- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Thursday, 07 July 2016 16:27
- Hits: 711
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
ดัชนี เหนือ 1,450 ยังผันผวนสูง ตราบไม่มีปัจจัยใหม่หนุน แม้ Fed ชะลอขึ้นดอกเบี้ย แต่ถูกหักล้างจากเงินปอนด์และยูโรที่อ่อนค่า กดดันสินทรัพย์เสี่ยง กลยุทธ์ให้ทยอยขายหุ้นรายตัวที่เกินมูลค่าหุ้น และสลับมาถืออิงเศรษฐกิจในประเทศที่เกี่ยวข้องสินค้าจำเป็น (BJC, BDMS)/บวกจากโครงการภาครัฐ (ASK, CK, UNIQ)/มี P/E ต่ำ+ปันผลสูง (TCAP, RATCH) Top picks คือ ASK(FV@B23) และ UNIQ(FV@B20)
รัฐเดินหน้ากระตุ้นการลงทุนดีต่อ CK, UNIQ, ASK
รัฐยังคงออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่อเนื่อง หลังจากที่ก่อนหน้านี้ได้ให้ความช่วยเหลือระดับรากหญ้า คือ ช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าววงเงิน 4.5 หมื่นล้านบาท (ช่วยเหลือต้นทุนไร่ละ 1 พันบาทและพักชำระหนี้เป็นเวลา 2 ปี) และชาวไร่อ้อย อัตรา 160 บาท/ตันอ้อย ผ่านกองทุนอ้อยและน้ำตาล วงเงิน 1.5 หมื่นล้านบาท และช่วยเหลือ SMEs ผ่านการปล่อยสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ เพื่อปรับปรุงเครื่องจักรและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต วงเงิน 3 หมื่นล้านบาท (กลไกเหมือนการให้เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ 2 ครั้งแรก สิ้นสุดโครงการไปแล้ว 30 มิ.ย.59)
วันอังคารที่ผ่านมา ครม. ได้อนุมัติมาตรการสนับสนุนต่อเนื่อง ผ่านการค้ำประกันสินเชื่อสตาร์ทอัพรายใหม่ (SMEs) วงเงิน 1 หมื่นล้านบาทและยังอนุมัติ ร่าง พรบ. โรงงานฉบับใหม่ กล่าวคือโรงงานที่กำลังเครื่องจักรไม่เกิน 50 แรงม้าและพนักงานไม่เกิน 50 คน ไม่ต้องขอ ใบอนุญาต ร.ง.4 (เดิมโรงงานที่มีเครื่องจักร 5 แรงม้าและพนักงาน 7 คนขึ้นไปต้องขอ ร.ง.4) ซึ่งผลจะทำให้โรงงานที่เป็นของ SMEs เกิดง่ายขึ้น เนื่องจากลดระยะเวลาในการขอใบอนุญาต ซึ่งโดยรวมถือว่าจะส่งผลบวกต่อกลุ่มธนาคารที่มีลูกค้าในกลุ่ม SMEs โดยเฉพาะ KBANK (มีสัดส่วนลูกค้ากลุ่ม SME 38% ของสินเชื่อรวม) และ TMB (37% ของสินเชื่อรวม) และ BBL แม้สัดส่วนราว 31% แต่ลูกค้าส่วนใหญ่ขนาดกลาง-ใหญ่ จึงไม่ได้ผลบวกมากนัก ขณะที่ราคาหุ้นเหล่านี้ถือว่าแพง แนะนำขาย และ ให้ซื้อหุ้นขนาดกลาง – เล็กที่ยังมี upside มี P/E ต่ำเงินปันผลสูง TCAP ([email protected])
และวานนี้เป็นวันแรกที่ รฟม. ได้เริ่มเปิดขายซองประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู (แคราย-มีนบุรี) และสายสีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง)วันที่ 6 ก.ค. – 5 ส.ค. นี้ ซึ่งน่าจะทราบผลประมูลราวกลางเดือน พ.ย. 2559 ขณะที่โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม (ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี) อยู่ระหว่างจัดทำ TOR คาดว่าจะประมูลในกลางเดือน ก.ค.นี้ ขณะที่ก่อนหน้านี้ขายซองประมูลบางส่วนของโครงการสุวรรณภูมิเฟส 2 มอเตอร์เวย์ ตามด้วยโครงการลงทุนมอเตอร์เวย์ เช่น พัทยา –มาบตาพุด (ประมูลไปแล้ว 13 สัญญา จาก 14 สัญญา) บางปะอิน-โคราช (ประมูลไปแล้ว 9 สัญญา จาก 40 สัญญา) และบางใหญ่-กาญจนบุรี (ประมูลไปแล้ว 5 สัญญา จาก 25สัญญา) ช่วยสร้าง Sentiment เชิงบวกต่อหุ้นรับเหมาฯ ยังชอบคือ CK([email protected]) และ UNIQ([email protected]) รวมถึง ASK ([email protected]) ซึ่งน่าจะได้ประโยชน์จากความต้องการรถบรรทุกเพื่อขนส่งในการก่อสร้าง (สินเชื่อเช่าซื้อรถบรรทุก 51% ของสินเชื่อรวม)
