- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Monday, 01 August 2016 18:22
- Hits: 2780
บล.เอเชีย เวลท์ : Daily Market Outlook
GDP สหรัฐอ่อนแอช่วยตลาด (อีกที)
คาดหุ้นไทยเริ่มสัปดาห์ใหม่ในวันจันทร์ โดยปรับตัวขึ้นตามตลาดหุ้นโลกหลังจากตัวเลข GDP สหรัฐที่ออกมาน่าผิดหวังในวันศุกร์ ลดโอกาสที่ Fed จะขึ้นดอกเบี้ยในเร็ววันลงอย่างมากและช่วยคลายความวิตกว่าเงินทุนจะไหลออกจากตลาดเกิดใหม่หาก Fed ขึ้นดอกเบี้ย แม้ BOJ ออกมาตรการเพิ่มน่าผิดหวังแต่มาตรการด้านการคลังของ Abe ที่มีขนาดใหญ่มาก ยังคงความหวังอยู่ ปัจจัยภายในประเทศเป็นบวกโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ธปท.ที่มีมุมมองบวกต่อเศรษฐกิจไทยไตรมาส 2 การเปิดประมูลโครงการผลิตไฟฟ้า ทางเลือกรอบใหม่ก็เป็นปัจจัยบวก
หุ้นเด่นวันนี้ : SPALI (Bt24.90; BUY; AWS 16TP Bt29.00)
เราเลือก SPLAI เป็น Top pick ในกลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์จากการที่บริษัทมีแนวโน้มผลประกอบการที่แข็งแกร่ง คาดผลประกอบการไตรมาส 2/59 ออกมาสดใสและคาดว่าดีต่อเนื่องไปในช่วงครึ่งหลังปี 2559 บริษัทวางแผนที่จะเปิดตัวหลายโครงการ ในช่วงครึ่งหลังของปี 2559 โดยมี Highlight ที่ 4 โครงการคอนโดมิเนียมที่น่าสนใจ ได้แก่ ศุภาลัย ซิตี้ รีสอร์ท พระราม 8 ( มูลค่าโครงการ 1.2 พันล้านบาท) , ศุภาลัยปาร์ค รัชวิภา (3.2 พันล้านบาท) ศุภาลัย วีรันดา พระราม 9 (3.6 พันล้านบาท) และ สุขุมวิท 39 (7.5 พันล้านบาท ราคาขายเริ่มต้นตั้งแต่ 100,000 บาท ต่อตารางเมตร )สองโครงการแรกเริ่มเปิดขาย 29-31 ก.ค.นี้ ส่วนสองโครงการหลังจะเปิดขายในช่วงไตรมาส 4/59 ซึ่งจุดเด่นของ SPALI เป็นที่รู้จักกันดีในเรื่องราคาขายต่อตารางเมตรที่น่าสนใจและทำเลที่ตั้งโครงการดี เป็นความได้เปรียบคู่แข่งขัน นอกจากนี้บริษัทควบคุมค่าใช้จ่ายดี ทำให้คาดว่าอัตรากำไรขั้นต้นของโครงการคอนโดมีเนียมของ SPALI จะกลับขึ้นไปสูงถึง 40% ได้อีก (ปัจจุบัน 38.6%) สถานการณ์ของธุรกิจ SPALI มีแนวโน้มดีขึ้นมาก รวมทั้งโครงการแนวราบก็ดีขึ้นทั้ง QoQ และ YoY ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด เรามองว่าเป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้นสำหรับช่วงเวลาที่เหลือของปี 2559 โดยเฉพาะโครงการขนาดใหญ่บนถ.