- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Friday, 05 August 2016 16:01
- Hits: 6367
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
อาจจะเห็น SET ฟื้นมาที่ 1,520-1,525 จุด ได้แรงหนุน BOE ลดดอกเบี้ยฯ และเพิ่ม QE มากกว่าตลาดคาด กลยุทธ์ยังแนะสะสมหุ้นปันผลที่ Laggard (ADVANC, RATCH) Top picks คือ ADVANC([email protected]) ขึ้น XD 15 ส.ค. หุ้นละ 5.79 บาท และ CK(FV@B36) คาดกำไรเด่นงวด 2Q59 สูงถึง 1,000 ล้านบาท
อังกฤษเพิ่ม QE มากกว่าตลาดคาด เป็น Sentiment เชิงบวกต่อตลาด
ผลการประชุมธนาคารกลางอังกฤษ(BOE) ออกมาตรการทางการผ่อนคลายดีกว่าที่ตลาดคาด คือ นอกจากลดดอกเบี้ย 25 bps เหลือ 0.25% (ครั้งแรกในรอบ 7 ปี) ยังกลับมาใช้โครงการซื้อพันธบัตร(QE) อีกครั้ง วงเงินราว 5.7 แสนล้านเหรียญสหรัฐ (หรือ 4.35 แสนล้านปอนด์) ถือว่าเม็ดเงินมากกว่า การใช้ QE ในช่วง ก.ย.2552- ก.ค.2555 ซึ่งดำเนินการ QE 6 รอบ วงเงินราว 3 แสนล้านเหรียญสหรัฐ (เม็ดเงินรอบนี้คิดเป็น 14 .5 %ของการใช้ QE ในสหรัฐช่วงซับไพร์ม ซึ่งใช้เม็ดรวมกว่า 3.92 ล้านล้านเหรียญ เทียบกับรอบก่อนอังกฤษใช้เม็ดเงิน QE 7.6 % ของการใช้ QE ในสหรัฐ) เชื่อว่าจะหนุนให้ money supply ของอังกฤษจากนี้เป็นต้นไปเพิ่มขึ้น หลังจาก M2 ในช่วง6M59 ของอังกฤษที่ผ่านมาลดลงราว 18%yoy เหลือ 317 หมื่นล้านปอนด์ จาก 328 หมื่นล้านปอนด์
การประกาศใช้นโยบายการเงินผ่อนคลายที่เหนือความคาดหมายของ อังกฤษ น่าจะเป็นการตอกย้ำให้ Fed ชะลอการขึ้นดอกเบี้ยจนถึงสิ้นปี สะท้อนจาก Fed fund future ล่าสุดลดลง รอบ ก.ย. ราว18% รอบ พ.ย. 19% และรอบ ธ.ค. ราว 37% ซึ่งน่าจะกดดันให้ Dollar Index มีแนวโน้มทรงตัวถึงอ่อนค่าต่อเนื่อง แม้ว่าได้อ่อนค่ามาแล้วราว 2% นับจาก 25 ก.ค. เป็นต้นมา ซึ่งถือว่าเป็นปัจจัยหนุนสินทรัพย์ ทั้งหุ้น น้ำมันและ ทองคำ
ตราบที่ยังมี Gap ดอกเบี้ยพันธบัตรประเทศพัฒนาแล้ว-กำลังพัฒนา หนุน fund flow
การประกาศใช้นโยบายการเงินผ่อนคลายในครั้งนี้ ได้กดดันให้ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล (Yield Cure) ทั่วโลกลดลงทุกช่วงอายุ โดยเฉพาะของกลุ่มประเทศในยุโรป และสหรัฐ ด้วยความกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวจากปัญหา Brexit กล่าวคือ Bond Yield พันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปี ของอังกฤษ ลดลงจาก 0.802% สู่ 0.643% หรือลดลงเกือบ 16 bps. ตามด้วย Bond Yield ฝรั่งเศส ลดลงจาก 0.19% สู่ 0.132% หรือลดลง 5.8 bps., Bond Yield เยอรมัน ลดลงจาก -0.038% สู่ -0.095% หรือลดลง 5.7 bps., Bond Yield สวิตเซอร์แลนด์ ลดลงจาก -0.506% สู่ -0.544% หรือลดลง 4.12 bps. เช่นเดียวกับ Bond Yield 10 ปีของสหรัฐ ลดลงจาก 1.542% สู่ 1.501% หรือลดลง 4.12 bps.