ความเสี่ยงของ Brexit ยังกดดันค่าเงินปอนด์และยูโรอ่อนค่า
ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจสหรัฐยังส่งสัญญาณชะลอตัว โดยเฉพาะภาคแรงงาน สะท้อนจากรายงานตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตร เดือน พ.ค. อยู่ที่ 3.8 หมื่นราย ต่ำกว่าตลาดคาดที่ 1.62 แสนราย แม้อัตราการว่างงานที่ลดลง 0.3% เหลือ 4.7% คาดเนื่องจากมีผู้ออกจากตลาดแรงงานเพิ่มมากขึ้น และรายงานดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคบริการ เดือน มิ.ย. ทรงตัวจากงวดก่อนหน้า อยู่ที่ 51.4 จุด โดยหากพิจารณารายงานผลการประชุม Fed เดือน มิ.ย. (14-15 ก่อนการลงประชามติฯ) ที่แสดงความกังวลต่อตลาดแรงงาน และภาวะเศรษฐกิจโลก จากผลกระทบ หลังจากการลงประชามติของอังกฤษที่ออกจากสหภาพยุโรป ที่คาดว่าจะกระทบต่อการค้าและการลงทุนของสหรัฐ เนื่องจากอังกฤษมีความสัมพันธ์ทางการค้ากับสหรัฐอย่างมาก กล่าวคือ อังกฤษมีสัดส่วนการค้ากับสหรัฐรวม 26% ของการค้ารวมทั้งหมด และสหรัฐยังค้าขายกับสหภาพยุโรปราว 17% ของยอดการค้ายุโรป
ด้วยเหตุนี้ทำให้ Fed ต้องเลื่อนแผนการขึ้นดอกเบี้ยไปก่อน และอาจจะไม่เห็นการปรับขึ้นดอกเบี้ยในปีนี้ แต่อย่งไรก็ตามประเด็นนี้ควรจะเป็นบวกต่อตลาด แต่ถูกหักล้างจากปัญหาเงินปอนด์และยูโรที่อ่อนค่ามากกว่า ส่งผลให้ระยะสั้นยังเห็นการแข็งค่าของเงินดอลลาร์ ซึ่งส่งผลกระทบต่อสินทรัพย์เสี่ยงให้มีความผันผวน ทั้งในตลาดเงินและตลาดทุน
ต่างชาติสลับมาขายหุ้นทั้งภูมิภาค
วานนี้ต่างชาติสลับมาขายสุทธิตลาดหุ้นภูมิภาคเอเชียอีกครั้งโดยเป็นการขายทุกตลาด ยกเว้นตลาดหุ้นอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ที่หยุดทำการตามเทศกาล โดยยอดขายสุทธิสูงถึง 932 ล้านเหรียญ นำโดยไต้หวันถูกขายสุทธิราว 493 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 2) ตามมาด้วยเกาหลีใต้ 404 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิ 5 วัน) และไทยที่สลับมาขายสุทธิราว 35 ล้านเหรียญ หรือ 1.2 พันล้านบาท (หลังจากซื้อสุทธิ 3 วัน) เช่นเดียวกับนักลงทุนสถาบันฯที่ขายสุทธิราว 1.1 พันล้านบาท และ เชื่อว่าแรงขายยังมีอยู่จากความกังวลต่อเศรษฐกิจโลก หลังจากที่ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจอังกฤษและ สหรัฐ ยังส่งสัญญานชะลอตัว
ขณะที่ตลาดตราสารหนี้ พบว่า นักลงทุนสถาบันในประเทศซื้อสุทธิราว 1.9 หมื่นล้านบาท ต่างกับนักลงทุนต่างชาติที่สลับมาขายสุทธิราว 1.7 พันล้านบาท (หลังจากซื้อสุทธิต่อเนื่อง 5 วัน) ซึ่งถือเป็นแหล่งหลบภัยในภาวะตลาดผันผวนเช่นปัจจุบัน
ดัชนีผันผวนหลบเข้าหุ้น Domestic P/E ต่ำ & ปันผลสูง : BJC, RATCH, TCAP, ASK
ดัชนีตลาดวานนี้ผันผวนสูง ในกรอบ 1,443-1456 จุด โดยแรงขายของหุ้น Global และ ธ.พ. ขนาดใหญ่ และสลับเข้าซื้อหุ้นรายตัว โดยเฉพาะหุ้นที่อิงเศรษฐกิจในประเทศ เช่น สื่อสาร ได้แก่ TRUE, ADVANC และ INTUCH ตามด้วยหุ้นวัสดุก่อสร้าง นำโดย SCC, SCCC ค้าปลีก CPALL, COM7, KAMART เป็นต้น