สุขุมวิท 39 เราคาดว่า กำไรสุทธิของ SPALI จะเติบโตอย่างแข็งแกร่ง 14.5 % ในปีนี้ และ 10.4 % ในปี 2560 โดยราคาหุ้นปัจจุบันซื้อขาย อยู่ที่ PER เพียง 8.5 เท่า ในปี 2559 ลดลง ไป 7.7 เท่า ในปี 2560 ซึ่งเทียบเป็น PEG ที่ 0.59x ในปี 2559 และ 0.74 ในปี 2560 ให้ราคาเป้าหมายที่ 29.00 บาท จากค่าเฉลี่ย PER ในอดีตที่ 10 เท่า มี Upside Gain ประมาณ 16.5 % บวกอัตราเงินปันผลตอบแทน 4.3% ต่อปี แนวโน้มทางเทคนิค Price Pattern ของ SPALI ยังคงมีความแข็งแกร่งอย่างมากในแนวโน้มขาขึ้น (Uptrend) จากการเกิดทั้ง Weekly & Monthly Buy Signal โดยรอเพียงการกลับมาเกิด Daily Buy Signal ครั้งใหม่ก็จะบ่งบอกว่าการปรับฐานระยะสั้นได้จบแล้ว ซึ่งหาก Price Pattern ของ SPALI สามารถปิดตลาดได้เหนือ 25 บาท ก็จะทำให้กลับมาเกิด Daily Buy Signal ครั้งใหม่ โดยเมื่อพิจารณา Price Pattern ของ SPALI หากสามารถกลับมาเกิด Daily Buy Signal ครั้งใหม่ คาดว่าจะได้เห็นการทำ New High ครั้งใหม่ โดยมีเป้าหมายแรกเพื่อทดสอบ High เดิมที่ 27.50 บาท และมีเป้าหมายแรกของการทำ New High อยู่ที่ 30.75 บาท (Resistance: 25.00, 25.25, 25.50; Support: 24.70, 24.50, 24.30)
ปัจจัยสำคัญ
ประเด็นในประเทศ :
ธปท. มีมุมมองเชิงบวกต่อเศรษฐกิจไทยงวด 2Q59 เจ้าหน้าที่อาวุโสของธนาคารแห่งประเทศไทยประเมินการขยายตัวของเศรษฐกิจงวด 2Q59 ว่าจะมากกว่าการขยายตัวในช่วง 1Q59 ที่ 3.2% ซึ่งจะได้แรงหนุนในประเทศเป็นหลัก ผ่านการใช้จ่ายภาครัฐ ภาคการท่องเที่ยว และการบริโภคภาคเอกชน ทั้งนี้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติมีกำหนดจะประกาศรายงาน GDP งวด 2Q59 ในวันที่ 15 ส.ค. นี้ (Bangkok Post) ความเห็น: ประเด็นดังกล่าวนับเป็นการสะท้อนให้เห็นว่าเศรษฐกิจกำลังฟื้นตัว ขณะที่การใช้จ่ายภาครัฐเริ่มส่งผลบวกให้เห็น
รัฐบาลเตรียมเปิดประมูลการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เตรียมเปิดประมูลโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทน กำลังการผลิตรวมกว่า 1,000 เมกะวัตต์ มูลค่ารวม 6.0 หมื่นลบ. โดยการประมูลจะมีขึ้นภายในปีนี้ โดยโครงการค่างๆ ประกอบด้วย (1) โรงไฟฟ้าพลังงานชีวมวล 36 เมกะวัตต์ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ (2) โรงไฟฟ้าพลังงานชีวมวลและชีวภาพ 400 เมกะวัตต์ทั้งประเทศ (3) โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ 400 เมกะวัตต์ภาตใต้การลงทุนของหน่วยงานภาครัฐ (4) โรงไฟฟ้าพลังงานขยะจากขยะอุตสาหกรรม 50 เมกะวัตต์ และ (5) การผลิตไฟฟ้าจากขยะในเมือง 130 เมกะวัตต์ (Bangkok Post) ความเห็น: บริษัทผู้ประกอบการที่น่าจะได้รับประโยชน์จากประเด็นดังกล่าวได้แก่ (1) ผู้รับเหมาก่อสร้างโครงการแบบ EPC อาทิ: GUNKUL (5.50 บ. ซื้อ ราคาเป้าหมาย AWS 6.51 บ.), DEMCO, TPOLY (2) ผู้ผลิตไฟฟ้าที่มีศักยภาพ อาทิ: TPCH (18.50 บ. ซื้อ ราคาเป้าหมาย AWS 24.16 บ.), BWG.
