชื่อว่ายังพอมีความเป็นไปได้ที่ Fund Flow จะไหลเข้าต่อ
อย่างไรก็ตาม จากระดับ Valuation ของตลาดหุ้นไทยที่ขึ้นไปสูงกว่า 17.2 เท่า อาจเป็นตัวจำกัดการขึ้นของดัชนี จึงยังคงแนะนำให้ขายหุ้นแพง/หุ้นที่เกิน Fair Value และสลับไปลงทุนในหุ้นที่ laggard มี upside สูง และคาดการณ์แนวโน้มผลประกอบการในช่วงครึ่งปีหลังเติบโต ได้แก่ SCCC (FV@B390) แผนการตลาดเชิงรุกเข้าสู่ต่างประเทศ สร้างการเติบโตที่ชัดเจนในปี 2560
ตามมาด้วยหุ้นโรงพยาบาล ทั้ง BH(FV@B202) มีผลประกอบการที่ฟื้นตัวในงวด 2H59 เนื่องจากผลของฤดูกาล เช่นเดียวกับ BDMS (FV@B25) และ BDMS ยังมีแผนที่รองรับการเติบโตในอนาคตชัดเจน ผ่านการเพิ่มประสิทธิภาพของ รพ.ที่เป็น Hub 8 แห่งกระจายอยู่ทั่วประเทศ
TASCO([email protected]) และ BA ([email protected]) ได้ประโยชน์จากต้นทุนน้ำมันต่ำในปัจจุบันแม้คาดว่าจะแกว่งตัวในกรอบ 40-45 เหรียญฯ ต่อบาร์เรลต่อช่วงที่เหลือของปีนี้ก็ตาม
หุ้นโรงแรม CENTEL (FV@B46) งวด 3Q59 คาดว่ามีผลกำไรดีต่อต่อเนื่องจาก 2Q59 เนื่องจากธุรกิจโรงแรมได้อานิสงค์จากภาคท่องเที่ยวไทยสดใส และ High Season ของเกาะสมุย ต่อเนื่องถึง 4Q59
ส่งออกชิ้นส่วน แม้ระยะสั้นอาจจะกดดันจากเงินบาทแข็งค่า แต่จากการเข้าสู่ฤดูกาลส่งออก โดย DELTA (FV@B80) พบว่าแนวโน้มกำไร 2H59 ยังเป็นขาขึ้น
และ วัสดุก่อสร้างน่าจะได้ประโยชน์จากการเดินหน้าลงทุนภาครัฐ TPIPL ([email protected]) ธุรกิจปูนซีเมนต์คาดฟื้นตัวครึ่งปีหลัง พร้อมเดินหน้าลงทุนธุรกิจโรงไฟฟ้า คาดหวังผลตอบแทนที่มั่นคงในระยะยาว
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
พาสุ ชัยหลีเจริญ ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์