WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน

กลยุทธ์การลงทุน
      แรงขายรับงบภาคการผลิตและเงินบาทแข็งค่าต่อ กดดันหุ้นส่งออก (โดยเฉพาะหุ้นมี upside จำกัด KCE, DELTA, HANA) แนะนำ switch มาหุ้น Growth stock หรือ P/E ต่ำ + ปันผลสูง แต่ราคาหุ้นยังมี upside สูง และยังเลือก SINGER(FV@B25) ในฐานะเป็น Growth stock

รัฐธรรมนูญชั่วคราวมีผลบังคับ ให้ความสำคัญกับการปฎิรูป และร่างรัฐธรรมนูญ
      เมื่อวันที่ 22 ก.ค.2557 ซึ่งเป็นวันครบรอบ 2 เดือนของการเข้าควบคุมการบริหารราชการของ คสช. ได้มีการลงประกาศ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) ในราชกิจจานุเบกษา ซึ่งทำให้รัฐธรรมนูญมีผลบังคับใช้ หลังจากนี้จะเห็นความคืบหน้าของการดำเนินการต่างๆ เพื่อนำไปสู่การปฎิรูปอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งน่าจะมีลำดับดังนี้
      1. การแต่งตั้ง สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ซึ่งกำหนดให้มีจำนวนสมาชิก 220 คน โดยที่ หัวหน้า คสช. จะเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่ตั้ง สมาชิก สภานิตบัญญัติแห่งชาติ และประธานสภา และ รองประธานสภา ทั้งนี้สภานิติบัญญัติแห่งชาติจะทำหน้าที่เสมือน สภาผู้แทนราษฎร์, วุฒิสภา และ รัฐสภา กล่าวคือทำหน้าที่ในการพิจารณากฎหมายต่างๆ นอกจากนี้ ยังจะทำหน้าที่ในการให้ความเห็นชอบบุคคลที่จะเข้ามาทำหน้าที่นายกรัฐมนตรี โดยที่ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ ทั้งนี้ ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
       2. การจัดตั้งรัฐบาล เมื่อ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ เสนอชื่อบุคคลที่จะเป็นนายกรัฐมนตรี และได้รับการโปรดเกล้าฯ แล้ว นายกรัฐมนตรี จะแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีอีก ไม่เกิน 35 คน
       3. การจัดตั้งสภาปฎิรูปแห่งชาติ ซึ่งมีจำนวนสมาชิกไม่เกิน 250 คน โดยที่ พระมหากษัตริย์ ทรงแต่งตั้ง ตามที่ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ถวายคำแนะนำ ทั้งนี้ สภาปฎิรูป จะมีหน้าที่หลักในการเสนอความเห็นหรือข้อเสนอแนะต่อ กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อประโยชน์ในการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ โดยที่ สภาปฎิรูปฯ ต้องเสนอความเห็นดังกล่าวถายใน 60 วัน นับแต่วันที่มีการประชุมครั้งแรก และเมื่อ ร่างรัฐธรรมนูญเสร็จแล้ว ให้ สภาปฎิรูปพิจารณาให้ความเห็นชอบ หรือ ให้ทำการปรับปรุง แก้ไข เพิ่มเติมตามสมควร
     4. การจัดตั้ง กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ จะมีจำนวนสมาชิก 36 คน แต่งตั้งโดย สภาปฎิรูปแห่งชาติ ซึ่งต้องดำเนินการภายใน 15 วัน นับแต่มีการเรียกประชุมครั้งแรก โดยกรรมาธิการจะมีองค์ประกอบมาจากผู้ที่สภาปฎิรูปเสนอ 20 คน, ผู้ที่ สนช. คณะรัฐมนตรี และ คสช. เสนอ ฝ่ายละ 5 คน ส่วนประธาน จะถูกเสนอชื่อโดย คสช.
