- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Monday, 01 August 2016 18:25
- Hits: 3044
บล.อาร์เอชบี (ประเทศไทย) : Market Comment
แรงหนุนจากค่าเงินในภูมิภาคที่แข็งค่าขึ้น
ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปิดลบเล็กน้อย ผิดหวังตัวเลข GDP ไตรมาส 2/59 ออกมาต่ำกว่าที่ตลาดคาดไว้มาก ทำให้ DOW JONES, NASDAQ, S&P500 ปิด -24.11%, 0.14%, 0.16%
ตลาดหุ้นยุโรปปิดบวกหลังอีซีบีเปิดเผยผลการทดสอบภาวะวิกฤตในภาคธนาคารของยุโรป ทำให้ DAX, FTSE, CAC40, FTMIB ปิด 0.61%, 0.05%, 0.44%, 1.96%
สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนก.ย. เพิ่มขึ้น 0.46 ดอลลาร์ ปิดที่ 41.60 ดอลลาร์/บาร์เรล ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนก.ย. ลดลง 0.24 ดอลลาร์ ปิดที่ 42.46 ดอลลาร์/บาร์เรล แรงหนุนจากค่าเงินดอลลาร์ที่อ่อนค่า
ตลาดหุ้นไทยวันศุกร์ที่ผ่านมาปรับตัวขึ้นลงในกรอบแคบ และดีกว่าภูมิภาคที่ส่วนใหญ่ปรับตัวลงจากแรงขายทำกำไร หลังธนาคารกลางญี่ปุ่นได้ปรับลดคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อในปี 2559 ลงเหลือ 0.1% จาก 0.5% แต่สำหรับปีหน้ายังคงคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อเอาไว้ที่ระดับเดิมที่ 1.7% นอกจากนี้ยังได้ปรับลดคาดการณ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจในปีนี้ลงสู่ระดับ 1.0% จาก 1.2% เนื่องจากเศรษฐกิจญี่ปุ่นอาจได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจโลก
และผลกระทบจาก Brexit ส่วนผลการประชุมของธนาคารกลางญี่ปุ่นมีมติให้คงฐานเงินรายปีที่ 80 ล้านล้านเยน และคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับ -0.1% แต่ได้ขยายวงเงินในการซื้อกองทุน ETFs จากสถาบันการเงินต่าง ๆ เป็น 6 ล้านล้านเยน และเพิ่มวงเงินในโครงการปล่อยกู้ เพื่อสนับสนุนการดำเนินของบริษัทญี่ปุ่นในต่างประเทศ โดยปรับเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าสู่ระดับ 2.4 หมื่นล้านดอลลาร์ ทั้งนี้ธนาคารกลางญี่ปุ่นเตรียมที่จะประเมินผลการดำเนินโครงการ QE ในเดือนหน้า เพื่อประเมินถึงประสิทธิภาพว่าจะได้ผลหรือไม่ ทางด้านสหรัฐฯ ได้มีการเปิดเผยตัวเลข GDP เบื้องต้นของไตรมาส 2/59 ขยายตัวเพียง 1.2% ต่ำกว่าตัวเลขที่ตลาดคาดการณ์ไว้ที่ระดับ 2.5-2.6% ซึ่งเป็นผลกระทบจากสต๊อกสินค้าคงคลังที่ลดต่ำลงเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2011 หรือลดลงราว 8.1 พันล้านดอลลาร์ จากการชะลอการลงทุนของภาคธุรกิจ เนื่องจากความไม่แน่นอนจากการถอนตัวของอังกฤษออกจาก EU ทำให้การใช้จ่ายของภาคธุรกิจหตัวลงเป็นไตรมาสที่ 3 ติดต่อกัน ยาวนานเทียบกับช่วงที่เกิดเศรษฐกิจสหรัฐฯ ถดถอยในปี 2007-2009 แต่การใช้จ่ายของผู้บริโภคปรับตัวเพิ่มขึ้น 4.2% สูงที่สุดนับตั้งแต่ไตรมาส 4/57 ทำให้หนุนการขยายตัวของ GDP ในไตรมาส 2/59 นอกจากนี้ได้มีการปรับลดตัวเลข GDP ในไตรมาส 1/59 ลงสู่ระดับ 0.8% จากตัวเลขก่อนหน้านี้ที่ขยายตัว 1.1%
ทั้งนี้การลดลงของตัวเลข GDP ไตรมาส 2/59 ทำให้มอร์แกน สแตนลีย์ คาดว่าดอลลาร์มีแนวโน้มที่จะปรับตัวลง 5% ในอีก 2-3 เดือนข้างหน้า หลังเฟดไม่ระบุเวลาที่ชัดเจนในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย และเศรษฐกิจโตน้อยกว่าที่คาดมาก ล่าสุดสัปดาห์นี้ Fed fund futures เดือนก.ย. อยู่ที่ 18.0% จาก 24.41% ส่วนเดือนธ.ค. อยู่ที่ 35.7% จาก 45.1% ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ทางด้านค่าเงินบาทคืนวันศุกร์ที่ผ่านมารวมทั้งเช้าวันนี้มีการแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับค่าเงินดอลลาร์ หลังค่าเงินดอลลาร์ปรับตัวลงแรงเมื่อตลาดรับรู้ตัวเลข GDP ไตรมาส 2/59 ของสหรัฐฯ ส่วนการประชุมกนง. สัปดาห์นี้คาดว่าจะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับเดิม หลังเศรษฐกิจไทยยังคงฟื้นตัวได้อย่างช้า ๆ แต่คาดว่าในช่วงครึ่งปีหลังจะได้แรงหนุนจากความเชื่อมั่นที่เพิ่มขึ้น แต่ยังคงต้องจับตาดูผลประชามติที่จะออกมาในสัปดาห์หน้าด้วย วันนี้คาดว่า ตลาดหุ้นไทยจะขึ้นจำกัด
กลยุทธ์การลงทุน
Trading : ปรับตัวขึ้นไปแถว ๆ 1,524-1,530 จุด แนะนำ ขายทำกำไร
Saravut Tachochavalit, Analyst
TEL : +66 (2) 862-9754 Ext. 9754
EMAIL : [email protected]