และหากพิจารณาผลตอบแทนตลาดจากต้นปีปัจจุบันเฉลี่ยอยู่ที่ 12.8% โดยกลุ่มที่ผลตอบแทนเหนือตลาดกระจุกตัวอยู่ในกลุ่มพลังงาน (ผลตอบแทนปีนี้ 23%ytd) โดยเฉพาะผู้ประกอบการปิโตรเลียมอย่าง PTTEP ปีนี้ปรับขึ้นถึง 46%ytd รวมทั้งบริษัทแม่ PTT ปรับขึ้น 27%ytd ตามด้วยธุรกิจถ่านหิน BANPU เพิ่มขึ้น 31%ytd และ LANNA 30%ytd ส่วนหุ้นโรงไฟฟ้า อย่าง CKP, EGCO รวมทั้ง GUNKUL ให้ผลตอบแทนถึง 57%, 24% และ 28% ตามลำดับ สวนทางกับหุ้นโรงกลั่น TOP ปีนี้ลดลง 9.5%ytd ส่วน BCP และ RATCH ราคาหุ้นยังทรงตัวจากปลายปีที่แล้ว
เช่นเดียวกับกลุ่มปิโตรเคมี ปีนี้ให้ผลตอบแทน 20.8%ytd นำโดย IVL ขึ้นไปถึง 43% ขณะที่ผู้ประกอบการที่มีโรงกลั่น และปิโตรเคมี อย่าง PTTGC และ IRPC ให้ผลตอบแทน 16% และ 13% ตามลำดับ
ตามมาด้วยกลุ่มขนส่ง (ผลตอบแทนปีนี้ 16.4%ytd) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการขึ้นของหุ้นขนส่งทางอากาศ นำโดย THAI (ให้ผลตอบแทนสูงถึง 194% นับจากต้นปี 2559) เป็นหลัก ตามด้วย AAV เพิ่มขึ้น 17%ytd ขณะที่หุ้นขนส่งทางบก เช่น BEM (ให้ผลตอบแทน 22.7% นับจากต้นปี 2559) และ BTS (ให้ผลตอบแทนเพียง 5.5% นับจากต้นปี 2559) ซึ่งน่าจะได้ผลประโยชน์จากความคืบหน้าของการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายต่าง ๆ ทั้งสีส้ม เหลือง ชมพู
ส่วนกลุ่มที่ให้ผลตอบแทนใกล้เคียงตลาด แต่ราคาหุ้นปรับตัวเกิน Fair Value แนะนำให้ขาย หรือ ลดน้ำหนักลงทุน เช่น SCB, KTB โดยคาดว่าราคาหุ้นมีแนวโน้ม underperform ต่อจากนี้ และแนะนำให้สลับมายังหุ้นที่ laggard กว่าตลาด หรือยังมี upside สูง โดยเน้นในกลุ่ม Domestic Play เป็นหลัก เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบจากปัจจัยต่างประเทศ ดังนี้
กลุ่มค้าปลีก – น่าจะยังได้ประโยชน์จากแนวโน้มการบริโภคในประเทศที่ทยอยฟื้นตัว แนะนำ BJC (FV@47) โดดเด่นจากการเข้าซื้อกิจการ BIGC หนุนให้ธุรกิจกลับมาเติบโตอีกครั้ง
กลุ่มโรงพยาบาล – เหมาะกับการเป็นหุ้นหลบภัย เนื่องจากธุรกิจยังคงเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง แนะนำ BDMS (FV@B25)
กลุ่มสื่อสาร – ประเด็นลบน่าจะซึมซับไปหมดแล้ว แนะนำ ADVANC (FV@189) ยังครองความเป็นผู้นำในอุตสาหกรรม รวมทั้งยังคาดหวัง div.yield ในระดับสูงได้ และ INTUCH (FV@B74) บริษัทแม่ ได้อานิสงส์ตามไปด้วย
รวมทั้ง กลุ่มรับเหมาฯ และวัสดุก่อสร้าง ยังเกาะประเด็นโครงการลงทุนภาครัฐไปได้ต่อ ยังชอบ CK (FV@B36) และ UNIQ (FV@B20) และ SCC (FV@B595) และมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร หนุนกลุ่มเช่าหุ้นสินเชื่อ-เช่าซื้อรายย่อย S11([email protected]), ASK (FV@B23) ที่ยัง laggard
กลยุทธ์การลงทุนนับจากนี้แนะนำให้นักลงทุนทยอยปรับลดพอร์ตลงทุนในหุ้นที่ใกล้ หรือ เกินมูลค่าหุ้นพื้นฐานของปี 2559 และให้สลับไปซื้อหุ้นที่มี upside สูง โดยให้ เน้นหุ้นที่อิงกับเศรษฐกิจภายในประเทศ ดังกล่าข้างต้น รวมถึงกองทุนอสังหาริมทรัพย์ ดังปรากฏในตารางถัดไป
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
พาสุ ชัยหลีเจริญ ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์