WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ASP copyบล.เอเซีย พลัส : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน

 

กลยุทธ์การลงทุน
    SET ลงมาทดสอบ 1,480-1,485 จุด แม้มี fund flow หนุน แต่น่าจะลดน้อยลง ความหวังธนาคารกลางโลก เพิ่มเม็ดเงินกระตุ้น น่าจะลดลง แนะนำขายหุ้นเต็มมูลค่า และสะสมหุ้น Laggard (ADVANC, RATCH, PS, BBL, UNIQ) หรือได้ประโยชน์ต้นทุนน้ำมันต่ำ เลือก TASCO([email protected]) และ BA([email protected]) เป็น Top picks

มาตรการการคลังญี่ปุ่น อาจไม่ช่วยกระตุ้นตลาดหุ้นโลกมากนัก
    ผลการประชุม ครม.ของญี่ปุ่นภายใต้การนำโดย นายกชินโสะ อาเบะ วานนี้ เป็นไปตามที่คาด กล่าวคือ อนุมัติแผนกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งใหญ่ วงเงินรวม 28 ล้านล้านเยน (ประกอบด้วยมาตรการทางการคลังราว 13.5 ล้านล้านเยน แบ่งเป็นงบประมาณรายจ่าย 7.5 ล้านล้านเยน อีก 6 ล้านล้านเยน มาจากเงินกู้และการลงทุนทางการคลัง) หลังจากก่อนหน้านี้รัฐบาลได้ประกาศเลื่อนการขึ้นภาษีขาย (Sale Tax) 10% ออกไปอีก 2 ปีครึ่ง โดยมุ่งกระตุ้นกระตุ้นเศรษฐกิจญี่ปุ่นที่ยังชะลอตัว (รายละเอียดดังตาราง)

ที่มา : รวบรวมโดยฝ่ายวิจัย ASPS

    โดยแผนกระตุ้นทางการคลังดังกล่าวข้างต้น ถือว่าเป็นไปตามที่ตลาดคาดอยู่แล้วและเชื่อว่ายังต้องใช้ระยะเวลาซึ่งจะเห็นผลช้ากว่าเมื่อเทียบการใช้มาตรการทางการเงิน อาทิ การอัดฉีดเม็ดเงิน (QQE) หรือ ลดอัตราดอกเบี้ยต่ำ ส่งผลให้วานนี้ค่าเงินเยน แข็งค่าต่อราว 1.5% และดัชนีนิกเกอิ ลดลงราว 1.47% เนื่องจากตลาดมองว่ามาตรการดังกล่าวเม็ดเงินน้อยไปและไม่ได้มีผลต่อตลาดหุ้นโลก
      โดยภาพรวมการชะลอการใช้มาตรการทางการเงิน หรือการเพิ่มของนโยบายการเงินที่น้อยกว่าคาด ดังเช่น BOJ ECB Fed น่าจะสร้างแรงกดดันตลาดตลาดหุ้นโลกให้ปรับฐานในช่วงสั้นอย่างต่อเนื่องจนกว่าธนาคารกลางสำคัญๆจะมีแผนกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งใหม่ ขณะที่ไทยการประชุม กนง. ในวันนี้ เชื่อว่าจะยืนดอกเบี้ยนโยบายที่ 1.5% ตามเดิม เนื่องจากเงินเฟ้อที่ยังอยู่ในระดับต่ำเพียง 0.1%yoy ประกอบกับ กนง. น่าจะยังรอดูผลของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ออกมาอย่างต่อเนื่อง