       ภายใต้รัฐธรรมนูญดังกล่าว คสช. ยังถือเป็นองค์กรที่มีอำนาจในการเข้ามาบริหารจัดการประเทศ ควบคู่ไปกับรัฐบาล และที่น่าจะถือเป็นปัจจัยบวกและสร้างความเชื่อมั่นได้เป็นอย่างดี การกำหนดกรอบเวลาต่างๆ ที่มีความชัดเจน และ รวดเร็ว หากกระบวนการต่างๆ ดำเนินไปด้วยความราบรื่น ก็น่าจะนำไปสู่การจัดการเลือกตั้งได้ในช่วงครึ่งหลังของปี 2558 ซึ่งเป็นผลดีต่อบรรยากาศการลงทุน แต่ก็ยังต้องติดตามความคืบหน้าในแต่ละขั้นตอนต่อไป

ญี่ปุ่นปรับลด GDP vs สหรัฐยังแข็งแกร่ง
      ท่ามกลางการรายงานดัชนีชี้นำเศรษฐกิจสหรัฐยังฟื้นตัวต่อเนื่อง โดยเฉพาะตลาดบ้านมือสองล่าสุดพบว่าเดือน มิ.ย. เพิ่มขึ้น 2.6%mom ทำสถิติสูงสุดในรอบ 8 เดือน ตามการฟื้นตัวของตลาดแรงงาน ซึ่งล่าสุดพบว่าอัตราการว่างเงินอยู่ที่ 6.1% และน่าจะมีแนวโน้มลดลงใกล้เคียงระดับ 5.5% ก่อนเกิดวิกฤติซับไพร์ม และเช่นเดียวกับเงินเฟ้อล่าสุดเดือน มิ.ย. ยังคงปรับตัวขึ้น 2.1%yoy ใกล้เคียงเดือนก่อนหน้า (และเพิ่มเพียง 0.3%mom ชะลอตัวลงจาก 0.4%mom ในเดือน พ.ค.) โดยมีสาเหตุจากราคาน้ำมันเบนซิน (มีสัดส่วน 2 ใน 3 ของการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าทุกประเภท) ที่เพิ่มขึ้น 3.3% อัตราเงินเฟ้อถือเป็นดัชนีอีกประการหนึ่งที่ธนาคารกลางสหรัฐ (FED) จะใช้ควบคู่ไปกับอัตราการว่างงาน เพื่อกำหนดทิศทางของดอกเบี้ยนโยบาย กล่าวคือ อัตราเงินเฟ้อต่ำใกล้เคียง 2% และยังคงใช้ต่อไปจนถึงปี 2558 ทั้งนี้ถือว่าเป็นแนวคิดนี้ขัดแย้งกับตลาดที่คาดว่า อัตราดอกเบี้ยนโยบายที่อยู่ระดับต่ำมานานว่า 5 ปี น่าจะถูกปรับขึ้นในช่วง 1Q58 - 3Q58 หลังจากตัดลด QE สิ้นสุดราวเดือน ต.ค. ซึ่งเชื่อว่าการขึ้นดอกเบี้ยนโยบายที่เร็วกว่าคาด ยังเป็นปัจจัยกดดันตลาดหุ้นโลก ทั้งนี้ติดตามผลการประชุมคณะนโยบายการเงิน FOMC ระหว่างวันที่ 29 - 30 ก.ค. นี้
       ขณะที่รัฐบาลญี่ปุ่น ปรับลดการขยายตัวทางเศรษฐกิจปี 2557 เหลือ 1.2% จากเดิม 1.4% อันเป็นผลกระทบจากการขึ้นภาษีขายอีก 3% ในวันที่ 1 เม.ย. ที่ผ่านมา เนื่องจากคาดว่าจะเกิดผลกระทบต่อการชะลอตัวของการบริโภค (คิดเป็น 60% ของ GDP) ซึ่งในเดือน พ.