ตรงข้ามกับ Bond Yield ญี่ปุ่น และอินโดนีเซีย ที่เพิ่มขึ้นสวนทางตลาดอื่นๆ ขณะที่ Bond yield ของจีน และมาเลเซีย ยังตรงตัว ส่วน Bond Yield 10 ปีของไทย ลดลงจาก 2.061% สู่ 2.042 หรือลดลงเพียง 1.9 bps
การที่มีความแตกต่างของผลตอบแทนในพัฒนาระหว่างประเทศพัฒนาแล้ว กับ กำลังพัฒนาดังกล่าว ยิ่งดึงให้ โอกาสที่เม็ดเงินจะไหลเข้าสู่ภูมิภาคเอเชีย มีความเป็นไปได้มากขึ้น แต่เชื่อว่าไม่น่าจะมากเท่าในอดีตเมื่อครั้ง QE ของสหรัฐ บวกกับ Valuation ในหลายตลาดที่ค่อนข้างแพง จึงเชื่อว่า Fund Flow น่าจะเข้ามาในลักษณะเข้า-ออกรวดเร็ว
Dollar Index มีแนวโน้มทรงตัว-อ่อนค่า หนุนน้ำมันแกว่งตัว 40-45 เหรียญฯ
การที่ Dollar Index มีแนวโน้มทรงตัวถึงอ่อนค่าดังกล่าวข้างต้น มีโอกาสหนุนราคาน้ำมันฟื้นตัว แต่คาดว่าไม่มากนัก กล่าวคือ ระยะสั้นราคาน้ำมันดูไบน่าจะยืนเหนือ 40 เหรียญฯต่อบาร์เรล (ล่าสุด 39.43 เหรียญฯต่อบาร์เรล ปรับขึ้น 1.57% จากวันก่อนหน้า) ซึ่งยังคงเป็นระดับต่ำกว่าช่วง 1H59 ได้ขึ้นไปแตะระดับสูงสุด 47.2 เหรียญฯต่อบาร์เรล (น้ำมันตลาดล่วงหน้า WTI และ Brent ปรับต่ำขึ้นสูงสุด ราว 51 เหรียญฯต่อบาร์เรล) เนื่องจากในช่วง 1H59 ได้รับปัจจัยหนุนจากปัญหา Supply ในหลายแหล่งผลิต ทั้งเหตุการณ์ไฟไหม้ใน แคนาดา และการโจมตีแหล่งผลิตในไนจีเรีย
แต่อย่างไรก็ตาม ในช่วงครึ่งหลังของปีนี้คาดว่าปัญหา Oversupply ยังมีอยู่ แต่ Demand และ Supply น้ำมันจะกลับไปสมดุลได้ภายในต้นปี 2560 (ตามการประมาณการณ์ของ EIA) น่าจะหนุนให้ราคาน้ำมันดูไบมีกรอบแคบ 40-45 เหรียญฯต่อบาร์เรล จึงแนะนำทยอยสะสม PTTEP(FV@B89) ซึ่งยังมี upside เหลือ มากกว่า PTT(FV@B342) ซึ่งราคาใกล้เต็ม Fair Value
อย่างไรก็ตาม ตราบที่ราคาน้ำมันยังแกว่งตัวในกรอบแคบดังกล่าว ถือว่า ยังอยู่ระดับต่ำยังคงถือเป็นปัจจัยบวกต่อผู้ประกอบการที่มีต้นทุนน้ำมันเป็นหลัก เช่น กลุ่มขนส่งทางอากาศ อย่าง BA([email protected]) และใช้วัตถุดิบเป็นน้ำมันดิบ อย่าง TASCO([email protected])
ต่างชาติซื้อหุ้นทั้งภูมิภาค ด้วยแรงที่แผ่วลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อน
วานนี้ต่างชาติสลับมาซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคอีกครั้ง และเป็นการกลับมาซื้อสุทธิทั้ง 5 ประเทศ โดยมียอดรวมอยู่ที่ 214 ล้านเหรียญ แต่ด้วยแรงซื้อที่แผ่วลงมากเมื่อเทียบมูลค่าซื้อสุทธิสะสมเฉลี่ยต่อวันในเดือน ก.ค. ที่สูงถึง 555 ล้านเหรียญ และหากพิจารณาเป็นรายประเทศพบว่า อินโดนีเซียซื้อสุทธิสูงสุดในภูมิภาค 79 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 9), ตามมาด้วยเกาหลีใต้ 62 ล้านเหรียญ, ไต้หวัน 43 ล้านเหรียญ, ฟิลิปปินส์ 1 ล้านเหรียญ และไทย 29 ล้านเหรียญ หรือ 1.0 พันล้านบาท (หลังจากขายสุทธิเพียงวันเดียว) ต่างกับนักลงทุนสถาบันฯที่สลับมาซื้อสุทธิราว 697 ล้านบาท (หลังจากขายสุทธิติดต่อกันนานถึง 11 วัน)
ขณะที่ตลาดตราสารหนี้ไทย นักลงทุนสถาบันในประเทศซื้อสุทธิ 1.4 หมื่นล้านบาท ต่างกับนักลงทุนต่างชาติที่ขายสุทธิราว 7.7 พันล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 2)
นักวิเคราะห์ : ภรณี ทองเย็น, CISA เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์: พาสุ ชัยหลีเจริญ
ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์: ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์