ค่าเงินบาทแข็งเทียบกับดอลลาร์ กระทบหุ้นส่งออก
ค่าเงินเอเชียยังอยู่ในทิศทางแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ นับจากลงประชามติของอังกฤษ (Brexit) กล่าวคือ พบว่าเงินบาทแข็งค่ามากสุดราว 2.7 %รองลงมาคือ เงินรูเปียะห์ของอินโดนีเซีย แข็งค่า 4.8% ขณะที่เงินริงกิตของมาเลเซีย และเงินเปโซของฟิลิปปินส์ ค่อนข้างทรงตัว ทั้งนี้ล่าสุดค่าเงินบาทอยู่ที่ 34.78 บาท/ดอลลาร์สหรัฐฯ และเฉลี่ยตั้งแต่ต้นปี 2559 อยู่ที่ 35.40 บาท/ดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งหากยังทรงตัวที่ระดับนี้ ค่าเงินบาทเฉลี่ยปี 2559 น่าจะลดลงไปเหลือ 35 บาท/ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่ำกว่าสมติฐานค่าเงินบาทปี 2559 กำหนดไว้ที่ 36.00 บาท จึงทำให้เกิดผลกระทบดังนี้
ในสถานการณ์นี้ถือว่าน่าจะกดดันภาคส่งออก โดยเฉพาะกิจการที่มีรายได้ในรูปดอลลาร์ แต่ต้นทุนส่วนใหญ่อยู่ในรูปเงินบาท ได้แก่ กลุ่มส่งออกชิ้นส่วน ฯ (KCE, DELTA, HANA, SVI) และกลุ่มเกษตร-อาหาร (STA,KSL,TU,CPF,GFPT,BR,TFG) เพราะมีรายได้สกุลเงินต่างประเทศ มากกว่าต้นทุนที่เป็นสกุลเงินต่างประเทศ (ดอลลาร์ และยูโร) เริ่มจาก
กลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์
มีรายได้เป็นสกุลเงินต่างประเทศเกือบ 100% ของรายได้รวม แต่มีต้นทุนเพียงบางส่วนที่เป็นสกุลเงินบาท อาทิ ค่าแรงและค่าโสหุ้ยอื่นๆ (Overhead) จึงกระทบกับ margin ขณะที่ไม่มีภาระหนี้สินต่างประเทศเลย ยกเว้นเพียง KCE ที่มีหนี้สินเป็นเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ราว 45 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือคิดเป็น 29% ของหนี้สินรวม ในภาวะที่ค่าเงินบาทแข็งอาจจะทำให้หนี้สินลดลง และทำให้เกิด Fx gain ได้
จากการศึกษาของฝ่ายวิจัยพบว่าทุกๆ 1 บาท ที่แข็งค่าเทียบจากสมมติฐานค่าเงินบาทเฉลี่ยปี 2559 ที่ 36 บาท/ดอลลาร์สหรัฐฯ จะส่งผลกระทบต่อกำไรสุทธิของกลุ่มฯ ในปี 2559 ลดลง 5.8% จากเดิม โดยสามารถเรียงจากมากไปน้อยได้ดังนี้ HANA DELTA KCE และ SVI

หุ้นกลุ่มเกษตร-อาหาร
รายได้บางส่วนของกลุ่มฯ มาจากการส่งออกสินค้าสู่ต่างประเทศ อีกทั้งบางบริษัทมีบริษัทย่อยดำเนินธุรกิจในต่างประเทศ ซึ่งมีรายได้เป็นสกุลเงินต่างประเทศ แต่มีต้นทุนเป็นสกุลต่างประเทศในสัดส่วนที่น้อยกว่า เนื่องจากวัตถุดิบในการผลิตสินค้าเพื่อการส่งออกหลักๆ เป็นวัตถุดิบที่ผลิตในประเทศ อาทิ เนื้อไก่ เนื้อสุกร และกุ้ง เป็นต้น
ทั้งนี้ จากการศึกษาของฝ่ายวิจัยพบว่าทุกๆ 1 บาท/ดอลลาร์สหรัฐฯ ที่แข็งค่าจากสมมติฐานค่าเงินบาทเฉลี่ยปี 2559 ที่ 36 บาท/ดอลลาร์สหรัฐฯ จะส่งผลกระทบต่อแนวโน้มกำไรสุทธิของกลุ่มเกษตร-อาหาร ในปี 2559 ให้ลดลง 4.6% จากเดิม โดยเรียงจากมากไปน้อยได้ดังนี้ STA KSL TU CPF GFPT BR และ TFG

