- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Thursday, 14 July 2016 17:44
- Hits: 1728
บล.ดีบีเอสวิคเคอร์ส : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน
'เลือกซื้อ/ถือเมื่อ SET เหนือ 1460'
• หุ้นที่เปลี่ยนคำแนะนำทางปัจจัยพื้นฐานวันนี้ : ไม่มี
ปัจจัย&กลยุทธ์ทางปัจจัยพื้นฐาน : ตลาดหุ้นไทยเมื่อวานนี้ขยับขึ้นต่อ 2.69 จุดปิดที่ 1477.61 นักลงทุนต่างชาตินำซื้อสุทธิ 4.6 พันล้านบาทเป็นวันที่สอง ส่วนอีก 3 กลุ่มที่เหลือขายสุทธิ หุ้นที่ปรับขึ้นกระจายตัวและส่วนใหญ่เป็น Mid-Small Cap ทั้งนี้ตลาดรอผลประชุม BOEว่าจะมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมหรือไม่ โดยนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดไว้ว่าอาจลดดอกเบี้ยนโยบายจาก 0.5% เป็น 0.25% ในรอบนี้ ส่วนการขยายวงเงิน QE น่าจะเป็นรอบต่อไป
ในช่วงนี้ ปัจจัยภายนอกที่ติดตาม คือ ผลประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางประเทศใหญ่ๆ เช่น BOE-ประชุมวันนี้, FED-ประชุม 26-27ก.ค., BOJ-ประชุม 27-28 ก.ค. ฯลฯ, ทิศทางราคาน้ำมันซึ่งมีแนวโน้มว่าอาจผันผวน/อ่อนลงใน 3Q59 หลังอุปทานเพิ่มขึ้น, ปัญหาภาคการเงินของอิตาลี (ขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 3 ของ EU) ซึ่งขณะนี้มี NPL ในสินเชื่อบริโภคสูงถึง 18.1% ส่วนการปรับขึ้นดอกเบี้ยของเฟดผ่อนคลายลง หลังมี Brexit และเฟดระบุใน Beige Book ว่าเศรษฐกิจสหรัฐขยายตัวเพียงเล็กน้อย การบริโภคอ่อนแอลง และยังไม่มีสัญญาณการพุ่งขึ้นของเงินเฟ้อในเร็วๆนี้ สำหรับในประเทศ ยังเป็นการเลือกซื้อเก็งกำไรผลประกอบการ 2Q59 และมีความหวังว่า FundFlow จะยังเข้ามาในตลาดหุ้นไทย กลยุทธ์ : เลือกซื้อ/ถือหุ้นพื้นฐานดีเมื่อ SET ยังสามารถยืนเหนือ 1460 จุดได้ สำหรับหุ้นเชิงกลยุทธ์แนะนำวันนี้เป็น TU
การวิเคราะห์ทางเทคนิค : ภาพตลาดเป็นบวก แต่ควรระวังการแกว่งจากแรงขายทำกำไร การซื้อใหม่จึงเน้นตามด้วยค่าบวก แนวต้านระยะสั้นอยู่ที่ 1480, 1490 จุด ค่าลบดูไม่ค่อยดี ต่ำกว่าแนวฟิวเตอร์ 1460 จุดควรตัดขายออกไปก่อนการ SCAN หุ้นที่มีสัญญาณทางเทคนิคดีและมีโอกาสปรับขึ้น พบว่าหุ้นที่เข้ามาใหม่ คือ CHG, HMPRO, TU หุ้นที่ยังอยู่ใน List คือ VIH,CKP, TTCL, SCI, VIBHA, THANI, SCP, AP หุ้นที่หาจังหวะ Take Profit คือ STEC, STPI, KTC, ANAN, CBG, TMT หุ้นหลุด List -ไม่มี-
Need to know TODAY
ปัจจัยต่างประเทศ
• อังกฤษ – จับตาการประชุมนโยบายการเงินของ BOE วันที่ 14 ก.ค.นี้ในการประชุมนโยบายการเงินของ BOE วันนี้ (14 ก.ค.) ตลาดคาดหวังว่าคณะกรรมการจะมีมติปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงจาก 0.50% เป็น 0.25% ส่วนการเพิ่มขนาดวงเงิน QE อาจเป็นลำดับต่อไป ทั้งนี้นักเศรษฐศาสตร์ประเมินว่าในที่สุดแล้วอัตราดอกเบี้ยนโยบายอังกฤษอาจลดลงสู่ระดับ 0% และจะมีการขยายวงเงิน QE ในระยะต่อไป
• ดัชนีตลาดหุ้นสหรัฐ - ปิดบวก/ลบไม่มาก...จับตาว่า BOE จะออกมาตรการกระตุ้นเพิ่มหรือไม่ตลาดหุ้นสหรัฐยังคงได้รับแรงหนุนจากการคาดการณ์ว่าธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยในการประชุมวันที่ 14 ก.ค.นี้ เพื่อรับมือกับผลกระทบ Brexit แต่การซื้อขายก็ผันผวนมาก เพราะกังวลกับราคาน้ำมันดิบที่ลดลงและรายงานเฟดระบุว่าเศรษฐกิจและการจ้างงานสหรัฐเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยในระดับภูมิภาค ปิดตลาดดัชนี DJIA ปรับขึ้น24.45 จุด หรือ +0.13% ส่วนดัชนี S&P500 ปิดทรงตัว ขณะที่ดัชนี Nasdaq ปิด -0.34%