ค. ลดลง 8%mom ดังนั้น เพื่อให้สอดคล้องกับที่คาด เศรษฐกิจในอีก 3 ไตรมาสที่เหลือต้องขยายตัวเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 0.7% (ลดลงจากก่อนหน้าที่คาดว่าจะขยายตัว อย่างต่ำไตรมาสละ 1%) ขณะที่แรงกดดันเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้น หลังจากอัตราเงินเฟ้อ ล่าสุดเดือน พ.ค. 3.4% ทำสถิติสูงสุดในรอบ 32 ปี และทำให้อัตราเงินเฟ้อในช่วง ม.ค.- พ.ค. อยู่ที่ 2.8% ทำให้โอกาสเพิ่มมาตรการ QE จากปัจจุบัน 60-70 ล้านล้านเยนยากขึ้น แต่น่าจะมุ่งไปที่การตัดลดภาษีนิติบุคคลให้เหลือต่ำกว่า 30% จากปัจจุบัน 36% ซึ่งผล จากการสำรวจนักเศรษฐศาสตร์บลูมเบิร์กบางส่วนคาดว่าจะเกิดขึ้นราว เดือน ต.ค. และ ส่วนใหญ่ คาดว่าจะเกิดขึ้นในสิ้นปี 2557 ถือว่าเป็นปัจจัยบวกต่อตลาดหุ้นเล็กน้อย

ผลกำไรหุ้นภาคการผลิตงวด 2Q57 ยังไม่สดใส
       หลังจากนักวิเคราะห์ ASP ทยอยทำประมาณการกำไรงวด 2Q57 ของหุ้นที่มิใช่ธนาคารพาณิชย์ เริ่มเห็นภาพที่ไม่ค่อยสดใสนัก โดยเฉพาะหุ้นในกลุ่มวัสดุก่อสร้าง พบว่าได้รับผลกระทบจากปัญหาการเมืองในช่วงที่ผ่านมา โดยเฉพาะ SCC กำไรต่ำกว่าคาด ทำให้นักวิเคราะห์ ASP ได้ปรับลดประมาณการลงราว 14% และ 7.5% ในปี 2557 และ 2558 ตามลำดับ แต่มีแนวโน้มดีขึ้นในงวด 4Q57 แต่ยกเว้น SCCC แม้กำไรงวด 2Q57 หดตัวลง แต่ฝ่ายวิจัยปรับเพิ่มประมาณการปี 2557 ขึ้น 7% (แต่ปรับคำแนะนำเป็น ถือ เนื่องจากราคาเต็มมูลค่าแล้ว) เช่นเดียวกับกลุ่มปิโตรเคมี กำไรกลุ่มลดลงกว่า 14% จากการลดลงของ PTTGC นำไปสู่การปรับลดประมาณการปี 2557 ลง 11.89% กลุ่มพลังงาน หลักๆ มาจากปรับลดกำไรปี 2557 ของ TOP และ IRPC ลง 29.5% และ 24.7% ตามลำดับ กลุ่มประกันฯ หลักๆ มาจากการปรับลด THRE มาเป็นขาดทุนในปีนี้จากการบันทึกค่าใช้จ่ายโอนหนี้
       อย่างไรก็ตาม กลุ่มที่มี Market cap ขนาดใหญ่นำตลาด อย่าง ธ.พ. และอสังหาฯ คาดการณ์กำไรเพียงทรงตัวไม่โดดเด่นในงวดนี้ เนื่องมาจากปัญหาเศรษฐกิจที่ซบเซาและผลกระทบจากการเมืองที่ต่อเนื่องมาถึงงวด 2Q57 แต่คาดว่ากลุ่มดังกล่าวน่าจะสามารถฟื้นตัวได้ในช่วง 2H57 กลยุทธ์การลงทุนจึงควรเลือกลงทุนเป็นรายตัว โดยเน้นเลือกหุ้นที่มีแนวโน้มผลประกอบการงวด 2Q57 เติบโต มี P/E ต่ำ Div Yield สูง

เงินบาทแข็งค่าต่อ ตาม Fund Flow ที่เข้าทั้งหุ้นและตราสารหนี้