ความคาดหวังต่อสินค้าแฟชั่นของไทย สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) คาดการส่งออกสินค้าแฟชั่นของประเทศจะมีมูลค่าถึง 1 ล้านล้านบาทต่อปีในอีก 5 ปีข้างหน้าจากการที่ประเทศมีความสามารถแข่งขันเพิ่มขึ้น เป้าหมายดังกล่าวมากกว่ามูลค่าการส่งออกสินค้าแฟชั่นในปัจจุบันของไทยที่ 6.2 แสนล้านบาท ประธานทีดีอาร์ไอกล่าวอีกว่าอุตสาหกรรมแฟชั่นไทยควรจะเข้าบุกตลาดประเทศอาเซียนมากขึ้นเนื่องจากเศรษฐกิจประเทศเหล่านี้กำลังอยู่ในขาขึ้น (Bangkok Post)
ต่างประเทศ
ตัวเลขจีดีพีที่น่าผิดหวังทำให้โอกาสที่ Fed ขึ้นอัตราดอกเบี้ยลดลง นักลงทุนมองว่ามีโอกาส 30% ที่ Fed จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนธ.ค. เทียบกับต้นสัปดาห์ก่อนที่มองว่ามีโอกาส 50% หลังจากการประกาศอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจไตรมาส 2/59 ที่น่าผิดหวัง (Reuters)
ราคาพันธบัตรสหรัฐปรับตัวขึ้นเมื่อวันศุกร์ เนื่องจากตัวเลขจีดีพีสหรัฐที่น่าผิดหวังทำให้เทรดเดอร์ลดความคาดหวังว่า Fed จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยในอีก 2-3 เดือนข้างหน้า ราคาพันธบัตรสหรัฐอายุ 10 ปีเพิ่มขึ้น 17/32 อัตราผลตอบแทนอยู่ที่ 1.451% ต่ำสุดนับแต่วันที่ 12 ก.ค. ส่วนอัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 2 ปี ลดลง 5.5 pp อยู่ที่ 0.663% ต่ำสุดในรอบกว่า 1 สัปดาห์ (Reuters)
ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อวันศุกร์จากตัวเลขจีดีพีไตรมาส 2 ของสหรัฐที่ต่ำกว่าคาด ส่วนเงินเยนแข็งค่าขึ้นหลังจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ) ทำให้นักลงทุนผิดหวัง ดัชนีค่าเงินดอลลาร์ปรับตัวลง 1.22% อยู่ที่ 96.566 จุด ต่ำสุดนับแต่วันที่ 5 ก.ค.(Reuters)
สหรัฐ :
ดัชนีตลาดหุ้นสหรัฐปิดทั้งบวกและลบเมื่อวันศุกร์ โดยดัชนีดาวโจนส์ปรับตัวลง ส่วนดัชนี S&P500และดัชนี NASDAQ ปิดเพิ่มขึ้นเนื่องจากการพุ่งขึ้นของหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี หลังจากบริษัทอัลฟาเบท และอเมซอน เปิดเผยผลประกอบการที่แข็งแกร่งได้ชดเชยหุ้นกลุ่มพลังงานที่ปรับตัวลง บ. อัลฟาเบท ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของกูเกิล อิงค์เปิดเผยผลประกอบการรายไตรมาสที่แข็งแกร่ง ขณะที่หุ้นอเมซอนเผยประมาณการผลประกอบการไตรมาส 2/59 ที่แข็งแกร่ง(Reuters)
กำไรสุทธิรวมของบริษัทที่ใช้ในการคำนวณดัชนี S&P500 ในขณะนี้คาดว่าจะลดลง 3.7% มากกว่าเดิมที่มีการคาดการณ์เมื่อวันพฤหัสที่แล้วว่าจะลดลง 2.8% จากข้อมูลของ Thomson Reuters I/B/E/S (Reuters)
เศรษฐกิจสหรัฐในไตรมาส 2/59 ขยายตัวน้อยกว่าที่คาดเนื่องจากได้รับผลกระทบจากสต็อกสินค้าคงคลังที่ลดต่ำลงเป็นครั้งแรกในรอบเกือบ 5 ปี แต่ตัวเลขการใช้จ่ายของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้นชี้ให้เห็นว่าเศรษฐกิจยังมีความแข็งแกร่งอยู่ ตัวเลขจีดีพีประจำไตรมาส 2/59 ขยายตัวเพียง 1.2% ซึ่งต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ที่ระดับ 2.6% นอกจากนี้ ประมาณการตัวเลขจีดีพีในไตรมาส 1/59 ถูกปรับลดลงสู่ระดับ 0.8% จากรายงานก่อนหน้านี้ทีประมาณการว่าขยายตัว 1.4% หากไม่นับสินค้าคงคลัง เศรษฐกิจขยายตัวในอัตรา 2.4% สต็อกสินค้าคงคลังของธุรกิจต่าง ๆ ลดลง 8.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในไตรมาส 2/59 ซึ่งลดลงเป็นครั้งแรกนับแต่ไตรมาส 3/54 โดยลดลงจากที่ระดับ 4.07 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐในไตรมาส 1/59 จึงเป็นผลให้การลงทุนในสินค้าคงคลังลดลง 1.16 pp จากการขยายตัวของจีดีพีในไตรมาส 2/59 (Reuters)