• สหรัฐ - Beige Book ระบุว่าเศรษฐกิจส่วนใหญ่ขยายตัวเพียงเล็กน้อย เงินเฟ้อยังไม่เพิ่มขึ้นเร็วธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เปิดเผยรายงานสรุปภาวะเศรษฐกิจ หรือ Beige Book ระบุว่าเศรษฐกิจและการจ้างงานสหรัฐยังขยายตัวเพียงเล็กน้อยในภูมิภาคส่วนใหญ่ของสหรัฐนับตั้งแต่ช่วงกลางเดือนพ.ค.จนถึงเดือนมิ.ย.59 และแทบไม่มีปัจจัยบ่งชี้ว่าอัตราเงินเฟ้อจะพุ่งขึ้นในเร็วๆนี้ นอกจากนั้นมีสัญญาณบ่งชี้ถึงการใช้จ่ายของผู้บริโภคที่อ่อนแอลง ส่วนภาคการผลิตยังคงปรับตัวไร้ทิศทาง ขณะที่ภาคบริการมีการขยายตัวเล็กน้อยเท่านั้น
+ ราคาน้ำมันดิบ – อ่อนลงกว่า 4%สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนส.ค.ร่วงลง 2.05 ดอลลาร์ หรือ 4.4% ปิดที่ 44.75 ดอลลาร์/บาร์เรล ส่วน BRENT ส่งมอบเดือนก.ย.ลดลง 2.21 ดอลลาร์ หรือ 4.6% ปิดที่ 46.26 ดอลลาร์/บาร์เรล ซึ่งเป็นผลจากสต็อกน้ำมันดิบรายสัปดาห์สหรัฐลดลงน้อยกว่าคาด (โดยลด 2.5 ล้านบาร์เรล จากที่คาดไว้ว่าจะลด 3 ล้านบาร์เรล)
+ ราคาทองคำ – กลับมาบวก 0.6%สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนส.ค.เพิ่มขึ้น 8.30 ดอลลาร์ หรือ 0.62% ปิดที่ระดับ1,343.60 ดอลลาร์/ออนซ์ นักลงทุนกลับมาซื้อทองคำเพื่อลดความไม่แน่นอน เพราะในเดือนก.ค.นี้มีการประชุมของหลายธนาคารกลางของโลก เช่น 14 ก.ค.-ประชุม BOE, 26-27 ก.ค. – ประชุมเฟด, 27-28 ก.ค. – ประชุม BOJ เป็นต้น
ปัจจัยในประเทศ & หุ้นเด่น
- Moody’s มองไทยอาจโตต่ำกว่าแนวโน้มในระยะยาว & ความเสี่ยงการเมืองเพิ่มขึ้นมูดี้ส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิส ออกรายงานว่าเศรษฐกิจของไทยเติบโตต่ำกว่าแนวโน้มในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา บ่งชี้ว่าประเทศกำลังเผชิญกับความสามารถในการแข่งขันที่ลดลงและส่งผลกระทบต่อแนวโน้มการขยายตัวของ GDP ในระยะยาวขณะเดียวกันความเสี่ยงทางการเมืองก็เพิ่มสูงขึ้นด้วย
•/- อุตสาหกรรมสัตว์ปีก – สมาคมฯเสนอให้รัฐบาลคงการยกเว้นการเก็บค่าอากรการฆ่าสัตว์ปีกไว้อย่างเดิมทาง 9 สมาคมสัตว์ปีกได้ยื่นหนังสือร้องเรียนและเสนอให้รัฐบาลพิจารณายกเลิกเก็บค่าอากรการฆ่าและค่าธรรมเนียมการรับรองให้จำหน่ายเนื้อไก่ เป็ด ห่าน ตาม พ.ร.บ.ควบคุมการฆ่าสัตว์เพื่อจำหน่ายเนื้อสัตว์ฉบับใหม่ที่อยู่ระหว่างการพิจาณาของสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) โดยขอให้คงไว้ตามเดิมตามประกาศกฎกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ปี 2552ที่ให้ยกเว้นจัดเก็บอากรการฆ่าอัตรา 10 สตางค์/ตัว เพราะพ.ร.บ.ฉบับใหม่ได้กำหนดอัตราคาธรรมเนียมการรับรองฯเป็น 2บาท/ตัวและเก็บค่าอากรการฆ่า 2 บาท/ตัว ซึ่งกระทบต่อผู้บริโภค เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ปีก และขีดความสามารถในการแข่งขันของโลกในตลาดโลก
ความเห็นเชิงกลยุทธ์ Retail Research : ถ้ามีการเรียกเก็บอากรการฆ่าสัตว์ปีก 2 บาท/ตัว จะทำให้ต้นทุนผู้ประกอบการเพิ่มขึ้น โดยในส่วนของไก่ต้นทุนจะเพิ่มขึ้นประมาณ 2% จากปัจจุบันที่ได้รับการยกเว้นอากรดังกล่าว ซึ่งเราคาดว่าผู้ประกอบการจะผลักภาระต้นทุนที่เพิ่มบางส่วนไปยังผู้บริโภคและบางส่วนรับรู้เอง ยังผลให้ผู้บริโภคจะต้องซื้อไก่เป็ด ห่าน ในราคาสูงขึ้น และขณะเดียวกันผู้ประกอบการก็จะมีมาร์จิ้นต่ำลง สำหรับบริษัทที่อยู่ในข่ายได้รับผลกระทบทางลบถ้ามีการเรียกเก็บอากรฆ่าที่ 2 บาท/ตัวจริง คือ GFPT, TFG, CPF, BR เป็นต้น อย่างไรก็ตาม เรายังมีความหวังว่าถ้ามีการเรียกเก็บอากรฆ่าจริง อัตราไม่น่าจะสูงมากอย่างที่สนช.กำลังพิจารณา
นักวิเคราะห์ : อาภาภรณ์ แสวงพรรค – [email protected]