        วานนี้นักลงทุนต่างชาติยังคงซื้อหุ้นในภูมิภาคติดต่อกันเป็นวันที่ 9 ราว 408 ล้านเหรียญฯ (เพิ่มขึ้นจากวันก่อนหน้าเกือบ 4 เท่าตัว) เริ่มจากไต้หวันสลับมาซื้อสุทธิราว 231 ล้านเหรียญฯ (ซื้อสลับขาย 5 วันหลังสุด) ตามมาด้วยเกาหลีใต้ที่ยังคงซื้อสุทธิเป็นวันที่ 9 ราว 136 ล้านเหรียญฯ (เพิ่มขึ้น 50%) ส่วนไทย ยังซื้อสุทธิเป็นวันที่ 11 เช่นกัน ราว 54 ล้านเหรียญฯ (1.7 พันล้านบาท ยอดซื้อเพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่าจากวันก่อนหน้า) และอินโดนีเซียสลับมาซื้อสุทธิเล็กน้อยราว 1 ล้านเหรียญฯ สวนทางกับฟิลิปปินส์ที่ยังคงขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 4 ราว 18 ล้านเหรียญฯ (ลดลง 22% จากวันก่อนหน้า)
       ขณะที่ในตลาดหุ้นไทย กลุ่มนักลงทุนที่ขายสุทธิกดดันดัชนีหุ้นไทยอย่างต่อเนื่องในช่วงหลังคือกลุ่มนักลงทุนสถาบัน ที่วานนี้ขายสุทธิออกมาอีก 2.1 พันล้านบาท เป็นขายขายสุทธิถึง 6 วันติดต่อกัน รวม 1.1 หมื่นล้านบาท แต่นักลงทุนกลุ่มนี้ยังคงมียอดซื้อสุทธิสะสมตั้งแต่ต้นปี สูงถึง 3.2 หมื่นล้านบาท ทำให้ยังเชื่อว่าแรงขายจากนักลงทุนกลุ่มนี้ยังคงหลงเหลืออยู่ สวนทางกับนักลงทุนต่างชาติที่ซื้อสุทธิต่อเนื่องถึง 15 จาก 16 วันหลังสุด รวมกว่า 2.3 หมื่นล้านบาท เช่นเดียวกับในตลาดตราสารหนี้ วานนี้ต่างชาติซื้อสุทธิอย่างหนักถึง 2.4 หมื่นล้านบาท (ต่อเนื่องเป็นวันที่ 18 รวม 1.4 แสนล้านบาท) ซึ่งเป็นยอดซื้อสุทธิสูงสุดในรอบกว่า 10 เดือน ส่งผลให้ค่าเงินบาทยังคงแข็งค่าขึ้นต่อเนื่องแตะระดับ 31.77 บาทต่อเหรียญฯ

ยังแนะขายหุ้นส่งออกจากเงินบาทแข็ง และ upside น้อย KCE, HANA, DELTA
       ดังที่นำเสนอไปแล้ววานนี้ถึงภาวะสกุลเงินเอเซียมีแนวโน้มแข็งค่า เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ โดยเช้านี้เงินบาทยังมีแนวโน้มแข็งค่ามากสุดในภูมิภาค โดยอยู่ที่ 31.78 บาท เทียบกับ 31.9 บาท เมื่อวานนี้ ตามมาด้วยรูเปียะห์ของอินโด ขณะที่ประเทศอื่นๆ เริ่มทรงตัว เช่นเดียวกับ Dollar Index ที่มีแนวโน้มแข็งค่า เมื่อเทียบกับสกุลคู่ค้าหลักๆ 6 สกุล (โดย weight สกุลยูโรมากสุด) ทำให้ภาพรวมนับจากต้นปี จนถึงปัจจุบัน พบว่าเงินบาทที่แข็งค่ากว่า 2.5% โดยแข็งค่าลำดับที่ 3 ตามหลังเงินรูเปียห์ของอินโดนีเซีย ที่แข็งค่าขึ้น 5.2% และ เงินริงกิตของมาเลเซียที่ 