การใช้จ่ายผู้บริโภคสหรัฐเพิ่มขึ้น การใช้จ่ายผู้บริโภคซึ่งคิดเป็น 2 ใน 3 ของกิจกรรมทางเศรษฐกิจสหรัฐเพิ่มขึ้นในอัตรา 4.2% มากที่สุดนับแต่ไตรมาส 4/57 และเป็นเหตุของการขยายตัวของจีดีพีสหรัฐในไตรมาส 2/59 (Reuters)
ยุโรป :
ตลาดหุ้นยุโรปเมื่อวันศุกร์ปรับตัวสูงขึ้น นำโดยแนวโน้มผลประกอบการที่แข็งแกร่งของบริษัทจดทะเบียน รวมไปถึงแรงหนุนในช่วงท้ายตลาดหลังมีรายงานผลการทำ Stress test ของธนาคารในยุโรปซึ่งออกมาในเชิงบวก (Reuters)
ผลทดสอบ Stress test ชี้ธนาคารส่วนใหญ่ในยูโรโซนยังมีสถานะแข็งแกร่ง ธนาคารกลางยุโรป (ECB) เปิดเผยผลการทดสอบภาวะวิกฤต หรือ Stress test ในภาคธนาคารของยูโรโซน 51 แห่ง โดยระบุว่า ธนาคารส่วนใหญ่มีความแข็งแกร่งเพียงพอที่จะสามารถต้านทานการทรุดตัวของเศรษฐกิจ และภาวะผันผวนในตลาดการเงิน ขณะที่ Moody’s ชี้ให้เห็นถึงพัฒนาการเชิงบวกของภาคธนาคารในยูโรโซนนับตั้งแต่ทำการทดสอบเมื่อปี 2557 (Reuters)
เอเชีย :
การใช้จ่ายในครัวเรือนปรับลดมูลค่าแท้จริงของญี่ปุ่นลดลง 2.2%YoY ในเดือนมิ.ย. จากข้อมูลของรัฐบาลที่เปิดเผยมาในวันศุกร์ ซึ่งเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยคาดการณ์ว่าลดลงเพียง 0.3% (Reuters)
BOJ น่าผิดหวัง: BOJ ประกาศการซื้อ ETFs เพิ่มขึ้นเล็กน้อยในวันศุกร์ แต่ยังคงเป้าหมายฐานเงินที่ 80 ล้านล้านเยน (775 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) เช่นเดียวกับการก้าวเข้าไปซื้อสินทรัพย์อื่น รวมทั้งพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่น BOJ ยังคงอัตราดอกเบี้ยติดลบ ที่ -0.1% (Reuters)
กิจกรรมในภาคการผลิตของจีนหดตัวโดยไม่คาดคิดเล็กน้อย ในเดือน ก.ค. จากเดือนก่อนหน้านี้ ซึ่งเป็นการสำรวจอย่างเป็นทางการในวันจันทร์ PMI อย่างเป็นทางการอยู่ที่ระดับ 49.9 ในเดือน ก.ค. เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า 50.0 โดยระดับต่ำกว่า 50.0 แสดงการเจริญเติบโตที่หดตัว นักวิเคราะห์คาดการณ์ 50.0(Reuters)
สินค้าโภคภัณฑ์ :
ราคาน้ำมันดิบเมื่อวันศุกร์ทรงตัว หลังจากปรับตัวลดลงต่อเนื่องในช่วงสัปดาห์จนแตะระดับต่ำสุดในรอบ 3 เดือน และส่งผลให้เป็นการปรับตัวลดลงในรายเดือนถึง 15% มากที่สุดในรอบปีนี้ โดยราคาน้ำมันดิบ Brent ล่วงหน้าปรับตัวสูงขึ้น 0.30 ดอลลาร์ฯ ต่อบาร์เรล มาอยู่ที่ 43.53 ดอลลาร์ฯ ต่อบาร์เรล ขณะที่ราคาน้ำมันดิบสหรัฐฯ ล่วงหน้าปรับตัวสูงขึ้น 0.46 ดอลลาร์ฯ ต่อบาร์เรล (+1.0%) มาอยู่ที่ 41.60 ดอลลาร์ฯ ต่อบาร์เรล (Reuters)
ราคาทองคำเมื่อวันศุกร์ปรับตัวสูงขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบเกือบ 3 สัปดาห์ หลังจากการขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ งวด 2Q59 ออกมาน้อยกว่าคาด กดดันค่าเงินดอลลาร์ โดยราคาทองคำตลาดจรปรับตัวสูงขึ้น 1.4% มาอยู่ที่ 1,353.44 ดอลลาร์ฯ ต่อออนซ์ ขณะที่ราคาทองคำสหรัฐฯ ปรับตัวสูงขึ้น 1.3% มาอยู่ที่ 1,349 ดอลลาร์ฯ ต่อออนซ์ (Reuters)
Mr. Warut Siwasariyanon (No.17923) Tel: 02 680 5041
Mr. Krit Suwanpibul (No.17968) Tel: 02 680 5090
Mrs. Vajiralux Sanglerdsillapachai (No. 17385) Tel: 02 680 5077
Mr. Narudon Rusme, CFA (No.29737) Tel: 02 680 5056
Mr. Napat Siworapongpun, FRM (No.49234) Tel: 02 680 5094