เงินบาทแข็งค่า ดีต่อ BJC, TPIPL, SMIT
ตรงกันข้ามน่าจะดีต่อผู้ประกอบการที่มีหนี้สินต่างประเทศ และผู้ที่นำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ หากโครงสร้างรายได้อยู่ในรูปเงินบาทเป็นส่วนใหญ่ แต่ต้นทุนอยู่ในรูปสกุลดอลลาร์ กล่าวคือ
กลุ่มที่มีหนี้สิน ได้แก่ BJC(FV@B47) มีหนี้สกุลยูโร 3.2 พันล้านยูโร (เกิดจากการซื้อหุ้น BIGC จากผู้ถือหุ้นเดิมคือ กลุ่มคาสิโนฯ) แต่อย่างไรก็ตามงวด 2Q59 คาดว่าอาจจะมี unrealized loss from Hedging ราว 300 ลบ. จากการอ่อนค่าของเงินยูโรเทียบกับเงินบาทอย่างเร็วช่วงปลาย 2Q59 (ขณะที่ค่าเงินบาทที่ทำ Hedging ไว้นั้นแข็งค่าน้อยกว่า) แต่คาดว่าน่าจะกลับมามี FX Gain ในงวด 3Q59 ซึ่งบริษัทมีแผนจะจ่ายคืนเงินกู้ ราว 61% ของยอดทั้งหมด หากใช้อัตราแลกเปลี่ยนปัจจุบัน คาดว่าจะมี Realised FX gain ราว 1,000 ล้านบาท (ตั้งแต่ต้นงวด 3Q59 บริษัททำ Hedging มากขึ้น จนครบ 100% แล้ว และมีต้นทุนอัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ย ยังถูกกว่า อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันเกิดรายการกู้ คือ 21 มี.ค. 59)
ตามด้วย TPIPL([email protected]) มีหนี้สกุลยูโร 160 ล้านยูโร (6,240 ล้านบาท) ซึ่งคิดเป็น 15.6% ของต้นทุนการเงินทั้งหมด บริษัทไม่ได้มีการทำ Hedging จึงน่าจะมีกำไรในงวด 2Q59 ตามการแข็งค่าของเงินบาท เทียบกับยูโร
ส่วน กลุ่มที่มีรายได้ และต้นทุนเป็นสกุลต่างประเทศ นำโดยกลุ่มเหล็ก คือ SMIT([email protected]) ที่มีรายได้หลักจาก 2 ธุรกิจ คือ ธุรกิจเหล็กแข็งสำหรับทำแม่พิมพ์ และโรงชุบเหล็ก และธุรกิจขายเครื่องจักรและเครื่องมือ โดยมีรายได้เกือบ 100% เป็นเงินบาท ขณะที่มีต้นทุนดอลลาร์ 30% และยูโร 70% แต่ได้ทำ Forward ประมาณ 60% ของต้นทุนจึงน่าจะได้ประโยชน์ ทำให้น่าจะเห็น Net margin เพิ่มขึ้นในช่วงสั้น ๆ เนื่องจากราคาขายจะเริ่มลดลงตามต้นทุนที่ต่ำลงกดดัน Margin ให้มาอยู่ในระดับเดิม
และ BSBM([email protected]) รายได้เกือบ 100% เป็นเงินบาท ขณะที่ต้นทุนดอลลาร์เกือบ 100% จึงน่าจะได้ประโยชน์ในสถานการณ์นี้ กล่าวคือ ทุกๆ 1 บาท ที่แข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์ กำไรสุทธิจะเพิ่มขึ้น 5 ล้านบาท แต่เนื่องจากอุตสาหกรรมเหล็กอยู่ในภาวะ Oversupply ทำให้อุตสาหกรรมเหล็กยังมีการแข่งขันที่รุนแรง