3.35% (ฟิลิปปินส์แข็งค่าเป็นลำดับ 4 ราว 2.2%) โดยที่เงินบาทเทียบกับดอลลาร์ เฉลี่ยจากต้นปีจนถึงปัจจุบันอยู่ที่ 32.5 บาท (ytd) ซึ่งต่ำกว่าสมมติฐานของ ASP ที่กำหนดไว้ 33 บาท/ดอลลาร์ ในปี 2557 และ 2558 โดยหากจะให้เป็นไปตามสมมติฐานของ ASP การเคลื่อนไหวของเงินบาทในช่วงที่เหลือของปีนี้ต้องเฉลี่ยเกินกว่า 33.5 บาทต่อดอลลาร์ ซึ่งก็ต้องเกิดขึ้นสถานเดียวคือ ต้องเกิดภาวะเงินทุนไหลออก ซึ่งก็ต้องมีปัจจัยเร่งเช่น การถอนเงินกลับ เนื่องจากการขึ้นดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐที่เร็วกว่าตลาดคาด เป็นต้น
        ในสถานการณ์นี้น่าจะกดดันต่อภาคส่งออก โดยเฉพาะที่มีรายได้ในรูปดอลลาร์ ขณะที่มีต้นทุนเป็นบาท ในสัดส่วนที่มากกว่ารายได้ เงินบาทที่แข็งค่าจะทำให้ประสิทธิภาพการทำกำไรมีแนวโน้มลดลง ซึ่งน่าจะเห็นผลกระทบในงวด 3Q57 เป็นต้นไป ซึ่งอาจจะไปหักล้างประเด็นบวก จากการที่เศรษฐกิจโลกที่มีสัญญาณฟื้นตัวที่ขึ้นชัดเจนในงวด 2H57 ทั้งนี้หุ้นที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบมากสุดคือ กลุ่มชิ้นส่วนอิเล็คโทนิกส์ ซึ่งจากการศึกษาของนักวิเคราะห์ ASP พบว่าทุกๆ 1 บาท ที่แข็งค่า จะทำให้กำไรสุทธิลดลงจากเดิมเฉลี่ย 5.4% เรียงลำดับที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดเรียงจากมากไปน้อย ได้แก่ HANA(FV@B40) -6.2%, DELTA([email protected]) -5.7%, KCE([email protected]) -5.5%, SVI([email protected]) -5.2% และ SMT([email protected])-4.9% รองลงมาคือกลุ่มอาหารและเกษตร ซึ่งจากการศึกษาพบว่าทุกๆ 1 บาท ที่แข็งค่า จะทำให้กำไรสุทธิลดลงจากเดิมเฉลี่ย 3.8% เรียงลำดับจากมากที่สุดไปน้อยที่สุด ได้แก่ STA([email protected]) -6.7%, KSL([email protected]) -5.7%, CPF(FV@B28) -3.2%, TUF(FV@B76) -3.3% และ GFPT([email protected]) -2.9% เป็นต้น และ หากพิจาราคาตลาดตลาดเทียบกับ Fair Value พบว่าส่วนใหญ่มี upside จำกัด จึงแนะนำให้ใช้ในสถานการณ์ปรับพอร์ตขายระยะสั้น ได้แก่ KCE, HANA DELTA และ รองลงมาคือ STA, KSL

ภรณี ทองเย็น, CISA เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
พบชัย ภัทราวิชญ์
กษิดิ์เดช รัตนสมบูรณ์
มาราพร กี้วิริยะกุล

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!