ตามมาด้วยการบิน พบว่า THAI ([email protected]) น่าจะได้ประโยชน์มากสุด มีรายได้สกุลดอลลาร์ 5% ขณะที่ค่าใช้จ่ายดอลลาร์ 48% รองลงมาคือ AAV([email protected]) มีรายได้สกุลดอลลาร์ 30% ขณะที่ค่าใช้จ่ายดอลลาร์ 50% ซึ่งน่าจะได้ประโยชน์ในสถานการณ์นี้
ส่วน BA([email protected]) ได้ประโยชน์น้อย เพราะมีรายได้สกุลดอลลาร์ 50% ขณะที่ค่าใช้จ่ายดอลลาร์ 50% ถือว่าเป็น Natural hedge
แรงซื้อหุ้นไทยจากต่างชาติเริ่มชะลอตัวลง หลังจากซื้อติดต่อกันนาน 17 วัน
แม้วานนี้ต่างชาติยังคงซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคต่อเนื่องเป็นวันที่ 20 แต่มีอัตราลดลงอย่างเห็นได้ชัด โดยมีมูลค่ารวมอยู่ที่ 389 ล้านเหรียญ และเป็นการสลับมาขายสุทธิในตลาดหุ้นฟิลิปปินส์ราว 2 ล้านเหรียญ ส่วนที่เหลืออีก 4 ประเทศต่างชาติยังคงซื้อสุทธิ คือ อินโดนีเซียซื้อสุทธิสูงสุดในภูมิภาคราว 224 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 7) ตามมาด้วยไต้หวัน 117 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2), เกาหลีใต้ 47 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 15) และไทยที่แรงซื้อจากต่างชาติเริ่มเบาบางลง โดยมีมูลค่าเพียง 2 ล้านเหรียญ หรือ 73 ล้านบาท (ซื้อสุทธิติดต่อกันเป็นวันที่ 17) ต่างกับนักลงทุนสถาบันฯที่ยังคงขายสุทธิกว่า 2.2 พันล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 10 โดยมียอดรวมถึง 1.6 หมื่นล้านบาท )
ขณะที่ตลาดตราสารหนี้ไทย นักลงทุนสถาบันในประเทศซื้อสุทธิสูงถึง 3.2 หมื่นล้านบาท เช่นเดียวกับนักลงทุนต่างชาติที่ซื้อสุทธิราว 2.4 หมื่นล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 4)


ข้อมูลแสดงเงินทุนต่างชาติไหลเข้าออกรายเดือนของแต่ละประเทศในภูมิภาค

ตลาดหุ้นโลกยังอยู่ในช่วงปรับฐาน หลังผิดหวังต่อมาตรการกระตุ้น
     ความคาดหวังต่อมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ลดน้อยลงไปดังกล่าวข้างต้น ส่งผลให้กระแส Fund Flow ชะลอตัวลง แม้ในช่วงที่ผ่านมาหลายตลาดหุ้นโลกจะวิ่งขึ้นทำ new high ปรับขึ้นได้ในอัตราที่มากกว่าช่วงก่อนและหลังวิกฤติ subprime แต่หากเปรียบเทียบกับระดับ Expected P/E ณ สิ้นปี 2559 ทั้งตลาดหุ้น DM และ EM หลายแห่งพุ่งขึ้นเหนือ 18 เท่า บ่งบอกว่าตลาดหุ้น trade กันที่ระดับแพงเกินไป บวกกับดัชนีชี้นำเศรษฐกิจสหรัฐ ส่งสัญญาณชะลอตัวต่อเนื่อง ทั้งภาคอุตสาหกรรม รวมถึงภาคครัวเรือนที่เริ่มชะลอตัว และปัญหา Brexit ที่รออยู่ น่าจะกดดันให้ตลาดหุ้นโลกเข้าสู่ภาวะปรับฐาน
    สำหรับตลาดหุ้นไทย หลังจากหลุด 1,500 จุด จึงมีโอกาสลงมาทดสอบแนวรับถัดไปที่ 1,480-1485 จุด กลยุทธ์การลงทุนยังคงแนะนำ Selective Buy เลือกหุ้นที่ได้ประเด็นบวกหรือมีปัจจัยหนุน ได้แก่
 หุ้นที่ได้ประโยชน์จากการลดลงของราคาน้ำมัน ได้แก่ หุ้นขนส่งทางอากาศ ชอบ BA([email protected]) เพราะราคาตลาดมี upside สูงสุดถึงกว่า 30% แม้ระยะสั้นอาจจะถูกกดดันจากการจ่ายภาษีฯ ที่เพิ่มขึ้นดังกล่าวข้างต้น แต่น่าจะเป็นโอกาสสะสม เมื่อราคาหุ้นอ่อนตัว
และตามมาด้วย ผู้ผลิตยางมะตอย ที่ใช้น้ำมันเป็นวัตถุดิบ คือ TASCO ([email protected]) แม้ในทางปฏิบัติได้มีการทำสัญญาขายล่วงหน้าแล้ว ราว 30-65% ของผลิตภัณฑ์รวม (ยางมะตอยคิดเป็น 70%ของยอดผลิต ขณะที่น้ำมันใส 30%) ก็ตาม (น้ำมันใสมีการทำ Hedging ไว้ทั้งหมด ราคาน้ำมันลงจึงน่าจะได้ Hedging gain ส่วนยางมะตอยแล้วแต่สถานการณ์) ราคาตลาดมีกว่า upside 25%
 หุ้นที่อิงกับภาวะเศรษฐกิจในประเทศ (Domestic Play) อาทิ
 กลุ่มค้าปลีก ได้แรงหนุนจากมาตรการกระตุ้นการจับจ่ายใช้สอยของภาคครัวเรือน อย่างไรก็ตาม หุ้นในกลุ่มค้าปลีกปรับตัวขึ้นได้ค่อนข้างแรง ทำให้หลายหุ้นเกิน Fair Value หรือมี upside เหลือน้อย จะมีก็เพียง BJC (FV@B47) เท่านั้น ที่ยังพอมี upside เหลืออยู่ และ ยังคาดหวังถึงการเติบโตแบบก้าวกระโดดได้หลังจากนี้ จากการซื้อกิจการ BIGC
 กลุ่มสื่อสาร ที่สะท้อนประเด็นลบไปมากแล้ว คาดว่าหลังจากนี้ผลประกอบการของกลุ่มฯ อาจไม่โดดเด่นนักเนื่องจากจะมีการบันทึกต้นทุนใบอนุญาต จึงแนะนำ ADVANC (FV@B189) ที่มีความแข็งแกร่งในเรื่องของกระแสเงินสดมากที่สุด รวมทั้งยังคาดหวังเงินปันผลได้ในระดับสูง
 กลุ่มวัสดุก่อสร้าง และกลุ่มรับเหมาก่อสร้าง ตามปัจจัยบวกจากโครงการก่อสร้างภาครัฐที่จะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ SCCC (FV@B390), SCC (FV@B595), CK (FV@B36), UNIQ (FV@B20)
 หุ้นที่มีกระแสเงินสดมั่นคง จ่ายปันผลได้อย่างสม่ำเสมอต่อเนื่อง ได้แก่ ADVANC (FV@B189), SCCC (FV@B390), PS (FV@B38), ASK (FV@B23), MCS ([email protected])


ภรณี ทองเย็น
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
พาสุ ชัยหลีเจริญ
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์
ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์

 

BSP

 

adsoptimal100

paidtoclick copy

  

 

0000000000000000000

? 2016 PricewaterhouseCoopers. All rights reserved.

BSP

 

adsoptimal100

 

paidtoclick copy

 

  

loading...

 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!